Fact Crescendo Thailand 2024 Recap: รวบรวมบทความตรวจสอบข้อเท็จจริงที่น่าสนใจตลอดปี 2024

ในโลกยุคดิจิทัลที่ข้อมูลข่าวสารแพร่กระจายอย่างรวดเร็ว การแยกแยะระหว่างข้อเท็จจริงกับข้อมูลที่บิดเบือนยังคงเป็นสิ่งที่เรามุ่งมั่นทำมาตลอดปี 2024 โดยบทความนี้ เราได้รวบรวมประเด็นสำคัญต่างๆ ที่ทีม Fact Crescendo Thailand ได้ตรวจสอบในปี 2024 ครอบคลุมทั้งด้านสุขภาพ กลโกงออนไลน์ และข่าวต่างประเทศที่เป็นไวรัลบนโซเชียลมีเดีย หมวดสุขภาพ ในปี 2024 ทีม Fact Crescendo Thailand ได้ตรวจสอบข่าวสารและข้อมูลที่เกี่ยวกับสุขภาพหลายประเด็น ซึ่งมักจะเป็นข้อมูลที่สร้างความเข้าใจผิดและอาจส่งผลต่อการตัดสินใจด้านสุขภาพของประชาชน หนึ่งในหัวข้อสำคัญในช่วงต้นปีที่ผ่านมาคือเรื่องโควิด-19 โดยเฉพาะสายพันธุ์ใหม่อย่าง JN.1 โดยเราได้เผยแพร่บทความที่ให้ข้อมูลเกี่ยวกับความรุนแรง อาการ และวิธีป้องกัน เพื่อช่วยให้ประชาชนเข้าใจและเตรียมตัวรับมือโรคระบาดได้ดียิ่งขึ้น นอกจากนี้ ยังมีการตรวจสอบข้อกล่าวอ้างที่เชื่อมโยงวัคซีน mRNA กับ การเกิดลิ่มเลือดสีขาว ซึ่งข้อเท็จจริงชี้ว่าไม่มีหลักฐานยืนยันความเชื่อมโยงดังกล่าว อีกประเด็นหนึ่งที่ได้รับความสนใจคือความเชื่อด้านสุขภาพที่มีการแชร์ต่ออย่างแพร่หลายบนโซเชียล เช่น การอ้างว่า การถือของหนักหรือสะพายกระเป๋าหนัก อาจนำไปสู่การเป็นโรคกระดูกสันหลังคด และข้อกล่าวอ้างที่ว่า การสระผมก่อนอาบน้ำอาจทำให้เส้นเลือดในสมองแตก หรือข้อความที่อ้างว่า การรับประทานเมล็ดมะละกอสามารถรักษามะเร็งได้ ล้วนเป็นข้อมูลที่ขาดหลักฐานทางวิทยาศาสตร์สนับสนุน ในด้านเทคโนโลยีสุขภาพ ยังมีการตรวจสอบผลิตภัณฑ์ที่อ้างว่าสามารถป้องกันรังสี EMF ได้ ซึ่งพบว่าผลิตภัณฑ์ดังกล่าวไม่มีประสิทธิภาพจริง เช่นเดียวกับข่าวลือเรื่องความเชื่อมโยงระหว่างวัคซีนโควิด-19 กับ การระบาดของโรคฝีดาษลิง ซึ่งเป็นข้อมูลที่ไม่ถูกต้อง […]

Continue Reading

ข้อความไวรัลอ้างว่า ‘หมาล่ามีโซดาไฟ’ ไม่เป็นความจริง

เมื่อไม่กี่วันที่ผ่านมา มีข้อความแพร่กระจายบนโซเชียลมีเดียที่อ้างว่า หมาล่าหรือพริกแห้งที่นำเข้าจากประเทศจีนนั้นมีการใช้โซดาไฟเป็นส่วนผสม และนำไปผสมกับสีย้อมผ้าเป็นให้ได้สีสันที่ดูน่ารับประทาน นอกจากนี้ยังระบุว่าการบริโภคหมาล่าทำให้เกิดอาการชาในปาก ซึ่งก่อให้เกิดอันตรายต่อตับและส่วนอื่นๆ ของร่างกาย และยังอ้างว่าญี่ปุ่นและไต้หวันได้สั่งห้ามนำเข้าหมาล่าแล้ว ในขณะที่คนไทยยังคงบริโภคต่อไป ข้อกล่าวอ้างบนโซเชียลมีเดีย เมื่อวันที่ 22 มีนาคมที่ผ่านมา มีผู้ใช้ Facebook โพสต์ข้อความระบุว่า “หมาล่า หรือพริกแห้งที่ส่งมาจากเมืองจีน เป็นพริกที่เก็บเกี่ยวโดยใช้สารโซดาไฟ พ่นให้ใบเหี่ยวแห้ง แล้วร่อนเอาพริกออกมา บดแล้วผสมกับสีย้อมผ้า เวลากินจะรู้สึกชาๆที่ปาก เป็นอันตรายต่อตับและร่างกายทุกส่วน ประเทศญี่ปุ่นประเทศไต้หวัน เขาห้ามนำเข้ามาขายแล้ว แต่คนไทย ยังเอามากินกันอยู่” พร้อมโพสต์รูปภาพเครื่องปรุงรสยี่ห้อหนึ่งประกอบ ที่มา | ลิงก์ถาวร โดยข้อความดังกล่าวมีการแชร์ต่ออย่างกว้างขวาง ตรวจสอบข้อเท็จจริง เราได้ทำการค้นหาข้อมูลและรายงานเกี่ยวกับการตรวจพบโซดาไฟและสีย้อมผ้าในเครื่องปรุงหมาล่าที่นำเข้ามาในไทย แต่ก็ไม่พบรายงานใดๆ เกี่ยวกับเรื่องนี้ และล่าสุด ในวันที่ 25 มีนาคมที่ผ่านมา บริษัทฟ้าไทย เจ้าของผลิตภัณฑ์เครื่องปรุงหมาล่าที่ถูกนำรูปไปใช้ประกอบข้อความข้างต้น ได้ออกแถลงการณ์ชี้แจงว่าข้อมูลดังกล่าวไม่เป็นความจริง โดยยืนยันว่า วัตถุดิบที่ใช้ในการผลิต “น้ำซุปหมาล่าเข้มข้น ตราฟ้าไทย” ไม่มีสารเคมีอันตรายใดๆ สามารถบริโภคได้อย่างปลอดภัย ผ่านการรับรองมาตรฐาน อย. และ มาตรฐาน GHPs […]

Continue Reading

รวบรวม 10 บทความเตือนภัยมิจฉาชีพยอดนิยมในปี 2023

ปี 2023 เป็นอีกปีที่ที่ผู้บริโภคต้องยืนหยัดต่อสู้กับภัยคุกคามจากมิจฉาชีพที่พัฒนาอยู่ตลอดเวลา กลโกงที่มุ่งแสวงหาผลประโยชน์จากเหยื่อได้พัฒนาไป เช่นเดียวกับเทคโนโลยีที่วิวัฒนาการไปข้างหน้า ตั้งแต่การโจมตีทางไซเบอร์ไปจนถึงการใช้เล่ห์เหลี่ยมล่อลวงข้อมูลของผู้บริโภค และหากพบข่าวที่น่าสงสัย สามารถส่งให้เราช่วยตรวจสอบผ่านทาง LINE ได้ที่นี่ หรือที่ LINE ID: @factcresdendoth เราได้รวบรวม 10 อันดับกลโกงมิจฉาชีพที่ผู้อ่านให้ความสนใจมากที่สุดในปี 2023 มาไว้ในบทความนี้ อันดับที่ 1: มิจฉาชีพส่งข้อเสนอตำแหน่งงาน ผ่าน WhatsApp  มิจฉาชีพรูปแบบใหม่ ส่งข้อเสนองานผ่านทาง WhatsApp โดยอ้างว่าเป็นฝ่ายจัดหาพนักงานของบริษัท JobsDB โดย Fact Crescendo Thailand ได้ติดต่อไปยัง JobsDB เพื่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมในกรณีดังกล่าว และโดยทาง JobsDB ได้ยืนยันกับเราว่า ทางบริษัทไม่ได้มีการติดต่อเสนอตำแหน่งงานผ่าน WhatsApp ในลักษณะดังกล่าว และบุคคลดังกล่าวนั้นเป็นมิจฉาชีพ  อ่านบทความ: เตือนภัย! มิจฉาชีพรูปแบบใหม่บน WhatsApp แอบอ้างเป็น HR บริษัทดัง อันดับที่ 2: ห้ามรับสาย เบอร์โทรต้องห้ามจากต่างประเทศ? จากที่มีข้อความส่งต่อในโซเชียลเกี่ยวกับเบอร์มิจฉาชีพที่ขึ้นต้นด้วย […]

Continue Reading

10 อันดับเนื้อหา AI ที่ได้รับความสนใจมากที่สุดในปี 2023

ในปีที่ผ่านมา เราพบเห็นภาพไวรัลจาก AI เพิ่มขึ้นเป็นอย่างมาก กล่าวได้ว่าปี 2023 เป็นปีที่ AI เข้ามามีบทบาทในโลกออนไลน์อย่างเต็มตัว และเส้นแบ่งระหว่างข้อเท็จจริงและข้อมูลเท็จก็เลือนรางมากยิ่งขึ้น ตัวอย่างที่ชัดเจนที่สุดก็คงจะหนีไม่พ้นเหล่ารูปภาพที่สร้างโดย AI ซึ่งมักถูกนำไปเติมแต่งเรื่องราวจนเกิดการเข้าใจผิด ในปีนี้เราพบรูปภาพที่สวยงาม รวมถึงภาพถ่ายที่สร้างกระแสไวรัลในสังคมออนไลน์ที่มาจากฝีมือ AI มากมาย และในบทความนี้ เราได้รวบรวมบทความตรวจสอบข้อเท็จจริงเนื้อหา AI ที่ได้รับความสนใจมากที่สุดในปีนี้มาไว้ที่นี่แล้ว และหากพบข่าวหรือภาพที่น่าสงสัย สามารถส่งให้เราช่วยตรวจสอบผ่านทาง LINE ได้ที่นี่ หรือที่ LINE ID: @factcresdendoth อันดับที่ 1: ต้น “April Snow” ที่สวยงามจนเป็นไวรัล มีผู้ใช้บนโซเชียลได้แชร์รูปภาพต้นไม้ที่สวยงามและแปลกตาต้นหนึ่ง โดยอ้างว่าเป็นต้น Losu หรือต้น April Snow ซึ่งเป็นต้นไม้หายากจากประเทศจีน โดยเมื่อเราดำเนินการตรวจสอบก็พบว่า มีความเป็นไปได้สูงว่าต้นไม้ในภาพนั้นเป็นภาพที่สร้างโดยใช้ AI และต้น April Snow ที่แท้จริงนั้นคือต้น Tassel และมีลักษณะแตกต่างจากภาพไวรัลดังกล่าว อ่านบทความ: ต้น “April Snow” […]

Continue Reading

ข้อความว่ามีผู้ติดเชื้อ Vibrio valnificus จากการกินหอยดิบจนเสียชีวิต เป็นข้อมูลเท็จ

มีข้อความแพร่กระจายบนโซเชียลมีเดีย ระบุถึงอันตรายของเชื้อ Vibrio valnificus ซึ่งมาจากการรับประทานหอยแครงและหอยแมลงภู่แบบสุกๆ ดิบๆ พร้อมภาพผู้ป่วยเนื้อตาย โพสต์บนโซเชียลมีเดีย เราได้รับเบาะแสผ่านทางบัญชี LINE ตรวจสอบข้อเท็จจริงของเรา โดยมีข้อความที่แพร่กระจายในแพลตฟอร์ม LINE ถึงอันตรายของการรับประทานหอยแครงและหอยแมลงภู่แบบสุกๆ ดิบๆ โดยระบุว่า “เชื้อ vibrio valnificus ระยองมีแล้ว 2 ราย ตายทั้ง 2 ราย ในหอยแครงหอยแมลงภู่ สุกๆดิบๆ อาหารทะเล รพ. ระยอง 1 ราย รพ. แกลง 1 ราย” พร้อมภาพผู้ป่วยเนื้อตายที่บริเวณมือ ส่งข่าวให้เราช่วยตรวจสอบผ่านทาง LINE ได้ที่นี่ นอกจากใน LINE แล้ว เราพบว่าข้อความพร้อมรูปภาพดังกล่าวได้แพร่กระจายบน Facebook ด้วยเช่นเดียวกัน Source | Archive Source | Archive กรมควบคุมโรคชี้แจง ข้อมูลดังกล่าวเป็น “ข่าวปลอม” […]

Continue Reading

จริงหรือไม่: มิจฉาชีพแอบอ้างเป็น AIS 1175 ดูดเงินในบัญชีได้แค่รับสาย?

เมื่อไม่นานมานี้ มีข้อความแพร่กระจายบนโซเชียลมีเดีย ระบุว่ามีเบอร์มิจฉาชีพแอบอ้างเป็นผู้ให้บริการเครือข่าย AIS และห้ามผู้ใช้รับสายโดยเด็ดขาด ข้อกล่าวอ้างบนโซเชียลมีเดีย เราได้รับเบาะแสผ่านไลน์ตรวจสอบข้อเท็จจริงของเรา เกี่ยวกับข้อความที่มีการส่งต่อผ่านแพลตฟอร์ม LINE โดยระบุว่า “อย่ารับสายเด็ดขาดนะครับ 1175 ตอนแรกคิดว่าจากศูนย์ AIS ปรากฏว่า รับสายปุ๊บมันเข้าบัญชีเราทันที ทำให้เราเข้าบัญชีเราไม่ได้เลย สรุปไม่จำเป็นต้องคุยสาย มันก็สามารถเอาเงินในบัญชีเรา ได้เลย โดยไม่จำเป็นต้องคุยกับเรา ฝากแชร์เตือนกันด้วย หลายคนเคยโดนมาแล้วใครเจออย่ารับสายเด็ดขาด” ส่งข่าวให้เราช่วยตรวจสอบผ่านทาง LINE ได้ที่นี่ โดยเราพบว่าข้อความลักษณะเดียวกันได้แพร่กระจายบน Facebook อีกด้วยเช่นกัน Source | Archive Source | Archive อย่างไรก็ตาม หลังจากตรวจสอบเพิ่มเติม เราพบว่าข้อความดังกล่าวไม่เป็นความจริงแต่อย่างใด AIS ชี้แจง อย่าหลงเชื่อข้อความปลอม AIS ได้เผยแพร่บทความชี้แจงเกี่ยวกับข้อความที่ส่งต่อผ่านโซเชียลมีเดียดังกล่าว โดยระบุว่า “บริษัท เอไอเอส ขอยืนยันว่า  ข้อความดังกล่าวไม่เป็นความจริง และไม่สามารถเกิดขึ้นได้  โดยหมายเลข 1175 เป็นช่องทางให้ลูกค้าสามารถโทรเข้ามาสอบถามเกี่ยวกับบริการต่างๆของเอไอเอส รวมถึงใช้โทรติดต่อลูกค้าเพื่ออำนวยความสะดวกเกี่ยวกับการใช้บริการ อาทิ การสมัครแพ็คเกจการใช้งาน […]

Continue Reading

เช็กแล้ว! ข่าวไวรัลยึดเนื้อตัวเงินตัวทอง ไม่ได้นำส่งโรงงานลูกชิ้นปลา

ในยุคปัจจุบันที่ค่าครองชีพสูงขึ้น ส่งผลกระทบต่อทั้งผู้บริโภคและผู้ประกอบธุรกิจมากมาย เราจึงมักพบข่าวเกี่ยวกับอาหารและกระบวนการผลิตที่ไม่ได้มาตรฐานเพื่อลดต้นทุนของผู้ประกอบการอยู่บ่อยครั้ง และล่าสุดเราพบข้อกล่าวอ้างเกี่ยวกับการใช้เนื้อตัวเงินตัวทองในโรงงานลูกชิ้นปลา ซึ่งสร้างความกังวลใจให้แก่ผู้บริโภค และกลายเป็นกระแสอย่างรวดเร็วภายในชั่วข้ามคืน ข้อกล่าวอ้างบนโซเชียลมีเดีย ในช่วงเย็นวันที่ 1 มีนาคม เพจเฟซบุ๊ก “พระโขนง บางนา” ได้แชร์ภาพเจ้าหน้าที่ตำรวจเข้าจับผู้ลักลอบค้าเนื้อตัวเงินตัวทอง ที่อำเภออู่ทอง จังหวัดอยุธยา โดยระบุในคำบรรยายโพสต์ว่า: “บุกทลายโรงงานผลิตลูกชิ้นปลาเจ้าใหญ่ที่ดัดแปลงใช้เนื้อของตัวเงินตัวทองมาทำเป็นลูกชิ้นปลาเนื้อขาวใสไร้ความคาว ส่วนหนังน่านำไปตากแห้งทำเป็นหนังปลาทอดกรอบ จัดจำหน่ายส่งขายทั่วประเทศมานานแล้ว” Source | Archive โดยโพสต์ดังกล่าวกลายเป็นไวรัลอย่างรวดเร็ว โดยมีการแชร์ต่อกว่า 15,000 ครั้งภายในเวลาหนึ่งชั่วโมง นอกจากนี้เรายังพบข้อกล่าวอ้างดังกล่าวแพร่กระจายอย่างกว้างขวางในโซเชียลมีเดียและเว็บไซต์ข่าวต่างๆ Source | Archive Source | Archive ล่าสุดทางตำรวจสอบสวนกลางได้ออกมายืนยันแล้วว่าข้อกล่าวอ้างดังกล่าวไม่เป็นความจริง ตรวจสอบข้อเท็จจริง หลังจากที่ประเด็นการจับกุมข้างต้นได้กลายเป็นไวรัลอย่างรวดเร็ว เราได้ตรวจสอบหาที่มาของข้อกล่าวอ้างนี้ และพบโพสต์ชี้แจงจากเฟซบุ๊กส่วนตัวของคุณสมภพ รัตนวลี ผู้อำนวยการฝ่ายข่าว สถานีโทรทัศน์เวิร์คพอยท์ โดยชี้แจงไว้ดังนี้: “สงสารคนขายลูกชิ้นปลาด้วยเถอะ ข่าวบุกจับตัวเหี้ย ที่ อ.อู่ทอง จ.สุพรรณบุรี เจ้าของบอกกับ จนท.ชัดเจนว่าส่งขายพวกชอบเปิบพิสดาร และร้านอาหารป่า ทำแกงป่า ห่อหมก เฉพาะกลุ่ม ข่าวว่าเอาไว้ทำลูกชิ้นปลา หนังปลาทอดกรอบนั้น […]

Continue Reading

ธนาคารแห่งชาติอาร์เจนตินาแจงกรณี “ธนบัตรเมสซี่” เกิดขึ้นจริงหรือไม่

เดือนธันวาคมที่ผ่านมาเป็นอีกเดือนที่เราได้ยินชื่อของนักฟุตบอลอันดับโลกอย่าง ลิโอเนล เมสซี่ อยู่บ่อยครั้ง หลังจากที่กองหน้าชื่อดังนำทีมอาร์เจนตินาชนะศึกฟุตบอลโลก 2022 ที่ผ่านมา พูดได้ว่าขณะนี้ชื่อของเมสซี่สามารถดึงดูดความสนใจชาวโลกได้เป็นอย่างมาก ทำให้มีข่าวลือต่างๆ ที่ไม่เป็นความจริงเกี่ยวกับเมสซี่ให้เห็นอยู่เป็นระยะ (ดูข่าวเกี่ยวกับเมสซี่ที่เราตรวจสอบข้อเท็จจริงแล้วได้ที่นี่) เมื่อช่วงปลายเดือนธันวาคมที่ผ่านมา มีอีกหนึ่งข่าวเกี่ยวกับเมสซี่ที่กำลังเป็นไวรัลและได้รับการแชร์อย่างแพร่หลาย โดยมีเพจเฟซบุ๊กหลายแห่งได้รายงานว่าธนาคารแห่งชาติของอาร์เจนตินากำลังพิจารณาพิมพ์ธนบัตรที่มีใบหน้าของเมสซี่ Fact Crescendo ได้ทำการตรวจสอบข้อเท็จจริงในประเด็นดังกล่าว และพบว่าเรื่องดังกล่าวนั้นไม่เป็นความจริง ข้อกล่าวอ้าง เพจเฟซบุ๊ก “วาทะ ลูกหนัง -Footbal Quotes-” ได้แชร์โพสต์พร้อมข้อความว่า “อาร์เจนตินาวางแผนผลิตธนบัตรใบละ 1,000 เป็นหน้าเมสซี่พร้อมลายเซ็นและเหล่าทีมชาติ ยิ่งใหญ่ระดับเหนือตำนานจริงๆ” และโพสต์ดังกล่าวมีการแชร์ไปกว่าหกพันครั้ง รวมถึงมีการกดถูกใจกว่าหนึ่งแสนครั้ง Source Post | Archive นอกจากเพจเฟซบุ๊กข้างต้นแล้ว ยังมีเพจและเว็บไซต์ข่าวต่างๆ แชร์เรื่องราวดังกล่าวจนเป็นไวรัลทั้งในไทยและทั่วโลก ตรวจสอบข้อเท็จจริง ทีมงานได้ทำการตรวจสอบข้อเท็จจริงโดยการคีย์เวิร์ดในการค้นหาข่าวในประเด็นดังกล่าว และพบว่า El Financiero สำนักข่าวด้านการเงินของอาร์เจนตินาได้ออกมาชี้แจงถึงกรณีดังกล่าวว่า “เป็นเพียงเรื่องล้อเล่น” (ที่มา: Sports Star) โดยแหล่งข่าวของ El Financiero ระบุว่า ทางธนาคารเพียงแค่เสนอแนวคิดนี้ขึ้นมาเล่นๆ ในที่ประชุม และการประชุมดังกล่าวก็มีขึ้นก่อนการแข่งขันนัดชิงชนะเลิศของอาร์เจนตินาและฝรั่งเศสด้วยซ้ำ […]

Continue Reading

โพสต์ประกาศหาแรงงานไทย 4,000 อัตราทำงานสวนผักในเกาหลีผ่านกรมจัดหางานเป็นข่าวปลอม

Source | Archive ตามที่มีโพสต์อ้างว่ามีตำแหน่งงานว่างสำหรับคนไทยเพื่อทำงานในสวนผักที่ประเทศเกาหลีใต้กว่า 4,000 อัตรา โดยมีรายได้ต่อเดือนกว่า 79,000 บาท นอกจากนี้ยังอ้างว่าเป็นการเปิดรับสมัครโดยกรมแรงงาน และไปอย่างถูกกฎหมาย ซึ่งโพสต์ในลักษณะดังกล่าวก็ได้รับความสนใจและมีการแชร์ในเฟซบุ๊กและแพลตฟอร์มโซเชียลต่างๆ อยู่บ่อยครั้ง Fact Crescendo ได้ทำการตรวจสอบโพสต์ดังกล่าวและโพสต์อื่นๆ ที่มีลักษณะคล้ายกัน ซึ่งพบว่าในโพสต์ดังกล่าวนั้นไม่มีข้อมูลอย่างเป็นทางการใดๆ จากทางกรมจัดหางานเกี่ยวกับงานดังกล่าว มีเพียงลิงก์ไปยังตัวแทนของเพจนั้นๆ ซึ่งไม่ได้มีความเกี่ยวข้องกับทางกรมแรงงานหรือเจ้าหน้าที่จัดหางานที่ได้รับการตรวจสอบยืนยัน และเพจเฟซบุ๊กนั้นเป็นเพียงเพจสถาบันสอนภาษาเกาหลี ไม่ใช่สำนักงานจัดหางานแต่อย่างใด และถือเป็นข้อมูลเท็จ ข้อกล่าวอ้าง โพสต์เฟซบุ๊กดังกล่าวอ้างว่ากรมแรงงานเตรียมเปิดรับแรงงานไทยเพื่อทำงานในสวนผักที่เกาหลีใต้กว่า 4,000 อัตรา รายได้ต่อเดือนกว่า 79,000 บาท ตรวจสอบข้อเท็จจริง กรมการจัดหางานยืนยันว่าโพสต์เฟซบุ๊กในลักษณะข้างต้นที่โพสต์เกี่ยวกับตำแหน่งงานว่างในเกาหลีนั้นไม่ใช่ข้อมูลที่ถูกต้อง โดยข้อมูลดังกล่าวเป็นโพสต์การรับสมัครทดสอบภาษาเกาหลี และทดสอบทักษะการทำงาน (Point System) สำหรับผู้ที่สนใจไปทำงานที่สาธารณรัฐเกาหลีเท่านั้น และเพจดังกล่าวไม่ได้มีอำนาจหรือมีสิทธิ์ในการจัดหางานในเกาหลีให้กับคนไทยแต่อย่างใด และการทดสอบ Point System ดังกล่าวก็ได้ปิดรับสมัครไปตั้งแต่วันที่ 20 ตุลาคม 2565 (ข้อมูลจากกรุงเทพธุรกิจ) นอกจากนี้ กรมการจัดหางานยังได้ออกแถลงการณ์บนเว็บไซต์ เพื่อเตือนภัยเกี่ยวกับโพสต์ประกาศรับสมัครแรงงานต่างๆ บนเฟซบุ๊กที่ไม่ได้มาจากหน่วยงานที่ถูกต้องตามกฎหมาย หรือตัวแทนจัดหางานที่ได้รับอนุญาต นอกจากนี้ยังชี้แจงว่า งานด้านการเกษตรในเกาหลีที่ทางกรมแรงงานเปิดรับส่วนใหญ่มักจะเป็นงานระยะสั้นตามฤดูกาล และไม่เน้นทักษะภาษาเกาหลี […]

Continue Reading