เตือนภัย: เพจปลอมแอบอ้างว่าแจกต้นไม้ฟรี เพื่อหลอกขอข้อมูลส่วนตัว

ในยุคที่โซเชียลมีเดียกลายเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวัน การหลอกลวงผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ก็พัฒนาและซับซ้อนมากขึ้น และเมื่อเร็วๆ นี้ เราพบว่ามิจฉาชีพในรูปแบบใหม่ ใช้วิธีการสร้างเพจปลอมที่อ้างว่าแจกต้นไม้ฟรี เพื่อหลอกล่อให้เหยื่อหลงเชื่อและแอดไลน์เพื่อดึงข้อมูลส่วนตัว โพสต์บนโซเชียลมีเดีย เราได้รับเบาะแสจากผู้ใช้ผ่านทาง LINE ตรวจสอบข้อเท็จจริงของเรา เกี่ยวกับเพจที่กล่าวอ้างว่าแจกต้นไม้ฟรีให้กับผู้ที่สนใจ โดยเมื่อเราตรวจสอบเพิ่มเติม ก็พบว่ามีผู้ใช้หลายรายที่ออกมาเตือนภัยเกี่ยวกับเพจดังกล่าวเช่นเดียวกัน ที่มา | ลิงก์ถาวร ที่มา | ลิงก์ถาวร ตรวจสอบข้อเท็จจริง เราได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริง โดยการตรวจสอบรายละเอียดเพิ่มเติมของเพจดังกล่าว โดยเมื่อดูในส่วน “ความโปร่งใสของเพจ” จะเห็นว่าเพจดังกล่าวผู้ดูแลเพจส่วนใหญ่จะอยู่ต่างประเทศ ซึ่งเป็นอีกสัญญาณเตือนที่ชัดเจนว่าอาจเป็นเพจหลอกลวง นอกจากนี้ เราพบว่าเพจดังกล่าวใช้ที่อยู่ปลอมในส่วนข้อมูลบนเพจ โดยเมื่อเราค้นหาที่อยู่ตามที่ระบุในเพจแล้วพบว่า เป็นที่อยู่ของ สำนักนิติการ กรมวิชาการเกษตร เพื่อตรวจสอบข้อเท็จจริงเพิ่มเติม เราใช้ฟีเจอร์การค้นหารูปภาพย้อนกลับ (Reverse Image Search) เพื่อหาที่มาของรูปภาพต้นไม้ในเพจดังกล่าว และพบว่าที่มาของรูปภาพมาจากเพจร้านต้นไม้ “เบี้ยไม้ พันธุ์ไม้ราคาถูก” โดยมีการโพสต์รูปนี้ตั้งแต่ช่วงเดือนธันวาคม ปี 2567 (ลิงก์ถาวร) ทีม Fact Crescendo ได้ติดต่อเพื่อสอบถามร้านต้นไม้ดังกล่าว และทางร้านยืนยันว่าเป็นผู้ถ่ายภาพดังกล่าวเอง แต่เพจที่แอบอ้างนั้นไม่ใช่เพจของทางร้านแต่อย่างใด รูปแบบของการหลอกลวงของเพจปลอม สร้างเพจปลอมที่ดูน่าเชื่อถือ: ใช้ชื่อและโลโก้ที่เกี่ยวข้องกับธรรมชาติหรือการปลูกต้นไม้ […]

Continue Reading

เตือนภัย! อีเมลปลอมแอบอ้าง Netflix หลอกให้อัปเดตข้อมูลการชำระเงิน

เมื่อเร็วๆ นี้ มีผู้ใช้โซเชียลมีเดียหลายรายได้รับอีเมลที่อ้างว่ามาจาก Netflix ให้อัปเดตข้อมูลส่วนตัว พร้อมเตือนว่าเป็นอีเมลปลอมจากมิจฉาชีพ ที่มา | ลิงก์ถาวร ที่มา | ลิงก์ถาวร หากได้รับอีเมลลักษณะดังกล่าวที่แจ้งว่า Netflix ต้องการให้อัปเดตข้อมูลการชำระเงินอย่างเร่งด่วน อย่าเพิ่งรีบคลิกหรือลงข้อมูลใดๆ เพราะนี่อาจเป็นกลโกงฟิชชิง (Phishing) ที่ออกแบบมาให้เหมือนกับอีเมลจาก Netflix เพื่อหลอกให้เหยื่อกรอกข้อมูลส่วนตัว บทความนี้จะช่วยให้คุณสังเกตเห็นจุดน่าสงสัย วิธีรับมือ และป้องกันตัวเองจากกลโกงนี้ อีเมล “Netflix Update Your Payment Details” คืออะไร? อีเมลฟิชชิงนี้เป็นการหลอกลวงที่ปลอมแปลงให้ดูเหมือนข้อความจาก Netflix โดยมักใช้คำที่กระตุ้นให้รีบทำ เช่น “อัปเดตข้อมูลการชำระเงินทันที มิฉะนั้นบัญชีจะถูกระงับ” เป้าหมายคือการทำให้เหยื่อรู้สึกกังวลแล้วคลิกเข้าไปกรอกข้อมูลในเว็บไซต์ปลอม ซึ่งเว็บเหล่านี้ออกแบบให้คล้าย Netflix เพื่อขโมยข้อมูลบัญชี Netflix ข้อมูลบัตรเครดิต หรือแม้กระทั่งข้อมูลธนาคาร จุดสังเกตที่บอกว่าเป็นอีเมลปลอม ตัวอย่างอีเมลแอบอ้าง สังเกตได้ว่าลักษณะการสะกดคำจะไม่ถูกต้อง ที่มา ตัวอย่างลิงก์ปลอมที่มาในอีเมลแอบอ้าง ที่มา ถ้าเจออีเมลที่น่าสงสัย ต้องทำอย่างไร? ทำไมมิจฉาชีพถึงเลือกเป้าหมายเป็นผู้ใช้ Netflix? ด้วยจำนวนผู้ใช้ […]

Continue Reading

กฟภ. ไขข้อสงสัยกรณี “บิลค่าไฟปลอม”

เมื่อไม่นานมานี้ Fact Crescendo Thailand ได้รับเบาะแสผ่านไลน์ตรวจสอบข้อเท็จจริงของเราเกี่ยวกับมิจฉาชีพรูปแบบใหม่ ที่หลอกให้เหยื่อโอนเงินผ่านใบแจ้งชำระค่าไฟปลอม โพสต์บนโซเชียลมีเดีย จากที่มีภาพและข้อความแพร่กระจายบนโซเชียลมีเดีย ระบุว่า ให้ระวังใบแจ้งค่าไฟปลอมที่กำลังระบาด  ที่มา | ลิงก์ถาวร นอกจากนี้ยังมีผู้ใช้โซเชียลมีเดียหลายราย ตั้งข้อสงสัยถึงใบแจ้งค่าไฟฟ้าที่มีลักษณะเปลี่ยนไป ที่มา | ลิงก์ถาวร ที่มา | ลิงก์ถาวร อย่างไรก็ตาม ทางการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคได้ออกมาชี้แจงว่าบิลค่าไฟในลักษณะดังกล่าว ไม่ใช่บิลค่าไฟปลอมแต่อย่างใด กฟภ. ชี้แจง ไม่ใช่บิลค่าไฟปลอม ล่าสุด เมื่อวันที่ 19 มีนาคม ที่ผ่านมา นายธัญญา คุ้มมี ผู้จัดการการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค จังหวัดสุรินทร์ ได้ชี้แจงกรณีที่ผู้ใช้ตั้งข้อสงสัยว่าบิลค่าไฟที่ได้รับมีลักษณะต่างออกไป โดยยืนยันว่า บิลดังกล่าวเป็นของ กฟภ.จริง ซึ่งบิลสีฟ้าที่มีการตั้งข้อสงสัยนั้นไม่ใช่บิลแจ้งค่าไฟฟ้า แต่เป็นบิลแจ้งค้างชำระค่าไฟฟ้า โดยจุดสังเกตจะอยู่ที่มุมขวาบนของกระดาษ จะระบุชัดเจน ในส่วนที่มีตั้งข้อสงสัยว่า ใบแจ้งเตือนถึงไม่เป็นกระดาษ A4 อย่างที่เคยได้รับ ทางกฟภ. ระบุว่า จริงๆ แล้ว รูปแบบกระดาษ A4 ก็ยังมีใช้อยู่เช่นเดิม แต่อาจจะใช้กรณีที่ระบบของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคเองเกิดการขัดข้อง […]

Continue Reading

Scam Alert! มิจฉาชีพส่ง SMS แอบอ้างเป็นธนาคารว่ามีผู้เข้าสู่ระบบจากอุปกรณ์อื่น

เมื่อเร็วๆ นี้ มีผู้ใช้โซเชียลหลายรายแชร์ว่าได้รับข้อความที่ระบุว่ามาจากธนาคารกสิกรไทย โดยแจ้งว่ามีผู้เข้าสู่ระบบธนาคารจากอุปกรณ์อื่น พร้อมแนบลิงก์ให้ผู้รับ SMS เข้าไปติดต่อธนาคาร Source | Archive โดยเมื่อเราได้ตรวจสอบเพิ่มเติม ก็พบว่ามีผู้ใช้หลายรายได้รับข้อความในลักษณะเดียวกัน Source | Archive Source | Archive นอกจากนี้ ยังมีการรายงานข่าวในกรณีนี้ด้วยเช่นเดียวกัน มิจฉาชีพล่อลวงเหยื่อจากวิธีนี้อย่างไร? ส่ง SMS เข้ากล่องข้อความเดียวกับธนาคาร โดยการปลอมแปลงชื่อผู้ส่ง: การส่งข้อความในลักษณะดังกล่าวเป็นการส่งโดยไม่ผ่านเครือข่ายของผู้ให้บริการ หรือที่เรียกว่า False Base Station (FBS) Attack ซึ่งมิจฉาชีพสามารถปลอมแปลงชื่อผู้ส่งเป็นชื่อหน่วยงานใดก็ได้ เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือประกอบกับเหยื่อหลอกลวงในรูปแบบดังกล่าว สร้างบัญชี LINE ปลอม จากลิงก์ที่ส่ง: เมื่อผู้ใช้คลิกลิงก์ที่แนบมากับ SMS ก็จะปรากฏเป็นบัญชี LINE ที่ใช้ชื่อว่า “K Bank Connect” และส่งข้อความแอบอ้างเป็นหนักงานของทางธนาคาร หลอกล่อให้ผู้ใช้คลิกเข้าลิงก์ปลอมเพื่อดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน หลอกล่อให้กดดาวน์โหลดแอปในลิงก์ปลอม: ลิงก์ที่มิจฉาชีพอ้างว่าเป็นลิงก์ดาวน์โหลดแอปพลิเคชันของทางธนาคาร อาจจะเป็นซอฟต์แวร์ที่เป็นอันตรายที่สามารถควบคุมอุปกรณ์ของเหยื่อได้ หรือมีการหลอกให้ตั้งรหัสผ่าน 6 หลัก จำนวนหลายๆ […]

Continue Reading

Scam Alert! ระวัง SMS แอบอ้างจัดส่งพัสดุไม่สำเร็จ

ในยุคที่วิถีชีวิตของผู้คนเข้าสู่ความเป็นดิจิทัลมากขึ้น การจับจ่ายซื้อของผ่านช่องทางออนไลน์กลายเป็นเรื่องปกติและได้รับความนิยมแพร่หลาย และเนื่องจากมีการจัดส่งพัสดุมากยิ่งขึ้น เหล่ามิจฉาชีพจึงฉกฉวยโอกาสนี้ปรับกลโกงของตนเพื่อเอาเปรียบผู้บริโภคที่ตกเป็นเหยื่อ โดยล่าสุดเราพบว่าการหลอกลวงประเภทหนึ่งที่แพร่หลายคือแอบอ้างเป็นผู้ให้บริการจัดส่งพัสดุ โดยส่งข้อความ SMS โดยอ้างว่าการจัดส่งพัสดุไม่สำเร็จ โพสต์บนโซเชียลมีเดีย ล่าสุด เราพบผู้ใช้ X (Twitter) โพสต์ SMS ที่ระบุว่าเป็นข้อความจากบริษัทจัดส่งพัสดุ Flash Express โดยข้อความระบุว่าจัดส่งพัสดุไม่สำเร็จ พร้อมแนบลิงก์เพื่อให้กดยืนยันจัดส่งพัสดุ โดยโพสต์ดังกล่าวบนแพลตฟอร์ม X มีการรับชมไปกว่า 2.4 ล้านครั้ง ที่มา | ลิงก์ถาวร นอกจากนี้ เราพบว่ามีผู้ใช้โซเชียลหลายรายที่ได้รับข้อความลักษณะเดียวกัน รวมถึงมีผู้ตกเป็นเหยื่อและสูญเสียเงินจากการกดลิงก์ดังกล่าว ที่มา | ลิงก์ถาวร Flash Express ประกาศเตือนมิจฉาชีพแอบอ้างชื่อบริษัท สืบเนื่องจากเหตุการณ์ SMS ปลอมระบาดในลักษณะดังกล่าว บริษัท Flash Express จึงออกมาเตือนภัยผ่านเพจ Facebook ของทางบริษัท โดยชี้แจงว่า ขณะนี้มีมิจฉาชีพอ้างชื่อ “แฟลช เอ็กซ์เพรส” ในการหลอกลวงให้ผู้รับ SMS กดลิงก์เพื่อเคลมพัสดุเสียหายหรือยืนยันพัสดุจัดส่ง และรวมไปถึงกลโกงต่างๆ ทั้งการปลอมแปลงเป็นเจ้าหน้าที่บริษัทพูดคุยหลอกลวงให้โหลดแอปพลิเคชัน […]

Continue Reading

Scam Alert: มิจฉาชีพรูปแบบใหม่ แอบอ้างเป็นแบรนด์เครื่องสำอาง แจ้งสินค้ามีปัญหาและจะคืนเงินให้

เมื่อไม่นานมานี้ ผู้ใช้โซเชียลบนแพลตฟอร์มต่างๆ ได้ออกมาเตือนภัยถึงมิจฉาชีพรูปแบบใหม่ โดยมิจฉาชีพจะแอบอ้างว่าเป็นแบรนด์เครื่องสำอาง และอ้างว่าล็อตผลิตที่ลูกค้าซื้อไปมีปัญหา จะทำการชดเชยโดยการคืนเงิน และให้ลูกค้าเพิ่มบัญชี LINE Source | Archive Source | Archive Source | Archive กลโกงมิจฉาชีพ เมื่อเหยื่อทำการเพิ่มบัญชี LINE ของมิจฉาชีพแล้ว มิจฉาชีพจะแจ้งให้เหยื่อเข้าแอปพลิเคชันธนาคาร กรอกยอดเงินที่ต้องการคืน และกดหน้าถัดไปเพื่อให้ระบบเชื่อมบัญชีธนาคาร และจะมีปุ่มคืนเงินกลับมา แต่เมื่อกดหน้าถัดไป ในแอปพลิเคชันธนาคาร ระบบจะโอนเงินไปยังบัญชีมิจฉาชีพ โดยไม่มีการคืนเงินกลับมาตามที่แอบอ้าง Archive Archive Archive โดยทางสภาองค์กรผู้บริโภค ก็ได้ออกมาเตือนภัยมิจฉาชีพในรูปแบบดังกล่าวเช่นเดียวกัน พร้อมแนะให้ผู้ใช้สินค้าอย่าตกเป็นเหยื่อ และอย่าหลงเชื่อบัญชี LINE ที่ไม่มีการระบุตัวตน โดยหากผู้ใช้สินค้ามีข้อสงสัยหรือเกิดอาการแพ้ ควรติดต่อไปยังบัญชีที่มีการยืนยันตัวตนแล้วของทางบริษัทนั้นๆ นอกจากนี้หากไม่ได้รับการเยียวยาจากทางบริษัท สามารถร้องเรียนมาที่สภาผู้บริโภคได้ที่เว็บไซต์ https://crm.tcc.or.th/portal/public หรือโทร 1502 Archive นอกจากนี้ บริษัท Hatomugi Thailand ซึ่งเป็นหนึ่งในแบรนด์ที่ถูกแอบอ้างชื่อจากมิจฉาชีพรูปแบบดังกล่าว ก็ได้ออกมาเตือนภัยและชี้แจงว่าไม่มีการติดต่อลูกค้าผ่านทางช่องทางอื่นๆ แต่อย่างใด Archive วิธีสังเกตบัญชีต้องสงสัยว่าเป็นมิจฉาชีพ หากผู้ใช้ได้รับข้อความแอบอ้างลักษณะดังกล่าว หรือไม่แน่ใจว่าเบอร์ที่ติดต่อมาจากบริษัทผลิตภัณฑ์ดังกล่าวหรือไม่ […]

Continue Reading

รวบรวม 10 บทความเตือนภัยมิจฉาชีพยอดนิยมในปี 2023

ปี 2023 เป็นอีกปีที่ที่ผู้บริโภคต้องยืนหยัดต่อสู้กับภัยคุกคามจากมิจฉาชีพที่พัฒนาอยู่ตลอดเวลา กลโกงที่มุ่งแสวงหาผลประโยชน์จากเหยื่อได้พัฒนาไป เช่นเดียวกับเทคโนโลยีที่วิวัฒนาการไปข้างหน้า ตั้งแต่การโจมตีทางไซเบอร์ไปจนถึงการใช้เล่ห์เหลี่ยมล่อลวงข้อมูลของผู้บริโภค และหากพบข่าวที่น่าสงสัย สามารถส่งให้เราช่วยตรวจสอบผ่านทาง LINE ได้ที่นี่ หรือที่ LINE ID: @factcresdendoth เราได้รวบรวม 10 อันดับกลโกงมิจฉาชีพที่ผู้อ่านให้ความสนใจมากที่สุดในปี 2023 มาไว้ในบทความนี้ อันดับที่ 1: มิจฉาชีพส่งข้อเสนอตำแหน่งงาน ผ่าน WhatsApp  มิจฉาชีพรูปแบบใหม่ ส่งข้อเสนองานผ่านทาง WhatsApp โดยอ้างว่าเป็นฝ่ายจัดหาพนักงานของบริษัท JobsDB โดย Fact Crescendo Thailand ได้ติดต่อไปยัง JobsDB เพื่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมในกรณีดังกล่าว และโดยทาง JobsDB ได้ยืนยันกับเราว่า ทางบริษัทไม่ได้มีการติดต่อเสนอตำแหน่งงานผ่าน WhatsApp ในลักษณะดังกล่าว และบุคคลดังกล่าวนั้นเป็นมิจฉาชีพ  อ่านบทความ: เตือนภัย! มิจฉาชีพรูปแบบใหม่บน WhatsApp แอบอ้างเป็น HR บริษัทดัง อันดับที่ 2: ห้ามรับสาย เบอร์โทรต้องห้ามจากต่างประเทศ? จากที่มีข้อความส่งต่อในโซเชียลเกี่ยวกับเบอร์มิจฉาชีพที่ขึ้นต้นด้วย […]

Continue Reading

จริงหรือไม่: มิจฉาชีพแอบอ้างเป็น AIS 1175 ดูดเงินในบัญชีได้แค่รับสาย?

เมื่อไม่นานมานี้ มีข้อความแพร่กระจายบนโซเชียลมีเดีย ระบุว่ามีเบอร์มิจฉาชีพแอบอ้างเป็นผู้ให้บริการเครือข่าย AIS และห้ามผู้ใช้รับสายโดยเด็ดขาด ข้อกล่าวอ้างบนโซเชียลมีเดีย เราได้รับเบาะแสผ่านไลน์ตรวจสอบข้อเท็จจริงของเรา เกี่ยวกับข้อความที่มีการส่งต่อผ่านแพลตฟอร์ม LINE โดยระบุว่า “อย่ารับสายเด็ดขาดนะครับ 1175 ตอนแรกคิดว่าจากศูนย์ AIS ปรากฏว่า รับสายปุ๊บมันเข้าบัญชีเราทันที ทำให้เราเข้าบัญชีเราไม่ได้เลย สรุปไม่จำเป็นต้องคุยสาย มันก็สามารถเอาเงินในบัญชีเรา ได้เลย โดยไม่จำเป็นต้องคุยกับเรา ฝากแชร์เตือนกันด้วย หลายคนเคยโดนมาแล้วใครเจออย่ารับสายเด็ดขาด” ส่งข่าวให้เราช่วยตรวจสอบผ่านทาง LINE ได้ที่นี่ โดยเราพบว่าข้อความลักษณะเดียวกันได้แพร่กระจายบน Facebook อีกด้วยเช่นกัน Source | Archive Source | Archive อย่างไรก็ตาม หลังจากตรวจสอบเพิ่มเติม เราพบว่าข้อความดังกล่าวไม่เป็นความจริงแต่อย่างใด AIS ชี้แจง อย่าหลงเชื่อข้อความปลอม AIS ได้เผยแพร่บทความชี้แจงเกี่ยวกับข้อความที่ส่งต่อผ่านโซเชียลมีเดียดังกล่าว โดยระบุว่า “บริษัท เอไอเอส ขอยืนยันว่า  ข้อความดังกล่าวไม่เป็นความจริง และไม่สามารถเกิดขึ้นได้  โดยหมายเลข 1175 เป็นช่องทางให้ลูกค้าสามารถโทรเข้ามาสอบถามเกี่ยวกับบริการต่างๆของเอไอเอส รวมถึงใช้โทรติดต่อลูกค้าเพื่ออำนวยความสะดวกเกี่ยวกับการใช้บริการ อาทิ การสมัครแพ็คเกจการใช้งาน […]

Continue Reading

เตือนภัยมิจฉาชีพ: ส่งลิงก์เรียกเก็บค่าไฟค้างชำระ/คืนเงินค่าไฟผ่านทาง SMS

เราได้รับเบาะแสผ่าน LINE ตรวจสอบข้อเท็จจริงของ Fact Crescendo Thailand เกี่ยวกับ SMS ที่แอบอ้างว่ามาจากการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (PEA) พร้อมข้อความว่าจะมีการคืนเงินให้แก่ผู้ใช้ไฟฟ้า โพสต์บนโซเชียลมีเดีย เมื่อเราหาข้อมูลเพิ่มเติม ก็พบผู้ใช้โซเชียลที่ได้รับข้อความลักษณะเดียวกันหลายราย Source | Archive นอกจากนี้ยังมีผู้เสียหายที่ถูกมิจฉาชีพลักษณะดังกล่าวฉ้อโกงเงิน ออกมาเตือนกลโกงอีกด้วย Source: CH7HD News อย่างไรก็ตาม ทางการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค และการไฟฟ้านครหลวงก็ได้ยืนยันว่า ไม่มีการส่งข้อความแจ้งให้คืนเงินหรือชำระค่าไฟฟ้าผ่านลิงก์แต่อย่างใด โดยการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (PEA) ได้ชี้แจงผ่านเพจ Facebook ของทางองค์กร โดยระบุว่าลิงก์ที่ส่งผ่าน SMS นั้นไม่ใช่ช่องทางติดต่อกับ PEA และเตือนประชาชน อย่าหลงเชื่อมิจฉาชีพส่งข้อความให้กดลิงก์เพื่อติดต่อเจ้าหน้าที่การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค Archive นอกจากนี้ PEA ยังโพสต์เตือนเกี่ยวกับมิจฉาชีพในช่องทาง LINE อีกด้วย Archive โดยทาง PEA แนะนำให้สังเกตสัญลักษณ์ยืนยันตัวตนของบัญชี LINE Ofiicial ของทางหน่วยงาน ซึ่งจะมีเครื่องหมายรูปโล่สีเขียวที่โปรไฟล์ และ PEA ไม่มีนโยบายส่งลิงก์ดาวน์โหลดแอปพลิเคชันชำระค่าไฟฟ้าผ่านทาง LINE […]

Continue Reading

เตือนภัย! มิจฉาชีพรูปแบบใหม่อ้างเป็น Shopee และให้ค่าคอมมิชชันสูง

เมื่อเร็วๆ นี้ เราพบโพสต์เกี่ยวกับมิจฉาชีพที่แอบอ้างเป็นตัวแทนจากบริษัท Shopee ล่อลวงผู้สนใจโดยอ้างว่าเป็นโปรแกรมสร้างรายได้จากทางบริษัทฯ โพสต์บนโซเชียลมีเดีย เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ผู้ใช้ Facebook รายหนึ่งได้แชร์ประสบการณ์เกี่ยวกับมิจฉาชีพที่แอบอ้างว่าเป็นบริษัท Shopee โดยกล่าวอ้างว่าจะให้ผลตอบแทนสูง แต่ผู้เข้าร่วมต้องมีการสำรองจ่ายก่อน “มิจฉาชีพแบบใหม่ แจ้งเตือนระวังด้วยนะคะ เพิ่งจะได้รับโทรศัพท์ อ้างว่าจากแอพขายสินค้าสีส้ม จะชวนเป็น พาร์ทเนอร์ promote สินค้า ซึ่งเราทำอยู่แต่ได้คอมน้อย ว้าวุ่นเลยทีนี้ (ค่าคอมดี) แต่พอบอกให้สำรองโอนเงินเข้าก่อน รู้เลยมิจฉาชีพแน่ๆ” Source | Archive และเมื่อทีมงาน Fact Crescendo ทำการค้นหาข้อมูลเพิ่มเติม ก็พบว่ามีผู้ใช้โซเชียลหลายรายที่ตกเป็นเหยื่อของมิจฉาชีพในลักษณะนี้ และออกมาโพสต์เตือนภัยตามช่องทางต่างๆ Source | Archive Source | Archive Shopee เตือน ไม่มีการให้พาร์ทเนอร์สำรองจ่ายล่วงหน้า บริษัท Shopee ได้เผยแพร่บทความเตือนภัยมิจฉาชีพที่แอบอ้างว่าเป็นบริษัท โดย Shopee ได้ระบุไว้อย่างชัดเจนว่า Shopee Affiliate หรือการเป็นพาร์ทเนอร์กับทางบริษัทนั้น จะไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ เพิ่มเติมตลอดโครงการ […]

Continue Reading