ข้อความว่านายกฯ เตรียมผลักดันผ้าไหมเป็นเครื่องแบบนักเรียน ไม่เป็นความจริง

เมื่อเร็วๆ นี้ มีข้อกล่าวอ้างแพร่กระจายบนแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดีย ระบุว่า นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี ต้องการผลักดันผ้าไหมให้นักเรียนใส่เป็นเครื่องแบบทั่วประเทศ โพสต์บนโซเชียลมีเดีย มีภาพและข้อความแพร่กระจายบนแพลตฟอร์ม Facebook ระบุว่า “ผ้าไหมชุดนร.! นายกเดินหน้าดันซอฟพาวเวอร์ผ้าไหม เตรียมให้นักเรียนทั่วประเทศใส่เป็นเครื่องแบบแทนชุดนักเรียน เผยเพื่อส่งเสริมความเป็นไทยให้กับเยาวชน” ที่มา | ลิงก์ถาวร ที่มา | ลิงก์ถาวร เราพบว่าภาพและข้อความดังกล่าวแพร่กระจายบนแพลตฟอร์ม X (Twitter) เช่นเดียวกัน ที่มา | ลิงก์ถาวร อย่างไรก็ตาม เราพบว่าข้อกล่าวอ้างดังกล่าวเป็นไม่เป็นความจริง ตรวจสอบข้อเท็จจริง จากการตรวจสอบ เราไม่พบรายงานข่าวที่ระบุว่านายกรัฐมนตรีต้องการผลักดันให้ใช้ผ้าไหมเป็นเครื่องแบบนักเรียนทั่วประเทศจากแหล่งข่าวใดๆ ที่เชื่อถือได้ และเราได้ดำเนินการตรวจสอบรูปภาพที่แพร่กระจายพร้อมข้อกล่าวอ้างดังกล่าว และพบว่า รูปภาพนักเรียนในชุดผ้าไทยนั้นเป็นภาพจากเมื่อปี 2562 โดยทางโรงเรียนกระเทียมวิทยา จังหวัดสุรินทร์ ได้จัดกิจกรรมให้นักเรียนนุ่งผ้าไหมสุรินทร์ในทุกวันศุกร์ เพื่อเป็นการอนุรักษ์ผ้าไหมท้องถิ่น (ที่มา) ไม่มีความเกี่ยวข้องกับข้อกล่าวอ้างดังกล่าวแต่อย่างใด ที่มา | ลิงก์ถาวร แม้ว่า นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี มีความสนใจในผ้าไทย โดยต้องการผลักดันผ้าไหมไทยออกสู่ตลาดโลกจริง (อ่านข่าวได้ที่นี่) […]

Continue Reading

ภาพไวรัล “โลมาสีชมพู” ไม่ใช่ภาพจริง

ภาพโลมาสีชมพู กำลังได้รับความสนใจในช่วงไม่กี่วันที่ผ่านมานี้ โดยมีการแชร์อย่างกว้างขวางบนแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดีย รวมทั้งมีผู้ตั้งข้อสงสัยเกี่ยวกับภาพโลมาดังกล่าวว่าเป็นภาพจริงหรือเป็นแค่ AI โพสต์บนโซเชียลมีเดีย ผู้ใช้ Facebook ได้โพสต์รูปโลมาสีชมพู พร้อมข้อความว่า “เป็นภาพที่หาดูได้ยากกับน้อง “โลมาสีชมพู”” โดยโพสต์ดังกล่าวได้รับความสนใจอย่างกว้างขวาง โดยมีการแชร์ต่อกว่าหนึ่งหมื่นครั้ง มีการกดถูกใจกว่าสองหมื่นครั้ง และการแสดงความคิดเห็นกว่าหนึ่งพันครั้ง และเรายังพบภาพชุดดังกล่าวแพร่กระจายบนแพลตฟอร์ม Facebook เป็นจำนวนมาก เช่น ที่นี่ และที่นี่ ที่มา | ลิงก์ถาวร นอกจากนี้ภาพเดียวกันนังแพร่กระจายบนแพลตฟอร์ม X และมีผู้รับชมไปกว่าสามล้านครั้งอีกด้วย ที่มา | ลิงก์ถาวร อย่างไรก็ตาม เราพบว่ารูปภาพดังกล่าวไม่ใช่ภาพของโลมาสีชมพูของจริงแต่อย่างใด ตรวจสอบข้อเท็จจริง เราได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงโดยการใช้ฟีเจอร์ Reverse Image Search เพื่อค้นหาที่มาของรูปภาพดังกล่าว อย่างไรก็ตาม เราไม่พบแหล่งที่มาที่น่าเชื่อถือใดๆ ของรูปภาพนี้ และพบว่าไม่กี่วันก่อน ภาพชุดดังกล่าวมีการแชร์จากผู้ใช้ X (Twitter) ต่างชาติ พร้อมระบุว่าพบโลมาสีชมพูดังกล่าวในทะเลแถบนอร์ทแคโรไลนา เราจึงค้นหาข่าวการค้นพบโลมาสีชมพูที่แถบนอร์ทแคโรไลนา แต่ก็ไม่พบรายงานดังกล่าวจากแหล่งที่มาที่น่าเชื่อถือใดๆ นอกจากนี้ ตัวแทนของสำนักงานประมง รัฐนอร์ทแคโรไลนา ได้ยืนยันกับทางเว็บไซต์ Verify […]

Continue Reading

วิดีโอ “คอลเซนเตอร์จีน” ไม่ได้มาจากเหตุการณ์จริง

มีวิดีโอแพร่กระจายบนแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดีย พร้อมข้อกล่าวอ้างว่าเป็นวิดีโอของมิจฉาชีพคอลเซนเตอร์ในประเทศจีนที่ถูกจับกุม และตัดสินประหารชีวิต โพสต์บนโซเชียลมีเดีย เราได้รับเบาะแสผ่านทางไลน์ตรวจสอบข้อเท็จจริงของเรา โดยวิดีโอดังกล่าวมีการส่งต่ออย่างแพร่หลายในแพลตฟอร์ม LINE พร้อมข้อความว่า “คอลเซนเตอร์ ที่หลอกเอาเงินทองและทำความเดือดร้อนแก่คนแก่หลังเกษียณในประเทศจีนตายทุกคน กฎหมายประเทศจีนเขาแรง ไม่มีลดโทษ ประหารสถานเดียว ดูตอนจบ น่าสงสาร น่าเสียดาย สวยๆ ทั้งนั้น” ลิงก์ถาวร นอกจากนี้เรายังพบวิดีโอเดียวกัน แพร่กระจายบน Facebook พร้อมข้อกล่าวอ้างที่คล้ายคลึงกันอีกด้วย ที่มา | ลิงก์ถาวร ส่งเบาะแสข้อมูลที่ต้องการให้เราช่วยตรวจสอบได้ที่นี่ ตรวจสอบข้อเท็จจริง เราได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงโดยการใช้ฟีเจอร์ Reverse Image Search จากคีย์เฟรมในวิดีโอเพื่อค้นหาที่มาของวิดีโอดังกล่าว และเราพบว่าวิดีโอนี้ได้แพร่กระจายบนแพลตฟอร์มโซเชียลต่างๆ ในประเทศจีนเช่นเดียวกัน พร้อมข้อกล่าวอ้างที่แตกต่างออกไปเล็กน้อย ว่ากลุ่มบุคคลในภาพนั้นเป็นนักโทษค้ายาเสพติด และถูกตัดสินประหารชีวิต โดยวิดีโอดังกล่าวมีการโพสต์ทั้งในเว็บไซต์ Weibo และ Youkou อย่างไรก็ตาม เราพบว่าวิดีโอดังกล่าวไม่ใช่เหตุการณ์จริงแต่อย่างใด โดยวิดีโอดังกล่าวถูกสร้างขึ้นโดยบัญชี “Landu Film and Television” โดยในวิดีโอต้นฉบับที่อัปโหลดขึ้นในบัญชีของช่องดังกล่างนั้น มีการใส่เครดิตชื่อช่อง และใส่คำเตือนไว้ว่าวิดีโอดังกล่าวเป็นเพียงเหตุการณ์สมมติ แต่เครดิตและคำเตือนถูกตัดออกในวิดีโอที่มีการแพร่กระจายบนโซเชียลมีเดีย ดูวิดีโอต้นฉบับได้ที่นี่ (ซ้าย: […]

Continue Reading

วิดีโอ “Ball Lightning” เป็นเหตุการณ์จริงหรือเพียงการตัดต่อ?

เมื่อไม่นานมานี้ มีวิดีโอแพร่กระจายบนแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดีย พร้อมข้อกล่าวอ้างว่าเป็นวิดีโอปรากฏการณ์ “Ball Lightning” โดยวิดีโอนี้ก็ได้รับความสนใจจากโลกออนไลน์อย่างกว้างขวาง โพสต์โซเชียลมีเดีย ผู้ใช้ Facebook ได้โพสต์วิดีโอพร้อมข้อความว่า “ถ้าเกิดที่เมืองไทยถ้าไม่ใช่ กระสือ ก็ UFO แน่นอน แต่แท้ที่จริงแล้วมันคือ “บอลสายฟ้า” ซึ่งเป็นปรากฏการณ์ตามธรรมชาติ หาใช่สิ่งเหนือธรรมชาติแต่อย่างใด” โดยวิดีโอดังกล่าวมีการรับชมไปกว่าหนึ่งแสนห้าหมื่นครั้ง ที่มา | ลิงก์ถาวร นอกจากนี้ เรายังพบวิดีโอดังกล่าวแพร่กระจายบนแพลตฟอร์มอื่นๆ เช่น TikTok (ลิงก์ถาวร) และ X (Twitter) (ลิงก์ถาวร) ด้วยเช่นเดียวกัน อย่างไรก็ตาม จากการตรวจสอบ เราพบว่าวิดีโอดังกล่าวเป็นวิดีโอที่ตัดต่อขึ้นมา ตรวจสอบข้อเท็จจริง Ball Lightning มีจริงหรือไม่: Ball Lightning หรือฟ้าผ่าแบบรูปกลม เป็นปรากฏการณ์ที่มีอยู่จริง เป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นได้ยากและยังคงเป็นปริศนาในทางวิทยาศาสตร์ มีการอธิบายไว้ว่า Ball Lightning มีลักษณะเป็นวัตถุที่มีแสงสว่างและมีรูปทรงกลมในขนาดที่แตกต่างกันไป ตั้งแต่ขนาดเล็กเท่าเมล็ดถั่วไปจนถึงขนาดใหญ่หลายเมตร และปรากฏการณ์นี้มักจะเชื่อมโยงกับพายุฟ้าผ่า วิดีโอดังกล่าวเป็น Ball Lightning ของจริงหรือไม่: […]

Continue Reading

ป้าย “Bangkok” ของ กทม. ไม่ได้ใช้งบประมาณ 3 ล้านบาท

เมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม 2567 กรุงเทพมหานคร ได้เปลี่ยนป้ายชื่อจังหวัดที่บริเวณ Sky Walk แยกปทุมวัน ซึ่งก่อนหน้านี้ป้าย “Bangkok” ได้กลายเป็นจุดยอดนิยมที่นักท่องเที่ยวต่างชาติมักมาถ่ายรูปเช็กอิน และสร้างขึ้นมาเป็นเวลากว่า 18 ปีแล้ว (ที่มา) โดยหลังจากมีการเปิดตัวป้ายโฉมใหม่ ก็มีข้อความแพร่กระจายว่า ป้ายโฉมใหม่ของ กทม. ใช้งบประมาณถึง 3 ล้านบาท ข้อกล่าวอ้างบนโซเชียลมีเดีย เราพบข้อความที่กล่าวอ้างว่าป้ายใหม่ของ กทม. ใช้งบประมาณ 3 ล้านบาท แพร่กระจายบนแพลตฟอร์มออนไลน์ต่างๆ ทั้ง Facebook และ X ที่มา | ลิงก์ถาวร ที่มา | ลิงก์ถาวร ที่มา | ลิงก์ถาวร ที่มา | ลิงก์ถาวร อย่างไรก็ตาม เราพบว่าข้อมูลดังกล่าวเป็นข้อมูลที่ชวนให้เข้าใจผิด และป้ายดังกล่าวไม่ได้ใช้งบประมาณ 3 ล้านบาท ตามที่กล่าวอ้างแต่อย่างใด กทม. ชี้แจง งบ […]

Continue Reading

ตรวจสอบข้อเท็จจริงเบื้องหลังวิดีโอ “เนื้อปลาปลอม”

เมื่อไม่นานมานี้ มีวิดีโอแพร่กระจายบนแพลตฟอร์มออนไลน์ ที่กล่าวอ้างว่าให้ระวังเนื้อปลาปลอมในท้องตลาดที่ทำมาจากพลาสติก โดยวิดีโอดังกล่าวมีการแพร่กระจายเป็นวงกว้าง ข้อกล่าวอ้างบนโซเชียลมีเดีย เราได้รับเบาะแสจากผ่านช่องทาง LINE ตรวจสอบข้อเท็จจริงของเรา โดยมีวิดีโอที่อ้างว่าเป็นเนื้อปลาทำมาจากพลาสติก แพร่กระจายบนแพลตฟอร์ม LINE โดยเราพบว่าวิดีโอดังกล่าวได้มีการแชร์อย่างกว้างขวางบน Facebook เมื่อช่วงเดือนที่ผ่านมาด้วยเช่นกัน ที่มา | ลิงก์ถาวร ส่งเบาะแสข้อมูลให้เราช่วยตรวจสอบข้อเท็จจริงได้ที่นี่ คำอธิบายจากผู้เชี่ยวชาญ เราได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงโดยการตรวจสอบที่มาของวิดีโอดังกล่าว และพบว่าวิดีโอนี้ได้แพร่กระจายบนโซเชียลมีเดียมาตั้งแต่ปี 2017 และเราได้พบลิงก์ถาวรของเว็บไซต์ Hoaxorfact.com ที่ได้ตรวจสอบวิดีโอดังกล่าว และอธิบายไว้ว่า ลักษณะเนื้อปลาแบบในวิดีโอดังกล่าว เกิดขึ้นจากอาการ Freezer Burn ซึ่งเกิดขึ้นเมื่อเนื้อสัตว์ถูกแช่แข็งและถูกทำให้ละลายเป็นจำนวนหลายครั้ง จึงทำให้เยื่อหุ้มเซลล์สลายและแห้งลง เนื้อสัมผัสตามธรรมชาติของเนื้อสัตว์จึงหายไป นอกจากนี้ เมื่อปลาอยู่ในห้องแช่เย็นนานเกินไป เนื้อปลาจะมีลักษณะคล้ายฟองน้ำดังในวิดีโอ และเมื่อเนื้อปลาแช่อยู่ในน้ำเป็นเวลานานเกินไป จึงดูดซับน้ำไว้เหมือนกับฟองน้ำนั่นเอง ศูนย์เครือข่ายข้อมูลอาหาร ได้อธิบายอาการ Freeze Burn ไว้ว่า เป็นความเสียหายของผลิตภัณฑ์อาหารแช่เยือกแข็งเนื่องจากการสูญเสียความชื้นระหว่างการแช่เยือกแข็ง หรือระหว่างการเก็บรักษา เกิดเป็นรอยแห้งสีขาวหรือสีเหลืองอย่างชัดเจน เป็นตำหนิของผลิตภัณฑ์ (ที่มา) ศาสตราจารย์ ดร. วิสิฐ จะวะสิต อาจารย์สถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล ระบุกับศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ […]

Continue Reading

ภาพไวรัลอ้างว่าเป็นซากเฮลิคอปเตอร์ที่คร่าชีวิตปธน. อิหร่าน “ชวนให้เข้าใจผิด”

เมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2024 เหตุเฮลิคอปเตอร์ตกคร่าชีวิตประธานาธิบดี Ebrahim Raisi ของประเทศอิหร่าน และรัฐมนตรีกระทรวงต่างประเทศ Hossein Amir-Abdollahian และหลังจากเหตุเฮลิคอปเตอร์ตกอันน่าสลดใจครั้งนี้ ก็มีภาพที่แพร่กระจายบนโซเชียลมีเดีย โดยอ้างว่าเป็นภาพซากเครื่องบินตกจากเหตุการณ์ครั้งดังกล่าว ข้อกล่าวอ้างบนโซเชียลมีเดีย ภาพซากเฮลิคอปเตอร์พร้อมธงชาติอิหร่าน โดยมีเจ้าหน้าที่ค้นหาผ่านพื้นที่ป่าใกล้กับซากดังกล่าวถูกแชร์อย่างกว้างขวางบนโซเชียลมีเดีย พร้อมข้อความที่ระบุว่าภาพเหล่านี้เป็นภาพหลังจากอุบัติเหตุเฮลิคอปเตอร์ตกที่ทำให้ประธานาธิบดี Raisi เสียชีวิต Source | Archive Source | Archive Source | Archive Source | Archive ตรวจสอบข้อเท็จจริง เราเริ่มตรวจสอบข้อเท็จจริงโดยใช้ฟีเจอร์ Reverse Image Search ซึ่งทำให้เราพบโพสต์ต้นฉบับบนแพลตฟอร์ม X ซึ่งโพสต์ไว้ตั้งแต่วันที่ 23 เมษายน 2020 หรือ 4 ปีก่อนเกิดอุบัติเหตุของประธานาธิบดี Raisi อ่านข่าวเกี่ยวกับเหตุการณ์นี้ได้ที่นี่ Archive ภาพถ่ายชุดดังกล่าวแสดงให้เห็นเฮลิคอปเตอร์ลำหนึ่งที่มีหมายเลข 1136 บนตัวเครื่อง ซึ่งระบุว่าเป็นเครื่องบิน Cessna T206H […]

Continue Reading

“ซูซูกิ” ปฏิเสธข่าวลือเตรียมปิดกิจการทั้งหมดในไทย

เมื่อช่วยปลายสัปดาห์ที่แล้ว มีข้อความแพร่กระจายบนโซเชียลมีเดียที่กล่าวอ้างว่า บริษัท ซูซูกิ มอเตอร์ บริษัทด้านยานยนต์ชื่อดังจากญี่ปุ่น กำลังเตรียมปิดตัวในประเทศไทย โดยข้อกล่าวอ้างนี้มีการแชร์ต่อเป็นจำนวนมากบนแพลตฟอร์ม Facebook ข้อกล่าวอ้างบนโซเชียลมีเดีย ผู้ใช้ Facebook หลายรายได้โพสต์ข้อความที่ระบุว่า บริษัท ซูซูกิ มอเตอร์ วางแผนที่จะปิดกิจการในประเทศไทยทั้งหมด Source | Archive Source | Archive Source | Archive อย่างไรก็ตาม บริษัท ซูซูกิ มอเตอร์ ได้ออกมายืนยันแล้วว่าข้อความดังกล่าวไม่เป็นความจริง ตรวจสอบข้อเท็จจริง ในวันที่ 18 พฤษภาคม บริษัท ซูซูกิ มอเตอร์ (ประเทศไทย) ได้ออกบทความแถลงการณ์ถึงกรณีข้อความไวรัลดังกล่าวบนเพจ Suzuki Motor Thailand ซึ่งเป็นเพจอย่างเป็นทางการของทางบริษัท โดยได้ยืนยันว่า “ข่าวดังกล่าวไม่เป็นความจริงและขอยืนยันว่า บริษัท ซูซูกิ มอเตอร์ (ประเทศไทย) จำกัด ยังคงมีความมุ่งมั่นที่จะดำเนินธุรกิจในประเทศไทย และมีแผนในระยะยาวที่จะแนะนำรถยนต์รุ่นใหม่ในปี 2568 และในปีถัดๆไป […]

Continue Reading

วิดีโอไวรัลหมึกยักษ์โผล่น้ำตื้น มีสาเหตุจากโลกร้อนจริงหรือไม่?

เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา วิดีโอการจับหมึกยักษ์ได้กลายเป็นไวรัลบนแพลตฟอร์ม X โดยมีการรับชมไปกว่าสี่ล้านครั้ง พร้อมข้อกล่าวอ้างว่าเป็นสัญญาณเตือนถึงสภาพแวดล้อมที่กำลังเปลี่ยนแปลง ข้อกล่าวอ้างบนโซเชียลมีเดีย ผู้ใช้ X ได้โพสต์วิดีโอของเรือประมงกำลังพยายามจับหมึกยักษ์ พร้อมคำบรรยายประกอบว่า “เจอปลาหมึกตัวขนาดนี้ คนมันก็ดีใจ แต่หารู้ไม่ นี่คือสัญญาณเตือน พวกนี้อยู่ในน้ำที่ลึกมาก ถ้ามันออกมาให้จับง่ายๆ แสดงว่าอาหารมันน้อยลง สภาพแวดล้อมเปลี่ยนแปลง” ที่มา | ลิงก์ถาวร โดยล่าสุดโพสต์ดังกล่าวมีการแชร์ต่อกว่าสามหมื่นครั้ง และมีการรับชมไปกว่าห้าล้านครั้ง ตรวจสอบข้อเท็จจริง หมึกยักษ์ในวิดีโอคือหมึกสายพันธุ์อะไร: หมึกยักษ์ในวิดีโอดังกล่าวมีชื่อว่า “หมึกฮัมโบลต์” มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Dosidicus gigas หรือที่รู้จักกันในชื่อหมึกจัมโบ้ เป็นหนึ่งในหมึกสายพันธุ์นักล่าที่ใหญ่ที่สุดชนิดหนึ่ง มีถิ่นกำเนิดในน่านน้ำอุ่นของมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันออก หมึกฮัมโบลต์มีจำนวนประชากรเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา โดยขยายพันธุ์ไปจนถึงตอนเหนือของอลาสกา แหล่งอาศัยและพฤติกรรมของหมึกฮัมโบลต์: หมึกฮัมโบลต์อาศัยอยู่ในมหาสมุทร ตั้งแต่ระดับความลึก 200 – 700 เมตร เป็นที่รู้กันว่าหมึกฮัมโบลต์จะขึ้นไปยังน้ำตื้นในตอนกลางคืนเพื่อล่าหาอาหาร โดยพวกมันสามารถล่าได้เพียงลำพังหรือเป็นกลุ่มหลายพันตัว เมื่ออยู่รวมกันเป็นฝูง พวกมันจะวิ่งตามเหยื่อที่มีขนาดใหญ่กว่าและกลืนกินเร็วกว่าเหยื่อตัวเล็ก อาหารของพวกมันประกอบด้วยปลาตัวเล็ก สัตว์น้ำที่มีเปลือกแข็ง หมึก และโคพีพอดเป็นส่วนใหญ่ หมึกฮัมโบลต์กับสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลง: แม้การขึ้นมาหาอาหารบนน้ำตื้นจะเป็นพฤติกรรมโดยปกติของหมึกชนิดนี้ แต่หมึกฮัมโบลต์กำลังเผชิญกับสภาพแวดล้อมที่กำลังเปลี่ยนแปลง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอันมาจากภาวะโลกร้อน การขยายตัวของโซนออกซิเจนต่ำในมหาสมุทรซึ่งเป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ […]

Continue Reading

ภาพของ Rihanna, Lady Gaga และ Katy Perry ที่งาน Met Gala เป็นภาพตัดต่อ

Met Gala เป็นหนึ่งในงานที่ผู้คนตั้งตารอมากที่สุดแห่งปี โดยในแต่ละปีจะมีบุคคลสำคัญระดับโลกจากแวดวงต่างๆ เข้าร่วมอย่างคับคั่ง และล่าสุด มีภาพถ่ายของนักร้องระดับโลกอย่าง Rihanna, Katy Perry และ Lady Gaga ในงานปรากฏบนโซเชียลมีเดีย และได้รับความสนใจเป็นอย่างมาก โดยมีผู้ชมไปกว่าหลายล้านครั้ง ข้อกล่าวอ้างบนโซเชียลมีเดีย ผู้ใช้บนแพลตฟอร์ม X ได้โพสต์รูปภาพของ Rihanna Katy Perry และ Lady Gaga เข้าร่วมงาน Met Gala ประจำปีนี้ในนิวยอร์ก โดยภาพเหล่านี้มีการแชร์ต่ออย่างเป็นวงกว้าง Source | Archive Source | Archive Source | Archive และเรายังพบรูปภาพพร้อมข้อกล่าวอ้างเดียวกันแพร่กระจายบนแพลตฟอร์มอื่นๆ เช่น Thread ด้วยเช่นกัน Source | Archive Source | Archive Source | Archive อย่างไรก็ตาม เราพบว่าภาพข้างต้นนั้นเป็นภาพตัดต่อ […]

Continue Reading