#ม็อบ10พฤษภา66: ศูนย์ทนายความฯ ชี้แจง แบมถอดเสื้อผ้าเพื่อเป็น “อารยะขัดขืน” ต่อการจับกุม

คำเตือน: มีเนื้อหาเกี่ยวกับความรุนแรง, การเปิดเผยทางด้านเพศ (Sexual Explicit) วันที่ 10 พ.ค.2566 เวลาประมาณ 19.00 น. กลุ่มมวลชนนักเคลื่อนไหวทางการเมืองกว่า 20 คน พยายามจะเข้าไปใน สน.สำราญราษฎร์ เพื่อทวงถามและร้องขอความเป็นธรรมให้กับเยาวชนอายุ 15 ปี ที่ถูกคุมขังในสถานพินิจบ้านปรานี จ.นครปฐม ในคดีมาตรา 112 หลังทราบว่าตำรวจสั่งแจ้งข้อกล่าวหาเพิ่มเติมกับเยาวชน ในข้อหาความผิด ตาม พ.ร.บ.โบราณสถาน โดยกลุ่มมวลชนเกิดความไม่พอใจ จึงบุกเข้าไปด้านใน พร้อมกับทุบกระจกประตูทางเข้าสถานีตำรวจแตกเสียหาย และนำสีน้ำมันสาดใส่ตามบันไดทางเดินและกำแพงของโรงพัก พร้อมกับสีสเปรย์พ่นตามกำแพง พื้นและรถยนต์ของเจ้าหน้าที่ตำรวจ จนได้รับความเสียหาย ต่อมาตำรวจได้ควบคุมตัว แกนนำทั้ง 9 คน อาทิ น.ส.ทานตะวัน หรือ ตะวัน และ น.ส.อรวรรณ หรือ แบม ก่อนตำรวจจะนำตัว แยกไปคุมขังที่ สน.ลาดกระบัง สน.ฉลองกรุง และ สน.ทุ่งสองห้อง โดยแต่ละที่มีตำรวจคุมกันอย่างแน่นหนา (อ่านข่าวที่นี่) เหตุการณ์ดังกล่าวถูกแชร์อย่างแพร่หลายในแพลตฟอร์มโซเชียลต่างๆ […]

Continue Reading

แบงก์ชาติปฏิเสธ ข่าวลืองบประมาณ 9 แสนล้าน เป็น “เงินบุญ”

ข้อมูลจากโซเชียลมีบทบาทสำคัญในการสื่อสารและแลกเปลี่ยนข้อมูลในสังคมออนไลน์ในปัจจุบันเป็นอย่างมาก แต่บางครั้งข้อมูลเหล่านี้ก็อาจจะเป็นข้อมูลที่ชวนเข้าใจผิดหรือเป็นข้อมูลเท็จ โดยเฉพาะเมื่อข้อมูลเหล่านี้ถูกสร้างขึ้นมาจากการผสมรวมข้อมูลจากหลายแหล่ง ซึ่งอาจทำให้เกิดการสร้างข้อมูลเท็จใหม่ขึ้นมาได้ ซึ่งผลกระทบจากการสร้างข้อมูลลักษณะนี้อาจทำให้ผู้อ่านเข้าใจผิดและส่งผลกระทบต่อสังคมและการแลกเปลี่ยนข้อมูลในอนาคตได้ เมื่อวันที่ 25 เมษายน ที่ผ่านมา มีผู้ใช้เฟซบุ๊กแชร์ข้อความที่ระบุว่าธนาคารแห่งประเทศไทยออกมาชี้แจงต่อสภาว่าเงิน 9 แสนล้านเป็นเงินที่ได้รับพระราชทานจากในหลวงรัชกาล 10 โดยข้อความดังกล่าวมีเนื้อหาว่า: “โซเชียลแห่แชร์คลิป ผู้ว่าธปท.แจงสภาฯ 9 แสนล้านไม่ใช่เงินกู้ แต่เป็น “เงินบุญ” จากผู้ปิดทองใต้ฐานพระ…. และเงินกว่า 3หมื่นล้านที่ประยุทธจองวัคซีนล็อตแรก ก็เป็นเงินของ ในหลวง ร.10 เช่นกัน #แชร์เลย แชร์เลย แชร์ให้มากที่สุด ขอพระองค์ ทรงพระเจริญ ท่านใดอยากได้คลิปข่าวทรงพระราชทานอุปกรณ์ทางการแพทย์ช่วยเรื่องวิกฤติโควิดครับเชิญพิมพ์ที่กูลเกิ้ลเลยครับมีเยอะมาก พระองค์ท่านถูกเข้าใจผิดมาตลอด ผมเองก็เป็นครับ จนกระทั่งท่านได้ครองราชย์ ถึงได้รู้ว่าพระองค์มิได้ต่างจากพระราชบิดาเลย เพียงแต่ทรงงานกันคนละแบบ เพราะท่านไม่ทรงประสงค์จะเป็นข่าว ขอพระองค์ทรงพระเจริญพระเจ้าข้า #เรารักสถาบันพระมหากษัตริย์ #ผู้ปิดทองหลังพระ #แชร์ความดีไม่มีความผิด” Source | Archive โดยข้อความดังกล่าวได้ถูกแชร์ต่ออย่างแพร่หลายบนเฟซบุ๊ก โดยเราพบว่าข้อความดังกล่าวมีการเผยแพร่มาตั้งแต่ปี 2564 โพสต์ข้อกล่าวอ้างเดียวกัน ที่เผยแพร่ตั้งแต่ปี 2564 Source | Archive […]

Continue Reading

ไม่ใช่เลขสาม: ภาพพลเอกประยุทธ์ชูนิ้วมือที่ถูกเข้าใจผิด

ในช่วงเลือกตั้งใหญ่ที่จะเกิดขึ้นเดือนหน้า ในวันที่ 14 พฤษภาคมนี้ ข่าวปลอมเป็นอีกปัญหาสำคัญที่หลายๆ ฝ่ายควรต้องเฝ้าระวัง เพราะข้อมูลต่างๆ ล้วนมีผลต่อการตัดสินใจของผู้มีสิทธิ์เลือกตั้ง และสามารถส่งผลต่อการเลือกตั้งได้โดยตรง และล่าสุดเราพบข้อมูลที่ชวนให้ผู้คนเข้าใจผิด และอาจส่งผลต่อการตัดสินใจในการเลือกได้ เมื่อวันที่ 3 เมษายนที่ผ่านมา เพจเฟซบุ๊ก “ไทยรัฐนิวส์โชว์” ของสำนักข่าวไทยรัฐ ได้แชร์ภาพพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และแคนดิเดตนายกรัฐมนตรีจากพรรครวมไทยสร้างชาติ ชูมือหนึ่งนิ้วและสองนิ้ว ร่วมกับสมาชิกพรรคอีกสองรายข้างๆ พร้อมข้อกล่าวอ้างว่าพลเอกประยุทธ์ พยายามชูมือเป็นเลข 3 เนื่องจากผู้ลงสมัครของพรรคจับได้เบอร์ 3 ในการเลือกตั้งครั้งนี้ Source | Archive โดยผู้ใช้โซเชียลได้แสดงความคิดเห็นในภาพดังกล่าวมากมาย เช่น “ไม่ชูข้างเดียวละครับ แบบนี้เบอร์12นะ”, “แววมันออก เลข 3 ชูนิ้วแบบนั้นหรอ”, “ไหนว่าก้าวข้ามความขัดแย้งแค่จะชู 3 นิ้วก็กลัวเสียศักดิ์ศรี” โดยภาพดังกล่าวของพลเอกประยุทธ์ พร้อมข้อกล่าวอ้างที่ระบุว่าพรรครวมไทยสร้างชาติของพลเอกประยุทธ์จับได้หมายเลข 3 และการชูนิ้วแสดงถึงหมายเลข 3 อีกแบบเพื่อหลีกเลี่ยงไม่ให้ซ้ำกับสัญลักษณ์การชู 3 นิ้ว ของฝั่งต่อต้านเผด็จการ ก็ได้แพร่กระจายอย่างเป็นวงกว้าง ทั้งบนเฟซบุ๊กและทวิตเตอร์ Source […]

Continue Reading

ต้น “April Snow” ที่เป็นไวรัล: มีอยู่จริงหรือแค่ผลงานอีกชิ้นของ AI?

ความมหัศจรรย์ของธรรมชาตินั้นดึงดูดความสนใจของผู้คนได้เสมอมา ไม่ว่าจะเป็นวิวทิวทัศน์ที่สวยงาม สิ่งมีชีวิตที่ดูแปลกประหลาด หรือปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่เหลือเชื่อ และผู้คนก็ชื่นชอบที่จะแชร์ความประทับใจที่มีต่อธรรมชาติลงโซเชียลมีเดียอยู่เสมอ แต่บางครั้งเรื่องที่แชร์ก็อาจไม่ใช่ข้อมูลที่ถูกต้อง ซึ่งทำให้เกิดความสับสนและเข้าใจผิดได้ เมื่อไม่นานมานี้ มีผู้ใช้บนโซเชียลได้แชร์รูปภาพต้นไม้ที่สวยงามและแปลกตาต้นหนึ่ง โดยอ้างว่าเป็นต้นไม้หายากจากประเทศจีน และรูปภาพนี้ก็สร้างความสนใจและความประหลาดใจให้ผู้ใช้โซเชียลรายอื่นๆ เป็นวงกว้าง ข้อกล่าวอ้างบนโซเชียลมีเดีย เพจเฟซบุ๊ก “Art and Craft Creation Academy – สถาบันสรรค์งานศิลป์” ได้แชร์รูปภาพต้นไม้ที่มีดอกกลมสีขาวขนาดใหญ่ คล้ายหิมะปกคลุมทั่วต้น พร้อมคำกล่าวอ้างว่ามีอยู่เพียงสามต้นเท่านั้นบนโลก และออกดอกแค่ปีละ 1 ครั้ง ในช่วงเมษายนของทุกปี Source | Archive โดยเราพบว่าเพจเฟซบุ๊กดังกล่าวได้แชร์มาจากโพสต์ต้นทางในภาษาอังกฤษ ที่กล่าวอ้างว่าต้นนี้คือต้น “Losu” หรือมีฉายาว่า “April Snow” เนื่องจากออกดอกในช่วงเดือนเมษายน และยังอ้างว่ารัฐบาลจีนให้ความคุ้มครองเพื่ออนุรักษ์ต้นไม้เหล่านี้อย่างเข้มงวดอีกด้วย Source | Archive นอกจากนี้ รูปนี้ยังแพร่กระจายไปตามโซเชียลต่างๆ รวมถึงทวิตเตอร์ หรือแม้แต่ Reddit อีกด้วย แต่หลังจากตรวจสอบ เราพบว่ารูปภาพนี้มีแนวโน้มว่าจะเป็นภาพที่สร้างโดย AI มากกว่าที่จะเป็นภาพจริง ตรวจสอบข้อเท็จจริง เราได้ใช้ฟีเจอร์ Reverse Image […]

Continue Reading

วิดีโอไวรัลที่ถูกเข้าใจผิด: ดอก ”พญาเสือโคร่ง” หรือ“มหาโมลี” บานครั้งเดียวในรอบ 400 ปี

การแชร์วิดีโอหรือภาพธรรมชาติอันสวยงามที่เป็นกำลังเป็นไวรัลนั้นดูเหมือนเป็นเรื่องปกติที่เราพบเห็นได้บ่อยๆ บนโซเชียลมีเดีย ทั้งภาพวิวทิวทัศน์ธรรมชาติ ปรากฏการณ์ต่างๆ ไปจนถึงภาพดอกไม้หรือพืชพรรณต่างๆ ซึ่งบางครั้งข้อมูลที่มากับวิดีโอหรือรูปภาพเหล่านั้นก็อาจสร้างความเข้าใจผิดได้ และล่าสุด มีวิดีโอดอกไม้บานที่กำลังแพร่กระจายอยู่บนโซเชียลมีเดียต่างๆ โดยอ้างว่าเป็นดอกไม้ที่จะบานทุก 400 ปี วิดีโอของดอกไม้สีเหลืองขนาดเล็กที่บานสะพรั่งพร้อมคำบรรยายว่า “นี่คือ “ดอกพญาเสือโคร่ง” หรือ “มหาโมลี” ดอกไม้มงคลเฉพาะของทิเบต ดอกพญาเสือโคร่งบนเทือกเขาหิมาลัยจะบานทุกๆ 400 ปี คนรุ่นเราโชคดีได้เห็นเจดีย์บาน โปรดแชร์ให้คนอื่นได้เห็น โชคดีตลอดชีวิต!” Source | Archive โดยเราพบว่านอกจากโพสต์ข้างต้นแล้ว วิดีโอดังกล่าวยังถูกแชร์บนโซเชียลมีเดียอย่างแพร่หลายอีกด้วย อย่างไรก็ตาม ทีมงาน Fact Crescendo พบว่าคำกล่าวอ้างที่มาพร้อมกับวิดีโอดังกล่าวนั้นเป็นเท็จ ตรวจสอบข้อเท็จจริง จากที่เราได้ทำการตรวจสอบและค้นหาข้อมูล เราไม่พบดอกไม้ชื่อ “มหาโมลี” หรือ “Mahameru” ตามข้อความที่กล่าวอ้างใดๆ ส่วนดอกพญาเสือโคร่ง เป็นไปได้ว่าจะมาจาก “ดอกนางพญาเสือโคร่ง” (ชื่อภาษาอังกฤษ Wild Himalayan cherry หรือ Sour cherry, ชื่อวิทยาศาสตร์ Prunus cerasoides) นั้นก็มีลักษณะแตกต่างจากดอกไม้ในวิดีโอโดยสิ้นเชิง โดยนางพญาเสือโคร่งจะมีลักษณะเป็นดอกสีชมพู กลีบเล็ก คล้ายกับดอกซากุระ […]

Continue Reading

ข้อเท็จจริงของภาพไวรัลของก้อนหินขนาดยักษ์ที่อ้างว่ามาจาก “พีระมิดในอียิปต์”

พีระมิดในอียิปต์ถือเป็นหนึ่งในสิ่งก่อสร้างที่โดดเด่นที่สุดในประวัติศาสตร์ การสร้างพีระมิดนั้นเป็นเรื่องที่ทั้งลึกลับและน่าทึ่ง มนุษย์ต่างตั้งข้อสันนิษฐานมากมายว่าพีระมิดสร้างขึ้นด้วยวิธีใดกันแน่ และยิ่งในยุคปัจจุบันที่โซเชียลมีเดียถือเป็นสื่อหลัก ก็ยิ่งมีข้อมูลผิดๆ เกี่ยวกับพีระมิดแพร่กระจายมากมาย ตั้งแต่ทฤษฎีสมคบคิดไปจนถึงข่าวปลอมต่างๆ และล่าสุดก็มีรูปภาพเผยแพร่ในโซเชียลมีเดียที่กล่าวอ้างว่ามีความเกี่ยวข้องกับพีระมิดในอียิปต์ ข้อกล่าวอ้างบนโซเชียลมีเดีย วันที่ 22 มีนาคม มีผู้ใช้เฟซบุ๊กรายหนึ่งได้โพสต์รูปหินสี่เหลี่ยมขนาดมหึมาลงในกลุ่มเฟซบุ๊กชื่อ “ภาพเก่าในอดีต” พร้อมคำบรรยายภาพว่า: “หนึ่งในก้อนหินราว 2.3 ล้านก้อน ที่มีน้ำหนักราว 2.5-15 ตัน หรือบางก้อนมากกว่า ที่ถูกตัด ฝนด้วยหินขัดหน้าให้เรียบ แล้วจะทำการชักลากไปก่อสร้างมหาปิรามิดกีซา The Great Pyramid ราว 5,000 ปีก่อน” Source | Archive โดยโพสต์ดังกล่าวมีการแชร์กว่าเกือบหนึ่งร้อยครั้ง และมีการกดถูกใจไปถึง 1,800 ครั้งในเวลาเพียงหนึ่งวัน นอกเหนือจากโพสต์ดังกล่าวแล้ว เรายังพบรูปภาพพร้อมคำกล่าวอ้างเดียวกันในภาษาอังกฤษที่นี่ (Archive) รวมถึงพบข้อกล่าวอ้างที่คล้ายคลึงกันเผยแพร่ในทวิตเตอร์ตั้งแต่เมื่อปี 2022 Source | Archive อย่างไรก็ตาม หลังจากที่เราทำการตรวจสอบเพิ่มเติมก็พบว่า รูปภาพหินขนาดยักษ์ดังกล่าวไม่ใช่หินที่ใช้สร้างพีระมิดในอียิปต์ตามที่กล่าวอ้าง ตรวจสอบข้อเท็จจริง เราได้ทำการตรวจสอบข้อเท็จจริงโดยใช้ฟีเจอร์ค้นหารูปภาพ เพื่อหาที่มาของภาพดังกล่าว และเราพบว่ารูปภาพดังกล่าวนั้นถ่ายขึ้นที่เมืองบาลเบ็ค (Baalbek) ซึ่งเป็นเมืองโบราณที่มีประวัติศาสตร์มาอย่างยาวนานในประเทศเลบานอน โดยอ้างอิงจากบทความในเว็บไซต์ของ Smithsonian […]

Continue Reading

ข้อเท็จจริงเบื้องหลังภาพเต่ายักษ์ที่แชร์บนโซเชียล

ในยุคที่โซเชียลมีเดียถือเป็นสื่อหลักในการเผยแพร่และรับข้อมูลต่างๆ เรามักจะพบเห็นข้อมูลต่างๆ ที่ดูน่าเชื่อถือและไม่ได้ตั้งข้อสงสัยใดๆ แต่มีหลายๆ ครั้งที่ข้อมูลที่ดูน่าเชื่อถือกลายเป็นข้อมูลเท็จ และล่าสุด เราพบรูปภาพของเต่ายักษ์ตัวหนึ่งที่กล่าวอ้างว่าเป็นเต่าที่อายุกว่า 191 ปีที่ชื่อว่า “โจนาธาน” ข้อกล่าวอ้างบนโซเชียลมีเดีย มีผู้ใช้เฟซบุ๊กรายหนึ่งได้โพสต์รูปภาพของเต่ายักษ์ตัวหนึ่งลงในกลุ่มเฟซบุ๊กชื่อ “ความรู้รอบโลก world knowledge” พร้อมคำบรรยายภาพว่า: “เต่าตัวนี้คือเต่ากาลาปากอส ข้อมูลบอกว่าเกิดในปี 1832 ตอนนี้เธอมีอายุ191ปี. แต่ตอนนี้มีเต่าที่ชื่อ #แอเรียน .อายุ 250ปีอายุยืนที่สุด.และเต่าเป็นสัตว์ที่อายุยืนอันดับสองรองจากฟองน้ำชนิดหนึ่งที่มีอายุถึง10,000ปีเลยเลยทีเดียว.” Source | Archive โดยโพสต์ดังกล่าวมีการแชร์ในวงกว้างอย่างรวดเร็ว โดยนอกจากโพสต์ข้างต้นแล้ว เราพบโพสต์อื่นๆ พร้อมข้อกล่าวอ้างที่คล้ายกันในภาษาอังกฤษ: “Born in 1832 (5 years prior to the coronation of Queen Victoria), Jonathan the Tortoise is due to turn 190 years old in 2022. […]

Continue Reading

สวมหน้ากากอนามัย = ตายผ่อนส่ง จริงหรือไม่? อ่านข้อเท็จจริงได้ที่นี่

ประเทศไทยประกาศผ่อนคลายมาตรการสวมหน้ากากอนามัยในที่สาธารณะเมื่อปีที่แล้ว แต่สัดส่วนการสวมหน้ากากของคนไทยก็ยังคงไม่บางตาลงเท่าไรนัก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสถานที่ปิด เช่น ในห้าง บนรถไฟฟ้า บนเครื่องบิน และในขนส่งมวลชนต่างๆ นอกเหนือจากเหตุผลด้านการป้องกันการติดเชื้อโควิดแล้ว อีกเหตุผลหนึ่งที่คนไทยส่วนใหญ่ยังเลือกสวมหน้ากากอนามัยอยู่ก็คือปัญหามลภาวะ หรือฝุ่น PM 2.5 นั่นเอง ยิ่งในช่วงต้นปีที่ผ่านมาที่ปริมาณฝุ่นในอากาศมากยิ่งขึ้น โดยค่าดัชนีคุณภาพอากาศหรือ AQI (Air Quality Index) ในกรุงเทพฯ และในบางจังหวัดจัดอยู่ในระดับที่ไม่ปลอดภัย และเข้าสู่ระดับอันตรายในหลายครั้ง ทำให้ประชาชน โดยเฉพาะชาวกรุงเทพตื่นตัวเรื่องการสวมหน้ากากอนามัยกันอีกครั้ง อย่างไรก็ดี ไม่นานมานี้ เราพบว่ามีข้อความที่ต่อต้านการสวมหน้ากากอนามัยแพร่กระจายบนโซเชียลมีเดียต่างๆ ทั้งบนเฟซบุ๊ก และส่งต่อกันผ่านไลน์ ซึ่งอาจสร้างความสับสนให้แก่ผู้อ่านได้ ข้อกล่าวอ้างบนโซเชียลมีเดีย มีข้อความส่งต่อกันบนโซเชียลมีเดีย ที่กล่าวอ้างถึงอันตรายของการสวมหน้ากากอนามัย โดยระบุว่า Source | Archive นอกจากโพสต์ข้างต้นแล้ว เรายังพบข้อความเดียวกันแพร่กระจายบนเฟซบุ๊กและไลน์อีกด้วย โดยมีการแชร์ข้อความดังกล่าวเป็นวงกว้างตั้งแต่เมื่อเดือนพฤศจิกายนปีที่แล้ว Source | Archive จากการตรวจสอบข้อความข้างต้น เราพบว่าข้อความดังกล่าวนั้นมีพาดหัวและเนื้อหาบางส่วนที่ชวนให้เข้าใจผิด และงานวิจัยที่แนบมาในข้อความก็ไม่ได้ต่อต้านการสวมหน้ากากแต่อย่างใด ตรวจสอบข้อเท็จจริง เราได้ทำการตรวจสอบงานวิจัยในข้อความที่กล่าวอ้าง โดยงานวิจัยดังกล่าวได้ศึกษาผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นเมื่อสวมหน้ากากอนามัย ทางสถาบัน PN Medical จึงต้องการเผยแพร่วิธีหายใจที่ถูกต้องขณะสวมหน้ากากอนามัย เพื่อลดอาการไม่พึงประสงค์ต่างๆ […]

Continue Reading

ภาพโจมตีตะวัน-แบมแอบกินข้าว แท้จริงแล้วเป็นภาพนักกิจกรรมคนอื่น

เมื่อวันที่ 16 มกราคม 2566 ตะวัน-ทานตะวัน ตัวตุลานนท์ และแบม-อรวรรณ ภู่พงษ์ สองนักกิจกรรมอิสระ ได้ถอนการประกันตัวจากที่ถูกดำเนินคดีด้วย ม.112 และ ม.116 และแถลงการณ์ข้อเรียกร้องทั้ง 3 ข้อ คือ ภาพจาก: The MATTER เมื่อข้อเรียกร้องไม่เป็นผล ทั้งตะวันและแบมจึงได้ประท้วงโดยการอดอาหารและน้ำ ในวันที่ 18 มกราคม โดยทั้งแบมและตะวันได้ถูกปล่อยตัวชั่วคราวเเมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์เพื่อรับการรักษาที่โรงพยาบาลธรรมศาสตร์ เนื่องจากสภาวะร่างกายเข้าขั้นวิกฤต และเริ่มรับน้ำและแร่ธาตุเพื่อประคองอาการในเวลาถัดมา และในวันที่ 24 กุมภาพันธ์ ตะวันและแบมได้เริ่มอดอาหารระลอกใหม่ โดยปักหลักหน้าศาลอาญา โดยทั้งสองแถลงแจ้งความประสงค์อดอาหารเพื่อประท้วงให้ผู้มีอำนาจยอมรับสิทธิของผู้ต้องหาและจำเลยในคดีอาญาได้รับการประกันตัวในระหว่างต่อสู้คดีต่อไป อย่างไรก็ตาม เราได้พบข้อกล่าวอ้างที่ชวนให้เข้าใจผิดเกี่ยวกับแบมและตะวันที่กำลังเผยแพร่ในโลกโซเชียลมีเดีย มีโพสต์แชร์ภาพนักกิจกรรมหญิงสองรายกำลังรับประทานอาหารอยู่ภายในเต็นท์ พร้อมคำบรรยายภาพว่า “เห็นบอกว่าอดอาหาร แต่นั่งกินข้าวอยู่ในคอกอ่ะ.. กั้นซะทึบ ไม่เนียนไปเรียนมาใหม่..” Source | Archive โดยโพสต์ดังกล่าวมีการกดถูกใจกว่าร้อยครั้ง นอกจากนี้เราได้พบรูปภาพพร้อมคำกล่าวอ้างลักษณะเดียวกันบนเฟซบุ๊ก โดยจากกระแสข่าวการอดอาหารของแบมและตะวัน ทำให้โพสต์ดังกล่าวดูเหมือนมุ่งเป้าไปที่ตัวนักกิจกรรมทั้งสอง Source | Archive ตรวจสอบข้อเท็จจริง […]

Continue Reading

พรรคก้าวไกลมีนโยบายลดบำนาญข้าราชการจริงหรือไม่?

การเลือกตั้งใหญ่ของประเทศไทยกำลังจะเกิดในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า ท่ามกลางการแข่งขันด้านนโยบายกันอย่างเข้มข้น การแพร่กระจายของข่าวปลอมและข้อมูลเท็จต่างๆ ก็ถือเป็นปัญหาที่พบเจอได้บ่อยครั้ง แน่นอนว่าข้อมูลข่าวสารเท็จสามารถส่งผลกระทบต่อการตัดสินใจของประชาชนได้ ล่าสุด มีข้อกล่าวอ้างเกี่ยวกับพรรคก้าวไกลที่กลับมาเผยแพร่บนโซเชียลอีกครั้ง เราจึงดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงของเรื่องราวดังกล่าวนี้ ข้อกล่าวอ้างบนโซเชียลมีเดีย เมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ มีผู้ใช้ทวิตเตอร์รายหนึ่งได้ทวีตรูปภาพที่มีข้อความว่า “พิธา ยืนยัน ถ้าไม่ตัด ก็จะขอลดเงินบำนาญข้าราชการ เพราะมันคือ “งบช้างป่วย” ไม่เป็นประโยชน์ต่อประชาชน” Claim | Archive โดยทวีตดังกล่าวมีการรับชมไปแล้วกว่าสองหมื่นครั้ง และรีทวีตต่อกว่า 120 ครั้ง อย่างไรก็ตาม เราพบว่าข้อความดังกล่าวไม่เป็นความจริงแต่อย่างใด ตรวจสอบข้อเท็จจริง เมื่อทำการตรวจสอบ พบว่าประเด็น “ช้างป่วย” ในข้อกล่าวอ้างนั้นมาจากการอภิปรายในสภาของนายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรคก้าวไกล เมื่อเดือนพฤษภาคม 2565 (ที่มา) โดยนายพิธาได้อภิปรายถึงงบประมาณของประเทศ โดยกล่าวว่าตัวเลขที่สูงที่สุดในงบประมาณชุดดังกล่าว คือเบี้ยหวัดของข้าราชการ ซึ่งเทียบเท่างบของกระทรวงศึกษาธิการทั้งกระทรวง และได้เปรียบเทียบว่า (ระบบเบี้ยข้าราชการ) มีลักษณะเหมือนช้างป่วยที่ปรับตัวไม่ได้ รัฐบาลได้ใช้เงินจำนวนกว่า 40% ของรายได้ประเทศไปกับรายจ่ายของบุคลากรในระบบราชการที่อุ้ยอ้าย นอกจากนี้ยังได้วิเคราะห์ถึงจำนวนเงินบำนาญของข้าราชการที่เพิ่มขึ้นถึง 2 เท่า ในช่วง 8 ปีที่ผ่านมา […]

Continue Reading