อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ และแบตเตอรี่ต่างๆ อาจทำให้เกิดความเสียหายและอุบัติเหตุได้ในบางครั้ง จึงควรดูแลรักษาอย่างระมัดระวัง อย่างไรก็ตาม มีโพสต์ที่ชวนให้เข้าใจผิดเกี่ยวกับเหตุการณ์ดังกล่าวบนโซเชียลมีเดียอยู่บ่อยครั้ง ซึ่งอาจสร้างความตื่นตระหนกและความกังวลแก่ผู้คนได้

โพสต์บนโซเชียลมีเดีย

วิดีโอฟุตเทจของกล้องวงจรปิดในลิฟต์แห่งหนึ่ง โดยแสดงเหตุการณ์ที่ชายคนหนึ่งถือแบตเตอรี่เข้าไปในลิฟต์ จากนั้นแบตเตอรี่ก็ลุกไหม้และระเบิดในลิฟต์ แพร่กระจายพร้อมข้อความที่กล่าวอ้างว่า “มีคนนำแบตเตอรี่อีไบค์เข้าไปในลิฟต์ เมื่อลิฟต์ปิด การประจุไฟฟ้าของแบตเตอรี่จะเปลี่ยนเป็นสนามแม่เหล็ก”

Source | Archive

โดยวิดีโอพร้อมข้อความดังกล่าวได้แพร่กระจายอย่างกว้างขวางบนแพลตฟอร์ม Facebook

A screenshot of a video chat  Description automatically generated

ตรวจสอบข้อเท็จจริง

จากการตรวจสอบ เราพบว่ามีการรายงานเหตุการณ์ดังกล่าวครั้งแรกในประเทศจีนเมื่อปี 2021 โดยเราพบรายงานจากแหล่งข่าวหลายแห่งในประเทศจีนในปี 2021 ที่รายงานถึงวิดีโอนี้ สามารถอ่านรายงานดังกล่าวได้ ที่นี่, ที่นี่ และ ที่นี่

อย่างไรก็ตาม รายงานดังกล่าวไม่ได้ระบุถึงสถานที่หรือสาเหตุของการระเบิด และจากการตรวจสอบเพิ่มเติมพบว่า รายงานข่าวล่าสุดเกี่ยวกับวิดีโอดังกล่าว ได้ระบุว่าเหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นในปี 2021 ในเขตไห่จู เมืองกว่างโจว ประเทศจีน สามารถอ่านรายงานดังกล่าวได้ ที่นี่, ที่นี่ และ ที่นี่ อย่างไรก็ตาม รายงานเหล่านี้ไม่ได้กล่าวถึงการระเบิดที่เกิดจากสนามแม่เหล็กของแบตเตอรี่ โดยส่วนใหญ่ได้เน้นย้ำถึงการจัดการและกำจัดแบตเตอรี่ลิเธียมให้ถูกวิธี

นอกจากนี้ รายงานดังกล่าวยังระบุอีกด้วยว่าวิดีโอดังกล่าวถูกนำมาเผยแพร่อีกครั้งเพื่อใช้เป็นข้อมูลอ้างอิงและสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับการจัดการแบตเตอรี่ หลังจากที่ทางการเซี่ยงไฮ้ได้แก้ไขกฎที่ห้ามนำจักรยานไฟฟ้าหรือแบตเตอรี่เข้าไปภายในอาคารหรือในลิฟต์ โดยก่อนหน้านี้ ทางการเซี่ยงไฮ้ห้ามนำแบตเตอรี่ของจักรยานไฟฟ้าเข้าไปในอาคาร และห้ามกิจกรรมเชิงพาณิชย์ที่เกี่ยวข้องกับการประกอบ การเพิ่ม หรือการดัดแปลงจักรยานไฟฟ้า การดำเนินการดังกล่าวเกิดขึ้นหลังจากเกิดเหตุการณ์แบตเตอรี่ระเบิดหลายครั้ง อันเนื่องมาจากการดัดแปลงจักรยานและความร้อนที่สูงเกินไป สามารถอ่านรายงานดังกล่าวได้ที่นี่และที่นี่

อุปกรณ์เคลื่อนที่ส่วนตัว (PMD: Personal Mobility Device)

PMD หมายถึงอุปกรณ์ใดๆ ก็ตามที่ขับเคลื่อนด้วยมอเตอร์ไฟฟ้าซึ่งออกแบบมาสำหรับการเคลื่อนที่ส่วนบุคคล โดยหมวดหมู่นี้จะรวมถึงจักรยานไฟฟ้าและสกู๊ตเตอร์ไฟฟ้า PMD ได้รับความนิยมเนื่องจากง่ายต่อการใช้งาน แต่ก็มีความเสี่ยงด้านความปลอดภัย โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อมีการดัดแปลงหรือการดูแลรักษาแบตเตอรี่ที่ไม่ถูกต้อง

ส่วนประกอบของแบตเตอรี่จักรยานไฟฟ้า

C:-Users-aaa-Downloads-Journals-CFC-16-Capture.PNG

แผนภาพการเดินสายแบตเตอรี่จักรยานไฟฟ้า จาก Roy

แบตเตอรี่จักรยานไฟฟ้า ซึ่งโดยทั่วไปคือแบตเตอรี่ลิเธียมไออน (Li-ion) ประกอบด้วยส่วนประกอบหลักหลายส่วน ได้แก่

  1. แคโทด: ทำจากลิเธียมเมทัลออกไซด์
  2. แอโนด: มักทำจากลิเธียมกราไฟต์
  3. ตัวคั่น: ป้องกันไม่ให้อิเล็กโทรดสัมผัสกันโดยตรงในขณะที่ปล่อยให้ไอออนไหลผ่านได้
  4. อิเล็กโทรไลต์: ช่วยให้ไอออนลิเธียมเคลื่อนที่ระหว่างแคโทดและแอโนดได้
An external file that holds a picture, illustration, etc. Object name is Ann-Burns-and-Fire-Disasters-34-264-g007.jpg

โครงสร้างของเซลล์ลิเธียมไออน:

1) แบตเตอรี่ประกอบด้วยส่วนประกอบหลักสี่ส่วน ได้แก่ แคโทดบวกที่ทำจากลิเธียมเมทัลออกไซด์ แอโนดลบโดยทั่วไปทำจากลิเธียมกราไฟต์ ตัวคั่นที่แยกอิเล็กโทรดออกจากกันแต่ให้ไอออนลิเธียมไหลได้ และอิเล็กโทรไลต์ที่ป้องกันการไหลของอิเล็กตรอนภายในแบตเตอรี่ เฟสอิเล็กโทรไลต์แบบของแข็ง (SEI) จะสร้างชั้นป้องกันบนแอโนดในระหว่างการสร้างเซลล์

2) ในระหว่างการคายประจุ ไอออนลิเธียมจะเคลื่อนเข้าหาแอโนด ทำให้เกิดออกซิเดชันที่แอโนดและเกิดการรีดักชันที่แคโทด ในขณะที่สิ่งตรงกันข้ามจะเกิดขึ้นในระหว่างการชาร์จ

3) แพ็คโพลิเมอร์ลิเธียมไออนทั่วไปที่ใช้ในอุปกรณ์ช่วยการเคลื่อนไหวส่วนบุคคล

4) ภาพเอกซเรย์แสดงโครงสร้างหลายชั้นของเซลล์แบตเตอรี่ โดยแต่ละชั้นทำหน้าที่เป็นหน่วยแอโนดและแคโทด (ที่มาภาพ: Wang et al.)

ส่วนประกอบเหล่านี้ทำงานร่วมกันเพื่อจัดเก็บและปลดปล่อยพลังงานไฟฟ้าผ่านปฏิกิริยาเคมีที่ควบคุมได้หลายชุด อ่านเพิ่มเติมที่นี่

ตรวจสอบข้อกล่าวอ้าง: มีความเกี่ยวข้องระหว่างการระเบิดของแบตเตอรี่และการใช้ลิฟต์หรือไม่

การวิจัยและการวิเคราะห์ของผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับเหตุการณ์ที่คล้ายกันบ่งชี้ว่าการระเบิดเช่นในวิดีโอดังกล่าวเกิดจากสภาพของแบตเตอรี่มากกว่าการทำงานของลิฟต์ ต่อไปนี้คือประเด็นสำคัญจากการศึกษาและเหตุการณ์ที่เกี่ยวข้อง:

  1. แบตเตอรี่มีการดัดแปลงและมีการชาร์จด้วยไฟแรงเกินไป:
https://static1.straitstimes.com.sg/s3fs-public/styles/large30x20/public/articles/2022/12/27/20210604245395820950e45e-c0fc-4a44-a87b-b80f272e74d8_4.jpg?VersionId=BiLBM_u0_MsCzCVsE05bxnDWjJTzHJa8&itok=tDdhxPGj

Muhammad Irfan Danish Azhar อยู่คนเดียวในลิฟต์กับ PMD ของเขาเมื่อเกิดเพลิงไหม้เมื่อวันที่ 3 มิถุนายน 2021 (ภาพโดย: Lianhe Zaobao File)

มีการรายงานว่าการเสียชีวิตของ Muhammad Irfan Danish Azhar ในสิงคโปร์นั้นเนื่องมาจาก PMD ที่มีการดัดแปลงได้ระเบิดและลุกไหม้ภายในลิฟต์ ซึ่งอุปกรณ์ดังกล่าวใช้พลังงานจากแบตเตอรี่ที่เข้ากันไม่ได้และมีการดัดแปลงโดยไม่มีระบบการจัดการแบตเตอรี่ (BMS) ที่เหมาะสม ส่งผลให้เกิดความร้อนที่สูงเกินไปและระเบิด อ่านเพิ่มเติมที่นี่

การชาร์จแบตเตอรี่มากเกินไปและการดัดแปลงแบตเตอรี่อาจทำให้กลไกด้านความปลอดภัยเสื่อมลง ทำให้เกิดความร้อนสูงเกินไป ทำให้เกิดก๊าซไวไฟ และอาจเกิดการระเบิดได้ อ่านเพิ่มเติม ที่นี่

  1. Thermal Runaway:
A diagram of a heat and heat  Description automatically generated

กระบวนการ Thermal Runaway มีสามขั้นตอน:

(1) แบตเตอรี่ร้อนเกินไปเนื่องจากสาเหตุต่างๆ เช่น การเกิดไฟฟ้าลัดวงจรภายในจากข้อบกพร่องของเซลล์หรือการปนเปื้อน

(2) อุณหภูมิภายใน LIB เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ทำให้เกิดปฏิกิริยาคายความร้อนและปล่อยก๊าซที่ติดไฟได้ออกมา และ

(3) ระดับความร้อนที่เพียงพอที่ทำให้ก๊าซเหล่านี้เผาไหม้ ส่งผลให้เกิดการระเบิด

แบตเตอรี่ลิเธียมไอออนมีแนวโน้มที่จะเกิด Thermal Runaway ซึ่งเป็นภาวะที่ความร้อนมากเกินไปก่อให้เกิดวงจรป้อนกลับ ทำให้แบตเตอรี่ร้อนเกินไปและอาจระเบิดได้ อ่านเพิ่มเติมที่นี่

  1. การรับรองความปลอดภัย:

Adam Nakhoda เจ้าหน้าที่ชันสูตรศพของรัฐในสิงคโปร์แนะนำให้ใช้เฉพาะ PMD ที่มีการรับรองมาตรฐาย UL2272 และจดทะเบียนกับหน่วยงานที่ได้รับอนุญาตเท่านั้น ซึ่งจำเป็นต่อความปลอดภัยของอุปกรณ์ โดยการรับรองเหล่านี้ช่วยให้แน่ใจว่าระบบแบตเตอรี่และส่วนประกอบไฟฟ้าเป็นไปตามมาตรฐานความปลอดภัย อ่านเพิ่มเติม

นอกจากนี้ ดร.เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์ อาจารย์ประจำภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้อธิบายถึงกรณีวิดีโอไวรัลดังกล่าว พร้อมข้อกล่าวอ้างที่ระบุว่าสนามแม่เหล็กในลิฟต์เป็นสาเหตุให้แบตเตอรี่ลุกไหม้และระเบิดไว้ว่า ลิฟต์ส่วนใหญ่ทำจากโลหะตัวนำ อย่างเช่นเหล็ก และทำตัวเป็นกรงฟาราเดย์ (Faraday cage) ที่กั้นขวางสนามแม่เหล็กไฟฟ้าเอาไว้ ซึ่งเป็นสาเหตุว่าทำไมสัญญาณโทรศัพท์มือถือจึงแย่ลงหรือหายไปเมื่ออยู่ในลิฟต์ นอกจากนี้ แบตเตอรี่ลิเทียม ก็ไม่ได้สร้างสนามแม่เหล็กแต่อย่างใด โดยแบตเตอรี่ของจักรยานไฟฟ้า หรือ อีไบค์นั้นก็คล้ายกับแบตเตอรี่ในโทรศัพท์มือถือ หรือในยานยนต์ไฟฟ้าอื่นๆ ซึ่งถึงแม้ว่าจะมีความจุไฟฟ้าสูง แต่ก็ไม่ได้สามารถสร้างสนามแม่เหล็กขึ้นมาด้วยตัวมันเองได้ นอกจากนี้ การขนย้ายแบตเตอรี่อีไบค์ในลิฟต์ ไม่ได้ทำให้เกิดสนามแม่เหล็กไฟฟ้าเช่นกัน เพราะไม่ได้มีการต่อสายไฟจากแบตเตอรี่ไปที่วัตถุอื่นใด อย่างไรก็ตาม แบตเตอรี่ลิเทียมไอออนก็ยังมีความเสี่ยงที่จะเกิดอุบัติเหตุระเบิดและติดไฟลุกไหม้ได้ หากมีการประกอบที่ไม่ได้มาตรฐาน ชาร์จไฟแรงเกินไป ถูกความร้อนสูง ทำตกแตก หรือไฟฟ้าลัดวงจร แม้ว่าจะมีโอกาสเกิดขึ้นได้น้อยมากก็ตาม

ลิงก์ถาวร

ผลการวิจัยที่เกี่ยวข้อง:

Peiyi Sun และทีมได้เน้นย้ำถึงความเสี่ยงต่อการเกิดไฟไหม้ที่เกี่ยวข้องกับแบตเตอรี่ลิเธียมไอออนพลังงานสูงในรถยนต์ไฟฟ้า (EV) โดยปฏิกิริยา Thermal Runaway ในแบตเตอรี่เหล่านี้สามารถทำให้เกิดไฟไหม้และการระเบิดได้ภายใต้สภาวะการใช้งานที่สุ่มเสี่ยง เช่น การชาร์จไฟมากเกินไป อ่านเพิ่มเติม

Huang Li ได้ทำการทดสอบแบบเต็มรูปแบบ ซึ่งแสดงให้เห็นว่าปฏิกิริยา Thermal Runaway ในชุดแบตเตอรี่ทำให้ไฟลุกลามอย่างรวดเร็วและยากต่อการควบคุมเนื่องจากการออกแบบของชุดแบตเตอรี่ อ่านเพิ่มเติม

บทความของ John Warner-Levy ระบุว่าการจัดการและการดัดแปลงแบตเตอรี่ PMD ที่ไม่เหมาะสมจะเพิ่มความเสี่ยงต่อการบาดเจ็บจากการถูกไฟไหม้และไฟไหม้ได้อย่างมาก อ่านเพิ่มเติม

M.K.H. Hsieh อธิบายเกี่ยวกับเส้นทางไฟฟ้าเคมีที่นำไปสู่การระเบิดของแบตเตอรี่ลิเธียมไอออน โดยเน้นย้ำถึงความสำคัญของการใช้แบตเตอรี่อย่างถูกต้องและการปฏิบัติตามมาตรฐานความปลอดภัยเพื่อป้องกันเหตุการณ์ดังกล่าว อ่านเพิ่มเติม

สรุป

ข้อกล่าวอ้างว่าเมื่ออยู่ในลิฟต์ ประจุไฟฟ้าจากแบตเตอรี่ของจักรยานจะเปลี่ยนเป็นสนามแม่เหล็ก และทำให้แบตเตอรี่ระเบิดนั้นไม่เป็นความจริง สาเหตุที่แท้จริงที่ทำให้แบตเตอรี่ระเบิดนั้นมาจากการดัดแปลงและชาร์จแบตเตอรี่มากเกินไป ซึ่งอาจนำไปสู่ความร้อนที่สูงเกินและการระเบิดได้ การบำรุงรักษาที่เหมาะสม การใช้อุปกรณ์ที่ได้มาตรฐาน และการปฏิบัติตามมาตรฐานความปลอดภัยจึงเป็นสิ่งสำคัญในการป้องกันเหตุการณ์อันตรายดังกล่าว

Avatar

Title:ถือแบตเตอรี่เข้าลิฟต์ ทำให้แบตเตอรี่ระเบิด จริงหรือไม่?

Fact Check By: Fact Crescendo Team

Result: False