ปี 2023 เป็นอีกปีที่ที่ผู้บริโภคต้องยืนหยัดต่อสู้กับภัยคุกคามจากมิจฉาชีพที่พัฒนาอยู่ตลอดเวลา กลโกงที่มุ่งแสวงหาผลประโยชน์จากเหยื่อได้พัฒนาไป เช่นเดียวกับเทคโนโลยีที่วิวัฒนาการไปข้างหน้า ตั้งแต่การโจมตีทางไซเบอร์ไปจนถึงการใช้เล่ห์เหลี่ยมล่อลวงข้อมูลของผู้บริโภค

และหากพบข่าวที่น่าสงสัย สามารถส่งให้เราช่วยตรวจสอบผ่านทาง LINE ได้ที่นี่ หรือที่ LINE ID: @factcresdendoth

เราได้รวบรวม 10 อันดับกลโกงมิจฉาชีพที่ผู้อ่านให้ความสนใจมากที่สุดในปี 2023 มาไว้ในบทความนี้

อันดับที่ 1: มิจฉาชีพส่งข้อเสนอตำแหน่งงาน ผ่าน WhatsApp

มิจฉาชีพรูปแบบใหม่ ส่งข้อเสนองานผ่านทาง WhatsApp โดยอ้างว่าเป็นฝ่ายจัดหาพนักงานของบริษัท JobsDB โดย Fact Crescendo Thailand ได้ติดต่อไปยัง JobsDB เพื่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมในกรณีดังกล่าว และโดยทาง JobsDB ได้ยืนยันกับเราว่า ทางบริษัทไม่ได้มีการติดต่อเสนอตำแหน่งงานผ่าน WhatsApp ในลักษณะดังกล่าว และบุคคลดังกล่าวนั้นเป็นมิจฉาชีพ

อ่านบทความ: เตือนภัย! มิจฉาชีพรูปแบบใหม่บน WhatsApp แอบอ้างเป็น HR บริษัทดัง

อันดับที่ 2: ห้ามรับสาย เบอร์โทรต้องห้ามจากต่างประเทศ?

จากที่มีข้อความส่งต่อในโซเชียลเกี่ยวกับเบอร์มิจฉาชีพที่ขึ้นต้นด้วย +375, +371, +381 หากโทรกลับแล้วจะถูกขโมยข้อมูล ทางดีเอสไอยืนยันว่าไม่เป็นความจริง แต่ในส่วนค่าบริการที่เสียเมื่อโทรกลับ จะถูกเรียกเก็บเมื่อผู้ใช้โทรออกไปยังเบอร์ต่างประเทศอยู่แล้ว รวมถึงอาจถูกเรียกเก็บค่าบริการเพิ่มเติมจากเหล่ามิจฉาชีพด้วยก็เป็นได้

อ่านบทความ: เบอร์โทรต้องห้ามจากต่างประเทศ รับสาย/โทรกลับแล้วโดยขโมยข้อมูลได้จริงหรือไม่

อันดับที่ 3: เพจโรงแรมปลอม

กลโกงรูปแบบใหม่ของมิจฉาชีพ ที่สร้างเพจ Facebook สวมรอยเป็นโรงแรมชื่อดังต่างๆ ทั่วประเทศไทย โดยจะหลอกล่อให้ลูกค้าทำการจองและโอนเงินโดยตรงไปยังมิจฉาชีพเหล่านี้

อ่านบทความ: ระวังเพจปลอม! กลใหม่มิจฉาชีพ ปลอมเป็นเพจโรงแรม ลวงลูกค้าให้โอนเงินจอง

อันดับที่ 4: แอบอ้างเป็นร้านกาแฟ Cafe Amazon รับสมัครตำแหน่งออนไลน์

โพสต์รับสมัครงานที่แอบอ้างว่ามาจาก “Café Amazon” ที่แพร่กระจายใน Facebook โดยใช้โลโก้และชื่อของบริษัทเพื่อดึงดูดผู้สนใจ โดยกล่าวว่าเป็นงานออนไลน์แบบ Work from Home และมีรายได้เฉลี่ยวันละ 300-1000 บาท

อ่านบทความ: เตือนภัย: โพสต์รับสมัครงานแอบอ้างเป็นร้านกาแฟ Cafe Amazon

อันดับที่ 5: มิจฉาชีพอ้างเป็น Shopee ให้ค่าคอมมิชชันสูง

มิจฉาชีพแอบอ้างว่าเป็นบริษัท Shopee โดยกล่าวอ้างว่าจะให้ผลตอบแทนสูง แต่ผู้เข้าร่วมต้องมีการสำรองจ่ายก่อน อย่างไรก็ตาม Shopee ได้ระบุไว้อย่างชัดเจนว่า Shopee Affiliate หรือการเป็นพาร์ทเนอร์กับทางบริษัทนั้น จะไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ เพิ่มเติมตลอดโครงการ

อ่านบทความ: เตือนภัย! มิจฉาชีพรูปแบบใหม่อ้างเป็น Shopee และให้ค่าคอมมิชชันสูง

อันดับที่ 6: มิจฉาชีพแอบอ้างเป็นการบินไทย เปิดรับสมัครงานออนไลน์

โพสต์แอบอ้างเป็นตัวแทนบริษัทการบินไทย เปิดรับสมัครพนักงานจองตั๋วแบบออนไลน์ ที่ให้รายได้ถึง 15,000 บาทต่อสัปดาห์ โดยเพจ Thai Airways ซึ่งเป็นเพจอย่างเป็นทางการที่ได้รับการยืนยันตัวตนของบริษัทการบินไทย ได้ออกมาชี้แจงว่าโพสต์ดังกล่าวเป็นโพสต์ปลอม และเตือนภัยเกี่ยวกับโพสต์สมัครงานดังกล่าว

อ่านบทความ: Scam Alert: เตือนภัย! มิจฉาชีพแอบอ้างเป็นการบินไทย รับสมัครงานออนไลน์

อันดับที่ 7: SMS ส่งลิงก์เรียกเก็บและคืนเงินค่าไฟ

มี SMS ที่แอบอ้างว่ามาจากการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (PEA) พร้อมข้อความว่าจะมีการคืนเงินให้แก่ผู้ใช้ไฟฟ้า ซึ่งทางการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค และการไฟฟ้านครหลวงก็ได้ยืนยันว่า ไม่มีการส่งข้อความแจ้งให้คืนเงินหรือชำระค่าไฟฟ้าผ่านลิงก์แต่อย่างใด

อ่านบทความ: เตือนภัยมิจฉาชีพ: ส่งลิงก์เรียกเก็บค่าไฟค้างชำระ/คืนเงินค่าไฟผ่านทาง SMS

อันดับที่ 8: ลิงก์ปลอมอ้างว่าแจกสติกเกอร์ไลน์

มิจฉาชีพรูปแบบใหม่ที่สร้างลิงก์ปลอมและหลอกล่อให้ผู้ใช้กดเข้าไปที่ลิงก์เพื่อรับสติกเกอร์คริสต์มาสและปีใหม่ฟรี หากพบลิงก์น่าสงสัยที่อ้างว่าแจกสติกเกอร์ อย่าคลิกลิงก์ใดๆ และให้สังเกตว่าเป็นบัญชีทางการขององค์กรหรือธุรกิจที่กล่าวอ้างหรือไม่ตามวิธีข้างต้น และไม่กรอกข้อมูลส่วนตัวใดๆ ในลิงก์ที่น่าสงสัย เพื่อป้องกันการโดนโจรกรรมข้อมูลจากมิจฉาชีพ

อ่านบทความ: Scam Alert! เตือนภัย อย่าคลิกลิงก์แจกสติกเกอร์น่าสงสัยในไลน์ เสี่ยงถูกแฮ็กข้อมูลได้

อันดับที่ 9: SMS แจกตั๋วเครื่องบินฟรี

มิจฉาชีพรูปแบบใหม่ที่แอบอ้างว่าเป็นเจ้าหน้าที่ของสายการบิน โดยส่ง SMS มาแจ้งผู้ใช้ว่าได้รับคูปองเที่ยวบินฟรี โดยสายการบิน ไทย ไลอ้อนแอร์ ได้ออกแถลงการณ์ถึงเหตุการณ์ดังกล่าว โดยระบุว่าทางสายการบินฯ ไม่มีนโยบายในการส่ง SMS หรือโทรศัพท์เพื่อแจ้งสิทธิประโยชน์ต่อลูกค้าแต่อย่างใด

อ่านบทความ: Scam Alert! ระวังมิจฉาชีพรูปแบบใหม่ ส่ง SMS อ้างว่าแจกตั๋วเครื่องบินฟรี

อันดับที่ 10: มิจฉาชีพแอบอ้างเป็นตัวแทน Facebook แจ้งระงับเพจ

มีโพสต์ที่แอบอ้างว่าเป็นตัวแทนจาก Meta และ Facebook แจ้งผู้ใช้และผู้ดูแลเพจว่ามีการละเมิดนโยบาย Facebook และให้ดำเนินการตามขั้นตอนในลิงก์ที่ระบุ โดยลิงก์ดังกล่าวไม่ได้ใช้โดเมนของ Facebook หรือ Meta และมีการปลอมแปลงหน้าเว็บให้ดูเหมือนหน้าล็อกอินของ Facebook เพื่อหลอกลวงเอาข้อมูลบัญชีและรหัสผ่าน

อ่านบทความ: Scam Alert! เตือนภัยมิจฉาชีพ ส่งข้อความแอบอ้างแจ้งระงับเพจ Facebook

และในปี 2024 ที่กำลังจะถึง Fact Crescendo ก็จะมุ่งมั่นในการตรวจสอบข้อเท็จจริง และหักล้างข่าวปลอมต่อไป เพื่อให้ผู้อ่านรู้เท่าทันสื่อและข้อมูลข่าวสารบนโลกโซเชียลอยู่เสมอ

ติดตามช่องทางอื่นๆ ของเรา เพื่อไม่ให้พลาดทุกข้อเท็จจริง

Facebook | Twitter | Instagram | LINE | TikTok

Avatar

Title:รวบรวม 10 บทความเตือนภัยมิจฉาชีพยอดนิยมในปี 2023

Written By: Cielito Wang

Result: Insight