การระบาดของเอ็มพ็อกซ์ “ไม่มีความเกี่ยวข้อง” กับงูสวัดหรือวัคซีนโควิด-19
Mpox (เอ็มพ็อกซ์) หรือชื่อเดิมคือ ฝีดาษลิง (Monkeypox) ได้กลายมาเป็นปัญหาด้านสาธารณสุขที่ควรให้ความสำคัญ โดยเมื่อวันที่ 14 สิงหาคมที่ผ่านมา ผู้อำนวยการใหญ่องค์การอนามัยโลก (WHO) ได้ประกาศให้การระบาดของเชื้อไวรัสเอ็มพ็อกซ์เป็นภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุขระหว่างประเทศ เนื่องมาจากการระบาดที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว (ที่มา) และท่ามกลางสถานการณ์ที่น่ากังวลนี้ เราพบข้อกล่าวอ้างแพร่กระจายบนแพลตฟอร์มออนไลน์ที่ระบุว่าเชื้อไวรัสเอ็มพ็อกซ์ที่ระบาดในระลอกล่าสุดนี้ แท้จริงแล้วคืออาการงูสวัดที่เป็นผลข้างเคียงจากการฉีดวัตซีนป้องกันโควิด-19 โพสต์บนโซเชียลมีเดีย เมื่อเร็วๆ นี้ มีผู้ใช้โซเชียลมีเดียหลายรายได้โพสต์ข้อความที่อ้างว่าไวรัสเอ็มพ็อกซ์ หรือชื่อเดิมคือฝีดาษลิง นั้นคือโรคงูสวัดที่เป็นผลข้างเคียงมาจากการฉีดวัคซีนโควิด-19 โดยข้อความดังกล่าวมีการแพร่กระจายอย่างกว้างขวางทั้งบนแพลตฟอร์ม Facebook และ X Source | Archive Source | Archive Source | Archive Source | Archive ตรวจสอบข้อเท็จจริง ทีมงาน Fact Crescendo ได้ติดต่อไปยังสำนักงานขององค์การอนามัยโลก (WHO) ในประเทศไทยเกี่ยวกับเรื่องนี้ โดยสำนักงานของ WHO ได้ชี้แจงว่า: “การระบาดของไวรัสเอ็มพ็อกซ์ในระลอกล่าสุดไม่ได้เกิดจากโรคงูสวัดหรือผลข้างเคียงของวัคซีนโควิด-19 เอ็มพ็อกซ์เป็นโรคที่เกิดจากไวรัส Monkeypox virus ซึ่งเป็นสปีชีส์หนึ่งในสกุล Orthopoxvirus […]
Mpox (เอ็มพ็อกซ์) หรือชื่อเดิมคือ ฝีดาษลิง (Monkeypox) ได้กลายมาเป็นปัญหาด้านสาธารณสุขที่ควรให้ความสำคัญ โดยเมื่อวันที่ 14 สิงหาคมที่ผ่านมา ผู้อำนวยการใหญ่องค์การอนามัยโลก (WHO) ได้ประกาศให้การระบาดของเชื้อไวรัสเอ็มพ็อกซ์เป็นภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุขระหว่างประเทศ เนื่องมาจากการระบาดที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว (ที่มา)
และท่ามกลางสถานการณ์ที่น่ากังวลนี้ เราพบข้อกล่าวอ้างแพร่กระจายบนแพลตฟอร์มออนไลน์ที่ระบุว่าเชื้อไวรัสเอ็มพ็อกซ์ที่ระบาดในระลอกล่าสุดนี้ แท้จริงแล้วคืออาการงูสวัดที่เป็นผลข้างเคียงจากการฉีดวัตซีนป้องกันโควิด-19
โพสต์บนโซเชียลมีเดีย
เมื่อเร็วๆ นี้ มีผู้ใช้โซเชียลมีเดียหลายรายได้โพสต์ข้อความที่อ้างว่าไวรัสเอ็มพ็อกซ์ หรือชื่อเดิมคือฝีดาษลิง นั้นคือโรคงูสวัดที่เป็นผลข้างเคียงมาจากการฉีดวัคซีนโควิด-19 โดยข้อความดังกล่าวมีการแพร่กระจายอย่างกว้างขวางทั้งบนแพลตฟอร์ม Facebook และ X
ตรวจสอบข้อเท็จจริง
ทีมงาน Fact Crescendo ได้ติดต่อไปยังสำนักงานขององค์การอนามัยโลก (WHO) ในประเทศไทยเกี่ยวกับเรื่องนี้ โดยสำนักงานของ WHO ได้ชี้แจงว่า:
“การระบาดของไวรัสเอ็มพ็อกซ์ในระลอกล่าสุดไม่ได้เกิดจากโรคงูสวัดหรือผลข้างเคียงของวัคซีนโควิด-19 เอ็มพ็อกซ์เป็นโรคที่เกิดจากไวรัส Monkeypox virus ซึ่งเป็นสปีชีส์หนึ่งในสกุล Orthopoxvirus โดยแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มย่อย ได้แก่ กลุ่มที่ 1 และกลุ่มที่ 2 สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับเอ็มพ็อกซ์ WHO ขอแนะนำให้ดูจากเว็บไซต์อย่างเป็นทางการขององค์การฯ”
ดูข้อมูลโดยละเอียดเกี่ยวกับเอ็มพ็อกซ์จาก WHO ได้ที่นี่: ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเอ็มพ็อกซ์ และ คำแนะนำแก่บุคคลทั่วไป
ข้อแตกต่างระหว่างเอ็มพ็อกซ์และงูสวัด
เอ็มพ็อกซ์และงูสวัดเกิดจากไวรัสคนละชนิดกัน และมีอาการที่แตกต่างกัน
แม้ว่าทั้งเอ็มพ็อกซ์และงูสวัดจะเป็นการติดเชื้อไวรัส แต่ทั้งสองโรคมีต้นกำเนิดและลักษณะเฉพาะที่แตกต่างกัน โดยเอ็มพ็อกซ์จะเกิดจากไวรัสเอ็มพ็อกซ์ ซึ่งเป็นไวรัส Orthopoxvirus ชนิดหนึ่ง เป็นโรคติดต่อจากสัตว์สู่คนและสามารถแพร่ระบาดจากสัตว์สู่คนได้ โดยทั่วไปเอ็มพ็อกซ์จะแสดงอาการเป็นผื่นคันที่เจ็บปวด มักมีไข้ ปวดศีรษะ และหนาวสั่นร่วมด้วย
ในทางกลับกัน โรคงูสวัดเกิดจากการที่ Varicella-Zoster Virus (VZV) กลับมาทำงานอีกครั้ง ซึ่งเป็นไวรัสชนิดเดียวกับที่ทำให้เกิดโรคอีสุกอีใส หลังจากที่บุคคลหนึ่งหายจากโรคอีสุกอีใสแล้ว เชื้อ VZV จะยังคงอยู่ในร่างกายและอาจกลับมาทำงานอีกครั้งในภายหลังเมื่อระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอลง โรคงูสวัดมักจะแสดงอาการเป็นผื่นพุพองที่เจ็บปวดซึ่งจำกัดอยู่เพียงด้านใดด้านหนึ่งของร่างกายหรือใบหน้า
แม้ว่าโรคทั้งสองชนิดจะมีอาการบางอย่างที่เหมือนกัน เช่น ผื่นและไข้ แต่ก็มีความแตกต่างกันอย่างมากในด้านสาเหตุ วิธีการติดต่อ และอาการอื่นๆ (ที่มา: Medical News Today)
ความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญ
ผู้เชี่ยวชาญหลายรายได้ออกมาปฏิเสธข้ออ้างที่เชื่อมโยงเอ็มพ็อกซ์กับการฉีดวัคซีนโควิด-19 Dr. Daniel Pastula ศาสตราจารย์จาก University of Colorado School of Medicine เน้นย้ำว่าเอ็มพ็อกซ์เกิดจากไวรัสที่พบเมื่อกว่า 60 ปีที่แล้ว ซึ่งเกิดขึ้นก่อนที่จะมีวัคซีนโควิด-19 หลายปี
Dr. Christopher Sanford แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านเวชศาสตร์การเดินทางและเวชศาสตร์เขตร้อนจาก University of Washington ยังได้ออกมาปฏิเสธข้อกล่าวอ้างดังกล่าว โดยระบุว่าสามารถระบุสารพันธุกรรมของไวรัสเอ็มพ็อกซ์ได้ผ่านการทดสอบ PCR ซึ่งยืนยันเอกลักษณ์เฉพาะของไวรัสชนิดนี้ได้
(ที่มา: USA Today)
Dr. William Schaffner ศาสตราจารย์ด้านโรคติดเชื้อที่ Vanderbilt University Medical Center กล่าวว่า ไม่มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ที่สนับสนุนความเชื่อมโยงดังกล่าว เนื่องจากวัคซีนเอ็มพ็อกซ์และโควิด-19 ไม่มีความเกี่ยวข้องกันแต่อย่างใด นอกจากนี้ รูปแบบการแพร่กระจายของเอ็มพ็อกซ์และลักษณะของไวรัสเองไม่มีความเชื่อมโยงใดๆ กับวัคซีนโควิด-19 (ที่มา: DW)
สถานการณ์ล่าสุดเกี่ยวกับการระบาดของเอ็มพ็อกซ์
สถานการณ์เอ็มพ็อกซ์ในปัจจุบันยังคงน่าเป็นห่วง โดยในเดือนสิงหาคม 2024 องค์การอนามัยโลก (WHO) ระบุว่าผู้ป่วยที่ได้รับการยืนยันแล้วมากกว่า 103,000 ราย และผู้เสียชีวิต 225 รายใน 121 ประเทศ และสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก (DRC) กำลังประสบกับการระบาดครั้งใหญ่ที่สุด โดยมีผู้ป่วยเกือบ 14,000 ราย และผู้เสียชีวิต 450 ราย (ที่มา: Al Jazeera)
นอกจากนี้ ยังพบสายพันธุ์ใหม่ของไวรัสที่อาจรุนแรงกว่า ซึ่งก็คือสายพันธุ์ 1b ในหลายประเทศ รวมถึงยูกันดา เคนยา และโมซัมบิก ส่วนในสหรัฐอเมริกา ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรค (CDC) รายงานว่าจำนวนผู้ป่วยลดลงอย่างมีนัยสำคัญ โดยมีผู้ป่วยรายใหม่เฉลี่ย 59 รายต่อสัปดาห์ ซึ่งลดลงจากจุดสูงสุดที่มากกว่า 3,000 รายต่อสัปดาห์ในช่วงกลางปี 2022
อ่านบทความที่เกี่ยวข้อง: WHO ไม่ได้แนะนำให้มีการล็อกดาวน์เพื่อป้องกัน Mpox
สรุป
ข้อกล่าวอ้างที่ระบุว่าการระบาดของไวรัสเอ็มพ็อกซ์ระลอกล่าสุด เกิดจากโรคงูสวัดที่เป็นผลข้างเคียงของวัคซีนโควิด-19 นั้นเป็นไม่เป็นความจริง เอ็มพ็อกซ์เกิดจากไวรัสเอ็มพ็อกซ์ซึ่งเป็นเชื้อก่อโรคชนิดหนึ่งที่มีการค้นพบเมื่อหลายสิบปีก่อน ในขณะที่โรคงูสวัดเกิดจากการที่ Varicella-Zoster Virus (VZV) กลับมาทำงานอีกครั้ง นอกจากนี้ ผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ยังเห็นตรงกันไม่มีความเชื่อมโยงระหว่างวัคซีนโควิด-19 กับเชื้อเอ็มพ็อกซ์
Title:การระบาดของเอ็มพ็อกซ์ “ไม่มีความเกี่ยวข้อง” กับงูสวัดหรือวัคซีนโควิด-19
Fact Check By: Cielito WangResult: False