คลิปไวรัลพนักงานเสิร์ฟในจีน แท้จริงแล้วเป็นคนหรือหุ่นยนต์?

หลายครั้งที่วิดีโอที่แปลกใหม่และดึงดูดใจมักจะได้รับความสนใจและกลายเป็นไวรัล และเมื่อเร็วๆ นี้ เราพบวิดีโอไวรัลบน TikTok พร้อมข้อกล่าวอ้างว่าบุคคลในวิดีโอเป็นหุ่นยนต์พนักงานเสิร์ฟอาหารของร้านอาหารแห่งหนึ่งในจีน ซึ่งได้รับความสนใจเป็นอย่างมาก โพสต์บนโซเชียลมีเดีย ผู้ใช้ TikTok รายหนึ่งได้แชร์วิดีโอของผู้หญิงคนหนึ่งที่กำลังเสิร์ฟอาหารให้ลูกค้า พร้อมท่าทางการเคลื่อนไหวที่ดูเหมือนหุ่นยนต์ พร้อมคำบรรยายวิดีโอว่า: “ที่เมืองฉงชิ่ง เมืองทางตอนกลางของประเทศมีการใช้ พนง.เสริฟในร้านหม้อไฟ ที่ไม่ใช่หุ่นยนต์รถเข็นธรรมดา แต่มีลักษณะท่าทางเหมือนมนุษย์ผิวหนังผมที่เหมือนจริงมาก #หุ่นยนต์ #หุ่นยนต์เสริฟอาหาร #ร้านอาหารหุ่นยนต์ #ร้านหม้อไฟ #หุ่นยนต์ผู้ช่วย #หุ่นยนต์เทเหล้า” Source | Archive โดยล่าสุดวิดีโอดังกล่าวมีการรับชมไปแล้วกว่า 2.4 ล้านครั้ง และมีผู้ใช้แสดงความคิดเห็นอย่างหลากหลาย นอกจากนี้เรายังพบวิดีโอพร้อมข้อกล่าวอ้างเดียวกันบน Facebook และ X (Twitter) ด้วยเช่นเดียวกัน Source | Archive Source | Archive อย่างไรก็ตาม เราพบว่าบุคคลในวิดีโอไวรัลดังกล่าวไม่ใช่หุ่นยนต์ตามที่มีการกล่าวอ้างแต่อย่างใด ตรวจสอบข้อเท็จจริง เมื่อดำเนินการตรวจสอบ เราพบบทความจากเว็บไซต์ Business Insider เกี่ยวกับวิดีโอไวรัลดังกล่าว โดยบทความได้ระบุว่าพนักงานเสิร์ฟรายดังกล่าวไม่ใช่หุ่นยนต์ แต่เป็นนักเต้นและเป็นเจ้าของร้านอาหารในคลิป โดยสำนักข่าว South China Morning Post ก็ได้โพสต์คลิปของบุคคลดังกล่าว ชี้แจงว่าเธอเป็นนักเต้นมืออาชีพ พร้อมฟุตเทจขณะเธอไปแข่งเต้นอีกด้วย […]

Continue Reading

วิดีโอไวรัลทหารอิสราเอลปักธงชาติบนยอดตึก พร้อมข้อกล่าวอ้างที่ชวนให้เข้าใจผิด

ข้อมูลเท็จที่แพร่กระจายบนโซเชียลมีเดียเกี่ยวกับความขัดแย้งระหว่างอิสราเอล-ฮามาส กลายเป็นประเด็นที่น่ากังวล ความสะดวกในการแบ่งปันข้อมูลออนไลน์ ทำให้เรื่องที่เป็นเท็จและเนื้อหาที่ชวนให้เข้าใจผิดเป็นที่สนใจได้อย่างรวดเร็ว นำไปสู่ความเข้าใจผิดและความตึงเครียดที่เพิ่มมากขึ้น ล่าสุด เราพบวิดีโอหนึ่งแพร่กระจายบนโซเชียลมีเดีย พร้อมข้อกล่าวอ้างว่าเป็นวิดีโอขณะทหารอิสราเอลปักธงชาติอิสราเอลเหนือโรงพยาบาล Al-Shifa ในฉนวนกาซา โพสต์บนโซเชียลมีเดีย ผู้ใช้ Facebook รายหนึ่งได้โพสต์วิดีโอกลุ่มทหารถือธงชาติอิสราเอลไปปักที่ยอดตึก พร้อมคำบรรยายภาพว่า: “15/11/2023 ทหารอิสราเอลปักธงเหนือโรงพยาบาล Al-Shifa แหล่งข่าวชาวปาเลสไตน์รายงานว่า อิสราเอลไม่เคยปล่อยเจ้าหน้าที่, ผู้ป่วย, และผู้ลี้ภัยออกจากโรงพยาบาล, ไม่ว่าจะเป็นก่อน, ระหว่าง, หรือหลังการโจมตี เนื่องจากขาดแคลนยาและไฟฟ้า ทำให้มีผู้บาดเจ็บสาหัสบางรายเสียชีวิต IDF จับกุมคนหลายสิบคน รวมถึงเจ้าหน้าที่ทางการแพทย์ด้วย” Source | Archive โดยเราพบว่าข้อกล่าวอ้างดังกล่าวมาจากผู้ใช้ X (Twitter) ในต่างประเทศ โดยวิดีโอบนแพลตฟอร์ม X มีการรับชมไปแล้วกว่าสองแสนครั้ง Source | Archive และเรายังพบวิดีโอพร้อมข้อกล่าวอ้างเดียวกันแพร่กระจายบน TikTok อีกด้วย (Archive) ตรวจสอบข้อเท็จจริง จากการตรวจสอบ เราพบทวีตของ Arthur Carpentier นักข่าวชาวฝรั่งเศส โดยได้ระบุว่าตำแหน่งในวิดีโอดังกล่าวไม่ใช่โรงพยาบาล Al-Shifa […]

Continue Reading

วิดีโอไวรัลเหตุการณ์พยายามลอบสังหารปธน.ปาเลสไตน์ เป็นข้อมูลที่ชวนให้เข้าใจผิด

คำเตือน: บทความนี้มีวิดีโอที่แสดงออกถึงความรุนแรง โปรดใช้วิจารณญาณในการอ่าน เหตุการณ์ความไม่สงบในอิสราเอลและปาเลสไตน์ครั้งล่าสุดได้ดำเนินมากว่าหนึ่งเดือนแล้ว และในขณะที่สถานการณ์กำลังทวีความรุนแรงขึ้น เราพบข้อกล่าวอ้างที่ระบุว่ามีเหตุการณ์พยายามลอบสังหารประธานาธิบดีปาเลสไตน์ในสัปดาห์ที่ผ่านมา โพสต์บนโซเชียลมีเดีย เมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายนที่ผ่านมา มีวิดีโอแพร่กระจายพร้อมข้อกล่าวอ้างว่าเป็นเหตุการณ์การพยายามลอบสังหารนาย Mahmoud Abbas ประธานาธิบดีปาเลสไตน์ โดยมีหน่วยอารักขาเสียชีวิต 1 ราย โดยเราพบวิดีโอพร้อมข้อกล่าวอ้างดังกล่าวแพร่กระจายทั้งบน Facebook และ X (Twitter) Source | Archive Source | Archive โดยล่าสุดวิดีโอเดียวกันพร้อมข้อกล่าวอ้างในภาษาอังกฤษมีการรับชมไปแล้วกว่าสามล้านครั้ง Source | Archive ตรวจสอบข้อเท็จจริง เราได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงโดยใช้โปรแกรม Invid – WeVerify เพื่อวิเคราะห์คีย์เฟรมจากวิดีโอ จากนั้นใช้ฟีเจอร์ Reverse Image Search เพื่อค้นหาที่มาของวิดีโอ และเราพบบทความจาก The Palestine Chronicle และ France 24 ที่ได้ตรวจสอบและหักล้างข้อกล่าวอ้างข้างต้น อ้างอิงจากเว็บไซต์ France 24 วิดีโอดังกล่าวถูกโพสต์เมื่อวันที่ […]

Continue Reading

วิดีโอในอดีตที่ไม่เกี่ยวข้องถูกนำมาแอบอ้างว่าเป็นการจัดฉากศพปลอมของฮามาส

เหตุการณ์ความไม่สงบระหว่างอิสราเอลและกลุ่มฮามาสยังคงดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง โดยล่าสุดมีรายงานว่าเจ้าหน้าที่ของอิสราเอลบุกจู่โจมค่ายผู้ลี้ภัยเจนิน ในเขตเวสต์แบงก์แล้ว (อ่านข่าวที่นี่) และนอกจากนี้ เรายังพบวิดีโอแพร่กระจายบนโซเชียลมีเดีย โดยอ้างว่าเป็นวิดีโอปลอมเป็นศพของกลุ่มฮามาส โพสต์บนโซเชียลมีเดีย ผู้ใช้ Twitter (X) รายหนึ่งได้โพสต์วิดีโอพร้อมข้อความกำกับว่า “ศพของฮามาสลืมตาได้” Source | Archive และเรายังพบวิดีโอที่คล้ายคลึงกัน พร้อมข้อกล่าวอ้างว่าเป็นวิดีโอที่จัดฉากเป็นศพของกลุ่มฮามาส พร้อมคำบรรยายวิดีโอว่า “อัลเลาะห์อวยพร ศพฮามาสตายแล้วแต่ขยับได้ #Israel #ฮามาส #อิสราเอลฮามาส #ปาเลสไตน์” Source | Archive ตรวจสอบข้อเท็จจริง วิดีโอที่ 1: วิดีโอจากประเทศมาเลเซียที่เผยแพร่ตั้งแต่เดือนสิงหาคม เราได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงโดยใช้ฟีเจอร์ Reverse Image Search ค้นหาที่มาของวิดีโอดังกล่าวและพบทวีตของ Shayan Sardarizadeh นักข่าวของ BBC Verify ที่โพสต์ชี้แจงว่าวิดีโอดังกล่าว แท้จริงแล้วมีการเผยแพร่ตั้งแต่เดือนสิงหาคม โดยเป็นวิดีโอถ่ายในมัสยิดแห่งหนึ่งในประเทศมาเลเซีย Archive วิดีโอต้นฉบับใน TikTok Source | Archive วิดีโอที่ 2: วิดีโอการประท้วงในอียิปต์ตั้งแต่ 10 […]

Continue Reading

วิดีโอพร้อมข้อกล่าวอ้างว่า ในหลวง ร.9 ทรงรำวง ‘ชวนให้เข้าใจผิด’

เราได้รับเบาะแสจากผู้ใช้ผ่าน LINE ตรวจสอบข้อเท็จจริงของเรา โดยได้พบวิดีโอแพร่กระจายอยู่บนแพลตฟอร์ม LINE พร้อมข้อกล่าวอ้างว่าวิดีโอดังกล่าวเป็นวิดีโอของในหลวงรัชกาลที่ 9 ทรงรำวง ส่งเบาะแสข่าวที่คุณสงสัยให้เราตรวจสอบได้ที่นี่ โพสต์บนโซเชียลมีเดีย นอกจากวิดีโอดังกล่าวจะมีการแพร่กระจายผ่านช่องทาง LINE แล้ว เรายังพบว่าวิดีโอดังกล่าวยังมีการโพสต์ลงบนแพลตฟอร์ม TikTok หลายครั้งพร้อมข้อกล่าวอ้างเดียวกัน Source | Archive อย่างไรก็ตาม เราพบว่าบุคคลในวิดีโอดังกล่าว ไม่ใช่ในหลวงรัชกาลที่ 9 แต่อย่างใด ตรวจสอบข้อเท็จจริง จากผลลัพธ์การค้นหาโดยใช้คำสำคัญต่างๆ เช่น ร.9, รำวง เราพบคลิปวิดีโอเดียวกันจำนวนหนึ่งบน TikTok และมีคลิปวิดีโอหนึ่งที่ระบุไว้ว่า เป็นภาพครั้งที่ในหลวงและสมเด็จพระนางเจ้า พระบรมราชินีนาถ เสด็จไปประเทศเมียนมาร์ (หรือชื่อเดิมในขณะนั้นคือสหภาพพม่า) ในปี พ.ศ. 2503 เราได้ทำการค้นหาเพิ่มเติมจากข้อมูลดังกล่าว และพบวิดีโอภาพยนตร์ส่วนพระองค์ ที่เสด็จเยือนสหภาพพม่า ในปี พ.ศ. 2503 ตามคลิปวิดีโอด้านล่างนี้ โดยในวิดีโอมีการบรรยายว่า สมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถทรงมีพระราชเสาวนีย์ให้ ท่านผู้หญิงมณีรัตน บุญนาค นางสนองพระโอษฐ์ และพลตำรวจเอกชุมพล โลหะชาละ นายตำรวจราชสำนัก ออกไปแสดงการรำวงไทยให้พม่าชม […]

Continue Reading

วิดีโอที่กล่าวอ้างว่าทหารอิสราเอลใช้มันหมูทากระสุน ไม่มีหลักฐานเพียงพอและชวนให้เข้าใจผิด

เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา มีวิดีโอไวรัลที่กล่าวอ้างว่าเป็นวิดีโอของทหารอิสราเอล หรือ IDF (Israel Defense Forces) นำมันหมูทาลงบนกระสุนที่ใช้สู้รบกับฝั่งฮามาส โพสต์บนโซเชียลมีเดีย ผู้ใช้ Twitter (X) ได้โพสต์วิดีโอที่อ้างว่าเป็นทหารอิสราเอล พร้อมข้อความภายในคลิปว่า  “ทหารอิสราเอล กำลังเอามันหมูมาทากระสุนปืน ปล.เค้าบอกว่าพวกฮามาสไม่กลัวถูกฆ่า แต่กลัวตนเองไม่บริสุทธิ์”  โดยล่าสุดวิดีโอดังกล่าวมีการรับชมไปแล้วกว่า 2 ล้านครั้ง Source | Archive และเราพบวิดีโอเดียวกันแพร่กระจายบนแพลตฟอร์ม TikTok อีกด้วย โดยมีการรับชมกว่า 1.2 ล้านครั้ง Source | Archive ตรวจสอบข้อเท็จจริง ไม่พบแหล่งที่มาที่น่าเชื่อถือ เราได้ทำการตรวจสอบและค้นหาที่มาของวิดีโอดังกล่าว แต่ก็ไม่พบแหล่งที่มาที่เชื่อถือได้ รวมถึงไม่มีการรายงานจากแหล่งข่าวที่น่าเชื่อถือเกี่ยวกับวิดีโอดังกล่าว หรือเกี่ยวกับข้อกล่าวอ้างว่าทหารอิสราเอลนำกระสุนทาลงบนมันหมูแต่อย่างใด อย่างไรก็ตาม เคยมีรายงานข่าวจาก Al Jazeera ในปี 2022 ว่ากลุ่มทหารชาวยูเครนได้ใช้มันหมูทากระสุนก่อนการสู้รบกับกลุ่มนักรบเชเชน ซึ่งเป็นชาวมุสลิมที่มารบช่วยกลุ่มทหารรัสเซีย โดยหน่วยกองกำลังแห่งชาติยูเครน หรือ National Guard of Ukraine ได้โพสต์วิดีโอลักษณะคล้ายคลึงกับวิดีโอข้างต้นลงบนบัญชีทวิตเตอร์ทางการของหน่วยงานเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2022 […]

Continue Reading

วิดีโอกลุ่มเด็กถูกขังในกรง ‘ไม่ใช่’ กลุ่มเด็กชาวอิสราเอลที่ถูกจับเป็นตัวประกัน

ท่ามกลางเหตุการณ์ความไม่สงบระหว่างอิสราเอลและปาเลสไตน์ มีผู้คนบริสุทธิ์มากมายที่ตกอยู่ในอันตรายและกำลังรอความช่วยเหลือ โดยมีโพสต์เกี่ยวกับกลุ่มบุคคลที่รอการช่วยเหลือมากมายในโซเชียลมีเดีย แต่เราพบว่าวิดีโอบางส่วนก็เป็นข้อมูลเท็จ โดยล่าสุด เราพบวิดีโอพร้อมข้อกล่าวอ้างว่ากลุ่มเด็กชาวอิสราเอลถูกกลุ่มฮามาสจับเป็นตัวประกัน และถูกขังอยู่ในกรง โพสต์บนโซเชียลมีเดีย ผู้ใช้ Instagram รายหนึ่งได้โพสต์วิดีโอกลุ่มเด็กเล็กที่โดนขังอยู่ในกรง พร้อมคำบรรยายภาพที่แปลได้ว่า “กลุ่มเด็กชาวอิสราเอลถูกกลุ่มฮามาสจับตัวไปและขังไว้ในกรง นี่เป็นการกระทำที่โหดร้ายมาก แต่จะคาดหวังอะไรจากพวกป่าเถื่อนได้ล่ะ #StandWithIsrael #UnitedAgainstTerror #WeStandWithIsrael #TerrorismMustStop #istandwithisrael” Source | Archive และยังพบวิดีโอดังกล่าวแพร่กระจายอยู่บน Twitter (X) เช่นเดียวกัน โดยวิดีโอดังกล่าวมีการรับชมไปกว่าหนึ่งแสนครั้ง และมีการแชร์ต่อบนแพลตฟอร์มอย่างกว้างขวาง Source | Archive ตรวจสอบข้อเท็จจริง เราได้ดำเนินการตรวจสอบหาที่มาของวิดีโอดังกล่าวโดยใช้ฟีเจอร์ Reverse Image Search และพบบทความจาก Snopes ที่ได้ตรวจสอบข้อเท็จจริงวิดีโอนี้ จากบทความดังกล่าว เราได้พบทวีตของเว็บไซต์ตรวจสอบข้อเท็จจริงในภาษาฮิบรูอย่าง FakeReporter.net ที่ได้ชี้แจงว่าวิดีโอดังกล่าวมีการเผยแพร่ก่อนเหตุการณ์โจมตีครั้งล่าสุดในอิสราเอล เมื่อวันที่ 7 ตุลาคมที่ผ่านมา Archive Archive แม้วิดีโอดังกล่าวจะไม่สามารถรับชมได้บน TikTok ต้นทางแล้ว แต่ Mazloum Fiba […]

Continue Reading

วิดีโอเก่าถูกนำมาแชร์ว่าเป็นเหตุการณ์ล่าสุดในอิสราเอลและปาเลสไตน์

เหตุการณ์ความขัดแย้งระหว่างอิสราเอลและปาเลสไตน์กลับมาอยู่ในความสนใจของทั้งโลกอีกครั้ง โดยเหตุการณ์ความรุนแรงที่เกิดขึ้น ทำให้มีมีโพสต์ไวรัลต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับความขัดแย้งครั้งนี้บนโซเชียลมีเดีย แต่เราพบว่าเนื้อหาบางอย่างนั้นเป็นเท็จหรือชวนให้เข้าใจผิด ข้อกล่าวอ้างที่ 1: วิดีโอพลร่ม มีผู้ใช้ TikTok ได้โพสต์วิดีโอด้านล่างพร้อมข้อกล่าวอ้างว่าเป็นวิดีโอของกลุ่มฮามาสขณะเข้าไปยังอิสราเอล โดยวิดีโอดังกล่าวมีการรับชมไปกว่า 4 ล้านครั้ง ที่มา | ลิงก์ถาวร ตรวจสอบข้อเท็จจริง เราได้ดำเนินการตรวจสอบโดยการค้นหารายงานข่าวเกี่ยวกับพลร่มในอิสราเอล แต่ก็ไม่พบรายงานจากแหล่งข่าวที่น่าเชื่อถือ นอกจากนี้ เราได้ใช้ฟีเจอร์การค้นหารูปภาพโดยใช้คีย์เฟรมจากวิดีโอดังกล่าว และพบทวีตของ Shayan Sardarizadeh นักข่าวจาก BBC ที่ได้ชี้แจงว่าคลิปวิดีโอดังกล่าวถ่ายขึ้นในกรุงไคโร ประเทศอียิปต์ ที่มา: Google Map ข้อกล่าวอ้างที่ 2: อิสราเอลปล่อยระเบิดในฉนวนกาซา ปาเลสไตน์ ที่มา | ลิงก์ถาวร ตรวจสอบข้อเท็จจริง เราพบว่าวิดีโอดังกล่าวแม้จะมาจากฉนวนกาซาตามข้อกล่าวอ้างจริง แต่เป็นวิดีโอเหตุการณ์เมื่อเดือนพฤษภาคม ไม่ใช่เหตุการณ์เมื่อเร็วๆ นี้แต่อย่างใด โดยเป็นเหตุการณ์ขณะที่กลุ่มติดอาวุธอิสราเอลและปาเลสไตน์ระดมยิงต่อเนื่อง โดยกลุ่มติดอาวุธญิฮาดอิสลามยิงจรวดมากกว่า 1,000 ลูก และทหารอิสราเอลโจมตีเป้าหมายในฉนวนกาซา โดยช่อง Voice of America ได้โพสต์วิดีโอนี้ในวันที่ 13 […]

Continue Reading

ภาพดอกไม้สีม่วงที่เป็นไวรัล “ไม่ใช่” ดอกไม้ที่บานในแอนตาร์กติกา

เมื่อเร็วๆ นี้ ข่าวปรากฏการณ์ดอกไม้บานในทวีปแอนตาร์กติกาได้เป็นที่พูดถึงกันอย่างมากบนโซเชียลมีเดีย พร้อมกับความกังวลเกี่ยวกับภาวะโลกร้อนที่รุนแรงขึ้นจนทำให้ดอกไม้ดังกล่าวสามารถแพร่พันธุ์ในทวีปแอนตาร์กติกาได้ (อ่านบทความเต็มที่นี่) และเราได้พบรูปภาพของดอกไม้ชนิดหนึ่งพร้อมภูเขาน้ำแข็งในพื้นหลัง พร้อมข้อกล่าวอ้างว่าเป็นดอกไม้ในทวีปแอนตาร์กติกา แพร่กระจายบนโซเชียลมีเดียอย่างแพร่หลาย โพสต์บนโซเชียลมีเดีย ช่อง TikTok “coconews21” ได้โพสต์วิดีโอเกี่ยวกับเหตุการณ์ดอกไม้บานในแอนตาร์กติกา พร้อมใช้ภาพประกอบเป็นภาพดอกไม้สีม่วงชนิดหนึ่งและมีภูเขาน้ำแข็งในพื้นหลัง โดยล่าสุดวิดีโอนี้มีการรับชมไปแล้วกว่าสามแสนครั้ง ที่มา | ลิงก์ถาวร นอกจากนี้เรายังพบภาพเดียวกันพร้อมข้อความกำกับในโพสต์ว่าเป็นภาพดอกไม้บานในทวีปแอนตาร์กติกาแพร่กระจายบนแพลตฟอร์มอื่นๆ อีกด้วย ที่มา | ลิงก์ถาวร ที่มา | ลิงก์ถาวร อย่างไรก็ตาม หลังจากทำการตรวจสอบ เราพบว่าภาพดอกไม้ดังกล่าวไม่ใช่ภาพจากทวีปแอนตาร์กติกาแต่อย่างใด ตรวจสอบข้อเท็จจริง Fact Crescendo ได้ค้นหาที่มาของรูปภาพโดยใช้ฟีเจอร์ Reverse Image Search และพบว่าภาพดังกล่าวถ่ายขึ้นที่ Disko Bay ประเทศกรีนแลนด์ ตั้งแต่เมื่อปี 2017 โดนช่างภาพชื่อ Sergey Uryadnikov โดยเจ้าของภาพได้โพสต์รูปภาพดังกล่าวไว้ในเว็บไซต์ภาพอย่าง Alarmy โดยสามารถดูรายละเอียดของภาพได้ที่นี่ ลิงก์ถาวร นอกจากนี้ Mikko Tiusanen ผู้เชี่ยวชาญด้านการเปลี่ยนแปลงด้านสิ่งแวดล้อมในพืชและแมลงผสมเกสรในแถบอาร์กติก ได้ระบุกับ AFP […]

Continue Reading

ภาพซูชิเรืองแสงถูกนำกลับมาแชร์ใหม่หลังเหตุการณ์ปล่อยน้ำเสียในฟุกุชิมะ

หลังจากที่รัฐบาลญี่ปุ่นได้ปล่อยน้ำเสียจากโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ที่บำบัดแล้วลงในทะเลที่จังหวัดฟุกุชิมะ ท่ามกลางความกังวลของหลายๆ ฝ่าย ทั้งในและต่างประเทศ ก็มีข้อกล่าวอ้างต่างๆ เกี่ยวกับการปล่อยน้ำเสียบำบัดครั้งนี้ออกมาอย่างต่อเนื่อง อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง: วิดีโอเก่าถูกนำมาแอบอ้างว่ามาจากเหตุการณ์ปล่อยน้ำเสียจากโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ในฟุกุชิมะ ล่าสุด เราพบรูปภาพที่กำลังแพร่กระจายอย่างกว้างขวางบนโซเชียล พร้อมข้อกล่าวอ้างว่ามาจากการปล่อยน้ำเสียครั้งนี้ โพสต์บนโซเชียลมีเดีย เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา มีผู้ใช้ Twitter (X) ได้โพสต์ภาพกล่องซูชิที่มีเนื้อกุ้งเรืองแสง พร้อมคำบรรยายภาพว่า “Sushi Fukushima” ที่มา | ลิงก์ถาวร นอกจากนี้เรายังพบรูปภาพดังกล่าวพร้อมข้อกล่าวอ้างเดียวกันแพร่กระจายบน Facebook อีกด้วย โดยล่าสุดมีการแชร์ต่อกว่า 800 ครั้ง และมีการกดถูกใจถึง 11,000 ครั้ง ที่มา | ลิงก์ถาวร อย่างไรก็ตาม เมื่อทำการตรวจสอบแล้ว เราพบว่าภาพซูชิดังกล่าวไม่มีความเกี่ยวข้องกับการปล่อยน้ำเสียในฟุกุชิมะเมื่อช่วงปลายเดือนสิงหาคมที่ผ่านมาแต่อย่างใด ตรวจสอบข้อเท็จจริง ทีมงานได้ทำการค้นหาที่มาของรูปภาพไวรัลดังกล่าวโดยการใช้ฟีเจอร์ Reverse Image Search และพบว่าภาพดังกล่าวโพสต์โดยผู้ใช้ Twitter ตั้งแต่ปี 2020 ลิงก์ถาวร และภาพซูชิเรืองแสงดังกล่าวก็เคยเป็นไวรัลตั้งแต่ในปีดังกล่าว และมีการรายงานโดยสำนักข่าวต่างๆ เช่น ที่นี่ ที่นี่ และที่นี่ โดย […]

Continue Reading