ความรุนแรงต่อเพศหญิง: ความเงียบที่สังคมควรรับฟัง

ในสัปดาห์แห่งการยุติความรุนแรงต่อสตรีสากล มีขึ้นเพื่อรณรงค์ให้สังคมตระหนักถึงปัญหาความรุนแรงต่อผู้หญิง ซึ่งถือเป็นปัญหาใหญ่ที่ส่งผลกระทบต่อผู้หญิงทั่วโลก รวมถึงประเทศไทย เราจึงอยากสร้างความรู้ความเข้าใจ รวมถึงการตระหนักถึงปัญหาด้านความรุนแรงด้วยเหตุแห่งเพศ (Gender-based Violence) ที่มีอยู่ในทั่วทุกมุมโลก โดยเฉพาะในประเทศไทย แม้ประเทศไทยจะมีความก้าวหน้าในด้านการพัฒนาเศรษฐกิจและความทันสมัย แต่ปัญหาด้านความรุนแรงต่อผู้หญิงก็เป็นปัญหาที่พบในสังคมไทยมาอย่างยาวนาน บรรทัดฐานทางเพศและทัศนคติแบบเหมารวมแบบเดิมๆ ยังคงผู้หญิงในสังคมไทยไม่มีความปลอดภัย และต้องเผชิญกับความรุนแรงประเภทต่างๆ ตัวอย่างรูปแบบของความรุนแรง ได้แก่ ความรุนแรงในครอบครัว ความรุนแรงในครอบครัวยังคงเป็นประเด็นปัญหาในประเทศไทยอย่างต่อเนื่อง ซึ่งส่งผลกระทบต่อผู้หญิงหลากหลายกลุ่ม ที่มีภูมิหลังทางสังคมและเศรษฐกิจที่แตกต่างกัน โดยบรรทัดฐานทางวัฒนธรรมไทยมักจะทำให้แนวความคิดเรื่องความเป็นส่วนตัวของครอบครัวเป็นปกติ จึงมักไม่ค่อยมีการรายงานหรือการดำเนินคดีเมื่อเผชิญหรือพบเห็นเหตุการณ์ดังกล่าว การทลายกำแพงความเชื่อเก่าๆ ยุติการเงียบเสียงเมื่อเผชิญปัญหา และส่งเสริมให้เหยื่อขอความช่วยเหลือถือเป็นกุญแจสำคัญในการแก้ไขปัญหานี้ ข้อมูลจากคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล พบว่า ความรุนแรงต่อผู้หญิงและคนในครอบครัวไทยในระดับประเทศ เพิ่มขึ้นจาก 34.6% ในปี 2560 เป็น 42.2% ในปี 2563 โดยประเภทความรุนแรงที่พบมากที่สุดคือ ความรุนแรงทางด้านจิตใจ คิดเป็นร้อยละ 32.3 รองลงมาคือ ความรุนแรงทางร่างกายร้อยละ 9.9 และความรุนแรงทางเพศร้อยละ 4.5 (ที่มา) การค้ามนุษย์ ปัญหาสถานการณ์การค้ามนุษย์ในประเทศไทยยังคงเป็นปัญหาใหญ่ที่ควรให้ความสำคัญมากขึ้นเป็นอย่างมาก โดยมีผู้หญิงจำนวนมากตกเป็นเหยื่อของอาชญากรรมที่เลวร้ายนี้ ไม่ว่าจะถูกบังคับค้าประเวณีหรือบังคับใช้แรงงาน ผู้หญิงก็เสี่ยงต่อการถูกแสวงหาประโยชน์ ความพยายามในการทำงานร่วมกันระหว่างหน่วยงานบังคับใช้กฎหมาย องค์กรพัฒนาเอกชน […]

Continue Reading

ไวรัส hMPV “ไม่ใช่” ไวรัสชนิดใหม่ ตามข้อกล่าวอ้างในโซเชียลมีเดีย

เมื่อไม่นานมานี้ เราพบข้อกล่าวอ้างแพร่กระจายบนโซเชียลมีเดียว่ามีไวรัสสายพันธุ์ใหม่ที่รุนแรงกว่าโควิด-19 เข้ามาระบาดในประเทศไทย โพสต์บนโซเชียลมีเดีย พบข้อความแพร่กระจายบนแพลตฟอร์ม LINE ระบุว่า “มาอีกแล้ว ไวรัส HMPV หนักกว่าโควิด ไทยนำเข้ามาแล้วอย่างเป็นทางการ มีอาการผสมระหว่างไข้หวัดใหญ่+โควิด ไม่มียาและไม่มีวัคซีนรักษา ก็ต้องป้องกันตนเองให้ดีที่สุด” นอกจากนี้ เรายังพบข้อกล่าวอ้างที่คล้ายคลึงกันบน Facebook ด้วยเช่นเดียวกัน Source | Archive อย่างไรก็ตาม เราพบว่าข้อกล่าวอ้างข้างต้นอาจทำให้ผู้อ่านเข้าใจผิดและเกิดความกังวลได้ เนื่องจากอันที่จริงแล้ว hMPV ไม่ใช่โรคใหม่แต่อย่างใด ทำความรู้จัก hMPV Human metapneumovirus หรือ hMPV คือ ไวรัสชนิดหนึ่งที่ทำให้เกิดอาการติดเชื้อในทางเดินหายใจ มีไข้ ไอ น้ำมูก คล้ายกับไข้หวัดใหญ่ ที่มีการค้นพบมานานหลายสิบปี ไม่ได้เป็นเชื้อไวรัสชนิดใหม่ แต่ที่เพิ่งมารู้จักกันในประเทศไทยไม่นาน เพราะเพิ่งจะเริ่มมีการพัฒนาการตรวจหาเชื้อ ที่ทำได้ง่ายและรวดเร็วขึ้น ไม่นานนี้ โดยวิธีการ Swab ป้ายตรวจทางห้องปฏิบัติการ เช่นเดียวกับการตรวจหาเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ และ RSV โดยอาการของผู้ที่ติดเชื้อไวรัสดังกล่าวจะมีอาการของระบบทางเดินหายใจ คล้ายกับไข้หวัดใหญ่ คือ มีอาการไข้ […]

Continue Reading

เตือนภัยมิจฉาชีพ: ส่งลิงก์เรียกเก็บค่าไฟค้างชำระ/คืนเงินค่าไฟผ่านทาง SMS

เราได้รับเบาะแสผ่าน LINE ตรวจสอบข้อเท็จจริงของ Fact Crescendo Thailand เกี่ยวกับ SMS ที่แอบอ้างว่ามาจากการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (PEA) พร้อมข้อความว่าจะมีการคืนเงินให้แก่ผู้ใช้ไฟฟ้า โพสต์บนโซเชียลมีเดีย เมื่อเราหาข้อมูลเพิ่มเติม ก็พบผู้ใช้โซเชียลที่ได้รับข้อความลักษณะเดียวกันหลายราย Source | Archive นอกจากนี้ยังมีผู้เสียหายที่ถูกมิจฉาชีพลักษณะดังกล่าวฉ้อโกงเงิน ออกมาเตือนกลโกงอีกด้วย Source: CH7HD News อย่างไรก็ตาม ทางการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค และการไฟฟ้านครหลวงก็ได้ยืนยันว่า ไม่มีการส่งข้อความแจ้งให้คืนเงินหรือชำระค่าไฟฟ้าผ่านลิงก์แต่อย่างใด โดยการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (PEA) ได้ชี้แจงผ่านเพจ Facebook ของทางองค์กร โดยระบุว่าลิงก์ที่ส่งผ่าน SMS นั้นไม่ใช่ช่องทางติดต่อกับ PEA และเตือนประชาชน อย่าหลงเชื่อมิจฉาชีพส่งข้อความให้กดลิงก์เพื่อติดต่อเจ้าหน้าที่การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค Archive นอกจากนี้ PEA ยังโพสต์เตือนเกี่ยวกับมิจฉาชีพในช่องทาง LINE อีกด้วย Archive โดยทาง PEA แนะนำให้สังเกตสัญลักษณ์ยืนยันตัวตนของบัญชี LINE Ofiicial ของทางหน่วยงาน ซึ่งจะมีเครื่องหมายรูปโล่สีเขียวที่โปรไฟล์ และ PEA ไม่มีนโยบายส่งลิงก์ดาวน์โหลดแอปพลิเคชันชำระค่าไฟฟ้าผ่านทาง LINE […]

Continue Reading

คลิปไวรัลพนักงานเสิร์ฟในจีน แท้จริงแล้วเป็นคนหรือหุ่นยนต์?

หลายครั้งที่วิดีโอที่แปลกใหม่และดึงดูดใจมักจะได้รับความสนใจและกลายเป็นไวรัล และเมื่อเร็วๆ นี้ เราพบวิดีโอไวรัลบน TikTok พร้อมข้อกล่าวอ้างว่าบุคคลในวิดีโอเป็นหุ่นยนต์พนักงานเสิร์ฟอาหารของร้านอาหารแห่งหนึ่งในจีน ซึ่งได้รับความสนใจเป็นอย่างมาก โพสต์บนโซเชียลมีเดีย ผู้ใช้ TikTok รายหนึ่งได้แชร์วิดีโอของผู้หญิงคนหนึ่งที่กำลังเสิร์ฟอาหารให้ลูกค้า พร้อมท่าทางการเคลื่อนไหวที่ดูเหมือนหุ่นยนต์ พร้อมคำบรรยายวิดีโอว่า: “ที่เมืองฉงชิ่ง เมืองทางตอนกลางของประเทศมีการใช้ พนง.เสริฟในร้านหม้อไฟ ที่ไม่ใช่หุ่นยนต์รถเข็นธรรมดา แต่มีลักษณะท่าทางเหมือนมนุษย์ผิวหนังผมที่เหมือนจริงมาก #หุ่นยนต์ #หุ่นยนต์เสริฟอาหาร #ร้านอาหารหุ่นยนต์ #ร้านหม้อไฟ #หุ่นยนต์ผู้ช่วย #หุ่นยนต์เทเหล้า” Source | Archive โดยล่าสุดวิดีโอดังกล่าวมีการรับชมไปแล้วกว่า 2.4 ล้านครั้ง และมีผู้ใช้แสดงความคิดเห็นอย่างหลากหลาย นอกจากนี้เรายังพบวิดีโอพร้อมข้อกล่าวอ้างเดียวกันบน Facebook และ X (Twitter) ด้วยเช่นเดียวกัน Source | Archive Source | Archive อย่างไรก็ตาม เราพบว่าบุคคลในวิดีโอไวรัลดังกล่าวไม่ใช่หุ่นยนต์ตามที่มีการกล่าวอ้างแต่อย่างใด ตรวจสอบข้อเท็จจริง เมื่อดำเนินการตรวจสอบ เราพบบทความจากเว็บไซต์ Business Insider เกี่ยวกับวิดีโอไวรัลดังกล่าว โดยบทความได้ระบุว่าพนักงานเสิร์ฟรายดังกล่าวไม่ใช่หุ่นยนต์ แต่เป็นนักเต้นและเป็นเจ้าของร้านอาหารในคลิป โดยสำนักข่าว South China Morning Post ก็ได้โพสต์คลิปของบุคคลดังกล่าว ชี้แจงว่าเธอเป็นนักเต้นมืออาชีพ พร้อมฟุตเทจขณะเธอไปแข่งเต้นอีกด้วย […]

Continue Reading

ข้อกล่าวอ้างว่าจีนประกาศว่าโคคาโคล่าไม่เป็นเครื่องดื่ม “ไม่มีมูลความจริง”

ในยุคที่ข้อมูลต่างๆ ขับเคลื่อนด้วยโซเชียลมีเดีย ข้อมูลเท็จสามารถแพร่กระจายได้อย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อมีข้อกล่าวอ้างที่ดึงดูดความสนใจของสาธารณชนได้ ล่าสุด เราพบข้อความที่แพร่กระจายบน Facebook อ้างว่าจีนจะใช้เครื่องดื่ม “โคคา-โคล่า” เป็นผลิตภัณฑ์ทำความสะอาด และไม่จัดเป็นเครื่องดื่มอีกต่อไป ข้อมูลดังกล่าวได้รับความสนใจอย่างมากและก่อให้เกิดความกังวลเกี่ยวกับความปลอดภัยในการบริโภคน้ำอัดลมยอดนิยมนี้  โพสต์บนโซเชียลมีเดีย ผู้ใช้ Facebook หลายรายแชร์ข้อความระบุว่า จีนประกาศว่าโค้ก หรือโคคา-โคล่า ไม่ใช่เครื่องดื่ม แต่เป็นน้ำยาทำความสะอาด และมีการให้นักโทษในประเทศจีนดื่ม ซึ่งทำให้นักโทษเป็นมะเร็ง Source | Archive และเรายังพบข้อกล่าวอ้างดังกล่าวบน YouTube ด้วยเช่นเดียวกัน Source | Archive ตรวจสอบข้อเท็จจริง เราเริ่มดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงโดยการค้นหาบทความยืนยันความถูกต้องของข้อกล่าวอ้าง โดยใช้คำสำคัญต่างๆ ทั้งในภาษาไทยและภาษาอังกฤษ แม้ว่าจะมีบทความจากหลายแห่งกล่าวถึงการใช้เครื่องดื่มชื่อดังมาทำความสะอาดห้องน้ำและท่ออุดตัน เช่น ที่นี่ และ ที่นี่ อย่างไรก็ตาม เราไม่พบบทความใดๆ ที่ยืนยันข้อกล่าวอ้างข้างต้น จากการค้นหา เราพบบทความจากเว็บไซต์ในภาษารัสเซียที่ชื่อว่า Panorama.pub พร้อมชื่อบทความที่แปลเป็นภาษาอังกฤษได้ว่า “Coca-Cola will be sold as a drain cleaner […]

Continue Reading

โรคระบาดด้านทางเดินหายใจในจีนกำลังสร้างความกังวลในระดับโลก

(อัปเดตล่าสุดวันที่ 27 พฤศจิกายน 2023) 24 พ.ย. 2023 จีนแถลงไม่พบเชื้อสายพันธุ์ใหม่ องค์การอนามัยโลก (WHO) ได้รับคำแถลงจากทางการจีนเกี่ยวกับการระบาดของโรคทางเดินหายใจในเด็ก ซึ่งทางจีนระบุว่าไม่เกี่ยวข้องกับเชื้อโรคใหม่หรือสายพันธุ์ประหลาดใดๆ ทางการจีนได้แถลงว่า เกิดจากภาวะปอดอักเสบที่คล้ายกับโรคไข้หวัดใหญ่ และสาเหตุน่าจะมาจากที่มีการยกเลิกมาตรการป้องกันควบคุมโรคโควิด-19 ที่เข้มงวดไป (ที่มา: BBC Thai) ในช่วงสัปดาห์นี้ ผู้ใช้โซเชียลมีเดียหลายรายออกมาแสดงความกังวลถึงโรคระบาดใหม่ในประเทศจีน ซึ่งยังไม่พบข้อสรุปที่แน่ชัดว่าเกิดจากสาเหตุใด โดยผู้ใช้ X (Twitter) ได้โพสต์ข่าวเกี่ยวกับวิกฤตในโรงพยาบาลต่างๆ ในปักกิ่งและเมืองอื่นๆ ในจีน ที่ขณะนี้มีผู้ป่วยเป็นจำนวนมากจนโรงพยาบาลไม่สามารถให้การรักษาอย่างทั่วถึงได้ Archive Archive Dr. Eric Feigl-Ding ประธานของ NECSI Department of Public Health ที่ New England Complex Systems Institute และหนึ่งในคณะกรรมการผู้เชี่ยวชาญจากองค์การอนามัยโลก (WHO) ได้ออกมาโพสต์ในประเด็นโรงระบาดใหม่ครั้งนี้ผ่านบัญชี X โดยอธิบายไว้ดังนี้: การระบาดของโรคปอดบวมครั้งใหม่ที่เกิดขึ้นในจีน ส่งผลให้มีผู้ป่วยล้นโรงพยาบาลเด็กในกรุงปักกิ่งและในมณฑลเหลียวหนิง และส่งผลให้โรงเรียนหลายแห่งต้องระงับการเรียนการสอน อาการต่างๆ […]

Continue Reading

วิดีโอไวรัลทหารอิสราเอลปักธงชาติบนยอดตึก พร้อมข้อกล่าวอ้างที่ชวนให้เข้าใจผิด

ข้อมูลเท็จที่แพร่กระจายบนโซเชียลมีเดียเกี่ยวกับความขัดแย้งระหว่างอิสราเอล-ฮามาส กลายเป็นประเด็นที่น่ากังวล ความสะดวกในการแบ่งปันข้อมูลออนไลน์ ทำให้เรื่องที่เป็นเท็จและเนื้อหาที่ชวนให้เข้าใจผิดเป็นที่สนใจได้อย่างรวดเร็ว นำไปสู่ความเข้าใจผิดและความตึงเครียดที่เพิ่มมากขึ้น ล่าสุด เราพบวิดีโอหนึ่งแพร่กระจายบนโซเชียลมีเดีย พร้อมข้อกล่าวอ้างว่าเป็นวิดีโอขณะทหารอิสราเอลปักธงชาติอิสราเอลเหนือโรงพยาบาล Al-Shifa ในฉนวนกาซา โพสต์บนโซเชียลมีเดีย ผู้ใช้ Facebook รายหนึ่งได้โพสต์วิดีโอกลุ่มทหารถือธงชาติอิสราเอลไปปักที่ยอดตึก พร้อมคำบรรยายภาพว่า: “15/11/2023 ทหารอิสราเอลปักธงเหนือโรงพยาบาล Al-Shifa แหล่งข่าวชาวปาเลสไตน์รายงานว่า อิสราเอลไม่เคยปล่อยเจ้าหน้าที่, ผู้ป่วย, และผู้ลี้ภัยออกจากโรงพยาบาล, ไม่ว่าจะเป็นก่อน, ระหว่าง, หรือหลังการโจมตี เนื่องจากขาดแคลนยาและไฟฟ้า ทำให้มีผู้บาดเจ็บสาหัสบางรายเสียชีวิต IDF จับกุมคนหลายสิบคน รวมถึงเจ้าหน้าที่ทางการแพทย์ด้วย” Source | Archive โดยเราพบว่าข้อกล่าวอ้างดังกล่าวมาจากผู้ใช้ X (Twitter) ในต่างประเทศ โดยวิดีโอบนแพลตฟอร์ม X มีการรับชมไปแล้วกว่าสองแสนครั้ง Source | Archive และเรายังพบวิดีโอพร้อมข้อกล่าวอ้างเดียวกันแพร่กระจายบน TikTok อีกด้วย (Archive) ตรวจสอบข้อเท็จจริง จากการตรวจสอบ เราพบทวีตของ Arthur Carpentier นักข่าวชาวฝรั่งเศส โดยได้ระบุว่าตำแหน่งในวิดีโอดังกล่าวไม่ใช่โรงพยาบาล Al-Shifa […]

Continue Reading

วิดีโอไวรัลเหตุการณ์พยายามลอบสังหารปธน.ปาเลสไตน์ เป็นข้อมูลที่ชวนให้เข้าใจผิด

คำเตือน: บทความนี้มีวิดีโอที่แสดงออกถึงความรุนแรง โปรดใช้วิจารณญาณในการอ่าน เหตุการณ์ความไม่สงบในอิสราเอลและปาเลสไตน์ครั้งล่าสุดได้ดำเนินมากว่าหนึ่งเดือนแล้ว และในขณะที่สถานการณ์กำลังทวีความรุนแรงขึ้น เราพบข้อกล่าวอ้างที่ระบุว่ามีเหตุการณ์พยายามลอบสังหารประธานาธิบดีปาเลสไตน์ในสัปดาห์ที่ผ่านมา โพสต์บนโซเชียลมีเดีย เมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายนที่ผ่านมา มีวิดีโอแพร่กระจายพร้อมข้อกล่าวอ้างว่าเป็นเหตุการณ์การพยายามลอบสังหารนาย Mahmoud Abbas ประธานาธิบดีปาเลสไตน์ โดยมีหน่วยอารักขาเสียชีวิต 1 ราย โดยเราพบวิดีโอพร้อมข้อกล่าวอ้างดังกล่าวแพร่กระจายทั้งบน Facebook และ X (Twitter) Source | Archive Source | Archive โดยล่าสุดวิดีโอเดียวกันพร้อมข้อกล่าวอ้างในภาษาอังกฤษมีการรับชมไปแล้วกว่าสามล้านครั้ง Source | Archive ตรวจสอบข้อเท็จจริง เราได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงโดยใช้โปรแกรม Invid – WeVerify เพื่อวิเคราะห์คีย์เฟรมจากวิดีโอ จากนั้นใช้ฟีเจอร์ Reverse Image Search เพื่อค้นหาที่มาของวิดีโอ และเราพบบทความจาก The Palestine Chronicle และ France 24 ที่ได้ตรวจสอบและหักล้างข้อกล่าวอ้างข้างต้น อ้างอิงจากเว็บไซต์ France 24 วิดีโอดังกล่าวถูกโพสต์เมื่อวันที่ […]

Continue Reading

วิดีโอในอดีตที่ไม่เกี่ยวข้องถูกนำมาแอบอ้างว่าเป็นการจัดฉากศพปลอมของฮามาส

เหตุการณ์ความไม่สงบระหว่างอิสราเอลและกลุ่มฮามาสยังคงดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง โดยล่าสุดมีรายงานว่าเจ้าหน้าที่ของอิสราเอลบุกจู่โจมค่ายผู้ลี้ภัยเจนิน ในเขตเวสต์แบงก์แล้ว (อ่านข่าวที่นี่) และนอกจากนี้ เรายังพบวิดีโอแพร่กระจายบนโซเชียลมีเดีย โดยอ้างว่าเป็นวิดีโอปลอมเป็นศพของกลุ่มฮามาส โพสต์บนโซเชียลมีเดีย ผู้ใช้ Twitter (X) รายหนึ่งได้โพสต์วิดีโอพร้อมข้อความกำกับว่า “ศพของฮามาสลืมตาได้” Source | Archive และเรายังพบวิดีโอที่คล้ายคลึงกัน พร้อมข้อกล่าวอ้างว่าเป็นวิดีโอที่จัดฉากเป็นศพของกลุ่มฮามาส พร้อมคำบรรยายวิดีโอว่า “อัลเลาะห์อวยพร ศพฮามาสตายแล้วแต่ขยับได้ #Israel #ฮามาส #อิสราเอลฮามาส #ปาเลสไตน์” Source | Archive ตรวจสอบข้อเท็จจริง วิดีโอที่ 1: วิดีโอจากประเทศมาเลเซียที่เผยแพร่ตั้งแต่เดือนสิงหาคม เราได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงโดยใช้ฟีเจอร์ Reverse Image Search ค้นหาที่มาของวิดีโอดังกล่าวและพบทวีตของ Shayan Sardarizadeh นักข่าวของ BBC Verify ที่โพสต์ชี้แจงว่าวิดีโอดังกล่าว แท้จริงแล้วมีการเผยแพร่ตั้งแต่เดือนสิงหาคม โดยเป็นวิดีโอถ่ายในมัสยิดแห่งหนึ่งในประเทศมาเลเซีย Archive วิดีโอต้นฉบับใน TikTok Source | Archive วิดีโอที่ 2: วิดีโอการประท้วงในอียิปต์ตั้งแต่ 10 […]

Continue Reading

กระทรวงต่างประเทศยืนยัน ไม่มีแรงงานไทยไปรับจ้างเป็นทหารของอิสราเอล ตามข้อกล่าวอ้างในโซเชียล

เมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน นายปานปรีย์ พหิทธานุกร รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศ กล่าวถึงการช่วยเหลือแรงงานไทย อิสราเอลว่า ล่าสุดมีผู้เสียชีวิต 34 คน บาดเจ็บ 18 คน ถูกควบคุมตัว 24 คน ขณะนี้กำลังรอฟังข่าวดี แต่ยอมรับว่าในประเทศอิสราเอลมีการปฏิบัติการค่อนข้างหนักในฉนวนกาซา สำหรับตัวเลขแรงงานไทยในอิสราเอล จากที่ได้รับรายงาน เดิมมีประมาณ 30,000 คน กลับมาแล้วประมาณ 8,000 คน ยังอยู่ที่อิสราเอลอีกเป็นหมื่นคน แต่อยู่ในพื้นที่ที่ปลอดภัย (อ่านข่าวที่นี่) อย่างไรก็ตาม ล่าสุด เราพบข้อกล่าวอ้างว่ามีแรงงานไทยไปรับจ้างเป็นทหารอิสราเอล แพร่กระจายอยู่บนโซเชียลมีเดีย โพสต์บนโซเชียลมีเดีย ในวันที่ 4 พฤศจิกายน มีผู้ใช้ Facebook รายหนึ่งได้โพสต์ภาพของตนขณะปฏิบัติหน้าที่เป็นทหารในอิสราเอล พร้อมเตือนให้ชาวไทยในอิสราเอลดูแลตนเองและปฏิบัติตามคำสั่งทางการอยู่เสมอ Source | Archive และหลังจากนั้นก็มีผู้ใช้หลายรายที่แชร์ภาพและโพสต์ของบุคคลดังกล่าว พร้อมระบุว่าเป็นแรงงานไทยที่ไปรับจ้างเป็นทหารให้กับอิสราเอล กระทรวงต่างประเทศชี้แจง ไม่มีแรงงานไทยรับจ้างเป็นทหารในอิสราเอล จากรายงานข่าวของไทยรัฐออนไลน์ ได้รายงานว่า ตามที่ได้มีกระแสข่าวในโลกโซเชียลว่า มีแรงงานไทยไปเป็นทหารให้แก่ฝ่ายอิสราเอลในช่วงสถานการณ์อิสราเอล-กาซานั้น กระทรวงการต่างประเทศได้รับรายงานจากสถานเอกอัครราชทูต ณ […]

Continue Reading