71% ของสินค้าบน Amazon มาจากจีน จริงหรือไม่?

เมื่อไม่นานมานี้ มีข้อกล่าวอ้างที่กำลังได้รับความสนใจ ที่ระบุว่า “71% ของสินค้าบน Amazon มาจากจีน” พร้อมกราฟประกอบ ทำให้ข้อกล่าวอ้างดังกล่าวได้รับความสนใจและแชร์ต่ออย่างรวดเร็วบนแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดีย โพสต์บนโซเชียลมีเดีย โพสต์ไวรัลที่แพร่หลายบนโลกออนไลน์แสดงข้อความว่า “71% ของสินค้าบน Amazon มาจากจีน” โดยแนบกราฟชื่อว่า “Made in China, Sold on Amazon” ซึ่งอ้างอิงจาก Jungle Scout ผ่าน ECDB (2024) และเผยแพร่โดย Statista ที่มา | ลิงก์ถาวร กราฟที่นำเสนอปรากฏข้อมูลว่า จีนครองตลาด Amazon ด้วยสัดส่วน 71% ของสินค้า อย่างไรก็ตาม นักวิเคราะห์ชี้ให้เห็นว่าเมื่อรวมเปอร์เซ็นต์จากทุกประเทศในกราฟ จะได้ผลรวมถึง 162% ซึ่งการแสดงเปอร์เซ็นต์ที่ถูกต้องควรรวมกันได้ 100% เท่านั้น ชี้ให้เห็นว่ามีความคลาดเคลื่อนในการตีความข้อมูล ตรวจสอบข้อเท็จจริง วิธีการเก็บข้อมูลและการวิเคราะห์ กราฟนี้มีที่มาจาก Jungle Scout ผ่าน ECDB (2024) […]

Continue Reading

จีนและอินเดียยังไม่ได้ประกาศภาวะฉุกเฉินจากโรค HMPV

เมื่อช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา มีการแชร์ข้อมูลอย่างกว้างขวางในสื่อสังคมออนไลน์เกี่ยวกับการระบาดของโรค HMPV ในประเทศจีน พร้อมกับการอ้างว่ามีการประกาศภาวะฉุกเฉินในประเทศจีนและอินเดียแล้ว โดยข้อมูลดังกล่าวได้แพร่กระจายอย่างรวดเร็วบนโซเชียลมีเดียและสร้างความกังวลและสับสนแก่ผู้ใช้โซเชียลมีเดีย ข้อกล่าวอ้างบนโซเชียลมีเดีย  มีผู้ใช้โซเชียลมีเดียหลายรายได้แชร์ข้อมูลว่า จีนและอินเดียได้ประกาศภาวะฉุกเฉิน เนื่องจากโรค HMPV (Human Metapneumovirus) ระบาด พร้อมระบุว่าล่าสุดโรงพยาบาลได้เมืองหลักต่างๆ เช่น ปักกิ่ง เซี่ยงไฮ้ และกวางโจว มีภาวะผู้ป่วยล้นจนเตียงเต็ม เนื่องมาจากการติดเชื้อ HMPV ที่มา | ลิงก์ถาวร ที่มา | ลิงก์ถาวร ที่มา | ลิงก์ถาวร อย่างไรก็ตาม จากการตรวจสอบข้อเท็จจริง เราพบว่าข้อความดังกล่าวเป็นข้อมูลที่ชวนให้เข้าใจผิด ตรวจสอบข้อเท็จจริง HMPV คืออะไร? Human Metapneumovirus (HMPV) เป็นไวรัสในตระกูล Paramyxoviridae ที่เกี่ยวข้องกับการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ ไวรัสนี้ถูกค้นพบครั้งแรกในปี 2001 โดยการศึกษาพบว่า HMPV สามารถแพร่กระจายได้ทั่วโลกและพบได้ในคนทุกกลุ่มอายุ แม้ว่า HMPV จะมีลักษณะคล้ายกับ RSV (Respiratory Syncytial Virus) […]

Continue Reading

คลิปจีนปล่อยน้ำจากเขื่อนไม่เกี่ยวกับน้ำท่วมแม่น้ำโขง

เมื่อเร็วๆ นี้ มีการแชร์คลิปวิดีโอในสื่อสังคมออนไลน์ แสดงภาพการปล่อยน้ำจากเขื่อนขนาดใหญ่ พร้อมข้อความระบุว่าจีนกำลังระบายน้ำลงแม่น้ำโขง และอาจส่งผลให้เกิดน้ำท่วมใหญ่ในประเทศไทยและลาว โพสต์บนโซเชียลมีเดีย เมื่อไม่กี่วันมานี้ วิดีโอแพร่กระจายบนแพลตฟอร์ม Facebook พร้อมข้อความกำกับว่า “จีนร่งระบายน้ำลงแม่น้ำโขง หลายจังหวัดเตือน ระวัง น้ำโขงล้นตลิ่ง” ที่มา | ลิงก์ถาวร ที่มา | ลิงก์ถาวร นอกจากนี้ เรายังพบวิดีโอดังกล่าวแพร่กระจายบน TikTok เช่นเดียวกัน ที่มา | ลิงก์ถาวร อย่างไรก็ตาม จากการตรวจสอบข้อเท็จจริง วิดีโอดังกล่าวไม่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ปัจจุบันแต่อย่างใด ตรวจสอบข้อเท็จจริง แม้ว่าข่าวที่ระบุว่าจีนปล่อยน้ำจากเขื่อนลงสู่แม่น้ำโขงจะเป็นเรื่องจริง (อ่านเพิ่มเติมที่นี่) แต่วิดีโอดังกล่าว เป็นวิดีโอที่ไม่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ในขณะนี้ โดยวิดีโอและข้อกล่าวอ้างเดียวกันนี้มีการแพร่กระจายตั้งแต่ปี 2564 (ดูที่นี่) อย่างไรก็ตาม สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (กอนช.) เคยออกมาชี้แจงถึงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับวิดีโอและข้อกล่าวอ้างนี้ โดยอธิบายว่า คลิปวิดีโอดังกล่าวเป็นเหตุการณ์การระบายน้ำของเขื่อนเสี่ยวล่างตี่ ซึ่งเป็นเขื่อนพลังงานไฟฟ้าในแม่น้ำเหลือง (แม่น้ำฮวงโห) มณฑลเหอหนาน ประเทศจีน โดยแม่น้ำเหลืองอยู่บริเวณตอนกลางของประเทศจีน ไม่ได้เชื่อมต่อกับแม่น้ำล้านช้างซึ่งเป็นต้นทางของแม่น้ำโขง แม่น้ำเหลืองไหลจากฝั่งตะวันตกไปยังฝั่งตะวันออกของจีน และไหลออกสู่ทะเลเหลือง ในขณะที่แม่น้ำโขงมีต้นกำเนิดจากที่ราบสูงทิเบตและไหลผ่านหลายประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ก่อนไหลลงสู่ทะเลจีนใต้ กอนช. […]

Continue Reading

วิดีโออ้างว่าจีน Airdrop อาหารให้ชาวปาเลสไตน์ ชวนให้เข้าใจผิด

เมื่อไม่นานมานี้ มีวิดีโอหนุ่งแพร่กระจายบนโซเชียลมีเดีย พร้อมข้อกล่าวอ้างว่าจีนได้แจกจ่ายอาหารโดยการโปรยผ่านเครื่องบิน (Food Airdrop) ให้กับผู้คนในแถบฉนวนกาซ่าและปาเลสไตน์ โพสต์โซเชียลมีเดีย เราได้รับเบาะแสจากช่องทางไลน์ตรวจสอบข้อเท็จจริงของเรา โดยวิดีโอดังกล่าวแพร่กระจายพร้อมข้อกล่าวอ้างว่า “จีนโปรยอาหารยาจากฟากฟ้าช่วย ปาเลสไตน์” Archive นอกจากนี้เรายังพบวิดีโอที่คล้ายคลึงกันแพร่กระจายบนแพลตฟอร์มอื่นๆ เช่น Facebook และ TikTok เช่นเดียวกัน Source | Archive Source | Archive ตรวจสอบข้อเท็จจริง เราได้ดำเนินการตรวจสอบหาที่มาของฟุตเทจต่างๆ ภายในคลิปวิดีโอไวรัลดังกล่าว และพบว่าฟุตเทจบางส่วนนั้นไม่ตรงกับข้อกล่าวอ้างที่ระบุข้างต้น โดยมีการใช้ภาพจากเหตุการณ์ที่สหรัฐฯ โปรยอาหารจากเครื่องบินที่แถบฉนวนกาซ่าเมื่อ 2 มี.ค. (ที่มา) นอกจากนี้ แม้ส่วนอื่นๆ ของวิดีโอจะยังไม่สามารถระบุที่มาที่แน่ชัดได้ แต่ไม่มีรายงานจากโปรยอาหารจากรัฐบาลจีนให้ผู้คนในแถบฉนวนกาซ่าจากแหล่งข่าวที่น่าเชื่อถือใดๆ โดยประเทศที่มีรายงานว่าส่งอาหารและอุปกรณ์ยังชีพอื่นๆ ไปยังกาซ่าในปัจจุบันได้แก่ จอร์แดน สหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ เยอรมนี ฝรั่งเศส อินโดนีเซีย เนเธอร์แลนด์ เบลเยียม และอียิปต์ นอกจากนี้ จากเว็บไซต์ของรัฐบาลจีน ได้มีการรายงานไว้ว่า จีนได้ให้ความช่วยเหลือแก่ปาเลสไตน์เพื่อบรรเทาวิกฤติในฉนวนกาซา ไม่ได้มีการระบุว่าจีนได้ส่งอาหารไปทางการโปรยจากเครื่องบินแต่อย่างใด จากรายงาน […]

Continue Reading

จีนยกเลิกเที่ยวบินมาไทยกว่า 9,000 เที่ยว จริงหรือไม่?

เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา รัฐบาลไทยประกาศว่าสามารถขอฟรีวีซ่า ให้คนไทยสามารถเข้าประเทศจีนได้โดยไม่ต้องขอวีซ่า ซึ่งจะมีผลตั้งแต่เดือนมีนาคม ปี 2567 นี้เป็นต้นไป โดยประเด็นดังกล่าวกลายเป็นประเด็นหลักที่สังคมให้ความสนใจเป็นอย่างมาก และท่ามกลางประเด็นดังกล่าว เราพบข้อความที่ระบุว่าจีนยกเลิกเที่ยวบินสู่ประเทศไทยกว่า 9,000 ไฟลท์ ในช่วงตรุษจีนที่กำลังจะมาถึง โพสต์บนโซเชียลมีเดีย ผู้ใช้บัญชี X (Twitter) ได้โพสต์ข้อความว่า “ตรุษจีนปีนี้ ประเทศจีนยกเลิก 9,000 เที่ยวบิน ไม่ให้คนจีนมาเที่ยวไทย เพราะ ไทยพีบีเอส ในฐานะองค์กรของรัฐบาลไทย ไปสรุปข่าวว่า ไต้หวันควรได้รับเอกราช ทำให้การท่องเที่ยวไทยเสียหายมหาศาล คำถามคือ ไทยทีบีเอส จะมีความรับผิดชอบอย่างไรต่อเหตุการณ์นี้ ?!!” โดยโพสต์ดังกล่าวมีการรับชมไปกว่าหกล้านครั้ง Source | Archive นอกจากนี้ เรายังพบข้อกล่าวอ้างที่คล้ายกันแพร่กระจายบนแพลตฟอร์ม Facebook อีกด้วยเช่นกัน Source | Archive Source | Archive Source | Archive ททท. และ กพท. ชี้แจง ‘การขอคืนสลอต’ […]

Continue Reading

จริงหรือไม่: ทิชชูจากจีน มีสารปนเปื้อน ไม่ควรนำมาใช้กับร่างกาย

ทิชชูนำเข้าจากประเทศจีน กลายเป็นอีกผลิตภัณฑ์ที่เป็นที่นิยมในไทย เนื่องจากราคาที่ถูกกว่ากระดาษทิชชูไทยที่วางจำหน่ายตามท้องตลาด อย่างไรก็ตาม มีผู้ใช้หลายรายบนโซเชียลได้ออกมาเตือนภัยเรื่องคุณภาพและความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์ โดยเฉพาะเลขรหัสบนซองทิชชูที่ลงท้ายด้วย 810 และ 808 ซึ่งกลายเป็นประเด็นในสังคมออนไลน์เมื่อช่วงเร็วๆนี้ โพสต์บนโซเชียลมีเดีย ผู้ใช้ Facebook ได้ออกมาโพสต์เตือนภัยเกี่ยวกับกระดาษทิชชูที่นำเข้าจากจีน โดยระบุว่ารหัสลงท้าย 810 ด้านหลังบรรจุภัณฑ์ของทิชชูหมายถึงวัสดุของผลิตภัณฑ์ดังกล่าวทำมาจากทิชชูใช้แล้ว และมีการใช้สารฟอกขาวในกระบวนการผลิต Source | Archive Source | Archive ความหมายของรหัสทิชชู เลขรหัส 810 หรือ 808 มีรหัสเต็ม คือ GB/T 20808 และ GB/T 20810 เป็นรหัสตามมาตรฐานอุตสาหกรรมของประเทศจีน ที่เรียกว่า GuoBiao Standards หรือ GB standards โดยประเทศจีนได้กำหนดมาตรฐานไว้ 2 ขั้นคือ ขั้นบังคับ (Mandatory) ตามที่กฎหมายบังคับให้ทำตามเพื่อความปลอดภัยต่อสุขภาพของมนุษย์ และขั้นแนะนำ (Recommended) ซึ่งเป็นข้อกำหนดที่ไม่ได้มีการบังคับด้วยกฎหมาย โดยสามารถดูได้จากตัวรหัส ถ้าขึ้นต้นด้วย GB […]

Continue Reading

คลิปไวรัลพนักงานเสิร์ฟในจีน แท้จริงแล้วเป็นคนหรือหุ่นยนต์?

หลายครั้งที่วิดีโอที่แปลกใหม่และดึงดูดใจมักจะได้รับความสนใจและกลายเป็นไวรัล และเมื่อเร็วๆ นี้ เราพบวิดีโอไวรัลบน TikTok พร้อมข้อกล่าวอ้างว่าบุคคลในวิดีโอเป็นหุ่นยนต์พนักงานเสิร์ฟอาหารของร้านอาหารแห่งหนึ่งในจีน ซึ่งได้รับความสนใจเป็นอย่างมาก โพสต์บนโซเชียลมีเดีย ผู้ใช้ TikTok รายหนึ่งได้แชร์วิดีโอของผู้หญิงคนหนึ่งที่กำลังเสิร์ฟอาหารให้ลูกค้า พร้อมท่าทางการเคลื่อนไหวที่ดูเหมือนหุ่นยนต์ พร้อมคำบรรยายวิดีโอว่า: “ที่เมืองฉงชิ่ง เมืองทางตอนกลางของประเทศมีการใช้ พนง.เสริฟในร้านหม้อไฟ ที่ไม่ใช่หุ่นยนต์รถเข็นธรรมดา แต่มีลักษณะท่าทางเหมือนมนุษย์ผิวหนังผมที่เหมือนจริงมาก #หุ่นยนต์ #หุ่นยนต์เสริฟอาหาร #ร้านอาหารหุ่นยนต์ #ร้านหม้อไฟ #หุ่นยนต์ผู้ช่วย #หุ่นยนต์เทเหล้า” Source | Archive โดยล่าสุดวิดีโอดังกล่าวมีการรับชมไปแล้วกว่า 2.4 ล้านครั้ง และมีผู้ใช้แสดงความคิดเห็นอย่างหลากหลาย นอกจากนี้เรายังพบวิดีโอพร้อมข้อกล่าวอ้างเดียวกันบน Facebook และ X (Twitter) ด้วยเช่นเดียวกัน Source | Archive Source | Archive อย่างไรก็ตาม เราพบว่าบุคคลในวิดีโอไวรัลดังกล่าวไม่ใช่หุ่นยนต์ตามที่มีการกล่าวอ้างแต่อย่างใด ตรวจสอบข้อเท็จจริง เมื่อดำเนินการตรวจสอบ เราพบบทความจากเว็บไซต์ Business Insider เกี่ยวกับวิดีโอไวรัลดังกล่าว โดยบทความได้ระบุว่าพนักงานเสิร์ฟรายดังกล่าวไม่ใช่หุ่นยนต์ แต่เป็นนักเต้นและเป็นเจ้าของร้านอาหารในคลิป โดยสำนักข่าว South China Morning Post ก็ได้โพสต์คลิปของบุคคลดังกล่าว ชี้แจงว่าเธอเป็นนักเต้นมืออาชีพ พร้อมฟุตเทจขณะเธอไปแข่งเต้นอีกด้วย […]

Continue Reading

ข้อกล่าวอ้างว่าจีนประกาศว่าโคคาโคล่าไม่เป็นเครื่องดื่ม “ไม่มีมูลความจริง”

ในยุคที่ข้อมูลต่างๆ ขับเคลื่อนด้วยโซเชียลมีเดีย ข้อมูลเท็จสามารถแพร่กระจายได้อย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อมีข้อกล่าวอ้างที่ดึงดูดความสนใจของสาธารณชนได้ ล่าสุด เราพบข้อความที่แพร่กระจายบน Facebook อ้างว่าจีนจะใช้เครื่องดื่ม “โคคา-โคล่า” เป็นผลิตภัณฑ์ทำความสะอาด และไม่จัดเป็นเครื่องดื่มอีกต่อไป ข้อมูลดังกล่าวได้รับความสนใจอย่างมากและก่อให้เกิดความกังวลเกี่ยวกับความปลอดภัยในการบริโภคน้ำอัดลมยอดนิยมนี้  โพสต์บนโซเชียลมีเดีย ผู้ใช้ Facebook หลายรายแชร์ข้อความระบุว่า จีนประกาศว่าโค้ก หรือโคคา-โคล่า ไม่ใช่เครื่องดื่ม แต่เป็นน้ำยาทำความสะอาด และมีการให้นักโทษในประเทศจีนดื่ม ซึ่งทำให้นักโทษเป็นมะเร็ง Source | Archive และเรายังพบข้อกล่าวอ้างดังกล่าวบน YouTube ด้วยเช่นเดียวกัน Source | Archive ตรวจสอบข้อเท็จจริง เราเริ่มดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงโดยการค้นหาบทความยืนยันความถูกต้องของข้อกล่าวอ้าง โดยใช้คำสำคัญต่างๆ ทั้งในภาษาไทยและภาษาอังกฤษ แม้ว่าจะมีบทความจากหลายแห่งกล่าวถึงการใช้เครื่องดื่มชื่อดังมาทำความสะอาดห้องน้ำและท่ออุดตัน เช่น ที่นี่ และ ที่นี่ อย่างไรก็ตาม เราไม่พบบทความใดๆ ที่ยืนยันข้อกล่าวอ้างข้างต้น จากการค้นหา เราพบบทความจากเว็บไซต์ในภาษารัสเซียที่ชื่อว่า Panorama.pub พร้อมชื่อบทความที่แปลเป็นภาษาอังกฤษได้ว่า “Coca-Cola will be sold as a drain cleaner […]

Continue Reading

โรคระบาดด้านทางเดินหายใจในจีนกำลังสร้างความกังวลในระดับโลก

(อัปเดตล่าสุดวันที่ 27 พฤศจิกายน 2023) 24 พ.ย. 2023 จีนแถลงไม่พบเชื้อสายพันธุ์ใหม่ องค์การอนามัยโลก (WHO) ได้รับคำแถลงจากทางการจีนเกี่ยวกับการระบาดของโรคทางเดินหายใจในเด็ก ซึ่งทางจีนระบุว่าไม่เกี่ยวข้องกับเชื้อโรคใหม่หรือสายพันธุ์ประหลาดใดๆ ทางการจีนได้แถลงว่า เกิดจากภาวะปอดอักเสบที่คล้ายกับโรคไข้หวัดใหญ่ และสาเหตุน่าจะมาจากที่มีการยกเลิกมาตรการป้องกันควบคุมโรคโควิด-19 ที่เข้มงวดไป (ที่มา: BBC Thai) ในช่วงสัปดาห์นี้ ผู้ใช้โซเชียลมีเดียหลายรายออกมาแสดงความกังวลถึงโรคระบาดใหม่ในประเทศจีน ซึ่งยังไม่พบข้อสรุปที่แน่ชัดว่าเกิดจากสาเหตุใด โดยผู้ใช้ X (Twitter) ได้โพสต์ข่าวเกี่ยวกับวิกฤตในโรงพยาบาลต่างๆ ในปักกิ่งและเมืองอื่นๆ ในจีน ที่ขณะนี้มีผู้ป่วยเป็นจำนวนมากจนโรงพยาบาลไม่สามารถให้การรักษาอย่างทั่วถึงได้ Archive Archive Dr. Eric Feigl-Ding ประธานของ NECSI Department of Public Health ที่ New England Complex Systems Institute และหนึ่งในคณะกรรมการผู้เชี่ยวชาญจากองค์การอนามัยโลก (WHO) ได้ออกมาโพสต์ในประเด็นโรงระบาดใหม่ครั้งนี้ผ่านบัญชี X โดยอธิบายไว้ดังนี้: การระบาดของโรคปอดบวมครั้งใหม่ที่เกิดขึ้นในจีน ส่งผลให้มีผู้ป่วยล้นโรงพยาบาลเด็กในกรุงปักกิ่งและในมณฑลเหลียวหนิง และส่งผลให้โรงเรียนหลายแห่งต้องระงับการเรียนการสอน อาการต่างๆ […]

Continue Reading

ต้น “April Snow” ที่เป็นไวรัล: มีอยู่จริงหรือแค่ผลงานอีกชิ้นของ AI?

ความมหัศจรรย์ของธรรมชาตินั้นดึงดูดความสนใจของผู้คนได้เสมอมา ไม่ว่าจะเป็นวิวทิวทัศน์ที่สวยงาม สิ่งมีชีวิตที่ดูแปลกประหลาด หรือปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่เหลือเชื่อ และผู้คนก็ชื่นชอบที่จะแชร์ความประทับใจที่มีต่อธรรมชาติลงโซเชียลมีเดียอยู่เสมอ แต่บางครั้งเรื่องที่แชร์ก็อาจไม่ใช่ข้อมูลที่ถูกต้อง ซึ่งทำให้เกิดความสับสนและเข้าใจผิดได้ เมื่อไม่นานมานี้ มีผู้ใช้บนโซเชียลได้แชร์รูปภาพต้นไม้ที่สวยงามและแปลกตาต้นหนึ่ง โดยอ้างว่าเป็นต้นไม้หายากจากประเทศจีน และรูปภาพนี้ก็สร้างความสนใจและความประหลาดใจให้ผู้ใช้โซเชียลรายอื่นๆ เป็นวงกว้าง ข้อกล่าวอ้างบนโซเชียลมีเดีย เพจเฟซบุ๊ก “Art and Craft Creation Academy – สถาบันสรรค์งานศิลป์” ได้แชร์รูปภาพต้นไม้ที่มีดอกกลมสีขาวขนาดใหญ่ คล้ายหิมะปกคลุมทั่วต้น พร้อมคำกล่าวอ้างว่ามีอยู่เพียงสามต้นเท่านั้นบนโลก และออกดอกแค่ปีละ 1 ครั้ง ในช่วงเมษายนของทุกปี Source | Archive โดยเราพบว่าเพจเฟซบุ๊กดังกล่าวได้แชร์มาจากโพสต์ต้นทางในภาษาอังกฤษ ที่กล่าวอ้างว่าต้นนี้คือต้น “Losu” หรือมีฉายาว่า “April Snow” เนื่องจากออกดอกในช่วงเดือนเมษายน และยังอ้างว่ารัฐบาลจีนให้ความคุ้มครองเพื่ออนุรักษ์ต้นไม้เหล่านี้อย่างเข้มงวดอีกด้วย Source | Archive นอกจากนี้ รูปนี้ยังแพร่กระจายไปตามโซเชียลต่างๆ รวมถึงทวิตเตอร์ หรือแม้แต่ Reddit อีกด้วย แต่หลังจากตรวจสอบ เราพบว่ารูปภาพนี้มีแนวโน้มว่าจะเป็นภาพที่สร้างโดย AI มากกว่าที่จะเป็นภาพจริง ตรวจสอบข้อเท็จจริง เราได้ใช้ฟีเจอร์ Reverse Image […]

Continue Reading