ภาพเหตุการณ์ที่อ้างว่าแรงงานเมียนมาในไทยออกมาประท้วงขอขึ้นค่าแรง ‘ชวนให้เข้าใจผิด’

Misleading Politics

เมื่อเร็วๆ นี้ มีรูปภาพแพร่กระจายพร้อมข้อกล่าวอ้างว่าเป็นเหตุการณ์ที่กลุ่มชาวเมียนมาในประเทศไทยได้ออกมาชุมนุมที่หน้าองค์การสหประชาชาติ (UN) ในกรุงเทพฯ เพื่อเรียกร้องให้ปรับขึ้นค่าแรงรายวัน โดยภาพและข้อความดังกล่าวได้มีการแชร์ต่ออย่างเป็นวงกว้าง

โพสต์บนโซเชียลมีเดีย

เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา มีผู้ใช้ Facebook ได้โพสต์รูปการชุมนุมของกลุ่มชาวเมียนมา พร้อมข้อความระบุว่า เป็นเหตุการณ์ที่ “แรงงานพม่าในไทยออกมาเดินขบวนเรียกร้องให้รัฐบาลไทยขึ้นเงินค่าแรงต่อวันเป็นวันละ 700 บาท”

โดยภาพและข้อความดังกล่าวมีการแชร์ต่ออย่างแพร่หลาย

A screenshot of a phone

Description automatically generated

ที่มา | ลิงก์ถาวร

A screenshot of a cellphone

Description automatically generated

ที่มา | ลิงก์ถาวร

A screenshot of a screen shot of a group of people

Description automatically generated

ที่มา | ลิงก์ถาวร

นอกจากนี้ เรายังพบข้อกล่าวอ้างเดียวกันบนแพลตฟอร์ม X อีกด้วย

A group of people marching in a street with signs

Description automatically generated

ที่มา | ลิงก์ถาวร

อย่างไรก็ตาม จากการตรวจสอบข้อเท็จจริง เราพบว่าข้อมูลดังกล่าวเป็นข้อมูลที่ชวนให้เข้าใจผิด

การตรวจสอบข้อเท็จจริง

จากการค้นหาโดยใช้ฟีเจอร์ค้นหารูปภาพแบบย้อนกลับ เราพบรูปภาพชุดดังกล่าวในเพจ Facebook ของ BBC Burmese โดยภายในโพสต์ได้ระบุที่มาของรูปภาพว่านำมาจากกลุ่มพันธมิตรชานม หรือ Milk Tea Alliance ซึ่งเป็นกลุ่มนักเคลื่อนไหวทางการเมืองของคนรุ่นใหม่จากหลากหลายประเทศในเอเชีย

อย่างไรก็ตาม ในโพสต์ของ BBC Burmese ไม่ได้มีการระบุว่ารูปภาพดังกล่าวมาจากการชุมนุมเมื่อเร็วๆ นี้ แต่เป็นภาพจาก “กิจกรรมการชุมนุมในอดีตเพื่อต่อต้านเผด็จการของกลุ่มพันธมิตรชานม” และในโพสต์เป็นการให้ข้อมูลเกี่ยวกับการชุมนุมที่จะเกิดขึ้นที่สถานทูตเมียนมาในกรุงเทพ

https://www.facebook.com/BBCnewsBurmese/posts/1063711285801534

ลิงก์ถาวร

การชุมนุมที่สถานทูตเมียนมาเมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา โดยการชุมนุมดังกล่าวจัดขึ้นเนื่องในวันครบรอบ 4 ปีรัฐประหารเมียนมา โดยประกาศ 3 ข้อเรียกร้องคือ รัฐบาลไทยต้องยุติการค้าขายและการส่งเชื้อเพลิงให้เครื่องบินรบเมียนมา, การเลือกตั้งในเมียนมาต้องเป็นประชาธิปไตย ไม่ฟอกขาวอาชญากรสงคราม และหยุด Fake News ที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อสร้างความเกลียดชังต่อชาวพม่า

ลิงก์ถาวร

และจากการตรวจสอบเพิ่มเติม เราพบว่ารูปภาพที่แพร่กระจายพร้อมข้อกล่าวอ้างนี้ มาจากเหตุการณ์การชุมนุมในอดีต ที่โพสต์โดยกลุ่มพันธมิตรชานม ดังต่อไปนี้

ภาพการชุมนุมที่นำโดยกลุ่มเยาวชนปลดแอก เมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2564 อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับการชุมนุมครั้งดังกล่าวได้ที่นี่

ลิงก์ถาวร

ภาพที่สอง เป็นการชุมนุมเมื่อวันที่ 16 สิงหา 2564 นำโดยกลุ่มทะลุฟ้า อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับการชุมนุมครั้งดังกล่าวได้ที่นี่

https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=296990918894887&id=109460660981248

ลิงก์ถาวร

ภาพที่สาม เป็นภาพการเดินขบวนในงานบางกอกไพรด์ 2024 ซึ่งจัดขึ้นในเดือนมิถุนายน 2567 ที่ผ่านมา

https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=899709575487404&id=100063451100216

ลิงก์ถาวร

(ที่มาข้อมูล: Milk Tea Alliance Thailand พันธมิตรชานม – MTAT)

การชุมนุมหน้ายูเอ็นเมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์: เมื่อวันที่ 30 ม.ค. 2568 กลุ่มแรงงานข้ามชาติ Bright Future ยื่นหนังสือถึง OHCHR เรียกร้องให้ UN คว่ำบาตรการเลือกตั้งเมียนมาที่คาดว่าจะจัดขึ้นในปี 2568 ต่อมาในวันที่ 1 ก.พ. 2568 กลุ่ม ‘คนไทยไม่ทน’ นำโดย เต้ อาชีวะ และ ศปปส. ชุมนุมหน้าสหประชาชาติ ต่อต้านข้อเรียกร้องของ Bright Future โดยอ้างว่าแรงงานข้ามชาติส่งผลกระทบต่อคนไทย ทั้งในด้านอาชีพ ค่าแรง และความปลอดภัยในสังคม (ที่มา: ประชาไท)

นอกจากนี้ ไม่มีรายงานหรือหลักฐานที่ยืนยันว่าเคยมีการชุมนุมของแรงงานชาวเมียนมาเพื่อเรียกร้องการปรับขึ้นค่าแรงรายวันเป็น 700 บาท

สรุป

จากการตรวจสอบข้อเท็จจริงพบว่า ข้อความที่กล่าวอ้างว่ามีการชุมนุมของแรงงานชาวเมียนมาเพื่อเรียกร้องให้ขึ้นค่าแรงเป็น 700 บาท เป็นข้อมูลที่ชวนให้เข้าใจผิด โดยภาพที่ใช้เป็นภาพจากการชุมนุมในอดีต และการชุมนุมที่เกิดขึ้นจริงเมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2568 เป็นการชุมนุมเนื่องในวันครบรอบ 4 ปีรัฐประหารเมียนมาของกลุ่มพันธมิตรชานม ไม่ใช่การชุมนุมของแรงงานชาวเมียนมาเพื่อเรียกร้องให้ขึ้นค่าแรงแต่อย่างใด

Avatar

Title:ภาพเหตุการณ์ที่อ้างว่าแรงงานเมียนมาในไทยออกมาประท้วงขอขึ้นค่าแรง ‘ชวนให้เข้าใจผิด’

Fact Check By: Cielito Wang 

Result: Misleading

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *