เตือนภัย! มิจฉาชีพรูปแบบใหม่บน WhatsApp แอบอ้างเป็น HR บริษัทดัง

ในปัจจุบันที่เทคโนโลยีและข้อมูลข่าวสารพัฒนาตลอดเวลา มิจฉาชีพก็พยายามพัฒนาและหาช่องทางล่อลวงผู้คนให้ดูน่าเชื่อถือยิ่งขึ้นด้วย และอีกหนึ่งรูปแบบมิจฉาชีพที่พบบ่อยคือ มิจฉาชีพแอบอ้างรับสมัครงาน ที่มุ่งเป้าไปยังกลุ่มคนที่กำลังหางาน โดยแอบอ้างเป็นฝ่ายบุคคล หรือ HR ของบริษัทที่มีชื่อเสียงต่างๆ เพื่อล่อลวงเอาข้อมูลรวมถึงทรัพย์สินของเหยื่อ อ่านบทความที่เกี่ยวข้อง: Scam Alert: เตือนภัย! มิจฉาชีพแอบอ้างเป็นการบินไทย รับสมัครงานออนไลน์ เตือนภัย: โพสต์รับสมัครงานแอบอ้างเป็นร้านกาแฟ Cafe Amazon โพสต์บนโซเชียลมีเดีย เราได้รับเบาะแสจากช่องทางไลน์ตรวจสอบข้อเท็จจริง ว่ามีข้อความน่าสงสัยติดต่อผ่าน WhatsApp โดยอ้างว่าเป็นฝ่ายจัดหาพนักงานของบริษัท JobsDB โดยเมื่อได้รับข้อมูลดังกล่าว Fact Crescendo Thailand ได้ติดต่อไปยัง JobsDB เพื่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมในกรณีดังกล่าว และโดยทาง JobsDB ได้ยืนยันกับเราว่า ทางบริษัทไม่ได้มีการติดต่อเสนอตำแหน่งงานผ่าน WhatsApp ในลักษณะดังกล่าว และบุคคลดังกล่าวนั้นเป็นมิจฉาชีพ และยังระบุไว้ในเว็บไซต์ของทางบริษัทว่า “JobsDB ขอยืนยันกับผู้สมัครงานทุกท่านว่าเราไม่มีนโยบายเก็บเงิน หรือติดต่อผู้หางานทางช่องทาง LINE หรือโซเชียลมีเดียใดๆ ทั้งนี้หากพบว่ามีกลุ่มมิจฉาชีพติดต่อไปโดยอ้างว่าตัวแทนหรือเป็นเจ้าหน้าที่ของ JobsDB โดยหลอกลวงว่า จะจัดหางานนอกเวลาให้ และเรียกชำระเงินค่าดำเนินการล่วงหน้านั้นไม่เป็นความจริง หากสงสัยสามารถส่งอีเมลมาสอบถามข้อมูลได้ที่ [email protected]” และเมื่อหาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับมิจฉาชีพที่แอบอ้างว่าเป็นฝ่ายจัดหาพนักงานที่ติดต่อผ่าน WhatsApp เราก็พบว่ามีบริษัทชื่อดังหลายๆ […]

Continue Reading

Scam Alert: เตือนภัย! มิจฉาชีพแอบอ้างเป็นการบินไทย รับสมัครงานออนไลน์

การหางานในปัจจุบันมีความสะดวกสบายมากขึ้นหลายด้าน ทั้งการสมัครงานผ่านเว็บไซต์ขององค์กร หรือผ่านเว็บไซต์สมัครงาน หรือแม้กระทั่งการรับสมัครผ่านแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียต่างๆ แต่ก็พบว่าบ่อยครั้งที่โพสต์สมัครงานต่างๆ ทางออนไลน์นั้นมาจากเหล่ามิจฉาชีพ ที่ต้องการล่อลวงเพื่อหลอกให้ผู้สนใจโอนเงินค่าสมัครงาน หรือล่อลวงเอาข้อมูลส่วนตัวของผู้สมัครงาน โดยล่าสุด เราพบโพสต์ที่ระบุว่าบริษัทการบินไทย เปิดรับสมัครพนักงานจองตั๋วแบบออนไลน์ ที่ให้รายได้ถึง 15,000 บาทต่อสัปดาห์ โพสต์โซเชียลมีเดีย ในวันที่ 15 ตุลาคม เพจ Facebook ที่ใช้ชื่อว่า “THAI Corporate Communications” ได้โพสต์ประกาศรับสมัครงานแบบออนไลน์ รายได้สัปดาห์ละ 15,000 บาท โดยโพสต์มีดังกล่าวมีการกดถูกใจกว่าเจ็ดพันครั้ง และแชร์ต่อกว่า 180 ครั้ง Source | Archive การบินไทยชี้แจง โพสต์ดังกล่าวเป็นโพสต์ปลอม วันนี้ (20 ตุลาคม) เพจ Thai Airways ซึ่งเป็นเพจอย่างเป็นทางการที่ได้รับการยืนยันตัวตน ได้ออกมาชี้แจงและเตือนภัยเกี่ยวกับโพสต์สมัครงานดังกล่าว Archive โดยทางองค์กรระบุเพิ่มเติมว่า การกระทำใดๆ จากกลุ่มหรือเพจดังกล่าว บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องใดๆ ทั้งสิ้น […]

Continue Reading

ระวังเพจปลอม! กลใหม่มิจฉาชีพ ปลอมเป็นเพจโรงแรม ลวงลูกค้าให้โอนเงินจอง

เมื่อโซเชียลมีเดียช่วยให้โลกเชื่อมต่อกันได้ง่ายดายยิ่งขึ้น เหล่ามิจฉาชีพก็ฉวยโอกาสใช้ประโยชน์จากแพลตฟอร์มออนไลน์ต่างๆ เพื่อหลอกลวงบุคคลที่หลงเชื่อ และล่าสุด มีหลายฝ่ายได้ออกโรงเตือนถึงกลโกงรูปแบบใหม่ของมิจฉาชีพ ที่สร้างเพจ Facebook สวมรอยเป็นโรงแรมชื่อดังต่างๆ ทั่วประเทศไทย โดยจะหลอกล่อให้ลูกค้าทำการจองและโอนเงินโดยตรงไปยังมิจฉาชีพเหล่านี้ การระบาดของเพจ Facebook ปลอม ธุรกิจทั้งรายใหญ่และรายเล็กต่างต้องใช้ Facebook เป็นหนึ่งในช่องทางหลักในการติดต่อสื่อสารกับลูกค้า ใช้เป็นช่องทางเพื่อนำเสนอผลิตภัณฑ์ของตน รวมถึงเป็นช่องทางในการซื้อขายสินค้าอีกด้วย เหล่ามิจฉาชีพจึงใช้ประโยชน์จากแพลตฟอร์มนี้ โดยได้สร้างเพจ Facebook ของโรงแรมชื่อดังต่างๆ โดยนำข้อมูลต่างๆ มาจากเพจจริงหรือเว็บไซต์ของโรงแรม รวมถึงใช้ภาพและวิดีโอรีวิวจากลูกค้าจริงของทางโรงแรมเพื่อให้ดูสมจริง โดยเพจปลอมเหล่านี้มักจะลักษณะคล้ายกับเพจจริงมาก อาจมีข้อแตกต่างกันที่ยอดผู้ติดตามเพจที่น้อยกว่าเพจจริง ซึ่งทำให้ผู้ใช้แยกความแตกต่างจากเพจจริงของโรงแรมได้ค่อนข้างยาก (ดูโพสต์เตือนภัยจากโรงแรม ที่นี่ ที่นี่ ที่นี่) โดยทั่วไปแล้วเหล่ามิจฉาชีพจะโพสต์โปรโมชั่นที่ราคาถูกกว่าเว็บจริงเป็นอย่างมาก โดยจะอ้างว่าให้ส่วนลด หรือแพ็กเกจพิเศษต่างๆ ที่ออกแบบมาเพื่อดึงดูดให้ผู้ที่สนใจรีบทำการจองผ่านเพจ และเมื่อผู้สนใจติดต่อสอบถามไปในช่องทางข้อความ มิจฉาชีพก็จะสวมรอยเป็นผู้ดูแลเพจหรือพนักงานโรงแรมเพื่อสื่อสารและโน้มน้าวให้ลูกค้าโอนเงินจอง ข้อควรสังเกตและควรระวัง: 1. ดูที่ “ความโปร่งใสของเพจ” เพื่อเช็กว่าเป็นเพจจริงหรือไม่ ตัวอย่างเพจปลอมที่แอบอ้างเป็นโรงแรม เพจมิจฉาชีพแอบอ้างเป็นโรงแรมส่วนใหญ่จะเพิ่งจัดทำเพจขึ้นเมื่อไม่นานมานี้ และอาจเคยเปลี่ยนชื่อมาก่อน และบางรายยังมีผู้ดูแลเพจส่วนใหญ่ในต่างประเทศ 2. ให้ชำระเงินผ่านบัญชีส่วนตัว ที่ไม่ใช่บัญชีของทางโรงแรม มิจฉาชีพมักจะให้ลูกค้าการโอนเงินเพื่อทำการจองห้องพักผ่านบัญชีส่วนบุคคล ที่ไม่ใช่ชื่อโรงแรมหรือบริษัท โดยมักจะแจ้งให้ลูกค้าโอนเงินเต็มจำนวนเพื่อทำการจองล่วงหน้า 3. ใช้ภาษาที่ไม่เป็นธรรมชาติ […]

Continue Reading

เตือนภัย: โพสต์รับสมัครงานแอบอ้างเป็นร้านกาแฟ Cafe Amazon

การหลอกลวงผ่านช่องทางออนไลน์เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นบ่อยมากในยุคปัจจุบัน และเป็นภัยที่อาจทำให้ผู้ที่ตกเป็นเหยื่อเสียได้รับความเสียหายทั้งทางข้อมูลและทรัพย์สินได้  และเมื่อไม่นานมานี้ มีโพสต์รับสมัครงานที่แอบอ้างว่ามาจาก “Café Amazon” ที่แพร่กระจายใน Facebook โดยใช้โลโก้และชื่อของบริษัทเพื่อดึงดูดผู้สนใจ โดยกล่าวว่าเป็นงานออนไลน์แบบ Work from Home และมีรายได้เฉลี่ยวันละ 300-1000 บาท Source | Archive Source | Archive Source | Archive โดยมีผู้ที่สนใจเข้าไปแสดงความคิดเห็นใต้โพสต์ดังกล่าวเป็นจำนวนมาก Archive นอกจากโพสต์ลักษณะดังกล่าวจะแพร่กระจายในโซเชียลมีเดียแล้ว ยังมีข้อกล่าวอ้างลักษณะเดียวกันส่งเป็นข้อความ SMS อีกด้วย โดยเมื่อเราตรวจสอบก็พบว่าโพสต์สมัครงานที่แอบอ้างชื่อและโลโก้ของ Café Amazon นั้นแพร่กระจายบนโซเชียลตั้งแต่เมื่อปี 2022 และเมื่อดูข้อมูลจากเพจที่โพสต์ข้อมูลดังกล่าว ก็พบว่าเพจดังกล่าวไม่มีข้อมูลใดๆ ที่เกี่ยวข้องกับ Café Amazon รวมถึงไม่มีข้อมูลหรือรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับเพจเลย Archive โดย Café Amazon ก็ได้ออกมายืนยันผ่านทางเพจเฟซบุ๊กหลักของทางบริษัทฯ ว่าไม่ได้จ้างผู้ประกอบการหรือพนักงานใดๆ เพื่อช่วยโปรโมทผ่านช่องทางออนไลน์ และระบุว่าบริษัทฯ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการกระทำดังกล่าว Source: Café Amazon Facebook […]

Continue Reading

เบอร์โทรต้องห้ามจากต่างประเทศ รับสาย/โทรกลับแล้วโดนขโมยข้อมูลได้จริงหรือไม่

มิจฉาชีพในรูปแบบโทรศัพท์นั้นถือเป็นอีกรูปแบบที่เราพบเห็นกันได้บ่อยครั้ง และมาในหลากหลายกลโกงเพื่อพยายามให้เหยื่อหลงเชื่อมากที่สุด โดยล่าสุดเราพบข้อมูลเกี่ยวกับมิจฉาชีพทางโทรศัพท์อีกแบบที่มีการแชร์กันอย่างแพร่หลาย ข้อกล่าวอ้างในโซเชียลมีเดีย มีผู้ใช้เฟซบุ๊กหลายรายได้แชร์ข้อความเกี่ยวกับเบอร์โทรจากมิจฉาชีพ โดยระบุว่า “ด่วนๆๆๆๆๆ คนสมัคร !!! พร้อมเพย์ !!! เจอปัญหานี้ แล้วค่ะ ธนาคารไม่รับผิดชอบ…สมัครพร้อมเพย์ แค่รู้เบอร์โทร.. ก็รู้ยอดเงินในธนาคารแล้วค่ะ… *** ห้ามรับสาย !!! *** อย่าโทรกลับ !!! @ ช่วยกันส่งต่อ-บอกต่อ ด้วย ! ผู้ที่รับสายจากเลขหมายต่อไปนี้ +37560260528 +37127913091 +37178565072 +56322553736 +37052529259 +255901130460 +14661064689 {เจอเบอร์นี้โทรหา} หรือเลขหมายใดก็ตามที่ขึ้นต้นด้วยหมายเลขต่อไปนี้ +375, +371, +381, มันจะดังเรียกเพียงครั้งเดียว ถ้าคุณโทรกลับไปยังเลขหมายข้างต้นมันจะคิดค่าโทรศัพท์คุณ 15-30 เหรียญสหรัฐ มันจะก็อปปี้หมายเลขโทรศัพท์ในโทรศัพท์ของคุณภายใน 30 วินาที ถ้าคุณมีรายละเอียดของบัญชีธนาคารและเครดิตการ์ดมันก็จะก็อปปี้ไปด้วย รหัส +375 จากเบลารุส อาฟกานิสถาน รหัส +371 จากลัตเวีย, รหัส […]

Continue Reading

จริงหรือไม่? กดปุ่ม Cancel สองครั้งที่ตู้ ATM ช่วยป้องกันมิจฉาชีพได้

ในปัจจุบัน เทคโนโลยีด้านธุรกรรมมีความก้าวหน้าขึ้น และการทำธุรกรรมต่างๆ ก็สะดวกและง่ายดายขึ้นมาก แต่ก็ถือเป็นดาบสองคม ทำให้มิจฉาชีพที่เล็งเห็นโอกาสนี้ล่อลวงผลประโยชน์จากผู้ใช้งาน ทีมงาน Fact Crescendo พบข้อมูลเกี่ยวกับการทำธุรกรรมที่มีการแชร์อย่างแพร่หลาย และอาจทำให้เข้าใจผิดได้ ข้อกล่าวอ้างบนโซเชียลมีเดีย มีผู้ใช้เฟซบุ๊กได้แชร์ข้อความเกี่ยวกับการป้องกันการขโมยรหัสบัตรเอทีเอ็ม โดยระบุว่า “#ข้อแนะนำสำหรับการถอนเงินจากตู้เอทีเอ็ม… ขอให้กดปุ่ม ‘cancel’ 2 ครั้งก่อนสอดบัตร เพื่อป้องกันมิจฉาชีพ ที่แอบตั้งค่าบนคีย์แพดเพื่อขโมย รหัส (Pin) ไว้ เครื่องก็จะยกเลิกการตั้งค่านั้นก่อน ทำแบบนี้ให้เป็นนิสัยทุกครั้งก่อนที่จะใช้เครื่องเอทีเอ็ม (ไม่ว่าจะถอนเงิน ฝากเงิน ขอดูยอดเงิน หรือความต้องการอื่นๆ ที่ต้องใช้บัตรกับตู้เอทีเอ็ม ต้องกดปุ่ม cancel 2 ครั้งก่อนเสมอ ให้เป็นนิสัย..)” Source Post | Archive โดยข้อความดังกล่าวได้มีการแชร์ต่ออย่างกว้างขวางบนโซเชียลมีเดีย ทางทีมงานได้ทำการตรวจสอบข้อมูลดังกล่าว และพบว่าข้อกล่าวอ้างนั้นไม่เป็นความจริง ตรวจสอบข้อเท็จจริง เมื่อเราทำการค้นหาข้อมูลดังกล่าว ก็พบว่าสำนักข่าวไทยได้ทำวิดีโอชี้แจงถึงประเด็นนี้ไว้เช่นเดียวกัน (ที่มา: ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ สำนักข่าวไทย) โดยศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ สำนักข่าวไทย ได้ไปสอบถามกับเลขานุการสมาคมความมั่นคงปลอดภัยระบบสารสนเทศ หรือ TISA โดยทางเลขานุการของสมาคมฯ […]

Continue Reading

Scammer Alert! ภาครัฐออกโรงเตือน อย่าหลงเชื่อ SMS แจกอั่งเปาช่วงตรุษจีน

เทศกาลตรุษจีนกำลังใกล้เข้ามาแล้ว ในขณะที่ประชาชนเชื้อสายจีนเตรียมตัวฉลองวันปีใหม่จีนและแสดงความเคารพต่อบรรพบุรุษ มิจฉาชีพบางกลุ่มก็ใช้โอกาสนี้ในการล่อลวงผู้คน Fact Crescendo พบว่ามีมิจฉาชีพบางกลุ่มส่ง SMS โดยอ้างว่าจะแจกอั่งเปาในช่วงตรุษจีน เพื่อหลอกล่อให้ผู้ใช้คลิกลิงก์ หรือแอดไลน์ไอดีเพื่อขโมยข้อมูลของผู้ใช้ รวมถึงอาจใช้ช่องทางนี้แฮ็กข้อมูลและเข้าถึงแอปธนาคารและแอปต่างๆ ได้อีกด้วย ตัวอย่าง SMS ที่อ้างว่าแจกอั่งเปาในช่วงตรุษจีน ตัวอย่าง SMS มิจฉาชีพที่แนบลิงก์เว็บไซต์ปลอมเพื่อล่อลวงข้อมูลของผู้ใช้ (ที่มา: ตำรวจสอบสวนกลาง) โดยล่าสุด ทางกองบัญชาการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (ตำรวจไซเบอร์) ได้ออกแถลงการณ์เตือนประชาชนถึงภัยคุกคามในรูปแบบ SMS ในช่วงตรุษจีนนี้ โดยเตือนประชาชนอย่าคลิกลิงก์ใน SMS ที่อ้างว่าแจกอั่งเปาวันตรุษจีน Archive นอกจากนี้ ทางหน่วยงานตำรวจไซเบอร์ยังได้เผยแพร่วิดีโอแสดงตัวอย่างของมิจฉาชีพทาง SMS ที่ใช้กลลวงในลักษณะเดียวกันกับที่กล่าวถึงข้างต้น Source | Archive โดยในวิดีโอได้แสดงตัวอย่าง SMS จากมิจฉาชีพที่มักจะแอบอ้างตนว่าเป็นหน่วยงานและเว็บไซต์ยอดนิยมต่างๆ เช่น TikTok, Shopee, Google หรือแม้กระทั่งธนาคาร เพื่อลวงเอาข้อมูลและรหัสผ่านของผู้ใช้ผ่านทางเว็บไซต์ปลอม  ทางหน่วยงานได้แจ้งแนวทางในการระมัดระวังให้แก่ประชาชนดังนี้ ข้อสรุปส่งท้าย ให้ระวัง SMS แอบอ้างที่มักจะมาในช่วงเทศกาลต่างๆ และอย่าคลิกลิงก์และกรอกข้อมูลส่วนตัวใดๆ ในเว็บไซต์ที่ไม่รู้จัก เพื่อหลีกเลี่ยงการโดนโจรกรรมข้อมูล Title:Scammer […]

Continue Reading

[อัปเดต] มิจฉาชีพรูปแบบใหม่ แฮ็กข้อมูลผ่านสายชาร์จได้จริงหรือไม่?

อัปเดตล่าสุดวันที่ 19 ม.ค. 2566 เมื่อวันที่ 16 ม.ค. 2566 มีผู้ใช้โซเชียลหลายรายได้โพสต์เตือนภัยและแสดงความกังวลเกี่ยวกับการใช้สายชาร์จ เนื่องจากมีผู้เสียหายหลายรายที่ได้เข้าแจ้งความเนื่องจากโดยแฮ็กข้อมูลและโอนเงินออกจากบัญชีธนาคาร โดยมีรายงานว่าขณะนี้มีผู้เสียหายแล้วมากกว่า 10 ราย Source Post | Archive โดยเพจ “ประชาสัมพันธ์ audio” มีการแชร์เรื่องราวดังกล่าว โดยมีเนื้อความในโพสต์ว่า “#เตือนภัยด่วน ผู้ใช้มือถือระบบ “แอนดรอยด์” จำนวนมาก #ถูกดูดข้อมูลและสั่งโอนเงินออกจากบัญชีอัตโนมัติ เบื้องต้นคาดต้นเหตุมาจากสายชาร์จ” โดยในส่วนความคิดเห็นก็มีผู้ใช้มาโพสต์ข้อมูลยืนยันและแสดงความกังวลใจเป็นจำนวนมาก นอกจากนี้ทางตำรวจสอบสวนกลาง ก็ได้ออกมาแชร์เรื่องราวดังกล่าวและเตือนภัยให้ผู้ใช้ระวังภัยจากมิจฉาชีพรูปแบบใหม่นี้ Archive ต่อมาเมื่อวันที่ 19 มกราคม ธนาคารแห่งชาติได้ออกมาชี้แจงถึงกรณีดังกล่าวว่า ตามที่ปรากฏข่าวพบผู้เสียหายจากการใช้งานสายชาร์จปลอม แล้วถูกดูดข้อมูล และโอนเงินออกจากบัญชีนั้น ธปท.หารือสมาคมธนาคารไทยเพื่อตรวจสอบกรณี ดังกล่าวแล้ว พบว่าไม่ได้เกิดจากการใช้งานสายชาร์จปลอม แต่เกิดจากผู้เสียหายถูกมิจฉาชีพหลอกลวงให้ติดตั้งแอปพลิเคชันปลอมที่แฝงมัลแวร์ ทำให้มิจฉาชีพล่วงรู้ข้อมูลการทำธุรกรรมของลูกค้า และควบคุมเครื่องโทรศัพท์เพื่อสวมรอยทำธุรกรรมแทนจากระยะไกล เพื่อโอนเงินออกจากบัญชี นอกจากนี้ ทางตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี ระบุว่าจากการตรวจสอบเครื่องโทรศัพท์ของผู้เสียหายพบว่ามีการติดตั้งแอปหาคู่เถื่อน ชื่อว่า “Sweet meet” ลงในโทรศัพท์มือถือ ซึ่งสอดคล้องกับประวัติในการเข้าไปในเว็บไซต์เพื่อติดตั้งแอปดังกล่าว ซึ่งเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้ถูกดูดเงินออกจากแอปธนาคาร ยืนยันว่ากรณีดังกล่าวไม่เกี่ยวกับสายชาร์จดูดข้อมูลตามที่ปรากฏเป็นข่าวแต่อย่างใด ล่าสุดได้สั่งการให้ตำรวจเข้าดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องแล้ว โดยทางธนาคารแห่งชาติได้ยืนยันว่าสายชาร์จดูดข้อมูลนั้นมีจริง แต่ไม่สามารถดูดเงินออกจากแอปธนาคารได้ตามที่ผู้เสียหายกล่าวอ้าง […]

Continue Reading

Scam Alert! ระวังมิจฉาชีพรูปแบบใหม่ ส่ง SMS อ้างว่าแจกตั๋วเครื่องบินฟรี

เนื่องจากมีผู้ใช้ทวิตเตอร์ออกมาทวีตถึงมิจฉาชีพรูปแบบใหม่ที่แอบอ้างว่าเป็นเจ้าหน้าที่ของสายการบิน โดยส่ง SMS มาแจ้งผู้ใช้ว่าได้รับคูปองเที่ยวบินฟรี Source Post | Archive เมื่อทางทีมงานตรวจสอบข้อมูลดังกล่าว ก็พบว่ามีผู้ใช้บนโซเชียลหลายรายได้รับข้อความแบบเดียวกันนี้ Source Post | Archive รูปแบบการหลอกลวงคือให้ผู้ใช้คลิกลิงก์ที่ SMS เพื่อเพิ่มบัญชีไลน์ที่แอบอ้างว่าเป็นบัญชีทางการของสายการบิน ไทย ไลอ้อน แอร์ ซึ่งมีผู้เสียหายที่ถูกดูดข้อมูลและถอนเงินจากบัญชีธนาคารจากมิจฉาชีพรูปแบบดังกล่าวแล้ว โดยเมื่อวันที่ 5 ม.ค. 66 ที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติ พ.ต.ท.หญิง ณพวรรณ ปัญญา รองโฆษก ตร. เปิดเผยกรณี มีผู้เสียหาย ถูกคนร้ายส่งข้อความ “ขอขอบคุณที่ใช้บริการ จะมอบคูปองฟรีให้ 1 ใบ” ตามลิงก์ที่คนร้ายส่งให้ ผู้เสียหายกดลิงก์แอดไลน์ คนร้ายขอให้ติดตั้งแอปพลิเคชัน ไลอ้อนแอร์ แล้วพิมพ์ชื่อ นามสกุล ภาษาอังกฤษ และเบอร์โทรศัพท์ จากนั้น คนร้ายบอกว่าให้รอห้ามวางสาย ต่อมาปรากฏว่ามีเงินหายไปหมดบัญชี คนร้ายยังกดเงินจากบัตรเครดิตซึ่งผูกกับ แอปพลิเคชันธนาคารออนไลน์ สูญเงินทั้งสิ้นกว่า 2 แสนบาท ซึ่งสำนักงานตำรวจแห่งชาติก็ได้ออกมาเตือนภัยให้ระวังมิจฉาชีพในรูปแบบดังกล่าว […]

Continue Reading

Scam Alert! เตือนภัย อย่าคลิกลิงก์แจกสติกเกอร์น่าสงสัยในไลน์ เสี่ยงถูกแฮ็กข้อมูลได้

เนื่องจาก Fact Crescendo ได้รับเบาะแสเกี่ยวกับมิจฉาชีพรูปแบบใหม่ที่สร้างลิงก์ปลอมและหลอกล่อให้ผู้ใช้กดเข้าไปที่ลิงก์เพื่อรับสติกเกอร์คริสต์มาสและปีใหม่ฟรี Source: LINE | Archive โดยเมื่อทำการตรวจสอบข้อมูลเกี่ยวกับสติกเกอร์ปลอมบนไลน์ ก็พบว่ามีหลายหน่วยงานที่ออกมาเตือนถึงอันตรายของการกดโหลดสติกเกอร์ที่น่าสงสัยจากไลน์ พร้อมแนะนำข้อสังเกตในการดูลิงก์ดาวน์โหลดสติกเกอร์ที่เชื่อถือได้ Source | Archive โดยทางตำรวจสอบสวนกลาง ได้ออกมาเตือนภัยให้ระวังกลุ่มมิจฉาชีพทางไลน์ที่อ้างว่าแจกสติกเกอร์ฟรี หรือธีมไลน์ฟรี โดยชี้แจงว่าจะมีวิธีที่สังเกตบัญชีที่น่าสงสัยได้ดังนี้ 1. กดเพิ่มเพื่อนเข้ามาทางไลน์ 2. แชร์ลิงก์ไปยังไทม์ไลน์หรือหน้าหลักของตัวเอง 3. ให้แนะนำหรือแชร์ในกลุ่มที่มีเพื่อน จำนวน 10 คนขึ้นไป 10 กลุ่ม หรือให้ส่งต่อลิงก์หาเพื่อน 30 คน ทั้งนี้ การเชิญชวนการโหลดสติกเกอร์ดังกล่าว อาจมีการหลอกลวงให้ผู้ใช้ไลน์ใส่ชื่อ และรหัสการเข้าใช้ไลน์ รวมถึงข้อมูลส่วนตัวซึ่งอาจจะเป็นช่องทางให้มิจฉาชีพ นำชื่อและรหัสการใช้งานของท่านไปทำธุรกรรมต่าง ๆ หรืออาจมีการปลอมแปลงสิทธิ์เพื่อกระทำผิดได้ และสำหรับสติกเกอร์ไลน์ฟรีที่สามารถดาวน์โหลดได้ จะมีสองรูปแบบหลักๆ คือ Sponsored Sticker ที่ได้ฟรีเมื่อเพิ่มบัญชีทางการของแบรนด์นั้นๆ และ Mission Sticker ซึ่งได้รับเมื่อร่วมกิจกรรมทางการตลาดผ่านบัญชีทางการของแบรนด์นั้นๆ เช่น การร่วมตอบแบบสอบถาม และหากสงสัยว่าสติกเกอร์ที่ส่งมาโหลดฟรี มีความถูกต้องหรือไม่ แนะนำให้โหลดสติกเกอร์ฟรีในแท็บ […]

Continue Reading