เหตุการณ์ความไม่สงบระหว่างอิสราเอลและกลุ่มฮามาสยังคงดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง โดยล่าสุดมีรายงานว่าเจ้าหน้าที่ของอิสราเอลบุกจู่โจมค่ายผู้ลี้ภัยเจนิน ในเขตเวสต์แบงก์แล้ว (อ่านข่าวที่นี่)

และนอกจากนี้ เรายังพบวิดีโอแพร่กระจายบนโซเชียลมีเดีย โดยอ้างว่าเป็นวิดีโอปลอมเป็นศพของกลุ่มฮามาส

โพสต์บนโซเชียลมีเดีย

ผู้ใช้ Twitter (X) รายหนึ่งได้โพสต์วิดีโอพร้อมข้อความกำกับว่า “ศพของฮามาสลืมตาได้”

Source | Archive

และเรายังพบวิดีโอที่คล้ายคลึงกัน พร้อมข้อกล่าวอ้างว่าเป็นวิดีโอที่จัดฉากเป็นศพของกลุ่มฮามาส พร้อมคำบรรยายวิดีโอว่า “อัลเลาะห์อวยพร ศพฮามาสตายแล้วแต่ขยับได้ #Israel #ฮามาส #อิสราเอลฮามาส #ปาเลสไตน์”

Source | Archive

ตรวจสอบข้อเท็จจริง

วิดีโอที่ 1: วิดีโอจากประเทศมาเลเซียที่เผยแพร่ตั้งแต่เดือนสิงหาคม

เราได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงโดยใช้ฟีเจอร์ Reverse Image Search ค้นหาที่มาของวิดีโอดังกล่าวและพบทวีตของ Shayan Sardarizadeh นักข่าวของ BBC Verify ที่โพสต์ชี้แจงว่าวิดีโอดังกล่าว แท้จริงแล้วมีการเผยแพร่ตั้งแต่เดือนสิงหาคม โดยเป็นวิดีโอถ่ายในมัสยิดแห่งหนึ่งในประเทศมาเลเซีย

Archive

วิดีโอต้นฉบับใน TikTok

Source | Archive

วิดีโอที่ 2: วิดีโอการประท้วงในอียิปต์ตั้งแต่ 10 ปีที่แล้ว

เราได้ตรวจสอบวิดีโอดังกล่าวและพบว่าเป็นวิดีโอเหตุการณ์จากเมื่อเดือนตุลาคม ปี 2013 ที่ Al-Azhar University ในประเทศอียิปต์ และได้ทำการตรวจสอบข้อเท็จจริงวิดีโอดังกล่าวในเวอร์ชันภาษาอังกฤษไว้เช่นกัน โดยสามารถอ่านได้ที่นี่

โดยสื่อระดับโลกอย่าง Reuters และ BBC ก็ได้รายงานเหตุการณ์ดังกล่าวด้วยเช่นเดียวกัน

สรุป

วิดีโอที่กล่าวอ้างว่าเป็นศพปลอมจากเหตุการณ์ความไม่สงบระหว่างอิสราเอลและกลุ่มฮามาสที่แพร่กระจายบนโซเชียลมีเดีย เป็นวิดีโอที่ไม่ได้เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ดังกล่าวแต่อย่างใด โดยวิดีโอต้นฉบับเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในประเทศมาเลเซียและอียิปต์

ติดตามช่องทางอื่นๆ ของเรา เพื่อไม่ให้พลาดทุกข้อเท็จจริง

Facebook | Twitter | Instagram | LINE | TikTok

Avatar

Title:วิดีโอในอดีตที่ไม่เกี่ยวข้องถูกนำมาแอบอ้างว่าเป็นการจัดฉากศพปลอมของฮามาส

Written By: Cielito Wang

Result: Misleading