ภาพไวรัลจากเทศกาลสงกรานต์ เป็นภาพที่สร้างจาก AI

เทศกาลสงกรานต์ถือเป็นช่วงเวลาแห่งความสุขและความสนุกสนานของชาวไทย ภาพบรรยากาศในเทศกาลสงกรานต์จึงได้รับความสนใจและมีการแชร์ต่ออย่างแพร่หลาย ล่าสุด เราพบภาพไวรัลบนโซเชียลมีเดีย ที่ระบุว่าเป็นภาพจากเทศกาลสงกรานต์ที่ผ่านมานี้ โพสต์บนโซเชียลมีเดีย มีผู้ใช้ Facebook ได้โพสต์ภาพการเล่นสงกรานต์ในท่าผาดโผน ซึ่งได้รับความสนใจและแชร์ต่อเป็น Facebook และแพลตฟอร์มออนไลน์อื่นๆ เช่น X (Twitter) และ Instagram ที่มา | ลิงก์ถาวร ที่มา | ลิงก์ถาวร ที่มา | ลิงก์ถาวร นอกจากนี้ ยังมีภาพไวรัลที่อ้างว่าเป็นภาพนักแสดงต่างชาติอย่าง Robert Downey Jr., The Rock และ Tom Cruise มาร่วมฉลองเทศกาลสงกรานต์ที่ประเทศไทยอีกด้วย ที่มา | ลิงก์ถาวร อย่างไรก็ตาม เราพบว่าภาพจากทั้งสองเหตุการณ์ไม่ใช่ภาพจริง แต่เป็นภาพที่สร้างโดยใช้โปรแกรม AI ตรวจสอบข้อเท็จจริง เราได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงโดยการค้นหาที่มาของรูปภาพดังกล่าว และเราพบว่าภาพจากทั้งสองเหตุการณ์ข้างต้น เป็นภาพที่มาจากกลุ่ม AI CREATIVES THAILAND บน Facebook โพสต์ที่มา | […]

Continue Reading

โพสต์ไวรัลและภาพจาก AI เกี่ยวกับทีมนักแกะสลักหิมะของไทย ชวนให้เข้าใจผิด

เมื่อช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา ผู้ใช้โซเชียลมีเดียจำนวนมากได้แชร์ข้อความที่ระบุว่าทีมนักแกะสลักหิมะจากประเทศไทยได้ชนะการแข่งขันแกะสลักหิมะซัปโปโร (International Snow Sculpture) ที่เมืองซัปโปโร จังหวัดฮอกไกโด ประเทศญี่ปุ่น พร้อมรูปภาพการแกะสลักหิมะเป็นรูปพญานาค ข้อกล่าวอ้างบนโซเชียลมีเดีย ในวันที่ 15 กุมภาพันธ์ มีผู้ใช้โซเชียลรายหนึ่งได้โพสต์ภาพงานแกะสลักหิมะรูปพญานาค พร้อมข้อความว่า “ยินดีกับทีมแกะสลักหิมะไทยแลนด์ในการประกวดแข่งขันแกะสลักหิมะคว้าอันดับ1 ที่ Supporo snow Festival 2024, Japan. Snow Sculpture_Thai Naka Fireball” ที่มา | ลิงก์ถาวร โดยโพสต์ดังกล่าวมีการแชร์สองพันครั้ง และมีผู้กดถูกใจว่าสามหมื่นครั้ง นอกจากนี้เรายังพบข้อกล่าวอ้างเดียวกันแพร่กระจายในวงกว้างทั้งบน Facebook และ Tiktok (ดูโพสต์ได้ที่นี่ ที่นี่ และที่นี่) ตรวจสอบข้อเท็จจริง จากการตรวจสอบข้อมูล เราพบว่าในการแข่งขันแกะสลักหิมะซัปโปโรในปีนี้ ทีมชาติไทยได้รางวัลอันดับที่ 2 (รองชนะเลิศ) ไม่ใช่รางวัลอันดับ 1 ตามโพสต์ที่กล้าวอ้างแต่อย่างใด โดยทีมแกะสลักหิมะไทยได้นำเสนอผลงานที่ชื่อว่า “The Naga Fireballs” หรือ “บั้งไฟพญานาค” ที่สื่อถึงตำนานความเชื่อและวัฒนธรรมของไทย โดยตัวแทนทีมชาติไทยครั้งนี้ ประกอบด้วย นายกุศล บุญกอบส่งเสริม นายอำนวยศักดิ์ […]

Continue Reading

ภาพไวรัล ‘Dark Zuckerberg’ เป็นภาพที่สร้างจาก AI ไม่ใช่บุคคลจริง

เมื่อเร็วๆ นี้ เราพบภาพไวรัลของภาพชายผิวดำคนหนึ่งที่มีใบหน้าละม้ายคล้าย CEO ของ Facebook และเครือ Meta อย่าง Mark Zuckerberg เป็นอย่างมาก ซึ่งความเหมือนนี้ทำให้ภาพดังกล่าวการรับชมบนทวิตเตอร์ไปกว่าหลายล้านครั้ง ข้อกล่าวอ้างบนโซเชียลมีเดีย ผู้ใช้ X (Twitter) รายหนึ่งได้แชร์ภาพชายผิวดำรายหนึ่งที่มีใบหน้าคล้ายกับ Mark Zuckerberg พร้อมคำบรรยายภาพว่า “Dark Zuckerberg” โดยภาพดังกล่าวมีการรับชมบนแพลตฟอร์มไปกว่า 15 ล้านครั้ง Source | Archive นอกจากนี้เรายังพบภาพดังกล่าวถูกแชร์บน Facebook ทั้งในบริบทภาษาไทยและภาษาอังกฤษด้วยเช่นเดียวกัน Source | Archive Source | Archive ตรวจสอบข้อเท็จจริง เราดำเนินการตรวจสอบภาพดังกล่าวโดยการใช้ฟีเจอร์ Reverse Image Search และเราพบว่ามีผู้ใช้ Reddit ที่ใช้ชื่อว่า “rare_gianpaolo” ได้โพสต์รูปเดียวกันลงบนเว็บไซต์ พร้อมคำบรรยายแปลได้ว่า “Mark Zuckerberg ที่มาจากไนจีเรีย” โดยกระทู้ดังกล่าวอยู่ในหมวดหมู่ ‘เนื้อหาที่สร้างโดย AI’ […]

Continue Reading