เมื่อไม่นานมานี้ มีภาพลักษณะคล้ายภาพจากกล้องวงจรปิดภาพหนึ่งแพร่กระจายอย่างกว้างขวางบนโซเชียลมีเดีย โดยมีการรับชมบนแพลตฟอร์ม X ไปกว่าสองล้านครั้ง

โพสต์บนโซเชียลมีเดีย

เมื่อวันที่ 23 มีนาคมที่ผ่านมา ผู้ใช้แพลตฟอร์ม X (Twitter) ได้โพสต์ภาพช้างปีนต้นไม้ ซึ่งถ่ายได้จากกล้องวงจรปิด โดยโพสต์ดังกล่าวมีการรับชมไปกว่า 2.9 ล้านครั้ง และรีโพสต์ไปกว่า 57,000 ครั้ง

Source | Archive

นอกจากนี้ภาพดังกล่าวยังแพร่กระจายบน Facebook และ Instagram อีกด้วย

Source | Archive

Source | Archive

อย่างไรก็ตาม หลังจากดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริง เราพบว่าภาพดังกล่าวไม่ใช่ภาพจริงแต่อย่างใด

ตรวจสอบข้อเท็จจริง

เราได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงโดยการใช้ฟีเจอร์การค้นหารูปภาพแบบย้อนกลับ (Reverse Image Search) เพื่อทำการหาที่มาของภาพ และพบว่าแท้จริงแล้วภาพดังกล่าวเป็นภาพที่สร้างโดยใช้ Dall-E 3 ซึ่งเป็นโปรแกรมสร้างรูปภาพจาก AI โดยผู้สร้างรูปภาพได้โพสต์ภาพดังกล่าวในกลุ่ม AI CREATIVES THAILAND บน Facebook

Source | Archive

โดยผู้สร้างรายดังกล่าวก็ได้สร้างรูปภาพลักษณะคล้ายภาพจากกล้องวงจรปิดและโพสต์บนกลุ่มเป็นจำนวนมาก โดยแต่ละโพสต์ก็ได้รับความสนใจและมีการแชร์ออกไปเป็นจำนวนมาก

Archive

Archive

Archive

สรุป

ภาพที่แพร่กระจายบนโซเชียลมีเดียที่คล้ายภาพจากกล้องวงจรปิดของช้างปีนต้นไม้ ไม่ใช่ภาพจริง แต่เป็นภาพที่สร้างขึ้นด้วย AI

ติดตามช่องทางอื่นๆ ของเรา เพื่อไม่ให้พลาดทุกข้อเท็จจริง

Facebook | Twitter | Instagram | LINE | TikTok | WhatsApp

Avatar

Title:ภาพไวรัล ‘ช้างปีนต้นไม้’ ไม่ใช่ภาพถ่ายจริงจากกล้องวงจรปิด

Fact Check By: Cielito Wang

Result: False