กระทรวงดิจิทัลฯ แจง ข้อความ “ยกเลิกเงินดิจิทัล 10,000 บาท” เป็นข่าวปลอม

ในช่วงที่ผ่านมา มีข่าวลือเกี่ยวกับการยกเลิกโครงการเงินดิจิทัล 10,000 บาท แพร่กระจายอย่างรวดเร็วบนโซเชียลมีเดีย สร้างความสับสนให้กับประชาชนจำนวนมาก ท่ามกลางความคาดหวังต่อนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลชุดใหม่ ข้อกล่าวอ้างบนโซเชียลมีเดีย เมื่อเร็วๆ นี้ มีผู้ใช้ Facebook หลายรายโพสต์ข้อความว่า “ด่วน!! ประกาศยกเลิก แจกเงินดิจิตอล 10,000” โดยมีการแชร์ต่อและแพร่กระจายเป็นวงกว้าง ที่มา | ลิงก์ถาวร ที่มา | ลิงก์ถาวร ตรวจสอบข้อเท็จจริง ในวันที่ 21 กันยายน 2567 นายเวทางค์ พ่วงทรัพย์ รองปลัดและโฆษกกระทรวงกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ได้ชี้แจงกรณีข้อความที่ระบุว่า “ประกาศยกเลิกการแจกเงินดิจิทัลวอลเล็ต 10,000 บาท” ที่มีการแพร่กระจายอยู่บนโซเชียลมีเดียในขณะนี้ โดยชี้แจงว่าเป็นข้อมูลเท็จ กลุ่มสารนิเทศการคลัง กระทรวงการคลัง ได้ตรวจสอบข้อมูลและชี้แจงว่า การดำเนินโครงการเติมเงิน 10,000 บาท ผ่าน Digital Wallet ล่าสุดจะเป็นการดำเนินโดยผ่าน 2 โครงการ ได้แก่: โครงการกระตุ้นเศรษฐกิจ ปี 2567 ผ่านผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐมีวัตถุประสงค์เพื่อบรรเทาภาระค่าครองชีพและเพิ่มศักยภาพของผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ตามโครงการลงทะเบียนเพื่อสวัสดิการแห่งรัฐ (โครงการลงทะเบียนฯ) […]

Continue Reading

ภาพไวรัลพร้อมข้อความว่าประชาชนแห่ถอนเงินจาก ธกส. ‘ชวนให้เข้าใจผิด’

เมื่อวันที่ 10 เมษายน นายลวรณ แสงสนิท ปลัดกระทรวงการคลัง แถลงถึงแหล่งที่มาเงินในโครงการดิจิทัลวอลเล็ต 1 หมื่นบาท โดยชี้แจงว่า วงเงิน 5 แสนล้านบาท จะมาจากการจัดการงบประมาณในปี 2567 และปี 2568 ควบคู่กันไป โดยจะแบ่งเป็น 3 ส่วน ได้แก่ (ที่มา) โดยจากการชี้แจงของกระทรวงการคลังครั้งนี้ ทำให้มีประชาชนบางส่วนแสดงความกังวล และระบุว่าจะไปถอนเงินออกจากธนาคาร ธกส. เนื่องจากกลัวว่าธนาคารอาจขาดสภาพคล่องจากการดำเนินการครั้งนี้ นอกจากนี้ ยังมีผู้ใช้โซเชียลหลายรายที่โพสต์ภาพพร้อมข้อกล่าวอ้างว่าปัจจุบันมีประชาชนเดินทางไปถอนเงินจาก ธกส. อย่างล้นหลาม ข้อกล่าวอ้างบนโซเชียลมีเดีย หลังจากการแถลงที่มาของวงเงินดิจิทัลวอลเล็ต มีผู้ใช้ Facebook ได้โพสต์รูปภาพประชาชนจำนวนมากรวมตัวกันหน้าธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธกส.) พร้อมข้อความว่าประชาชนไปถอนเงินออก ที่มา | ลิงก์ถาวร ที่มา | ลิงก์ถาวร อย่างไรก็ตาม จากการตรวจสอบ เราพบว่า ภาพดังกล่าวไม่ใช่ภาพเหตุการณ์ในปัจจุบันแต่อย่างใด ตรวจสอบข้อเท็จจริง เราได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริง โดยการค้นหาที่มาของรูปภาพด้วยฟีเจอร์การค้นหารูปภาพแบบย้อนกลับ (Reverse Image Search) […]

Continue Reading