เมื่อไม่นานมานี้ มีข้อความแพร่กระจายที่อ้างว่า พรรคก้าวไกลได้ส่งสมาชิกพรรคลงเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดเลย ที่มีขึ้นเมื่อวันที่ 31 และแพ้เลือกตั้งให้กับอดีตผู้ว่าราชการจังหวัดเลย

ข้อกล่าวอ้างบนโซเชียลมีเดีย

เมื่อวันที่ 2 เมษายน นายอดิศร เพียงเกษ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พรรคเพื่อไทย ได้ออกมาโพสต์วิดีโอผ่านบัญชี X ของตน โดยในวิดีโอได้ระบุว่า ในการเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดเลย พรรคก้าวไกลได้แพ้ในการเลือกตั้ง อบจ. ครั้งนี้ให้กับนายชัยธวัช เนียมศิริ อดีตผู้ว่าราชการจังหวัดเลย และกล่าวว่า นายจีระศักดิ์ น้อยก่ำ ซึ่งเป็นตัวแทนจากพรรคก้าวไกล มีคะแนนอยู่ในอันดับที่ 2 และแพ้เลือกตั้งครั้งนี้ไป

ที่มา | ลิงก์ถาวร

นอกจากนี้เรายังพบโพสต์บน Facebook พร้อมข้อกล่าวอ้างที่คล้ายกันอีกด้วย

ที่มา | ลิงก์ถาวร

อย่างไรก็ตาม เราพบว่าข้อกล่าวอ้างข้างต้นไม่เป็นความจริงแต่อย่างใด

พรรคก้าวไกลยืนยัน ไม่ได้ส่งผู้สมัครลงเลือกตั้ง อบจ. เลย

ในช่วงบ่ายของวันที่ 2 เมษายน นายกรุณพล เทียนสุวรรณ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พรรคก้าวไกล ได้ชี้แจงตอบเกี่ยวกับโพสต์ X ของนายอดิศร เพียงเกษ โดยนายกรุณพลยืนยันว่า ผู้ที่จะลงแข่งขันอย่างเป็นทางการทุกสนามในนาม “พรรคก้าวไกล” จะมีชื่อและสัญลักษณ์พรรคติดในป้ายประชาสัมพันธ์ทุกใบ

ลิงก์ถาวร

นอกจากนี้ เราได้ตรวจสอบข้อมูลของผู้สมัครรายดังกล่าวเพิ่มเติม โดยผู้สมัครรายดังกล่าวคือ นายจีระศักดิ์ น้อยก่ำ ซึ่งลงสมัครนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดเลย ในนามพรรคทางสายใหม่ ไม่ใช่พรรคก้าวไกลแต่อย่างใด (ที่มา: เพจ Facebook จีระศักดิ์ น้อยก่ำ) โดยในการเลือกตั้งใหญ่ ปี 2566 ที่ผ่านมา นายจีระศักดิ์เคยลงสมัครสมาชิกผู้แทนราษฎร จังหวัดเลย เขต2 ในสังกัดพรรคพลังประชารัฐ (ที่มา: คมชัดลึก)

ภาพหาเสียงเลือกตั้ง อบจ. เลย จากเพจ Facebook จีระศักดิ์ น้อยก่ำ

สรุป

ข้อกล่าวอ้างว่าพรรคก้าวไกลได้ส่งสมาชิกพรรคลงเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดเลย และแพ้เลือกตั้งในครั้งดังกล่าวนั้นไม่เป็นความจริงแต่อย่างใด ผู้สมัครรายดังกล่าวที่มีการกล่าวถึงนั้นไม่ได้เป็นสมาชิกพรรคก้าวไกล และพรรคก้าวไกลไม่ได้ส่งตัวแทนลงสมัครเลือกตั้ง อบจ. เลย ในครั้งนี้แต่อย่างใด

ติดตามช่องทางอื่นๆ ของเรา เพื่อไม่ให้พลาดทุกข้อเท็จจริง

Facebook | Twitter | Instagram | LINE | TikTok | WhatsApp

Avatar

Title:ก้าวไกลไม่ได้ส่งผู้สมัครลงเลือกตั้ง อบจ. เลย ตามที่อ้างในโซเชียลมีเดีย

Fact Check By: Cielito Wang

Result: Misleading