Sunday, June 22, 2025

FACT CHECKS

ข้อความ “ผงชูรสเป็นอันดับหนึ่งในการก่อมะเร็ง” และ “8 บัญชีดำอาหารที่ก่อให้เกิดมะเร็ง” เป็นข้อมูลเท็จ

เมื่อไม่นานมานี้ มีการแชร์ข้อความไวรัลบนโซเชียลมีเดีย ระบุว่า “ผงชูรสเป็นสาเหตุอันดับหนึ่งในการก่อมะเร็ง” พร้อมแนบรายชื่อ “บัญชีดำอาหาร 8 อย่าง” ที่อ้างว่าหากบริโภคเป็นประจำจะทำให้เกิดโรคมะเร็ง นอกจากนี้ยังกล่าวอ้างว่าคนจีนป่วยเป็นมะเร็งจำนวนมากเพราะบริโภคอาหารเหล่านี้ เราตรวจสอบข้อกล่าวอ้างดังกล่าว และพบว่า ข้อความเหล่านี้เป็นข้อมูลบิดเบือน และไม่มีหลักฐานวิทยาศาสตร์รองรับ โพสต์บนโซเชียลมีเดีย เราได้รับเบาะแสผ่านช่องทาง LINE ตรวจสอบข้อเท็จจริงของเรา ว่ามีข้อความแพร่กระจายบนแพลตฟอร์ม LINE รวมถึงแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียอื่นๆ เช่น Facebook โดยกล่าวว่า:  “ผงชูรสเป็นอันดับหนึ่งในการก่อมะเร็ง! ตอนนี้คนจีนเป็นโรคมะเร็งสูง! บัญชีดำอาหารที่ก่อให้เกิดมะเร็ง Source | Archive พบข้อมูลน่าสงสัย? ส่งให้เราตรวจสอบข้อเท็จจริงได้ที่นี่ ตรวจสอบข้อเท็จจริง ข้อกล่าวอ้างที่ 1: ผงชูรส (MSG) เป็นอันดับหนึ่งในการก่อมะเร็ง ไม่มีหลักฐานวิทยาศาสตร์ที่ยืนยันว่าการบริโภคผงชูรส (MSG: Monosodium Glutamate) จะเพิ่มความเสี่ยงมะเร็งในมนุษย์ (ที่มา: Healthline, Cancer Fact Finder) ข้อกล่าวอ้างที่ 2: คนจีนเป็นโรคมะเร็งสูง เพราะบริโภคอาหารในบัญชีดำ ข้อมูลจากการศึกษาที่ตีพิมพ์ใน JAMA Network […]

Political

ตรวจสอบข้อเท็จจริงประเด็นความขัดแย้งบริเวณชายแดนไทย-กัมพูชา

ในช่วงต้นเดือนมิถุนายน 2568 สถานการณ์ตึงเครียดบริเวณชายแดนไทย–กัมพูชา โดยเฉพาะพื้นที่จังหวัดพระวิหารและช่องบก จ.อุบลราชธานี ได้รับความสนใจอย่างมากจากสื่อและประชาชนทั้งสองประเทศ เนื่องจากมีการกล่าวอ้างที่เกี่ยวข้องกับการใช้โดรนและเหตุการณ์ทางการเมืองที่อาจส่งผลต่อความสัมพันธ์ระหว่างสองประเทศ ข้อกล่าวอ้างที่ 1: ไทยส่งโดรนรุกล้ำเขตกัมพูชาเพื่อสอดแนม สื่อกัมพูชาหลายแห่ง รวมถึงสำนักข่าว Khmer Times รายงานเมื่อวันที่ 2 มิถุนายน 2568 ว่า ทหารกัมพูชาที่ประจำการอยู่ในจังหวัดพระวิหาร สามารถสกัดกั้นโดรนที่บินรุกล้ำน่านฟ้าประเทศเพื่อวัตถุประสงค์ในการลาดตระเวน โดยอ้างว่าโดรนดังกล่าวถูกส่งมาจากกองทัพไทยเพื่อสอดแนมการเคลื่อนไหวของกำลังพลและยุทโธปกรณ์ของกัมพูชาในพื้นที่แนวหน้าชายแดน ซึ่งถือเป็นการละเมิดอธิปไตยของกัมพูชา ที่มา | ลิงก์ถาวร ที่มา | ลิงก์ถาวร ข้อกล่าวอ้างที่ 2: คลิป ฮุน เซน ลูบหัว ภูมิธรรม มีกระแสข่าวบนโซเชียลมีเดียเกี่ยวกับภาพหรือคลิปที่อ้างว่าแสดงให้เห็นสมเด็จฮุน เซน อดีตนายกรัฐมนตรีและประธานวุฒิสภากัมพูชา “ลูบหัว” นายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมของไทย ซึ่งถูกตีความว่าเป็นท่าทีที่แสดงถึงความสัมพันธ์ส่วนตัวที่ใกล้ชิดหรืออาจถูกใช้เพื่อสร้างความเข้าใจผิดในบริบททางการเมือง โดยเฉพาะในช่วงที่ความสัมพันธ์ไทย-กัมพูชามีความตึงเครียดจากเหตุการณ์ชายแดน ที่มา | ลิงก์ถาวร ที่มา | ลิงก์ถาวร ตรวจสอบข้อเท็จจริง ข้อกล่าวอ้างที่ 1: พล.ต.วินธัย […]

จดหมายไวรัลที่อ้างว่าเป็นข้อความจาก ปธน. เม็กซิโก ถึงทรัมป์และมัสก์ เป็นของปลอม

เมื่อไม่นานมานี้ มีโพสต์บนโซเชียลมีเดียแพร่กระจายอย่างกว้างขวาง โดยอ้างว่าเป็นจดหมายจากประธานาธิบดีเม็กซิโก คลอเดีย เซนบาม (Claudia Sheinbaum) ที่ส่งถึงโดนัลด์ ทรัมป์ และอีลอน มัสก์ เกี่ยวกับนโยบายสร้างกำแพงชายแดน จดหมายฉบับนี้มีเนื้อหาเสียดสีเกี่ยวกับภูมิประเทศของสหรัฐฯ และยังขู่ถึงการคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจในระดับโลก จนกลายเป็นกระแสไวรัลบนแพลตฟอร์มต่างๆ โพสต์บนโซเชียลมีเดีย จดหมายไวรัลฉบับนี้เริ่มปรากฏบนโลกออนไลน์ช่วงต้นปี 2025 โดยอ้างว่าเป็นแถลงการณ์อย่างเป็นทางการจากประธานาธิบดีเซนบาม เพื่อตอบโต้นโยบายใหม่เรื่องชายแดนของทรัมป์ ซึ่งประกาศเมื่อวันที่ 20 มกราคม 2025 จดหมายดังกล่าวกล่าวถึงโครงการสร้างกำแพงกั้นพรมแดน พร้อมอ้างว่าอีลอน มัสก์ มีส่วนร่วมในโครงการนี้ร่วมกับรัฐบาลของทรัมป์ พร้อมทั้งอธิบายถึงผลกระทบทางเศรษฐกิจที่อาจตามมา และลงท้ายด้วยชื่อของประธานาธิบดีเม็กซิโกที่เข้ารับตำแหน่งตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2024 ที่มา | ลิงก์ถาวร ที่มา | ลิงก์ถาวร การตรวจสอบข้อเท็จจริง จากการตรวจสอบของเรา พบว่าไม่มีบันทึกอย่างเป็นทางการใด ๆ ที่แสดงว่า คลอเดีย เซนบาม เขียนหรือส่งจดหมายฉบับนี้ถึงทรัมป์และมัสก์ในปี 2025 แต่อย่างใด เมื่อตรวจสอบบัญชีโซเชียลมีเดียอย่างเป็นทางการของเซนบาม เว็บไซต์รัฐบาลเม็กซิโก รวมถึงบันทึกคำแถลงข่าวรายวันระหว่างเดือนมกราคมถึงเมษายน 2025 ก็ไม่ปรากฏข้อความหรือเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับจดหมายฉบับดังกล่าวเลย ที่มาของข้อความ […]

International

วิดีโอไวรัล ไม่ใช่ “เหลนของสมาชิกวง Bee Gees” ตามข้อกล่าวอ้าง

เมื่อไม่นานมานี้ มีวิดีโอหนึ่งที่อ้างว่าเป็น “เหลนของวง Bee Gees” ร้องเพลง How Deep Is Your Love? ของวง Bee Gees ซึ่งได้รับความสนใจอย่างมาก โดยมีความคิดเห็นหลากหลายตั้งแต่การชื่นชมไปจนถึงการตั้งข้อสงสัย โพสต์บนโซเชียลมีเดีย ผู้ใช้โซเชียลมีเดียหลายรายได้แชร์วิดีโอพร้อมข้อความว่า “แฝดสี่รุ่นเหลน ร้องเพลง Bee Gees” โดยมีการรับชมบนแพลตฟอร์ม TikTok ไปกว่าหนึ่งล้านครั้ง ที่มา | ลิงก์ถาวร การตรวจสอบข้อเท็จจริง เราเริ่มต้นการตรวจสอบข้อเท็จจริงด้วยการตรวจสอบหาที่มาของวิดีโอดังกล่าว และพบว่าผู้ที่แสดงในวิดีโอนี้คือ Ky Baldwin นักร้องและนักแสดงชาวออสเตรเลีย ซึ่งเขาเป็นผู้สร้างวิดีโอนี้ขึ้นมาเอง โดยใช้เทคนิคพิเศษ (Special Effects) ทำให้ดูเหมือนมีตัวเขาหลายคนร่วมแสดงพร้อมกัน Ky Baldwin เป็นที่รู้จักในเรื่องการสร้างวิดีโอในลักษณะนี้มาก่อน ตัวอย่างเช่น ในเดือนกรกฎาคม ปี 2023 เขาเคยทำวิดีโอคัฟเวอร์เพลง I Want It That Way ของวง Backstreet Boys […]

จดหมายไวรัลที่อ้างว่าเป็นข้อความจาก ปธน. เม็กซิโก ถึงทรัมป์และมัสก์ เป็นของปลอม

เมื่อไม่นานมานี้ มีโพสต์บนโซเชียลมีเดียแพร่กระจายอย่างกว้างขวาง โดยอ้างว่าเป็นจดหมายจากประธานาธิบดีเม็กซิโก คลอเดีย เซนบาม (Claudia Sheinbaum) ที่ส่งถึงโดนัลด์ ทรัมป์ และอีลอน มัสก์ เกี่ยวกับนโยบายสร้างกำแพงชายแดน จดหมายฉบับนี้มีเนื้อหาเสียดสีเกี่ยวกับภูมิประเทศของสหรัฐฯ และยังขู่ถึงการคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจในระดับโลก จนกลายเป็นกระแสไวรัลบนแพลตฟอร์มต่างๆ โพสต์บนโซเชียลมีเดีย จดหมายไวรัลฉบับนี้เริ่มปรากฏบนโลกออนไลน์ช่วงต้นปี 2025 โดยอ้างว่าเป็นแถลงการณ์อย่างเป็นทางการจากประธานาธิบดีเซนบาม เพื่อตอบโต้นโยบายใหม่เรื่องชายแดนของทรัมป์ ซึ่งประกาศเมื่อวันที่ 20 มกราคม 2025 จดหมายดังกล่าวกล่าวถึงโครงการสร้างกำแพงกั้นพรมแดน พร้อมอ้างว่าอีลอน มัสก์ มีส่วนร่วมในโครงการนี้ร่วมกับรัฐบาลของทรัมป์ พร้อมทั้งอธิบายถึงผลกระทบทางเศรษฐกิจที่อาจตามมา และลงท้ายด้วยชื่อของประธานาธิบดีเม็กซิโกที่เข้ารับตำแหน่งตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2024 ที่มา | ลิงก์ถาวร ที่มา | ลิงก์ถาวร การตรวจสอบข้อเท็จจริง จากการตรวจสอบของเรา พบว่าไม่มีบันทึกอย่างเป็นทางการใด ๆ ที่แสดงว่า คลอเดีย เซนบาม เขียนหรือส่งจดหมายฉบับนี้ถึงทรัมป์และมัสก์ในปี 2025 แต่อย่างใด เมื่อตรวจสอบบัญชีโซเชียลมีเดียอย่างเป็นทางการของเซนบาม เว็บไซต์รัฐบาลเม็กซิโก รวมถึงบันทึกคำแถลงข่าวรายวันระหว่างเดือนมกราคมถึงเมษายน 2025 ก็ไม่ปรากฏข้อความหรือเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับจดหมายฉบับดังกล่าวเลย ที่มาของข้อความ […]

วิดีโอไวรัลเหตุการณ์หลังแผ่นดินไหวที่เมียนมา แท้จริงแล้วที่สร้างด้วย AI

เมื่อช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา วิดีโอที่อ้างว่าแสดงถึงภาพเหตุการณ์หลังแผ่นดินไหวรุนแรงในประเทศเมียนมาร์ได้แพร่กระจายอย่างกว้างขวางบนแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดีย โดยวิดีโอดังกล่าวแสดงภาพที่ถ่ายจากมุมสูง เผยให้เห็นเจดีย์สององค์ที่อยู่ท่ามกลางซากปรักหักพัง รายล้อมด้วยอาคารที่ตั้งอยู่ระหว่างถนนสองสาย โดยวิดีโอดังกล่าวได้รับความสนใจและถูกแชร์ออกไปพร้อมข้อความแสดงความเสียใจและความกังวลต่อเหตุการณ์ดังกล่าวอย่างเป็นวงกว้าง โพสต์บนโซเชียลมีเดีย ผู้ใช้โซเชียลมีเดียได้แชร์วิดีโอที่อ้างว่าแสดงให้เห็นความเสียหายจากเหตุการณ์แผ่นดินไหวครั้งล่าสุดเมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2568 ซึ่งเป็นแผ่นดินไหวที่รุนแรงที่สุดในประวัติศาสตร์ของเมียนมาร์ คลิปวิดีโอพร้อมภาพจากวิดีโอนี้ได้แพร่กระจายอย่างรวดเร็วผ่านโซเชียลมีเดีย ที่มา | ลิงก์ถาวร ที่มา | ลิงก์ถาวร ตรวจสอบข้อเท็จจริง จากการตรวจสอบ เราพบหลายประเด็นที่บ่งชี้ว่าวิดีโอดังกล่าวไม่ได้มาจากเหตุการณ์จริง ดังนี้ ความไม่สอดคล้องทางภูมิศาสตร์ วิดีโอมีภาพเจดีย์สององค์ที่มีลักษณะคล้ายสถาปัตยกรรมยุคพุกาม แต่เมืองที่ได้รับผลกระทบหลักจากแผ่นดินไหวอย่างสะกายและมัณฑะเลย์ ไม่มีเจดีย์ลักษณะนี้ตั้งอยู่ในพื้นที่เมืองแบบที่ปรากฏในวิดีโอ ส่วนเมืองพุกามซึ่งมีชื่อเสียงด้านเจดีย์โบราณจำนวนมากนั้น ไม่ได้อยู่ในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบหนัก นอกจากนี้ ฉากหลังในวิดีโอก็ไม่ตรงกับภูมิทัศน์ของพุกาม วิดีโอเหตุการณ์เปรียบเทียบจาก INQUIRER.net ของเจดีย์ในมัณฑะเลย์หลังแผ่นดินไหว ไม่มีการรายงานจากสื่อท้องถิ่น จากการตรวจสอบ เราไม่พบวสำนักข่าวที่เชื่อถือได้ในภาษาพม่าที่รายงานเหตุการณ์แผ่นดินไหวครั้งนี้ ใช้วิดีโอนี้ในการรายงานแต่อย่างใด ซึ่งถือเป็นอีกเบาะแสว่าต้องมีการตรวจสอบที่มาของวิดีโอนี้เพิ่มเติม สัญญาณของการใช้ AI การวิเคราะห์ภาพ: เราใช้เครื่องมือวิเคราะห์และตรวจจับภาพที่สร้างโดยใช้ AI ตรวจสอบคีย์เฟรมจากวิดีโอดังกล่าว และได้ผลลัพธ์ว่าวิดีโอนี้มีความเป็นไปได้สูงที่จะถูกสร้างขึ้นด้วย AI ที่มา: Was it AI? ความยาวของวิดีโอ: วิดีโอยาวเพียง 6 วินาที […]

Follow us