ภาพไวรัล “โลมาสีชมพู” ไม่ใช่ภาพจริง

ภาพโลมาสีชมพู กำลังได้รับความสนใจในช่วงไม่กี่วันที่ผ่านมานี้ โดยมีการแชร์อย่างกว้างขวางบนแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดีย รวมทั้งมีผู้ตั้งข้อสงสัยเกี่ยวกับภาพโลมาดังกล่าวว่าเป็นภาพจริงหรือเป็นแค่ AI โพสต์บนโซเชียลมีเดีย ผู้ใช้ Facebook ได้โพสต์รูปโลมาสีชมพู พร้อมข้อความว่า “เป็นภาพที่หาดูได้ยากกับน้อง “โลมาสีชมพู”” โดยโพสต์ดังกล่าวได้รับความสนใจอย่างกว้างขวาง โดยมีการแชร์ต่อกว่าหนึ่งหมื่นครั้ง มีการกดถูกใจกว่าสองหมื่นครั้ง และการแสดงความคิดเห็นกว่าหนึ่งพันครั้ง และเรายังพบภาพชุดดังกล่าวแพร่กระจายบนแพลตฟอร์ม Facebook เป็นจำนวนมาก เช่น ที่นี่ และที่นี่ ที่มา | ลิงก์ถาวร นอกจากนี้ภาพเดียวกันนังแพร่กระจายบนแพลตฟอร์ม X และมีผู้รับชมไปกว่าสามล้านครั้งอีกด้วย ที่มา | ลิงก์ถาวร อย่างไรก็ตาม เราพบว่ารูปภาพดังกล่าวไม่ใช่ภาพของโลมาสีชมพูของจริงแต่อย่างใด ตรวจสอบข้อเท็จจริง เราได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงโดยการใช้ฟีเจอร์ Reverse Image Search เพื่อค้นหาที่มาของรูปภาพดังกล่าว อย่างไรก็ตาม เราไม่พบแหล่งที่มาที่น่าเชื่อถือใดๆ ของรูปภาพนี้ และพบว่าไม่กี่วันก่อน ภาพชุดดังกล่าวมีการแชร์จากผู้ใช้ X (Twitter) ต่างชาติ พร้อมระบุว่าพบโลมาสีชมพูดังกล่าวในทะเลแถบนอร์ทแคโรไลนา เราจึงค้นหาข่าวการค้นพบโลมาสีชมพูที่แถบนอร์ทแคโรไลนา แต่ก็ไม่พบรายงานดังกล่าวจากแหล่งที่มาที่น่าเชื่อถือใดๆ นอกจากนี้ ตัวแทนของสำนักงานประมง รัฐนอร์ทแคโรไลนา ได้ยืนยันกับทางเว็บไซต์ Verify […]

Continue Reading

วิดีโอไวรัลหมึกยักษ์โผล่น้ำตื้น มีสาเหตุจากโลกร้อนจริงหรือไม่?

เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา วิดีโอการจับหมึกยักษ์ได้กลายเป็นไวรัลบนแพลตฟอร์ม X โดยมีการรับชมไปกว่าสี่ล้านครั้ง พร้อมข้อกล่าวอ้างว่าเป็นสัญญาณเตือนถึงสภาพแวดล้อมที่กำลังเปลี่ยนแปลง ข้อกล่าวอ้างบนโซเชียลมีเดีย ผู้ใช้ X ได้โพสต์วิดีโอของเรือประมงกำลังพยายามจับหมึกยักษ์ พร้อมคำบรรยายประกอบว่า “เจอปลาหมึกตัวขนาดนี้ คนมันก็ดีใจ แต่หารู้ไม่ นี่คือสัญญาณเตือน พวกนี้อยู่ในน้ำที่ลึกมาก ถ้ามันออกมาให้จับง่ายๆ แสดงว่าอาหารมันน้อยลง สภาพแวดล้อมเปลี่ยนแปลง” ที่มา | ลิงก์ถาวร โดยล่าสุดโพสต์ดังกล่าวมีการแชร์ต่อกว่าสามหมื่นครั้ง และมีการรับชมไปกว่าห้าล้านครั้ง ตรวจสอบข้อเท็จจริง หมึกยักษ์ในวิดีโอคือหมึกสายพันธุ์อะไร: หมึกยักษ์ในวิดีโอดังกล่าวมีชื่อว่า “หมึกฮัมโบลต์” มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Dosidicus gigas หรือที่รู้จักกันในชื่อหมึกจัมโบ้ เป็นหนึ่งในหมึกสายพันธุ์นักล่าที่ใหญ่ที่สุดชนิดหนึ่ง มีถิ่นกำเนิดในน่านน้ำอุ่นของมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันออก หมึกฮัมโบลต์มีจำนวนประชากรเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา โดยขยายพันธุ์ไปจนถึงตอนเหนือของอลาสกา แหล่งอาศัยและพฤติกรรมของหมึกฮัมโบลต์: หมึกฮัมโบลต์อาศัยอยู่ในมหาสมุทร ตั้งแต่ระดับความลึก 200 – 700 เมตร เป็นที่รู้กันว่าหมึกฮัมโบลต์จะขึ้นไปยังน้ำตื้นในตอนกลางคืนเพื่อล่าหาอาหาร โดยพวกมันสามารถล่าได้เพียงลำพังหรือเป็นกลุ่มหลายพันตัว เมื่ออยู่รวมกันเป็นฝูง พวกมันจะวิ่งตามเหยื่อที่มีขนาดใหญ่กว่าและกลืนกินเร็วกว่าเหยื่อตัวเล็ก อาหารของพวกมันประกอบด้วยปลาตัวเล็ก สัตว์น้ำที่มีเปลือกแข็ง หมึก และโคพีพอดเป็นส่วนใหญ่ หมึกฮัมโบลต์กับสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลง: แม้การขึ้นมาหาอาหารบนน้ำตื้นจะเป็นพฤติกรรมโดยปกติของหมึกชนิดนี้ แต่หมึกฮัมโบลต์กำลังเผชิญกับสภาพแวดล้อมที่กำลังเปลี่ยนแปลง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอันมาจากภาวะโลกร้อน การขยายตัวของโซนออกซิเจนต่ำในมหาสมุทรซึ่งเป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ […]

Continue Reading

ตรวจสอบข้อเท็จจริงวัตถุคล้ายกิ่งไม้แต่ขยับได้ คืออะไรกันแน่?

เมื่อไม่นานมานี้ ผู้ใช้โซเชียลรายหนึ่งได้โพสต์วิดีโอกิ่งไม้ขนาดเล็กที่ขยับได้เอง โดยผู้คนต่างมาแสดงความคิดเห็นและรับชมเป็นจำนวนมากจนเป็นกระแสไวรัล และมีการรายงานข่าวเกี่ยวกับกิ่งไม้ปริศนานี้ในหลายๆ แพลตฟอร์มอีกด้วย ข้อกล่าวอ้างบนโซเชียลมีเดีย ในเดือนธันวาคมที่ผ่านมา ผู้ใช้ TikTok @smars990 ได้โพสต์วิดีโอกิ่งไม้ขนาดเล็กที่ขยับได้เอง โดยวิดีโอดังกล่าวมีการรับชมไปแล้วกว่าสี่ล้านครั้ง และมีการกดถูกใจกว่าหนึ่งแสนห้าหมื่นครั้ง ที่มา | ลิงก์ถาวร โดยผู้ใช้ TikTok หลายรายได้แสดงความคิดเห็นไปในทางเดียวกันว่าวัตถุในวิดีโอดังกล่าวไม่ใช่กิ่งไม้ แต่เป็นพยาธิแส้ม้า โดยวิดีโอดังกล่าวได้แพร่กระจายบนแพลตฟอร์มอื่นๆ เช่น Facebook อีกด้วย ที่มา | ลิงก์ถาวร ตรวจสอบข้อเท็จจริง เราได้ดำเนินการตรวจสอบโดยการใช้คำสำคัญต่างๆ ในการค้นหา เช่น “กิ่งไม้ขยับได้”, “พยาธิแส้ม้า” และพบบทความจากเพจ Facebook ของอาจารย์เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์ ที่ได้อธิบายเกี่ยวกับรากไม้ในคลิปวิดีโอดังกล่าว ว่าไม่ใช่พยาธิแส้ม้า แต่เป็นพืชที่เรียกว่า “หญ้าเข็มนาฬิกา หรือ หญ้าหนวดฤๅษี (Spear Grass)” ลิงก์ถาวร หญ้าเข็มนาฬิกาคืออะไร? “หญ้าเข็มนาฬิกา” เป็นหญ้าชนิดหนึ่ง อยู่ในตระกูลเดียวกับต้นแขมและต้นอ้อ เป็นพืชท้องถิ่นที่มีชื่อเรียกหลากหลายไปตามท้องที่ ในแถบภาคเหนือเรียกหญ้าพุ่งชู้ บ้างเรียกเข็มพ่อหม้าย ขนตาช้าง หนวดฤๅษี […]

Continue Reading

ภาพดอกไม้สีม่วงที่เป็นไวรัล “ไม่ใช่” ดอกไม้ที่บานในแอนตาร์กติกา

เมื่อเร็วๆ นี้ ข่าวปรากฏการณ์ดอกไม้บานในทวีปแอนตาร์กติกาได้เป็นที่พูดถึงกันอย่างมากบนโซเชียลมีเดีย พร้อมกับความกังวลเกี่ยวกับภาวะโลกร้อนที่รุนแรงขึ้นจนทำให้ดอกไม้ดังกล่าวสามารถแพร่พันธุ์ในทวีปแอนตาร์กติกาได้ (อ่านบทความเต็มที่นี่) และเราได้พบรูปภาพของดอกไม้ชนิดหนึ่งพร้อมภูเขาน้ำแข็งในพื้นหลัง พร้อมข้อกล่าวอ้างว่าเป็นดอกไม้ในทวีปแอนตาร์กติกา แพร่กระจายบนโซเชียลมีเดียอย่างแพร่หลาย โพสต์บนโซเชียลมีเดีย ช่อง TikTok “coconews21” ได้โพสต์วิดีโอเกี่ยวกับเหตุการณ์ดอกไม้บานในแอนตาร์กติกา พร้อมใช้ภาพประกอบเป็นภาพดอกไม้สีม่วงชนิดหนึ่งและมีภูเขาน้ำแข็งในพื้นหลัง โดยล่าสุดวิดีโอนี้มีการรับชมไปแล้วกว่าสามแสนครั้ง ที่มา | ลิงก์ถาวร นอกจากนี้เรายังพบภาพเดียวกันพร้อมข้อความกำกับในโพสต์ว่าเป็นภาพดอกไม้บานในทวีปแอนตาร์กติกาแพร่กระจายบนแพลตฟอร์มอื่นๆ อีกด้วย ที่มา | ลิงก์ถาวร ที่มา | ลิงก์ถาวร อย่างไรก็ตาม หลังจากทำการตรวจสอบ เราพบว่าภาพดอกไม้ดังกล่าวไม่ใช่ภาพจากทวีปแอนตาร์กติกาแต่อย่างใด ตรวจสอบข้อเท็จจริง Fact Crescendo ได้ค้นหาที่มาของรูปภาพโดยใช้ฟีเจอร์ Reverse Image Search และพบว่าภาพดังกล่าวถ่ายขึ้นที่ Disko Bay ประเทศกรีนแลนด์ ตั้งแต่เมื่อปี 2017 โดนช่างภาพชื่อ Sergey Uryadnikov โดยเจ้าของภาพได้โพสต์รูปภาพดังกล่าวไว้ในเว็บไซต์ภาพอย่าง Alarmy โดยสามารถดูรายละเอียดของภาพได้ที่นี่ ลิงก์ถาวร นอกจากนี้ Mikko Tiusanen ผู้เชี่ยวชาญด้านการเปลี่ยนแปลงด้านสิ่งแวดล้อมในพืชและแมลงผสมเกสรในแถบอาร์กติก ได้ระบุกับ AFP […]

Continue Reading

ภาพดอกไม้ที่แชร์กันในโซเชียล คือดอกพญานาคที่บานทุก 36 ปี จริงหรือไม่?

ความสวยงามของธรรมชาติสามารถดึงดูดความสนใจของผู้คนได้เสมอมา ผู้คนบนโซเชียลจึงมักแบ่งปันภาพธรรมชาติอันสวยงามต่างๆ ให้กันอยู่เสมอ อย่างไรก็ตาม บางครั้งข้อมูลที่ไม่ถูกต้องก็ถูกแชร์ออกไปโดยไม่มีเจตนาเช่นเดียวกัน ดังเช่นในกรณีดอกไม้ที่ระบุว่าเป็น ‘ดอกพญานาค’ ที่เราพบบนโซเชียลเมื่อไม่นานมานี้ด้วยเช่นเดียวกัน โพสต์บนโซเชียล เราได้รับข้อมูลจากผู้ใช้ผ่าน ไลน์ตรวจสอบข้อเท็จจริง ของ Factcrescendo Thailand เกี่ยวกับรูปภาพดอกไม้สีขาวรูปร่างแปลกตา พร้อมคำบรรยายภาพว่าเป็นดอกพญานาค ที่ 36 ปีจะบานเพียงแค่หนึ่งครั้ง Archive โดยเราพบว่าข้อกล่าวอ้างนี้เคยแพร่กระจายอยู่บนโซเชียลมีเดียต่างๆ เช่นเดียวกัน Source | Archive Source | Archive อย่างไรก็ตาม เราพบว่าดอกไม้ในภาพดังกล่าวไม่ใช่ดอกพญานาค และไม่ได้บานทุกๆ 36 ปีตามข้อกล่าวอ้างแต่อย่างใด ตรวจสอบข้อเท็จจริง เมื่อเราใช้ฟีเจอร์ Reverse Image Search ค้นหาดอกไม้ชนิดดังกล่าว เราพบว่าเป็นดอก King Protea เป็นดอกไม้ขนาดใหญ่ ที่ลำต้นมีความสูงถึง 1.2-1.8 เมตร และออกดอกทุกปีในช่วงฤดูใบไม้ผลิ อ่านข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับดอกไม้ชนิดนี้ได้ที่นี่ ที่นี่ และที่นี่ Source: davesgarden.com ภาพดอก King Protea […]

Continue Reading

ดอกกล้วยไม้เป็ดบิน มีอยู่จริงหรือไม่?

ความสวยงามของธรรมชาติสร้างความประหลาดใจให้เราได้เสมอ โดยไม่นานมานี้ เราพบว่ามีภาพดอกไม้ที่มีลักษณะคล้ายกับเป็ดแพร่กระจายบนโซเชียลมีเดีย โดยระบุว่าเป็นภาพของ “ดอกกล้วยไม้เป็ดบิน” ข้อกล่าวอ้างบนโซเชียลมีเดีย เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ผู้ใช้เฟซบุ๊กรายหนึ่งได้โพสต์ภาพกล้วยไม้นี้ลงในกลุ่มเฟซบุ๊ก “ภาพดอกไม้สวยๆ … และน่ารักๆ” Source | Archive โดยภาพดังกล่าวมีผู้แสดงความคิดเห็นแล้วกว่าสามร้อยครั้ง โดยหลายคนก็ได้ชื่นชมความสวยงามของดอกไม้ในภาพดังกล่าว รวมถึงมีการกดถูกใจกว่าแปดพันครั้ง และแชร์ต่อกว่าห้าร้อยครั้ง นอกจากนี้ เรายังพบรูปภาพดังกล่าวแพร่กระจายบนเฟซบุ๊ก โดยระบุว่าภาพดังกล่าวเป็นภาพของ “ดอกกล้วยไม้เป็ดบิน” และข้อกล่าวอ้างภาพดังกล่าวยังมีการเผยแพร่ในภาษาอังกฤษด้วยเช่นเดียวกัน Source | Archive อย่างไรก็ตาม เราพบว่าภาพดังกล่าวไม่ใช่ภาพของดอกกล้วยไม้เป็ดบิน แต่มีความเป็นไปได้ว่าเป็นภาพที่สร้างขึ้นโดย AI และอาจชวนให้เข้าใจผิดได้ ตรวจสอบข้อเท็จจริง เราได้ทำการค้นหาที่มาของรูปภาพโดยใช้ฟีเจอร์ Reverse Image Search และเราพบว่ากล้วยไม้ในภาพมีอยู่จริง อย่างไรก็ตาม กล้วยไม้เป็ดบินจะไม่มีส่วนที่คล้ายกับบริเวณดวงตาของเป็ดดังในภาพที่กล่าวอ้าง ชื่อของกล้วยไม้ชนิดนี้คือ Flying Duck Orchid (Caleana major) กล้วยไม้ที่ดูแปลกตาพันธุ์นี้มีถิ่นกำเนิดในออสเตรเลียและเป็นที่รู้จักจากรูปร่างที่แปลกประหลาดที่ดูคล้ายกับรูปร่างของเป็ดกำลังโผบิน Photo Credit: Bill Higham Caleana major หรือที่เรียกกันทั่วไปว่ากล้วยไม้เป็ดบิน (Flying Duck […]

Continue Reading

ต้น “April Snow” ที่เป็นไวรัล: มีอยู่จริงหรือแค่ผลงานอีกชิ้นของ AI?

ความมหัศจรรย์ของธรรมชาตินั้นดึงดูดความสนใจของผู้คนได้เสมอมา ไม่ว่าจะเป็นวิวทิวทัศน์ที่สวยงาม สิ่งมีชีวิตที่ดูแปลกประหลาด หรือปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่เหลือเชื่อ และผู้คนก็ชื่นชอบที่จะแชร์ความประทับใจที่มีต่อธรรมชาติลงโซเชียลมีเดียอยู่เสมอ แต่บางครั้งเรื่องที่แชร์ก็อาจไม่ใช่ข้อมูลที่ถูกต้อง ซึ่งทำให้เกิดความสับสนและเข้าใจผิดได้ เมื่อไม่นานมานี้ มีผู้ใช้บนโซเชียลได้แชร์รูปภาพต้นไม้ที่สวยงามและแปลกตาต้นหนึ่ง โดยอ้างว่าเป็นต้นไม้หายากจากประเทศจีน และรูปภาพนี้ก็สร้างความสนใจและความประหลาดใจให้ผู้ใช้โซเชียลรายอื่นๆ เป็นวงกว้าง ข้อกล่าวอ้างบนโซเชียลมีเดีย เพจเฟซบุ๊ก “Art and Craft Creation Academy – สถาบันสรรค์งานศิลป์” ได้แชร์รูปภาพต้นไม้ที่มีดอกกลมสีขาวขนาดใหญ่ คล้ายหิมะปกคลุมทั่วต้น พร้อมคำกล่าวอ้างว่ามีอยู่เพียงสามต้นเท่านั้นบนโลก และออกดอกแค่ปีละ 1 ครั้ง ในช่วงเมษายนของทุกปี Source | Archive โดยเราพบว่าเพจเฟซบุ๊กดังกล่าวได้แชร์มาจากโพสต์ต้นทางในภาษาอังกฤษ ที่กล่าวอ้างว่าต้นนี้คือต้น “Losu” หรือมีฉายาว่า “April Snow” เนื่องจากออกดอกในช่วงเดือนเมษายน และยังอ้างว่ารัฐบาลจีนให้ความคุ้มครองเพื่ออนุรักษ์ต้นไม้เหล่านี้อย่างเข้มงวดอีกด้วย Source | Archive นอกจากนี้ รูปนี้ยังแพร่กระจายไปตามโซเชียลต่างๆ รวมถึงทวิตเตอร์ หรือแม้แต่ Reddit อีกด้วย แต่หลังจากตรวจสอบ เราพบว่ารูปภาพนี้มีแนวโน้มว่าจะเป็นภาพที่สร้างโดย AI มากกว่าที่จะเป็นภาพจริง ตรวจสอบข้อเท็จจริง เราได้ใช้ฟีเจอร์ Reverse Image […]

Continue Reading

ภาพแมวสายพันธุ์หายาก แท้จริงแล้วเป็นผลงานของ AI

เทรนด์การใช้ AI หรือปัญญาประดิษฐ์ สร้างรูปภาพต่างๆ กำลังได้รับความนิยมเป็นอย่างมากในช่วงนี้ โดยใช้แอปพลิเคชันและซอฟต์แวร์ต่างๆ ที่ใช้ AI เพื่อสร้างรูปภาพต่างๆ ที่ทั้งสวยงามและเสมือนจริงได้ อย่างไรก็ตาม การใช้ AI สร้างรูปภาพก็เป็นดาบสองคม เพราะอาจจะทำให้ผู้ใช้โซเชียลมีเดียบางคนเกิดความสับสนและเข้าใจผิดได้ และล่าสุด มีภาพแมวที่มีสีสันและลวดลายที่ดูแปลกตาแพร่กระจายบนโซเชียลมีเดีย โดยมีการแชร์อย่างกว้างขวางและอ้างว่าเป็นแมวสปีชีส์ “Felis Salamandra” ซึ่งสายพันธุ์ที่หายากและที่ไม่เป็นที่รู้จักในวงกว้างนัก คำกล่าวอ้างบนโซเชียลมีเดีย เมื่อวันที่ 2 เมษายนที่ผ่านมา เพจเฟซบุ๊ก “ฮานะ สัตว์” ซึ่งเป็นเพจที่แชร์รูปภาพและเรื่องราวต่างๆ เกี่ยวกับสัตว์ ได้แชร์รูปภาพของแมวสีดำที่มีลายจุดสีเหลืองสดทั่วตัว พร้อมคำบรรยายภาพว่า “ลายอย่างเท่……การค้นพบ Félis Salamandra ซึ่งเป็นแมวป่าชนิดย่อยที่หายาก นักวิทยาศาสตร์เพิ่งประกาศการค้นพบสายพันธุ์แมวป่าชนิดใหม่ที่เรียกว่า Felis Salamandra ชนิดย่อยนี้หายากมากเพราะถือว่าเป็นชนิดย่อยของเสือดาวเอเชียที่น้อยกว่าและเป็นถิ่นที่อยู่ในเขตภูเขาเขตร้อน หลงทางในหุบเขาที่ยากจะเข้าถึง ซึ่งอธิบายถึงการค้นพบครั้งหลังนี้ การค้นพบนี้น่าสนใจอย่างยิ่งเพราะแสดงให้เห็นถึงความสำคัญของการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพและการปกป้องสัตว์ใกล้สูญพันธุ์ นักวิทยาศาสตร์กังวลเกี่ยวกับจำนวนแมวเชื่องทั่วโลกที่ลดน้อยลง โดยเฉพาะในเอเชีย ซึ่งการตัดไม้ทำลายป่า การล่าสัตว์ และการค้าสัตว์ที่ผิดกฎหมายทำให้แหล่งที่อยู่อาศัยตามธรรมชาติของพวกมันลดลง Felis Salamandra เป็นแมวป่าขนาดเล็กที่มีขนสีดำและจุดสีเหลือง คล้ายกับแมวเบงกอล อย่างไรก็ตาม สายพันธุ์ย่อยนี้แตกต่างจากแมวเบงกอลตรงที่มีลักษณะเฉพาะที่แตกต่างจากแมวป่าอื่นๆ รวมถึงกรงเล็บที่ยาวกว่าและเขี้ยวที่แหลมกว่า […]

Continue Reading

วิดีโอไวรัลที่ถูกเข้าใจผิด: ดอก ”พญาเสือโคร่ง” หรือ“มหาโมลี” บานครั้งเดียวในรอบ 400 ปี

การแชร์วิดีโอหรือภาพธรรมชาติอันสวยงามที่เป็นกำลังเป็นไวรัลนั้นดูเหมือนเป็นเรื่องปกติที่เราพบเห็นได้บ่อยๆ บนโซเชียลมีเดีย ทั้งภาพวิวทิวทัศน์ธรรมชาติ ปรากฏการณ์ต่างๆ ไปจนถึงภาพดอกไม้หรือพืชพรรณต่างๆ ซึ่งบางครั้งข้อมูลที่มากับวิดีโอหรือรูปภาพเหล่านั้นก็อาจสร้างความเข้าใจผิดได้ และล่าสุด มีวิดีโอดอกไม้บานที่กำลังแพร่กระจายอยู่บนโซเชียลมีเดียต่างๆ โดยอ้างว่าเป็นดอกไม้ที่จะบานทุก 400 ปี วิดีโอของดอกไม้สีเหลืองขนาดเล็กที่บานสะพรั่งพร้อมคำบรรยายว่า “นี่คือ “ดอกพญาเสือโคร่ง” หรือ “มหาโมลี” ดอกไม้มงคลเฉพาะของทิเบต ดอกพญาเสือโคร่งบนเทือกเขาหิมาลัยจะบานทุกๆ 400 ปี คนรุ่นเราโชคดีได้เห็นเจดีย์บาน โปรดแชร์ให้คนอื่นได้เห็น โชคดีตลอดชีวิต!” Source | Archive โดยเราพบว่านอกจากโพสต์ข้างต้นแล้ว วิดีโอดังกล่าวยังถูกแชร์บนโซเชียลมีเดียอย่างแพร่หลายอีกด้วย อย่างไรก็ตาม ทีมงาน Fact Crescendo พบว่าคำกล่าวอ้างที่มาพร้อมกับวิดีโอดังกล่าวนั้นเป็นเท็จ ตรวจสอบข้อเท็จจริง จากที่เราได้ทำการตรวจสอบและค้นหาข้อมูล เราไม่พบดอกไม้ชื่อ “มหาโมลี” หรือ “Mahameru” ตามข้อความที่กล่าวอ้างใดๆ ส่วนดอกพญาเสือโคร่ง เป็นไปได้ว่าจะมาจาก “ดอกนางพญาเสือโคร่ง” (ชื่อภาษาอังกฤษ Wild Himalayan cherry หรือ Sour cherry, ชื่อวิทยาศาสตร์ Prunus cerasoides) นั้นก็มีลักษณะแตกต่างจากดอกไม้ในวิดีโอโดยสิ้นเชิง โดยนางพญาเสือโคร่งจะมีลักษณะเป็นดอกสีชมพู กลีบเล็ก คล้ายกับดอกซากุระ […]

Continue Reading

ข้อเท็จจริงเบื้องหลังภาพเต่ายักษ์ที่แชร์บนโซเชียล

ในยุคที่โซเชียลมีเดียถือเป็นสื่อหลักในการเผยแพร่และรับข้อมูลต่างๆ เรามักจะพบเห็นข้อมูลต่างๆ ที่ดูน่าเชื่อถือและไม่ได้ตั้งข้อสงสัยใดๆ แต่มีหลายๆ ครั้งที่ข้อมูลที่ดูน่าเชื่อถือกลายเป็นข้อมูลเท็จ และล่าสุด เราพบรูปภาพของเต่ายักษ์ตัวหนึ่งที่กล่าวอ้างว่าเป็นเต่าที่อายุกว่า 191 ปีที่ชื่อว่า “โจนาธาน” ข้อกล่าวอ้างบนโซเชียลมีเดีย มีผู้ใช้เฟซบุ๊กรายหนึ่งได้โพสต์รูปภาพของเต่ายักษ์ตัวหนึ่งลงในกลุ่มเฟซบุ๊กชื่อ “ความรู้รอบโลก world knowledge” พร้อมคำบรรยายภาพว่า: “เต่าตัวนี้คือเต่ากาลาปากอส ข้อมูลบอกว่าเกิดในปี 1832 ตอนนี้เธอมีอายุ191ปี. แต่ตอนนี้มีเต่าที่ชื่อ #แอเรียน .อายุ 250ปีอายุยืนที่สุด.และเต่าเป็นสัตว์ที่อายุยืนอันดับสองรองจากฟองน้ำชนิดหนึ่งที่มีอายุถึง10,000ปีเลยเลยทีเดียว.” Source | Archive โดยโพสต์ดังกล่าวมีการแชร์ในวงกว้างอย่างรวดเร็ว โดยนอกจากโพสต์ข้างต้นแล้ว เราพบโพสต์อื่นๆ พร้อมข้อกล่าวอ้างที่คล้ายกันในภาษาอังกฤษ: “Born in 1832 (5 years prior to the coronation of Queen Victoria), Jonathan the Tortoise is due to turn 190 years old in 2022. […]

Continue Reading