ภาพดอกไม้ที่แชร์กันในโซเชียล คือดอกพญานาคที่บานทุก 36 ปี จริงหรือไม่?

ความสวยงามของธรรมชาติสามารถดึงดูดความสนใจของผู้คนได้เสมอมา ผู้คนบนโซเชียลจึงมักแบ่งปันภาพธรรมชาติอันสวยงามต่างๆ ให้กันอยู่เสมอ อย่างไรก็ตาม บางครั้งข้อมูลที่ไม่ถูกต้องก็ถูกแชร์ออกไปโดยไม่มีเจตนาเช่นเดียวกัน ดังเช่นในกรณีดอกไม้ที่ระบุว่าเป็น ‘ดอกพญานาค’ ที่เราพบบนโซเชียลเมื่อไม่นานมานี้ด้วยเช่นเดียวกัน โพสต์บนโซเชียล เราได้รับข้อมูลจากผู้ใช้ผ่าน ไลน์ตรวจสอบข้อเท็จจริง ของ Factcrescendo Thailand เกี่ยวกับรูปภาพดอกไม้สีขาวรูปร่างแปลกตา พร้อมคำบรรยายภาพว่าเป็นดอกพญานาค ที่ 36 ปีจะบานเพียงแค่หนึ่งครั้ง Archive โดยเราพบว่าข้อกล่าวอ้างนี้เคยแพร่กระจายอยู่บนโซเชียลมีเดียต่างๆ เช่นเดียวกัน Source | Archive Source | Archive อย่างไรก็ตาม เราพบว่าดอกไม้ในภาพดังกล่าวไม่ใช่ดอกพญานาค และไม่ได้บานทุกๆ 36 ปีตามข้อกล่าวอ้างแต่อย่างใด ตรวจสอบข้อเท็จจริง เมื่อเราใช้ฟีเจอร์ Reverse Image Search ค้นหาดอกไม้ชนิดดังกล่าว เราพบว่าเป็นดอก King Protea เป็นดอกไม้ขนาดใหญ่ ที่ลำต้นมีความสูงถึง 1.2-1.8 เมตร และออกดอกทุกปีในช่วงฤดูใบไม้ผลิ อ่านข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับดอกไม้ชนิดนี้ได้ที่นี่ ที่นี่ และที่นี่ Source: davesgarden.com ภาพดอก King Protea […]

Continue Reading

วิดีโอสัตว์ตามท้องถนนถูกนำมาโยงกับเหตุการณ์จลาจลในกรุงปารีส

เหตุการณ์จลาจลในฝรั่งเศสยังคงดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง และภาพเหตุการณ์ต่างๆ ในฝรั่งเศสที่แพร่กระจายในโซเชียลมีเดียก็ได้รับความสนใจเป็นอย่างมาก อย่างไรก็ตาม เราพบว่ามีภาพเหตุการณ์ที่ไม่เกี่ยวข้องถูกนำมาอ้างว่าเป็นภาพจากเหตุการณ์จลาจลในฝรั่งเศส (อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง: วิดีโอไวรัลถูกเข้าใจผิดว่าเป็นห้องสมุดที่ถูกเผาจากเหตุจลาจลที่ฝรั่งเศส) ล่าสุด มีคลิปวิดีโอสัตว์ป่าอยู่ตามถนนและอาคารบ้านเรือน พร้อมข้อกล่าวอ้างว่าสัตว์ป่าเหล่านี้ถูกปล่อยออกมาจากสวนสัตว์ในปารีส โพสต์โซเชียลมีเดีย ผู้ใช้ Facebook รายหนึ่งได้โพสต์คลิปวิดีโอหลายคลิป ที่มีสัตว์ป่าต่างๆ ทั้งสิงโต ม้าลาย นกกระจอกเทศ ช้าง และกอริลลา อยู่ตามถนน พร้อมระบุว่า “ผู้ชุมนุมประท้วงฝรั่งเศสปล่อยสัตว์ออกจากสวนสัตว์ !!” Source | Archive นอกจากนี้คลิปสัตว์เหล่านี้ยังเป็นไวรัลในแพลตฟอร์ม TikTok อีกด้วย โดยวิดีโอที่กล่าวอ้างว่าเหล่าสัตว์ป่าเหล่านี้หลุดออกมาจากสวนสัตว์ที่กรุงปารีส ฝรั่งเศส โดยมีการรับชมกว่า 4 ล้านครั้ง Source | Archive อย่างไรก็ตาม เราพบว่าคลิปสัตว์เหล่านี้ไม่ได้มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์จลาจลในปารีสและเมืองต่างๆ ของฝรั่งเศสแต่อย่างใด ตรวจสอบข้อเท็จจริง เราได้ใช้ฟีเจอร์ Reverse Video Search และ Reverse Image Search โดยใช้คีย์เฟรมต่างๆ จากวิดีโอในโพสต์ที่กล่าวอ้าง เพื่อค้นหาที่มาของแต่ละวิดีโอ สิงโต: เราพบว่าวิดีโอเดียวกันถูกอัปโหลดบนแพลตฟอร์ม […]

Continue Reading

วิดีโอไวรัลถูกเข้าใจผิดว่าเป็นห้องสมุดที่ถูกเผาจากเหตุจลาจลที่ฝรั่งเศส

เหตุประท้วงในฝรั่งเศสยังคงรุนแรงและลุกลามไปในหลายเมือง โดยนับว่าเป็นหนึ่งในการประท้วงที่รุนแรงที่สุดครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์ฝรั่งเศส นอกจากนี้ภาพและวิดีโอต่างๆ เกี่ยวกับเหตุจลาจลครั้งนี้ก็ได้รับความสนใจและแพร่กระจายบนโลกโซเชียลอย่างรวดเร็ว ซึ่งบางโพสต์ก็มีข้อมูลที่อาจชวนให้เข้าใจผิดได้ เราจึงทำการตรวจสอบในกรณีดังกล่าว โพสต์บนโซเชียลมีเดีย วันพุธที่ 5 กรกฎาคมที่ผ่านมา ผู้ใช้ติ๊กต็อกได้โพสต์วิดีโอหนึ่ง พร้อมคำบรรยายว่า “วิกฤตฝรั่งเศส ผู้ก่อจลาจลเผาห้องสมุดและเผาทุกอย่าง” Source | Archive นอกจากนี้วิดีโอดังกล่าวยังแพร่กระจายในแพลตฟอร์มอื่นๆ บนโซเชียลมีเดียอีกด้วย ผู้ใช้ทวิตเตอร์รายหนึ่งได้โพสต์วิดีโอเดียวกัน พร้อมข้อความที่ระบุว่าเป็นห้องสมุดที่เมืองมาร์เซย ฝรั่งเศส Archive นอกจากนี้วิดีโอดังกล่าวยังแพร่กระจายบนเฟซบุ๊กเช่นเดียวกัน Source | Archive ตรวจสอบข้อเท็จจริง เราเริ่มดำเนินการตรวจสอบกรณีดังกล่าวโดยการค้นหาข่าวเกี่ยวกับผู้ก่อจลาจลเผาห้องสมุดในเมืองมาร์กเซย ตามที่โพสต์ข้างต้นระบุ และพบว่ามีรายงานการเผาห้องสมุดในมาร์กเซยจริง (อ่านข่าวได้ ที่นี่ และที่นี่) อย่างไรก็ตาม เราไม่พบวิดีโอที่เป็นไวรัลในรายงานข่าวจากสื่อและแหล่งข่าวที่เชื่อถือได้แต่อย่างใด เราจึงค้นหาที่มาของวิดีโอโดยการใช้ฟีเจอร์ Reverse Video Search และพบวิดีโอที่ตรงกันจากสำนักข่าว Al Jazeera โดย Al Jazeera ได้รายงานว่าเป็นเหตุการณ์ “ไฟไหม้อาคารสำนักงานที่ทำการไปรษณีย์กรุงมะนิลา ประเทศฟิลิปปินส์” และเมื่อทำการค้นหาเกี่ยวกับข่าวดังกล่าวเพิ่มเติม ก็พบว่ามีแหล่งข่าวต่างๆ รายงานเหตุการณ์ครั้งดังกล่าวมากมาย โดยสามารถรับชมข่าวเหตุการณ์ไฟไฟม้ครั้งนี้ได้ ที่นี่ ที่นี่ […]

Continue Reading

คลิปไวรัลอ้างว่าเป็น ‘แม่หยก’ ชวนให้เข้าใจผิด

หลังจากที่หยก ธนลภย์ นักกิจกรรมวัย 15 ปี ที่เคยโดนออกหมายเรียก คดี ม.112 และถูกส่งตัวไปคุมขังที่สถานพินิจ บ้านปรานี เมื่อวันที่ 29 มีนาคม และถูกคุมขังเป็นเวลากว่า 51 วัน และถูกปล่อยตัวในวันที่ 18 พฤษภาคม ก่อนที่จะเซ็นเอกสารเข้าเรียนในวันต่อมา (19 พฤษภาคม) โดยมีบุ้ง เนติพร ลงนามในฐานะผู้ปกครองของหยก และหยกเริ่มเคลื่อนไหวโดยการใส่ชุดไปรเวท และย้อมผมไปโรงเรียน เพื่อเรียกร้องสิทธิเสรีภาพในการแต่งกายของนักเรียน และในวันที่ 13 มิถุนายน หยกได้โพสต์ข้อความว่าถูกโรงเรียนไล่ออกแล้ว โดยต่อมาทางโรงเรียนได้แถลงว่า เงื่อนไขการมอบตัวเข้าโรงเรียนของหยกคือให้ผู้ปกครอง (มารดา) ของหยกเป็นผู้พาหยกมามอบตัว แต่หยกไม่ดำเนินการตามเงื่อนไข จึงไม่มีสภาพเป็นนักเรียน หลังจากนั้นหยกได้ทำการปีนรั้วเข้าไปโรงเรียนเพื่อเข้าไปเรียน โดยในวันที่ 19 มิถุนายนที่ผ่านมา มีตำรวจกองร้อยน้ำหวานนอกเครื่องแบบกว่า 10 ราย เข้าไปโรงเรียนในวันดังกล่าวด้วย และล่าสุดในวันที่ 20 มิถุนายน มีผู้ใช้โซเชียลแชร์คลิปผู้หญิงคนหนึ่งที่ออกมาแสดงความคิดเห็นในกรณีของหยก พร้อมข้อความระบุว่าผู้หญิงคนนี้เป็น “แม่หยก” โดยคลิปพร้อมข้อกล่าวอ้างนี้ได้แพร่กระจายบนโซเชียลมีเดียอย่างเป็นวงกว้าง Source | […]

Continue Reading

ข้อกล่าวอ้าง “ประยุทธ์เป็นประธานยุทธศาสตร์ชาติถึงปี 70” ชวนให้เข้าใจผิด

หลังจากพรรคก้าวไกลชนะการเลือกตั้ง และประกาศจัดทำ MOU กับว่าที่พรรคร่วมรัฐบาลทั้ง 8 พรรค เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคมที่ผ่านมา ซึ่งถือเป็นวันครบรอบการทำรัฐประหาร นำโดยพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา อีกด้วย และต่อมาในวันที่ 23 พฤษภาคม ก็มีการโพสต์ข้อกล่าวอ้างว่าพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา จะนั่งเก้าอี้ประธานยุทธศาสตร์ชาติจนถึงปี 2570 ข้อกล่าวอ้างบนโซเชียลมีเดีย ผู้ใช้เฟซบุ๊กได้แชร์ว่า พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา จะดำรงตำแหน่งประธานยุทธศาสตร์ชาติ และมีอำนาจเหนือรัฐบาลและเหนือนายกคนใหม่ จนถึงปี พ.ศ. 2570 โดยระบุในโพสต์ว่า: “#ThailandToStrong 👍🇹🇭💪 #ยุทธศาสตร์ชาติ20ปี ทรงโปรดเกล้าฯแต่งตั้งคณะกรรมการ วางรากฐานโครงสร้างเพื่ออนาคตลูกหลานไทย 2561-2580 มีลุงตู่เปนประธาน ควบคุมรัฐบาลชุดต่อๆไปจ้ะ! #ลุงตู่ทำต่อไม่รอล้ะน้ะ! #มาเหนือเมฆ ✌️🇹🇭💙 ลุงตู่มีอำนาจเต็ม เหนือกว่านายกคนใหม่สะด้วย ถ้านายกไม่ปฎิบัติตามแผนยุทธศาสตร์ชาติ สามารถส่งเรื่องให้ ปปช สอยได้เลย เเละสามารถยุบการบริหารงานของรัฐบาลได้ทั้งหมด ที่ไม่ปฎิบัติตามคำสั่งของประธานยุทธศาสตร์ชาติตั้งแต่2566-2570 อ่านแล้ว เคลียใจจัง แก้ไข ได้ แต่ยกเลิก ไม่ได้” […]

Continue Reading

สวีเดนไม่ได้ประกาศให้ ”เซ็กซ์เป็นกีฬา”

การแสดงออกเรื่องเพศยังคงถือเป็นเรื่องต้องห้ามในบางพื้นที่ของโลก โดยเฉพาะประเทศในเอเชีย ในกรณีนี้ สำนักข่าวและเพจข่าวหลายแห่งได้รายงานว่าสวีเดนมีวางแผนที่จะผลักดันเซ็กซ์ให้เป็นกีฬา และเตรียมจัดแข่งขันในรูปแบบเดียวกับการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก ข่าวดังกล่าวจึงมีแชร์อย่างแพร่หลายบนโซเชียลอย่างรวดเร็ว ข้อความบนโซเชียลมีเดีย เพจเฟซบุ๊ก “Thairath Sport – ไทยรัฐสปอร์ต” ได้โพสต์ข่าวดังกล่าวพร้อมข้อความว่า “ “สมาพันธ์เซ็กซ์สวีเดน” เตรียมจัดแข่งรูปแบบโอลิมปิก หวังผลักดันเป็นกีฬา มีเกณฑ์ตัดสิน เปิดให้สาธารณะโหวตจากถ่ายทอดสด” Source | Archive และสำนักข่าวผู้จัดการ ก็ได้เผยแพร่ข่าวดังกล่าว พร้อมพาดหัว “สวีเดน บรรจุ “เซ็กซ์” เป็นกีฬามีจัดเเข่งขัน รวมถึงชิงเเชมป์ยุโรป” Source | Archive ผู้ใช้โซเชียลมีเดียบางส่วนก็ได้แสดงความไม่พอใจต่อกรณีดังกล่าว และเห็นว่าเป็นเรื่องไม่เหมาะสม Source | Archive นอกจากนี้สื่อต่างประเทศ โดยเฉพาะในประเทศอินเดียหลายๆ แห่ง เช่น Times of India, Hindustan Times, News18, และ India Today, ก็ได้รายงานข่าวนี้เช่นเดียวกัน ตรวจสอบข้อเท็จจริง เราได้ดำเนินการตรวจสอบว่ามีการรายงานการแข่งขันดังกล่าวในสวีเดนจากสื่อต่างประเทศหรือไม่ แม้ว่าสื่อไทยและสื่ออินเดียจะรายงานข่าวนี้ […]

Continue Reading

ดอกกล้วยไม้เป็ดบิน มีอยู่จริงหรือไม่?

ความสวยงามของธรรมชาติสร้างความประหลาดใจให้เราได้เสมอ โดยไม่นานมานี้ เราพบว่ามีภาพดอกไม้ที่มีลักษณะคล้ายกับเป็ดแพร่กระจายบนโซเชียลมีเดีย โดยระบุว่าเป็นภาพของ “ดอกกล้วยไม้เป็ดบิน” ข้อกล่าวอ้างบนโซเชียลมีเดีย เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ผู้ใช้เฟซบุ๊กรายหนึ่งได้โพสต์ภาพกล้วยไม้นี้ลงในกลุ่มเฟซบุ๊ก “ภาพดอกไม้สวยๆ … และน่ารักๆ” Source | Archive โดยภาพดังกล่าวมีผู้แสดงความคิดเห็นแล้วกว่าสามร้อยครั้ง โดยหลายคนก็ได้ชื่นชมความสวยงามของดอกไม้ในภาพดังกล่าว รวมถึงมีการกดถูกใจกว่าแปดพันครั้ง และแชร์ต่อกว่าห้าร้อยครั้ง นอกจากนี้ เรายังพบรูปภาพดังกล่าวแพร่กระจายบนเฟซบุ๊ก โดยระบุว่าภาพดังกล่าวเป็นภาพของ “ดอกกล้วยไม้เป็ดบิน” และข้อกล่าวอ้างภาพดังกล่าวยังมีการเผยแพร่ในภาษาอังกฤษด้วยเช่นเดียวกัน Source | Archive อย่างไรก็ตาม เราพบว่าภาพดังกล่าวไม่ใช่ภาพของดอกกล้วยไม้เป็ดบิน แต่มีความเป็นไปได้ว่าเป็นภาพที่สร้างขึ้นโดย AI และอาจชวนให้เข้าใจผิดได้ ตรวจสอบข้อเท็จจริง เราได้ทำการค้นหาที่มาของรูปภาพโดยใช้ฟีเจอร์ Reverse Image Search และเราพบว่ากล้วยไม้ในภาพมีอยู่จริง อย่างไรก็ตาม กล้วยไม้เป็ดบินจะไม่มีส่วนที่คล้ายกับบริเวณดวงตาของเป็ดดังในภาพที่กล่าวอ้าง ชื่อของกล้วยไม้ชนิดนี้คือ Flying Duck Orchid (Caleana major) กล้วยไม้ที่ดูแปลกตาพันธุ์นี้มีถิ่นกำเนิดในออสเตรเลียและเป็นที่รู้จักจากรูปร่างที่แปลกประหลาดที่ดูคล้ายกับรูปร่างของเป็ดกำลังโผบิน Photo Credit: Bill Higham Caleana major หรือที่เรียกกันทั่วไปว่ากล้วยไม้เป็ดบิน (Flying Duck […]

Continue Reading

สี จิ้นผิง สั่งให้นำคำสอนในหลวง ร.9 บรรจุลงหลักสูตรที่จีน จริงหรือไม่?

เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา เราพบว่ามีการนำภาพคำสอนของในหลวงรัชกาลที่ 9 พร้อมคำสอนในภาษาไทย และเวอร์ชันแปลเป็นภาษาจีน เผยแพร่ในโซเชียลมีเดีย พร้อมข้อกล่าวอ้างว่า ประธานาธิบดี สี จิ้นผิง ของประเทศจีน ได้สั่งให้นำคำสอนของในหลวงรัชกาลที่ 9 ลงในหนังสือเรียนสำหรับนักเรียนจีน ข้อกล่าวอ้างบนโซเชียลมีเดีย จากที่เราได้รับเบาะแสผ่านทางไลน์ตรวจสอบข้อเท็จจริงของเรา ระบุว่า “สี จิ้น ผิง กำหนดให้ ” คำสอนของพ่อ ” บรรจุในหนังสือเรียน สำหรับสอน เด็กนักเรียนจีน ทั้งประเทศ“ Archive และเมื่อดำเนินการตรวจสอบเพิ่มเติม เราพบว่าข้อกล่าวอ้างดังกล่าวได้แพร่กระจายบนเฟซบุ๊กเช่นเดียวกัน Source | Archive โดยโพสต์ดังกล่าวมีการแชร์ต่อกว่าหกพันครั้ง อย่างไรก็ตาม หลังจากดำเนินการตรวจสอบ เราพบว่าข้อกล่าวอ้างดังกล่าวนั้นเป็นข้อมูลที่ชวนให้เข้าใจผิด ตรวจสอบข้อเท็จจริง เราได้ทำการตรวจสอบใช้ฟีเจอร์ Reverse Image Search เพื่อหาที่มาของรูปภาพดังกล่าว และพบว่าเริ่มมีการแชร์รูปภาพดังกล่าวบนโซเชียลตั้งแต่ปี 2017 ในช่วงเดือนตุลาคม ซึ่งเป็นช่วงครบรอบหนึ่งปีการสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 โดย Fact Crescendo ได้ติดต่อไปยังศูนย์การศึกษานักศึกษานานาชาติ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม เพื่อสอบถามเพิ่มเติมเกี่ยวกับที่มาของภาพ […]

Continue Reading

ภาพฟุตเทจเจ้าหน้าที่ กกต. กาบัตรเลือกตั้งเอง จริงหรือไม่?

ในช่วงก่อนเลือกตั้งและช่วงนับคะแนน ประชาชนต่างจับตากกต. หรือสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง เป็นพิเศษ โซเชียลต่างตั้งข้อสงสัยและแสดงความไม่พอใจกับวิธีการดำเนินการของกกต. ในช่วงที่ผ่านมา และล่าสุด เราพบข้อกล่าวอ้างบนโซเชียลที่ระบุว่าเจ้าหน้าที่ของ กกต. กาบัตรเลือกตั้งจำนวนมากกันเอง ข้อกล่าวอ้างบนโซเชียลมีเดีย มีผู้ใช้โซเชียลมีเดียโพสต์วิดีโอที่ระบุว่าเป็นเจ้าหน้าที่ของ กกต. กำลังกาบัตรเลือกตั้ง พร้อมคำบรรยายในโพสต์ว่า: “เจ้าหน้าที่กกต . โกงสนั่น กาแบบดุดันไม่เกรงใจใครเลยจร้าาา ช่วยด้วย ช่วยเผยแพร่คลิปนี้ ให้ถึงฝ่ายประชาธิปไตย ทุกคน รับคำสั่งใครมา ประชาชนเห็นนะ จากกล้องวงจรปิด เห็นหน้าชัดมากนะ ผมไปสืบประวัติ โดยใช้ AI ตรวจเจอหมดทุกคน เป็นเจ้าหน้าที่ กกต จริง” Source | Archive โดยวิดีโอดังกล่าวมีการรับชมไปกว่าสองพันครั้ง รวมถึงมีการแชร์ต่อทั้งบนเฟซบุ๊ก ทวิตเตอร์ และติ๊กต็อก อย่างไรก็ตาม กกต. ได้ออกมาแถลงแล้วว่าข้อกล่าวอ้างดังกล่าวไม่เป็นความจริงแต่อย่างใด กกต. ชี้แจง ในคลิปไม่ใช่บัตรเลือกตั้ง แต่เป็น “หน้าปกเล่มบัตรเลือกตั้ง” ในวันที่ 11 พฤษภาคม สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ได้โพสต์ชี้แจงบนเพจเฟซบุ๊กอย่างเป็นทางการของหน่วยงาน โดยระบุว่า […]

Continue Reading

ข้อกล่าวอ้างว่าพิธาไม่ได้จบจากฮาร์วาร์ด “ชวนให้เข้าใจผิด”

Picture Credit: ATHIT PERAWONGMETHA | REUTERS แม้ศึกการเลือกตั้งครั้งใหญ่จะผ่านพ้นไปแล้ว แต่การสร้างข่าวปลอมมาโจมตีฝ่ายตรงข้ามนั้นยังคงดำเนินต่อไป ล่าสุด มีข้อกล่าวอ้างที่กำลังแพร่กระจายบนโซเชียลมีเดีย ระบุว่า พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรคก้าวไกล ไม่ได้จบจากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด  ข้อกล่าวอ้างบนโซเชียลมีเดีย เพจเฟซบุ๊ก The CULTURAL ได้โพสต์ข้อความว่า “ ‘เรืองไกร’พรรค พปชร. ตรวจสอบประวัติ’พิธา’ไม่พบชื่อในทำเนียบ Harvard จี้ถามจบฮาฮาร์วาร์ดไหน…!” Source | Archive สืบเนื่องจากนายเรืองไกร ลีกิจวัฒนะ สมาชิกพรรคพลังประชารัฐ ได้ยื่นหนังสือต่อ กกต. ให้ตรวจสอบนายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวกน้าพรรคก้าวไกล กรณีการถือครองหุ้นสื่อ บริษัทไอทีวี จำกัดมหาชน นอกจากนี้เรืองไกร ยังได้ตั้งข้อสงสัยเกี่ยวกับวุฒิการศึกษาของพิธา โดยได้กล่าวว่า มีคนทักมาจากสหรัฐอเมริกา ที่นายพิธาระบุว่าจบจากฮาร์วาร์ด นั้นเป็นฮาร์วาร์ด ยูนิเวอร์ซิตี้ หรือฮาร์วาร์ดแคเนดี้ ซึ่งอันหนึ่งเป็นมหาวิทยาลัย ส่วนอีกแห่งไม่ใช่ เป็นเหมือนสถานศึกษาอะไรสักอย่าง ซึ่งตนได้รับทราบจากศิษย์เก่ามหาวิทยาฮาร์วาร์ดเมื่อ 2-3 วันที่ผ่านมาเพราะเขาสงสัย จึงไปค้นในทำเนียบรุ่น จึงอยากทราบว่าข้อเท็จจริงคืออะไร (อ่านข่าวที่นี่) โดยเราพบข้อกล่าวอ้างในลักษณะเดียวกันเผยแพร่บนเฟซบุ๊กอีกด้วย […]

Continue Reading