ภาพและข้อความว่ามัสยิดเขายายเที่ยงบุกรุกป่าสงวนและห้ามชาวพุทธเข้า “ชวนให้เข้าใจผิด”

เมื่อเร็วๆ นี้ มีภาพพร้อมข้อความแพร่กระจายบนแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดีย โดยระบุว่า มัสยิดที่เขายายเที่ยง จังหวัดนครราชสีมา มีการสร้างโดยบุกรุกพื้นที่ป่าสงวน และห้ามไม่ให้ชาวบ้านและชาวพุทธเข้าไปในเขตเขายายเที่ยง โพสต์บนโซเชียลมีเดีย เมื่อวันที่ 22 มิถุนายนที่ผ่านมา มีผู้ใช้แพลตฟอร์ม X โพสต์ภาพมัสยิดกลางภูเขา พร้อมข้อความในภาพว่า “ไม่ถูกจับเพราะอะไร มัสยิดสร้างที่เขายายเที่ยง บุกรุกป่าสงวน และทราบมาว่าห้ามชาวบ้านและชาวพุทธเข้าไปเขตเขายายเที่ยง” ที่มา | ลิงก์ถาวร โดยล่าสุดโพสต์ดังกล่าวมีการรับชมไปแล้วกว่าสี่แสนครั้ง นอกจากนี้ เรายังพบรูปภาพและข้อกล่าวอ้างเดียวกัน แพร่กระจายบนแพลตฟอร์ม Facebook อีกด้วย ที่มา | ลิงก์ถาวร ที่มา | ลิงก์ถาวร ตรวจสอบข้อเท็จจริง กรมป่าไม้ ชี้แจง ภาพดังกล่าวเป็นภาพตัดต่อ: กรมป่าไม้ สำนักจัดการทรัพยากรป่าไม้ที่ 8 (นครราชสีมา) กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย ชี้แจงว่า ภาพดังกล่าวเป็นภาพตัดต่อ โดยทำให้ดูเหมือนมัสยิดตั้งอยู่กลางป่า โดยเป็นภาพที่แพร่กระจายตั้งแต่ในอดีตมาเป็นเวลาหลายปีแล้ว ภาพถ่ายจริงของมัสยิดเขายายเที่ยง ที่มา นอกจากนี้ ภาพถ่ายดาวเทียมจากบริเวณเขายายเที่ยงยังแสดงให้เห็นว่า บริเวณรอบๆ […]

Continue Reading

วิดีโอที่อ้างว่า Temple Mount ถูกเผา “ชวนให้เข้าใจผิด”

เมื่อไม่นานมานี้ มีวิดีโอแพร่กระจายบนโซเชียลมีเดีย พร้อมข้อกล่าวอ้างว่าเป็นวิดีโอเหตุการณ์เมื่อเร็วๆ นี้ ที่ชาวอิสราเอลโห่ร้องและเฉลิมฉลองขณะที่มีการเผาวิหาร โดยวิดีโอพร้อมข้อความดังกล่าวได้แพร่กระจายบนแพลตฟอร์มออนไลน์ต่างๆ โพสต์โซเชียลมีเดีย เมื่อวันที่ 2 มิถุนายนที่ผ่านมา มีผู้ใช้ Facebook ได้แชร์วิดีโอพร้อมข้อความว่า “กลุ่มไซออนิสต์ร้องและเต้นรำกันขณะที่ Temple Mount ถูกเผา!” Source | Archive โดยเราพบว่าวิดีโอดังกล่าวได้แพร่กระจายอย่างกว้างขวางบนแพลตฟอร์ม X (Twitter) ด้วยเช่นกัน Source | Archive อย่างไรก็ตาม เราพบว่าวิดีโอดังกล่าวไม่ใช่วิดีโอจากเหตุการณ์เมื่อเร็วๆ นี้แต่อย่างใด ตรวจสอบข้อเท็จจริง จากการตรวจสอบข้อเท็จจริงโดยการใช้ฟีเจอร์ Reverse Image Search จากคีย์เฟรมของวิดีโอดังกล่าวเพื่อค้นหาที่มาของวิดีโอ เราพบว่าวิดีโอนี้เป็นเหตุการณ์ตั้งแต่เมื่อปี 2021 โดยเป็นเหตุการณ์ที่ชาวยิวในอิสราเอลรวมตัวกันที่ Temple Mount และร่วมร้องเพลงต่อต้านปาเลสไตน์ อย่างไรก็ตาม ไม่ได้มีการเผา Temple Mount ดังในข้อกล่าวอ้าง โดยจุดที่เกิดไฟไหม้คือบริเวณต้นไม้หลังวิหาร ซึ่งมีการรายงานว่าถูกเผาโดยผู้ประท้วงชาวปาเลสไตน์ที่โยนพลุเข้าไปในบริเวณนั้น อย่างไรก็ตาม วิหารไม่ได้รับความเสียหายจากเหตุการณ์นี้แต่อย่างใด (ที่มา: BBC, Reuters) สรุป […]

Continue Reading

ป้าย “Bangkok” ของ กทม. ไม่ได้ใช้งบประมาณ 3 ล้านบาท

เมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม 2567 กรุงเทพมหานคร ได้เปลี่ยนป้ายชื่อจังหวัดที่บริเวณ Sky Walk แยกปทุมวัน ซึ่งก่อนหน้านี้ป้าย “Bangkok” ได้กลายเป็นจุดยอดนิยมที่นักท่องเที่ยวต่างชาติมักมาถ่ายรูปเช็กอิน และสร้างขึ้นมาเป็นเวลากว่า 18 ปีแล้ว (ที่มา) โดยหลังจากมีการเปิดตัวป้ายโฉมใหม่ ก็มีข้อความแพร่กระจายว่า ป้ายโฉมใหม่ของ กทม. ใช้งบประมาณถึง 3 ล้านบาท ข้อกล่าวอ้างบนโซเชียลมีเดีย เราพบข้อความที่กล่าวอ้างว่าป้ายใหม่ของ กทม. ใช้งบประมาณ 3 ล้านบาท แพร่กระจายบนแพลตฟอร์มออนไลน์ต่างๆ ทั้ง Facebook และ X ที่มา | ลิงก์ถาวร ที่มา | ลิงก์ถาวร ที่มา | ลิงก์ถาวร ที่มา | ลิงก์ถาวร อย่างไรก็ตาม เราพบว่าข้อมูลดังกล่าวเป็นข้อมูลที่ชวนให้เข้าใจผิด และป้ายดังกล่าวไม่ได้ใช้งบประมาณ 3 ล้านบาท ตามที่กล่าวอ้างแต่อย่างใด กทม. ชี้แจง งบ […]

Continue Reading

ภาพไวรัลอ้างว่าเป็นซากเฮลิคอปเตอร์ที่คร่าชีวิตปธน. อิหร่าน “ชวนให้เข้าใจผิด”

เมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2024 เหตุเฮลิคอปเตอร์ตกคร่าชีวิตประธานาธิบดี Ebrahim Raisi ของประเทศอิหร่าน และรัฐมนตรีกระทรวงต่างประเทศ Hossein Amir-Abdollahian และหลังจากเหตุเฮลิคอปเตอร์ตกอันน่าสลดใจครั้งนี้ ก็มีภาพที่แพร่กระจายบนโซเชียลมีเดีย โดยอ้างว่าเป็นภาพซากเครื่องบินตกจากเหตุการณ์ครั้งดังกล่าว ข้อกล่าวอ้างบนโซเชียลมีเดีย ภาพซากเฮลิคอปเตอร์พร้อมธงชาติอิหร่าน โดยมีเจ้าหน้าที่ค้นหาผ่านพื้นที่ป่าใกล้กับซากดังกล่าวถูกแชร์อย่างกว้างขวางบนโซเชียลมีเดีย พร้อมข้อความที่ระบุว่าภาพเหล่านี้เป็นภาพหลังจากอุบัติเหตุเฮลิคอปเตอร์ตกที่ทำให้ประธานาธิบดี Raisi เสียชีวิต Source | Archive Source | Archive Source | Archive Source | Archive ตรวจสอบข้อเท็จจริง เราเริ่มตรวจสอบข้อเท็จจริงโดยใช้ฟีเจอร์ Reverse Image Search ซึ่งทำให้เราพบโพสต์ต้นฉบับบนแพลตฟอร์ม X ซึ่งโพสต์ไว้ตั้งแต่วันที่ 23 เมษายน 2020 หรือ 4 ปีก่อนเกิดอุบัติเหตุของประธานาธิบดี Raisi อ่านข่าวเกี่ยวกับเหตุการณ์นี้ได้ที่นี่ Archive ภาพถ่ายชุดดังกล่าวแสดงให้เห็นเฮลิคอปเตอร์ลำหนึ่งที่มีหมายเลข 1136 บนตัวเครื่อง ซึ่งระบุว่าเป็นเครื่องบิน Cessna T206H […]

Continue Reading

ข้อความเกี่ยวกับไวรัส “Parabola” เป็นข้อมูลที่ชวนให้เข้าใจผิด

เมื่อไม่นานมานี้ มีข้อความที่ส่งต่อกันผ่านไลน์ ระบุว่ามีเชื้อไวรัสชนิดใหม่ ที่ติดจากสุนัขและแมวสู่คน และจะทำให้เม็ดเลือดแดงในร่างกายลดต่ำลง ข้อกล่าวอ้างบนโซเชียลมีเดีย เราได้รับเบาะแสผ่านทางไลน์ตรวจสอบข้อเท็จจริงของเรา เกี่ยวกับข้อความที่แพร่กระจายผ่านแพลตฟอร์ม LINE ที่ระบุว่า เชื้อไวรัส Parabola สามารถติดได้จากสุนัขและแมว โดยทำให้ไขกระดูกไม่สร้างเม็ดเลือดแดง โดยเราพบข้อความดังกล่าวแพร่กระจายบน Facebook เช่นเดียวกัน ที่มา | ลิงก์ถาวร ที่มา | ลิงก์ถาวร ส่งข้อมูลให้เราช่วยตรวจสอบข้อเท็จจริงได้ที่นี่ ตรวจสอบข้อเท็จจริง กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุขได้โพสต์ข้อมูลชี้แจงเกี่ยวกับข้อความที่แพร่กระจายทางสื่อออนไลน์ เกี่ยวกับเชื้อไวรัส Parabola ที่ติดจากสุนัขและแมวมาสู่คนได้ โดยยืนยันว่า ข้อความดังกล่าวไม่เป็นความจริง และปัจจุบันยังไม่มีการค้นพบไวรัสชนิดนี้ ลิงก์ถาวร อย่างไรก็ตาม มีไวรัสชนิดหนึ่งที่มักจะพบในสุนัขและแมว นั่นคือ Parvovirus ซึ่งในสุนัขจะเรียกว่า Canine Parvovirus (CPV) ส่วนในแมวเรียกว่า Feline Parvovirus (FPV) โดยไวรัสทั้งสองชนิดนี้ไม่สามารถติดจากสุนัขและแมวมาสู่คนได้ อย่างไรก็ตาม ผู้เลี้ยงสามารถป้องกันโรคดังกล่าวให้สุนัขและแมวได้โดยการฉีดวัคซีน ส่วน Parvovirus ที่มีการติดสู่คนได้นั้น เรียกว่า Parvovirus B19 […]

Continue Reading

น้ำท่วมครั้งใหญ่ในดูไบ ไม่ได้มีสาเหตุมาจากฝนเทียม

เมื่อช่วงไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมา ดูไบประสบเหตุการณ์ฝนตกครั้งใหญ่ที่สุดในรอบ 75 ปีของสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ทำให้เกิดน้ำท่วมเมืองและเหตุขัดข้องในหลายๆ ภาคส่วน รวมถึงและการระงับเที่ยวบินจำนวนมาก และท่ามกลางภัยพิบัติครั้งนี้ มีข้อความบนโซเชียลมีเดียจำนวนมากระบุว่าสาเหตุที่ทำให้เกิดน้ำท่วมใหญ่ครั้งนี้คือการเพาะเมฆ (Cloud Seeding) หรือการทำฝนเทียม อ่านบทความที่เกี่ยวข้อง: คลิปวิดีโอในอดีต ถูกนำมาแชร์ใหม่ว่าเป็นเหตุการณ์น้ำท่วมในซาอุฯ ครั้งล่าสุด ข้อกล่าวอ้างบนโซเชียลมีเดีย เมื่อเร็วๆ นี้ มีผู้ใช้หลายรายบน Facebook ที่โพสต์ข้อความระบุว่าสาเหตุที่เกิดน้ำท่วมใหญ่ในเมืองดูไบนั้นมีสาเหตุมาจากการทำฝนเทียมในเมือง ที่มา | ลิงก์ถาวร ที่มา | ลิงก์ถาวร ที่มา | ลิงก์ถาวร ตรวจสอบข้อเท็จจริง ศูนย์อุตุนิยมวิทยาแห่งชาติ (National Center of Meteorology: NCM) ซึ่งรับผิดชอบโครงการ Cloud Seeding ในสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ระบุกับสำนักข่าว CNBC ว่า ทางศูนย์ฯ ไม่ได้ดำเนินการเพาะเมฆในช่วงก่อนหน้าหรือระหว่างช่วงที่มีเหตุการณ์สภาพอากาศแปรปรวนครั้งนี้แต่อย่างใด Maarten Ambaum ศาสตราจารย์ด้านฟิสิกส์และพลศาสตร์ของชั้นบรรยากาศ University of Reading กล่าวว่าเขาได้พูดคุยกับนักอุตุนิยมวิทยาที่ NCM ที่ได้ปฏิเสธว่าไม่ได้ทำการเพาะเมฆในช่วงระยะเวลาดังกล่าว โดยอธิบายเพิ่มเติมว่าการเพาะเมฆในเอมิเรตส์นั้นใช้กับเมฆที่ไม่ก่อให้เกิดฝน […]

Continue Reading

คลิปวิดีโอในอดีต ถูกนำมาแชร์ใหม่ว่าเป็นเหตุการณ์น้ำท่วมในซาอุฯ ครั้งล่าสุด

ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา เกิดพายุรุนแรงและฝนตกหนักจนเกิดน้ำท่วมขึ้นในเมืองดูไบ และอาบูดาบี สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ และกลายเป็นเหตุการณ์น้ำท่วมครั้งใหญ่ที่สุดในรอบ 75 ปีของประเทศ จนเกิดเครื่องบินไม่สามารถขึ้นบินตามกำหนด และผู้คนไม่สามารถสัญจรในเมืองได้ตามปกติ โดยนอกจากในประเทศสาธารณรัฐอาหรับเอมิเรตส์แล้ว สภาพอากาศที่รุนแรงเช่นนี้ยังเกิดขึ้นในประเทศใกล้เคียงอย่าง บาห์เรน โอมาน กาตาร์ และซาอุดีอาระเบียด้วยเช่นกัน (ที่มา) ท่ามกลางสถานการณ์ครั้งนี้ เราพบว่ามีผู้ใช้โซเชียลมีเดียได้โพสต์วิดีโอน้ำท่วมในทะเลทรายพร้อมข้อกล่าวอ้างว่าเป็นเหตุการณ์น้ำท่วมในซาอุดีอาระเบีย ซึ่งอาจสร้างความสับสนให้แก่ผู้รับชมได้ ข้อกล่าวอ้างบนโซเชียลมีเดีย เมื่อวันที่ 17 เมษายนที่ผ่านมา มีผู้ใช้ Facebook ได้โพสต์วิดีโอเหตุการณ์น้ำท่วมทะเลทราย พร้อมคำบรรยายว่า “น้ำท่วมซาอุดีอาระเบีย” ที่มา | ลิงก์ถาวร โดยหลังจากดำเนินการตรวจสอบแล้ว เราพบว่า ฟุตเทจในวิดีโอดังกล่าวนั้นไม่ได้มาจากเหตุการณ์น้ำท่วมเมื่อเร็วๆ นี้แต่อย่างใด ตรวจสอบข้อเท็จจริง เราได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงโดยการใช้ฟีเจอร์ค้นหารูปภาพแบบย้อนกลับ (Reverse Image Search) โดยใช้คีย์เฟรมจากวิดีโอข้างต้น และนี่คือผลการตรวจสอบของเรา ฟุตเทจที่ 1: เหตุการณ์น้ำท่วมทะเลทรายในซาอุดีอาระเบียเมื่อปี 2018 เราพบวิดีโอที่ตรงกันจากเว็บไซต์ข่าวของประเทศซาอุดีอาระเบีย ที่รายงานเหตุการณ์น้ำท่วมครั้งกล่าวเมื่อ 26 ตุลาคม 2018 โดยสามารถอ่านข่าวเหตุการณ์ครั้งนี้จากสำนักข่าวอมรินทร์ได้ที่นี่ ฟุตเทจที่ 2 น้ำท่วมโอมานปี […]

Continue Reading

ภาพไวรัลพร้อมข้อความว่าประชาชนแห่ถอนเงินจาก ธกส. ‘ชวนให้เข้าใจผิด’

เมื่อวันที่ 10 เมษายน นายลวรณ แสงสนิท ปลัดกระทรวงการคลัง แถลงถึงแหล่งที่มาเงินในโครงการดิจิทัลวอลเล็ต 1 หมื่นบาท โดยชี้แจงว่า วงเงิน 5 แสนล้านบาท จะมาจากการจัดการงบประมาณในปี 2567 และปี 2568 ควบคู่กันไป โดยจะแบ่งเป็น 3 ส่วน ได้แก่ (ที่มา) โดยจากการชี้แจงของกระทรวงการคลังครั้งนี้ ทำให้มีประชาชนบางส่วนแสดงความกังวล และระบุว่าจะไปถอนเงินออกจากธนาคาร ธกส. เนื่องจากกลัวว่าธนาคารอาจขาดสภาพคล่องจากการดำเนินการครั้งนี้ นอกจากนี้ ยังมีผู้ใช้โซเชียลหลายรายที่โพสต์ภาพพร้อมข้อกล่าวอ้างว่าปัจจุบันมีประชาชนเดินทางไปถอนเงินจาก ธกส. อย่างล้นหลาม ข้อกล่าวอ้างบนโซเชียลมีเดีย หลังจากการแถลงที่มาของวงเงินดิจิทัลวอลเล็ต มีผู้ใช้ Facebook ได้โพสต์รูปภาพประชาชนจำนวนมากรวมตัวกันหน้าธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธกส.) พร้อมข้อความว่าประชาชนไปถอนเงินออก ที่มา | ลิงก์ถาวร ที่มา | ลิงก์ถาวร อย่างไรก็ตาม จากการตรวจสอบ เราพบว่า ภาพดังกล่าวไม่ใช่ภาพเหตุการณ์ในปัจจุบันแต่อย่างใด ตรวจสอบข้อเท็จจริง เราได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริง โดยการค้นหาที่มาของรูปภาพด้วยฟีเจอร์การค้นหารูปภาพแบบย้อนกลับ (Reverse Image Search) […]

Continue Reading

อย่าแชร์ต่อ! ข้อมูลว่า “กินเมล็ดมะละกอรักษามะเร็งได้” ยังไม่มีหลักฐานเพียงพอ

มีข้อมูลแพร่กระจายบนแพลตฟอร์ม LINE โดยระบุว่า การกินเมล็ดมะละกอสุกวันละ 3 เมล็ดโดยไม่ต้องกินน้ำตาม จะช่วยรักษาโรคมะเร็งได้ ข้อกล่าวอ้างบนโซเชียลมีเดีย เราได้รับเบาะแสผ่านทางไลน์ตรวจสอบข้อเท็จจริง เกี่ยวกับข้อความที่มีการส่งต่อกันอย่างแพร่หลายใน LINE เมื่อเร็วๆ นี้ โดยระบุว่า: “”คนไทยเก่งที่สุดในโลก” เป็นผลงานการวิจัยจากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จากการกินเมล็ดมะละกอสุกเพียงวันละ3เมล็ดโดยไม่ต้องกินน้ำตาม เมล็ดมะละกอจะเข้าไปทำลายเกราะที่หุ้มตัวเซลมะเร็ง ตามภาพเซลมะเร็งจะเป็นภาพขนาดใหญ่ ส่วนเม็ดเลือดขาวจะเป็นเม็ดเล็กๆและเข้าไปทำลายเซลมะเร็งได้ คณะผู้วิจัยได้ยื่นขอจดสิทธิบัตรเรียบร้อยแล้ว ไม่มีประเทศใดทำได้สำเร็จเหมือนประเทศไทย คนไทยค้นพบการทำลายเซลมะเร็งได้ โดยไม่ต้องใช้สารเคมี เป็นรายเดียวและเป็นรายแรกของโลก ช่วยกันเป็นกำลังใจให้กับคนไทยของเราด้วยนะคะ ขอบคุณข้อมูลดีๆ จากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ค่ะ จาก.ดร.วิฬารี สว่างพลกรัง” ส่งข้อมูลหรือเบาะแสข่าวให้เราช่วยตรวจสอบได้ที่นี่ นอกจากนี้ จากการค้นหาเพิ่มเติม เรายังพบว่าข้อกล่าวอ้างดังกล่าวมีการแพร่กระจายบนแพลตฟอร์ม Facebook เช่นเดียวกัน ที่มา | ลิงก์ถาวร ที่มา | ลิงก์ถาวร ความคิดเห็นจากผู้เชี่ยวชาญ สถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ระบุว่า จากข้อมูลวิชาการ ยังไม่มีหลักฐานงานวิจัยทางคลินิกที่ยืนยันแน่ชัดว่าการรับประทานเมล็ดมะละกอสุกช่วยรักษามะเร็งระยะสุดท้ายในคนได้ อย่างไรก็ตาม เมล็ดมะละกอประกอบไปด้วยสารต่าง ๆ เช่น กรดไขมัน โปรตีน […]

Continue Reading

จริงหรือไม่: สระผมก่อนอาบน้ำ เสี่ยงเส้นเลือดในสมองแตก?

ในช่วงฤดูร้อนที่อุณหภูมิเพิ่มขึ้นสูง มีข้อกล่าวอ้างด้านสุขภาพเกี่ยวกับการดูแลร่างกายในอากาศร้อนแพร่กระจายอยู่บ่อยครั้ง เช่น การดื่มน้ำเย็นเมื่ออากาศร้อน และล่าสุด เราพบข้อมูลที่ระบุว่า การสระผมก่อนอาบน้ำอาจทำให้เสี่ยงหลอดเลือดในสมองแตกได้ ข้อกล่าวอ้างบนโซเชียลมีเดีย เมื่อไม่นานมานี้ เราพบข้อความบน Facebook ที่ระบุว่า ไม่ควรสระผมก่อนอาบน้ำ เนื่องจาก ร่างกายต้องปรับอุณหภูมิอย่างรวดเร็ว ทำให้เลือดขึ้นไปที่สมองเฉียบพลัน และทำให้เส้นเลือดแตกได้ ที่มา | ลิงก์ถาวร นอกจากนี้ เรายังพบข้อกล่าวอ้างที่คล้ายคลึงกันแพร่กระจายบน Facebook ตั้งแต่เมื่อปี 2023 ที่มา | ลิงก์ถาวร ที่มา | ลิงก์ถาวร คำอธิบายจากผู้เชี่ยวชาญ นายแพทย์วีรวุฒิ อิ่มสำราญ รองอธิบดีกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ได้ชี้แจงในกรณีข้อกล่าวอ้างว่าไม่ควรสระผมก่อนอาบน้ำ เพราะอาจส่งผลทำให้เส้นเลือดแตกนั้น เป็นข้อมูลที่ไม่ถูกต้อง เพราะแม้ว่าการสระผมจะทำอุณหภูมิภายนอกร่างกายเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว แต่ก็ไม่ได้ส่งผลกับหลอดเลือดในทันที นอกจากนี้ นายแพทย์ธนินทร์ เวชชาภินันท์ ผู้อำนวยการสถาบันประสาทวิทยา ได้อธิบายเพิ่มเติมว่า ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดภาวะเส้นเลือดในสมองแตก ได้แก่ ภาวะความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน อายุที่มากขึ้น การสูบบุหรี่ และการดื่มแอลกอฮอล์ แต่ที่มักพบผู้ป่วยในห้องน้ำ หรือหลังจากเข้าห้องน้ำ […]

Continue Reading