ภาพแปรอักษร ‘BRING THEM HOME NOW’ ไม่ได้มาจากงานโอลิมปิกครั้งล่าสุดที่ปารีส

เมื่อไม่นานมานี้ มีภาพของนักกีฬาว่ายน้ำแปรอักษรในสระว่ายน้ำเป็นข้อความว่า “BRING THEM HOME NOW!” แพร่กระจายเป็นวงกว้างบนโซเชียลมีเดีย พร้อมข้อความที่ระบุว่าเป็นภาพเหตุการณ์จากงานโอลิมปิกที่กรุงปารีสครั้งล่าสุด พร้อมอ้างว่าเป็นภาพของนักกีฬาว่ายน้ำทีมชาติอิสราเอล โพสต์บนโซเชียลมีเดีย เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา มีผู้ใช้โซเชียลมีเดียได้โพสต์ภาพนักกีฬาว่ายน้ำแปรอักษรเป็นคำว่า “BRING THEM HOME NOW!” พร้อมข้อความบรรยายภาพว่า “ทีมว่ายน้ำทีมชาติอิสราเอลที่ไปเข้าแข่งโอลิมปิกนั้นไม่ได้รับอนุญาตให้ติดเข็มกลัด Bring Them Home เข้าไปในงานโอลิมปิก ทำให้พวกเขาได้ทำการแปรอักษรในสระว่ายน้ำแทน” ที่มา | ลิงก์ถาวร นอกจากนี้ เรายังพบข้อกล่าวอ้างพร้อมภาพเดียวกันแพร่กระจายในบริบทภาษาอังกฤษด้วยเช่นเดียวกัน ที่มา | ลิงก์ถาวร อย่างไรก็ตาม เราพบว่าข้อกล่าวอ้างดังกล่าวไม่เป็นความจริงแต่อย่างใด ตรวจสอบข้อเท็จจริง เราได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงโดยการใช้ฟีเจอร์การค้นหารูปภาพแบบย้อนกลับ (Reverse Image Search) และพบรูปภาพดังกล่าวบนเพจ Facebook ของกระทรวงการต่างประเทศอิสราเอล ที่โพสต์ไว้ตั้งแต่เมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน 2023 พร้อมคำบรรยายที่ระบุว่า “ภาพนักกีฬาระบำใต้น้ำทีมชาติของอิสราเอล ได้แปรอักษรอย่างสวยงามเพื่อแสดงความเคารพแก่ตัวประกันทั้ง 240 คนที่ถูกกลุ่มก่อการร้ายฮามาสจับตัวไว้ในฉนวนกาซา” ลิงก์ถาวร โดยในโพสต์ดังกล่าวได้มีการให้เครดิตภาพแก่ Adam Spiegel และ […]

Continue Reading

วิดีโอที่อ้างว่า Temple Mount ถูกเผา “ชวนให้เข้าใจผิด”

เมื่อไม่นานมานี้ มีวิดีโอแพร่กระจายบนโซเชียลมีเดีย พร้อมข้อกล่าวอ้างว่าเป็นวิดีโอเหตุการณ์เมื่อเร็วๆ นี้ ที่ชาวอิสราเอลโห่ร้องและเฉลิมฉลองขณะที่มีการเผาวิหาร โดยวิดีโอพร้อมข้อความดังกล่าวได้แพร่กระจายบนแพลตฟอร์มออนไลน์ต่างๆ โพสต์โซเชียลมีเดีย เมื่อวันที่ 2 มิถุนายนที่ผ่านมา มีผู้ใช้ Facebook ได้แชร์วิดีโอพร้อมข้อความว่า “กลุ่มไซออนิสต์ร้องและเต้นรำกันขณะที่ Temple Mount ถูกเผา!” Source | Archive โดยเราพบว่าวิดีโอดังกล่าวได้แพร่กระจายอย่างกว้างขวางบนแพลตฟอร์ม X (Twitter) ด้วยเช่นกัน Source | Archive อย่างไรก็ตาม เราพบว่าวิดีโอดังกล่าวไม่ใช่วิดีโอจากเหตุการณ์เมื่อเร็วๆ นี้แต่อย่างใด ตรวจสอบข้อเท็จจริง จากการตรวจสอบข้อเท็จจริงโดยการใช้ฟีเจอร์ Reverse Image Search จากคีย์เฟรมของวิดีโอดังกล่าวเพื่อค้นหาที่มาของวิดีโอ เราพบว่าวิดีโอนี้เป็นเหตุการณ์ตั้งแต่เมื่อปี 2021 โดยเป็นเหตุการณ์ที่ชาวยิวในอิสราเอลรวมตัวกันที่ Temple Mount และร่วมร้องเพลงต่อต้านปาเลสไตน์ อย่างไรก็ตาม ไม่ได้มีการเผา Temple Mount ดังในข้อกล่าวอ้าง โดยจุดที่เกิดไฟไหม้คือบริเวณต้นไม้หลังวิหาร ซึ่งมีการรายงานว่าถูกเผาโดยผู้ประท้วงชาวปาเลสไตน์ที่โยนพลุเข้าไปในบริเวณนั้น อย่างไรก็ตาม วิหารไม่ได้รับความเสียหายจากเหตุการณ์นี้แต่อย่างใด (ที่มา: BBC, Reuters) สรุป […]

Continue Reading

วิดีโอไวรัลเหตุการณ์พยายามลอบสังหารปธน.ปาเลสไตน์ เป็นข้อมูลที่ชวนให้เข้าใจผิด

คำเตือน: บทความนี้มีวิดีโอที่แสดงออกถึงความรุนแรง โปรดใช้วิจารณญาณในการอ่าน เหตุการณ์ความไม่สงบในอิสราเอลและปาเลสไตน์ครั้งล่าสุดได้ดำเนินมากว่าหนึ่งเดือนแล้ว และในขณะที่สถานการณ์กำลังทวีความรุนแรงขึ้น เราพบข้อกล่าวอ้างที่ระบุว่ามีเหตุการณ์พยายามลอบสังหารประธานาธิบดีปาเลสไตน์ในสัปดาห์ที่ผ่านมา โพสต์บนโซเชียลมีเดีย เมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายนที่ผ่านมา มีวิดีโอแพร่กระจายพร้อมข้อกล่าวอ้างว่าเป็นเหตุการณ์การพยายามลอบสังหารนาย Mahmoud Abbas ประธานาธิบดีปาเลสไตน์ โดยมีหน่วยอารักขาเสียชีวิต 1 ราย โดยเราพบวิดีโอพร้อมข้อกล่าวอ้างดังกล่าวแพร่กระจายทั้งบน Facebook และ X (Twitter) Source | Archive Source | Archive โดยล่าสุดวิดีโอเดียวกันพร้อมข้อกล่าวอ้างในภาษาอังกฤษมีการรับชมไปแล้วกว่าสามล้านครั้ง Source | Archive ตรวจสอบข้อเท็จจริง เราได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงโดยใช้โปรแกรม Invid – WeVerify เพื่อวิเคราะห์คีย์เฟรมจากวิดีโอ จากนั้นใช้ฟีเจอร์ Reverse Image Search เพื่อค้นหาที่มาของวิดีโอ และเราพบบทความจาก The Palestine Chronicle และ France 24 ที่ได้ตรวจสอบและหักล้างข้อกล่าวอ้างข้างต้น อ้างอิงจากเว็บไซต์ France 24 วิดีโอดังกล่าวถูกโพสต์เมื่อวันที่ […]

Continue Reading

กระทรวงต่างประเทศยืนยัน ไม่มีแรงงานไทยไปรับจ้างเป็นทหารของอิสราเอล ตามข้อกล่าวอ้างในโซเชียล

เมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน นายปานปรีย์ พหิทธานุกร รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศ กล่าวถึงการช่วยเหลือแรงงานไทย อิสราเอลว่า ล่าสุดมีผู้เสียชีวิต 34 คน บาดเจ็บ 18 คน ถูกควบคุมตัว 24 คน ขณะนี้กำลังรอฟังข่าวดี แต่ยอมรับว่าในประเทศอิสราเอลมีการปฏิบัติการค่อนข้างหนักในฉนวนกาซา สำหรับตัวเลขแรงงานไทยในอิสราเอล จากที่ได้รับรายงาน เดิมมีประมาณ 30,000 คน กลับมาแล้วประมาณ 8,000 คน ยังอยู่ที่อิสราเอลอีกเป็นหมื่นคน แต่อยู่ในพื้นที่ที่ปลอดภัย (อ่านข่าวที่นี่) อย่างไรก็ตาม ล่าสุด เราพบข้อกล่าวอ้างว่ามีแรงงานไทยไปรับจ้างเป็นทหารอิสราเอล แพร่กระจายอยู่บนโซเชียลมีเดีย โพสต์บนโซเชียลมีเดีย ในวันที่ 4 พฤศจิกายน มีผู้ใช้ Facebook รายหนึ่งได้โพสต์ภาพของตนขณะปฏิบัติหน้าที่เป็นทหารในอิสราเอล พร้อมเตือนให้ชาวไทยในอิสราเอลดูแลตนเองและปฏิบัติตามคำสั่งทางการอยู่เสมอ Source | Archive และหลังจากนั้นก็มีผู้ใช้หลายรายที่แชร์ภาพและโพสต์ของบุคคลดังกล่าว พร้อมระบุว่าเป็นแรงงานไทยที่ไปรับจ้างเป็นทหารให้กับอิสราเอล กระทรวงต่างประเทศชี้แจง ไม่มีแรงงานไทยรับจ้างเป็นทหารในอิสราเอล จากรายงานข่าวของไทยรัฐออนไลน์ ได้รายงานว่า ตามที่ได้มีกระแสข่าวในโลกโซเชียลว่า มีแรงงานไทยไปเป็นทหารให้แก่ฝ่ายอิสราเอลในช่วงสถานการณ์อิสราเอล-กาซานั้น กระทรวงการต่างประเทศได้รับรายงานจากสถานเอกอัครราชทูต ณ […]

Continue Reading

วิดีโอและภาพของ Bella Hadid ที่แสดงจุดยืนสนับสนุนอิสราเอลถูกตัดต่อ

ข้อมูลที่ไม่ถูกต้องเกี่ยวกับความขัดแย้งระหว่างอิสราเอลและปาเลสไตน์ที่แพร่กระจายบนโซเชียลมีเดียกลายเป็นประเด็นที่น่ากังวล เรื่องราวที่เป็นเท็จและข้อมูลที่ถูกบิดเบือนมักจะแพร่กระจายอย่างรวดเร็ว นำไปสู่ความเข้าใจผิดๆ ล่าสุด มีวิดีโอที่กล้าวอ้างว่าเป็น Bella Hadid นางแบบระดับโลกเชื้อสายปาเลสไตน์-ดัตช์ ออกมากล่าวสนับสนุนชาวอิสราเอล รวมถึงรูปภาพที่เธอสวมใส่เดรสที่มีลายธงชาติอิสราเอลแพร่กระจายบนโซเชียลมีเดีย โพสต์บนโซเชียลมีเดีย เมื่อวันที่ 29 ตุลาคม ผู้ใช้ Twitter (X) รายหนึ่ง ได้โพสต์วิดีโอที่มีใบหน้าของ Bella Hadid พร้อมคำบรรยายในทวีตว่า “Bella Hadid สนับสนุนอิสราเอล” (Bella Hadid stands with Israel.) โดยในวิดีโอ เธอได้กล่าวว่าเธอขอโทษต่อจุดยืนที่เธอเคยแสดงในอดีต และตอนนี้เธอสนับสนุนอิสราเอล Source | Archive โดยวิดีโอดังกล่าวมีการรับชมไปกว่า 10 ล้านครั้ง และมีการแชร์ต่อไปยัง Facebook ด้วยเช่นเดียวกัน Source | Archive นอกจากนี้ เรายังพบรูปภาพของ Bella Hadid ที่สวมชุดที่มีลายธงชาติอิสราเอลแพร่กระจายอยู่บน Facebook เช่นเดียวกัน Source | Archive […]

Continue Reading

โพสต์แอบอ้างเป็นหน่วย IDF ยอมรับว่าเป็นฝ่ายโจมตีโรงพยาบาลในฉนวนกาซา “เป็นเท็จ”

ความขัดแย้งที่กำลังดำเนินอยู่ระหว่างอิสราเอลและปาเลสไตน์ยังคงครองพื้นที่สื่อ และเป็นประเด็นที่ผู้คนทั่วโลกให้ความสนใจมากที่สุดในขณะนี้ และเช่นเดียวกับเหตุการณ์ความรุนแรงครั้งที่ผ่านมา มีเนื้อหาไวรัลเกี่ยวกับความขัดแย้งจำนวนมากที่เป็นข้อมูลที่ชวนให้เข้าใจผิดหรือเป็นเท็จ ประเด็นความขัดแย้งของอิราเอลและปาเลสไตน์ถือเป็นข้อพิพาทที่ซับซ้อนและมีความละเอียดอ่อน ดังนั้นผู้อ่านควรใช้วิจารณญาณในการรับข้อมูลต่างๆ ที่พบเห็นออนไลน์ และตรวจสอบความถูกต้องก่อนแชร์ออกไป พบข่าวที่น่าสงสัยว่าเป็นข่าวปลอม/ข้อมูลเท็จ ส่งให้เราตรวจสอบได้ที่นี่ โพสต์บนโซเชียลมีเดีย ผู้ใช้โซเชียลมีเดียหลายรายได้แชร์โพสต์จากเพจ Facebook ที่ระบุว่าเป็นเพจของกองกำลังป้องกันประเทศอิสราเอล (Israel Defense Forces: IDF) ที่โพสต์ยอมรับว่า IDF เป็นผู้โจมตีโรงพยาบาลในฉนวนกาซาและขอรับผิดชอบต่อเหตุการณ์ดังกล่าว โดยแปลได้ว่า “เนื่องจากภาวะขาดแคลนอุปกรณ์และบุคลากรทางการแพทย์ จึงมีการตัดสินใจที่จะทิ้งระเบิดในโรงพยาบาลในกาซาเพื่อให้ผู้ป่วยในโรงพยาบาลพ้นจากทุกข์ทรมาน” Source | Archive Source | Archive ตรวจสอบข้อเท็จจริง บัญชีที่ไม่ใช้งาน: เพจ Facebook ที่กล่าวอ้างว่าเป็น “กองกำลังป้องกันประเทศอิสราเอล” ในภาษาอาหรับ ไม่ใช่บัญชีที่มีการใช้งานอยู่ โดยปกติแล้ว ข้อความแถลงการณ์และการสื่อสารอย่างเป็นทางการจาก IDF จะดำเนินการผ่านช่องทางโซเชียลมีเดียและเว็บไซต์อย่างเป็นทางการที่ได้รับการตรวจสอบยืนยันแล้ว ดังนั้นบัญชีที่ไม่มีการใช้งานและไม่ได้รับการยืนยันดังกล่าวจึงมีแนวโน้มสูงกว่าไม่ใช่บัญชีอย่างเป็นทางการขององค์กร รายงานจากแหล่งข่าวที่น่าเชื่อถือ: เราไม่พบรายงานข่าวจากแหล่งข่าวที่น่าเชื่อถือที่ยืนยันว่าโพสต์ดังกล่าวมาจาก IDF นอกจากนี้ สภาความมั่นคงแห่งชาติของสหรัฐประเมินว่า อิสราเอลไม่ได้เป็นฝ่ายทำให้โรงพยาบาลในกาซาถูกถล่มจนมีผู้เสียชีวิตจำนวนมากเมื่อวันที่ 17 ตุลาคม (ที่มา) แถลงการณ์อย่างเป็นทางการจาก IDF: IDF […]

Continue Reading

วิดีโอที่กล่าวอ้างว่าทหารอิสราเอลใช้มันหมูทากระสุน ไม่มีหลักฐานเพียงพอและชวนให้เข้าใจผิด

เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา มีวิดีโอไวรัลที่กล่าวอ้างว่าเป็นวิดีโอของทหารอิสราเอล หรือ IDF (Israel Defense Forces) นำมันหมูทาลงบนกระสุนที่ใช้สู้รบกับฝั่งฮามาส โพสต์บนโซเชียลมีเดีย ผู้ใช้ Twitter (X) ได้โพสต์วิดีโอที่อ้างว่าเป็นทหารอิสราเอล พร้อมข้อความภายในคลิปว่า  “ทหารอิสราเอล กำลังเอามันหมูมาทากระสุนปืน ปล.เค้าบอกว่าพวกฮามาสไม่กลัวถูกฆ่า แต่กลัวตนเองไม่บริสุทธิ์”  โดยล่าสุดวิดีโอดังกล่าวมีการรับชมไปแล้วกว่า 2 ล้านครั้ง Source | Archive และเราพบวิดีโอเดียวกันแพร่กระจายบนแพลตฟอร์ม TikTok อีกด้วย โดยมีการรับชมกว่า 1.2 ล้านครั้ง Source | Archive ตรวจสอบข้อเท็จจริง ไม่พบแหล่งที่มาที่น่าเชื่อถือ เราได้ทำการตรวจสอบและค้นหาที่มาของวิดีโอดังกล่าว แต่ก็ไม่พบแหล่งที่มาที่เชื่อถือได้ รวมถึงไม่มีการรายงานจากแหล่งข่าวที่น่าเชื่อถือเกี่ยวกับวิดีโอดังกล่าว หรือเกี่ยวกับข้อกล่าวอ้างว่าทหารอิสราเอลนำกระสุนทาลงบนมันหมูแต่อย่างใด อย่างไรก็ตาม เคยมีรายงานข่าวจาก Al Jazeera ในปี 2022 ว่ากลุ่มทหารชาวยูเครนได้ใช้มันหมูทากระสุนก่อนการสู้รบกับกลุ่มนักรบเชเชน ซึ่งเป็นชาวมุสลิมที่มารบช่วยกลุ่มทหารรัสเซีย โดยหน่วยกองกำลังแห่งชาติยูเครน หรือ National Guard of Ukraine ได้โพสต์วิดีโอลักษณะคล้ายคลึงกับวิดีโอข้างต้นลงบนบัญชีทวิตเตอร์ทางการของหน่วยงานเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2022 […]

Continue Reading

วิดีโอกลุ่มเด็กถูกขังในกรง ‘ไม่ใช่’ กลุ่มเด็กชาวอิสราเอลที่ถูกจับเป็นตัวประกัน

ท่ามกลางเหตุการณ์ความไม่สงบระหว่างอิสราเอลและปาเลสไตน์ มีผู้คนบริสุทธิ์มากมายที่ตกอยู่ในอันตรายและกำลังรอความช่วยเหลือ โดยมีโพสต์เกี่ยวกับกลุ่มบุคคลที่รอการช่วยเหลือมากมายในโซเชียลมีเดีย แต่เราพบว่าวิดีโอบางส่วนก็เป็นข้อมูลเท็จ โดยล่าสุด เราพบวิดีโอพร้อมข้อกล่าวอ้างว่ากลุ่มเด็กชาวอิสราเอลถูกกลุ่มฮามาสจับเป็นตัวประกัน และถูกขังอยู่ในกรง โพสต์บนโซเชียลมีเดีย ผู้ใช้ Instagram รายหนึ่งได้โพสต์วิดีโอกลุ่มเด็กเล็กที่โดนขังอยู่ในกรง พร้อมคำบรรยายภาพที่แปลได้ว่า “กลุ่มเด็กชาวอิสราเอลถูกกลุ่มฮามาสจับตัวไปและขังไว้ในกรง นี่เป็นการกระทำที่โหดร้ายมาก แต่จะคาดหวังอะไรจากพวกป่าเถื่อนได้ล่ะ #StandWithIsrael #UnitedAgainstTerror #WeStandWithIsrael #TerrorismMustStop #istandwithisrael” Source | Archive และยังพบวิดีโอดังกล่าวแพร่กระจายอยู่บน Twitter (X) เช่นเดียวกัน โดยวิดีโอดังกล่าวมีการรับชมไปกว่าหนึ่งแสนครั้ง และมีการแชร์ต่อบนแพลตฟอร์มอย่างกว้างขวาง Source | Archive ตรวจสอบข้อเท็จจริง เราได้ดำเนินการตรวจสอบหาที่มาของวิดีโอดังกล่าวโดยใช้ฟีเจอร์ Reverse Image Search และพบบทความจาก Snopes ที่ได้ตรวจสอบข้อเท็จจริงวิดีโอนี้ จากบทความดังกล่าว เราได้พบทวีตของเว็บไซต์ตรวจสอบข้อเท็จจริงในภาษาฮิบรูอย่าง FakeReporter.net ที่ได้ชี้แจงว่าวิดีโอดังกล่าวมีการเผยแพร่ก่อนเหตุการณ์โจมตีครั้งล่าสุดในอิสราเอล เมื่อวันที่ 7 ตุลาคมที่ผ่านมา Archive Archive แม้วิดีโอดังกล่าวจะไม่สามารถรับชมได้บน TikTok ต้นทางแล้ว แต่ Mazloum Fiba […]

Continue Reading

วิดีโอเก่าถูกนำมาแชร์ว่าเป็นเหตุการณ์ล่าสุดในอิสราเอลและปาเลสไตน์

เหตุการณ์ความขัดแย้งระหว่างอิสราเอลและปาเลสไตน์กลับมาอยู่ในความสนใจของทั้งโลกอีกครั้ง โดยเหตุการณ์ความรุนแรงที่เกิดขึ้น ทำให้มีมีโพสต์ไวรัลต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับความขัดแย้งครั้งนี้บนโซเชียลมีเดีย แต่เราพบว่าเนื้อหาบางอย่างนั้นเป็นเท็จหรือชวนให้เข้าใจผิด ข้อกล่าวอ้างที่ 1: วิดีโอพลร่ม มีผู้ใช้ TikTok ได้โพสต์วิดีโอด้านล่างพร้อมข้อกล่าวอ้างว่าเป็นวิดีโอของกลุ่มฮามาสขณะเข้าไปยังอิสราเอล โดยวิดีโอดังกล่าวมีการรับชมไปกว่า 4 ล้านครั้ง ที่มา | ลิงก์ถาวร ตรวจสอบข้อเท็จจริง เราได้ดำเนินการตรวจสอบโดยการค้นหารายงานข่าวเกี่ยวกับพลร่มในอิสราเอล แต่ก็ไม่พบรายงานจากแหล่งข่าวที่น่าเชื่อถือ นอกจากนี้ เราได้ใช้ฟีเจอร์การค้นหารูปภาพโดยใช้คีย์เฟรมจากวิดีโอดังกล่าว และพบทวีตของ Shayan Sardarizadeh นักข่าวจาก BBC ที่ได้ชี้แจงว่าคลิปวิดีโอดังกล่าวถ่ายขึ้นในกรุงไคโร ประเทศอียิปต์ ที่มา: Google Map ข้อกล่าวอ้างที่ 2: อิสราเอลปล่อยระเบิดในฉนวนกาซา ปาเลสไตน์ ที่มา | ลิงก์ถาวร ตรวจสอบข้อเท็จจริง เราพบว่าวิดีโอดังกล่าวแม้จะมาจากฉนวนกาซาตามข้อกล่าวอ้างจริง แต่เป็นวิดีโอเหตุการณ์เมื่อเดือนพฤษภาคม ไม่ใช่เหตุการณ์เมื่อเร็วๆ นี้แต่อย่างใด โดยเป็นเหตุการณ์ขณะที่กลุ่มติดอาวุธอิสราเอลและปาเลสไตน์ระดมยิงต่อเนื่อง โดยกลุ่มติดอาวุธญิฮาดอิสลามยิงจรวดมากกว่า 1,000 ลูก และทหารอิสราเอลโจมตีเป้าหมายในฉนวนกาซา โดยช่อง Voice of America ได้โพสต์วิดีโอนี้ในวันที่ 13 […]

Continue Reading