ภาพเหตุการณ์ที่อ้างว่าแรงงานเมียนมาในไทยออกมาประท้วงขอขึ้นค่าแรง ‘ชวนให้เข้าใจผิด’

เมื่อเร็วๆ นี้ มีรูปภาพแพร่กระจายพร้อมข้อกล่าวอ้างว่าเป็นเหตุการณ์ที่กลุ่มชาวเมียนมาในประเทศไทยได้ออกมาชุมนุมที่หน้าองค์การสหประชาชาติ (UN) ในกรุงเทพฯ เพื่อเรียกร้องให้ปรับขึ้นค่าแรงรายวัน โดยภาพและข้อความดังกล่าวได้มีการแชร์ต่ออย่างเป็นวงกว้าง โพสต์บนโซเชียลมีเดีย เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา มีผู้ใช้ Facebook ได้โพสต์รูปการชุมนุมของกลุ่มชาวเมียนมา พร้อมข้อความระบุว่า เป็นเหตุการณ์ที่ “แรงงานพม่าในไทยออกมาเดินขบวนเรียกร้องให้รัฐบาลไทยขึ้นเงินค่าแรงต่อวันเป็นวันละ 700 บาท” โดยภาพและข้อความดังกล่าวมีการแชร์ต่ออย่างแพร่หลาย ที่มา | ลิงก์ถาวร ที่มา | ลิงก์ถาวร ที่มา | ลิงก์ถาวร นอกจากนี้ เรายังพบข้อกล่าวอ้างเดียวกันบนแพลตฟอร์ม X อีกด้วย ที่มา | ลิงก์ถาวร อย่างไรก็ตาม จากการตรวจสอบข้อเท็จจริง เราพบว่าข้อมูลดังกล่าวเป็นข้อมูลที่ชวนให้เข้าใจผิด การตรวจสอบข้อเท็จจริง จากการค้นหาโดยใช้ฟีเจอร์ค้นหารูปภาพแบบย้อนกลับ เราพบรูปภาพชุดดังกล่าวในเพจ Facebook ของ BBC Burmese โดยภายในโพสต์ได้ระบุที่มาของรูปภาพว่านำมาจากกลุ่มพันธมิตรชานม หรือ Milk Tea Alliance ซึ่งเป็นกลุ่มนักเคลื่อนไหวทางการเมืองของคนรุ่นใหม่จากหลากหลายประเทศในเอเชีย อย่างไรก็ตาม ในโพสต์ของ BBC […]

Continue Reading

รัฐบาลเตรียมขึ้นภาษี VAT จาก 7% เป็น 15% จริงหรือ?

เมื่อเร็ว ๆ นี้ มีข้อมูลที่แพร่สะพัดในโลกออนไลน์ ระบุว่า “รัฐบาลเตรียมขึ้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) จาก 7% เป็น 15%” ซึ่งสร้างความกังวลแก่ประชาชนอย่างมาก เนื่องจากภาษี VAT มีผลโดยตรงต่อค่าครองชีพ ทั้งราคาสินค้าและบริการในชีวิตประจำวันของคนไทย โพสต์บนโซเชียลมีเดีย เมื่อเร็วๆ นี้ มีผู้ใช้โซเชียลหลายรายโพสต์แสดงความไม่พอใจเกี่ยวกับข่าวที่ระบุว่า รัฐบาลเตรียมปรับ VAT หรือภาษีมูลค่าเพิ่มขึ้น จาก 7% เป็น 15% โดยข้อความดังกล่าวได้แพร่กระจายอย่างเป็นวงกว้างทั้งบน X และ Facebook ที่มา | ลิงก์ถาวร ที่มา | ลิงก์ถาวร ที่มา | ลิงก์ถาวร ที่มา | ลิงก์ถาวร อย่างไรก็ตาม เราพบว่าข้อมูลดังกล่าวไม่เป็นความจริงและอาจสร้างความกังวลและความเข้าใจผิดแก่ผู้อ่านได้ ตรวจสอบข้อเท็จจริง เมื่อวันที่ 3 ธันวาคม ที่ผ่านมา นายพิชัย ชุณหวชิร รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ได้กล่าวในงาน Sustainability […]

Continue Reading

 ข้อมูลเท็จ: ส.ส. ได้รับบำนาญหลังรับตำแหน่งเพียง 2 ปี

เมื่อไม่นานมานี้ มีการแชร์ข้อมูลในโซเชียลมีเดียเกี่ยวกับเงินบำนาญของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) โดยระบุว่ามีการออกกฎหมายให้สิทธิ์ ส.ส. ให้ได้รับเงินบำนาญ ตามระยะเวลาการเป็น ส.ส. โพสต์บนโซเชียลมีเดีย ผู้ใช้โซเชียลมีเดีย ได้แชร์ข้อความที่ระบุว่า “ส.ส. สามารถรับเงินบำนาญได้หลังจากดำรงตำแหน่งเพียง 2 ปี ในขณะที่ข้าราชการต้องมีอายุราชการนาน 25 ปี ถึงมีสิทธิ์ได้รับบำนาญ“ โดยข้อความดังกล่าวมีการแชร์อย่างแพร่หลายทั้งบน Facebook, X และ TikTok ที่มา | ลิงก์ถาวร ที่มา | ลิงก์ถาวร ที่มา | ลิงก์ถาวร ตรวจสอบข้อเท็จจริง จากการตรวจสอบข้อเท็จจริง เราพบว่าข้อความดังกล่าวมีการแพร่กระจายมาตั้งแต่ปี 2566 (ที่มา | ลิงก์ถาวร) โดยทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ได้ชี้แจงแล้วว่าเป็นข้อมูลเท็จ โดยทางกรมบัญชีกลาง กระทรวงการคลัง ได้ตรวจสอบข้อมูลและชี้แจงว่า สิทธิในการได้รับบำเหน็จบำนาญของ ส.ส. และ ส.ว. สรุปได้ดังนี้ ส.ส. และ ส.ว. ไม่มีสิทธิได้รับบำเหน็จหรือบำนาญ […]

Continue Reading

 การถอนข้อสงวนอนุสัญญาสิทธิเด็ก “ไม่ใช่การให้สัญชาติไทย” โดยอัตโนมัติ

เมื่อไม่นานมานี้ มีข้อความแพร่กระจายบนแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียต่างๆ ว่ากฎหมายใหม่ จะทำให้เด็กพม่าที่เกิดในไทย ได้รับสัญชาติไทยโดยอัตโนมัติ ข้อกล่าวอ้างบนโซเชียลมีเดีย มีผู้ใช้ Facebook ได้แชร์ข้อความที่ระบุว่า “จากนี้เด็กพม่าที่เกิดในประเทศไทยจะได้รับสัญชาติไทยโดยอัตโนมัติ แถมยังได้รับการศึกษาฟรี ได้รับการรักษาพยาบาลฟรี มีสิทธิ์ทุกอย่างเหมือนเด็กไทยคนหนึ่ง รวมถึงเด็กพม่าที่ลี้ภัยสงครามด้วยถ้าเข้ามาอยู่ในไทยจะได้รับสัญชาติไทยทันที” ที่มา | ลิงก์ถาวร นอกจากนี้ เรายังพบข้อกล่าวอ้างที่คล้ายคลึงกันแพร่กระจายบนแพลตฟอร์ม X และ TikTok เช่นเดียวกัน ที่มา | ลิงก์ถาวร ที่มา | ลิงก์ถาวร อย่างไรก็ตาม จากการตรวจสอบข้อเท็จจริง เราพบว่าข้อความดังกล่าวนั้นเป็นข้อมูลที่ชวนให้เข้าใจผิด ตรวจสอบข้อเท็จจริง นายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ได้ออกมาชี้แจงกรณีการให้สัญชาติ จากมาตรา 22 ของอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก ว่า ไม่มีให้สัญชาติแก่เด็กผู้ใดโดยเด็ดขาด โดยมาตราที่ 22 จะกล่าวถึงเรื่องการให้สิทธิเพื่อดูแลเด็ก ทั้งในทางร่างกาย จิตใจ การศึกษา และในแง่มุมต่างๆ โดยประเทศไทยเป็นประเทศสุดท้ายที่ให้การรับรองมาตราดังกล่าว (ที่มา) @topvarawut ขอทําความเข้าใจครับ #topvarawut♬ original […]

Continue Reading

โพสต์ระบุว่านายกฯแนะนำให้ชาวบ้านที่ภูเก็ตมีโอ่งเก็บน้ำเพื่อลดน้ำท่วม เป็น ”ข่าวปลอม”

เมื่อไม่นานมานี้ มีข้อความแพร่กระจายบนแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดีย ที่ระบุว่า นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี แนะนำให้ชาวบ้านที่ภูเก็ตมีโอ่งเก็บน้ำ เพื่อลดภาระการเก็บกักน้ำของเขื่อน และเป็นการส่งเสริมซอฟต์พาวเวอร์ โพสต์บนโซเชียลมีเดีย เมื่อช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา มีผู้ใช้ Facebook หลายรายแชร์ภาพนายกรัฐมนตรี พร้อมข้อความที่ระบุว่า “อัจฉริยะ! นายกเยี่ยมภูเก็ตหลังน้ำท่วม แนะให้ทุกบ้านมีคนละโอ่งไว้เก็บน้ำเพื่อที่ว่าเขื่อนจะได้ไม่เก็บน้ำที่เดียวจนแตกกระจาย และเป็นการส่งเสริมซอฟต์พาวเวอร์‎” ที่มา | ลิงก์ถาวร ที่มา | ลิงก์ถาวร ที่มา | ลิงก์ถาวร โดยข้อกล่าวอ้างและภาพชุดเดียวกันมีการแชร์อย่างกว้างขวางบนแพลตฟอร์ม Facebook เราจึงดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงข้อกล่าวอ้างดังกล่าว และพบว่าข้อความดังกล่าวไม่เป็นความจริงแต่อย่างใด ตรวจสอบข้อเท็จจริง จากการตรวจสอบข้อเท็จจริง ไม่มีรายงานจากแหล่งข่าวที่น่าเชื่อถือใดๆ ที่รายงานว่านายกรัฐมนตรีแนะนำให้ชาวบ้านใช้โอ่งเก็บน้ำ และจากการตรวจสอบหาที่มาของรูปภาพที่มาพร้อมข้อกล่าวอ้าง ก็พบว่ารูปภาพมาจากข่าวที่ไม่เกี่ยวข้องกัน โดยรูปภาพที่ 1, 3 และ 4 มาจากเหตุการณ์ที่นายกฯ ลงพื้นที่ตรวจดินสไลด์ที่จังหวัดภูเก็ต เพื่อแก้ไขปัญหาน้ำท่วม เมื่อวันที่ 5 กรกฎาคมที่ผ่านมา โดยในการลงพื้นที่ครั้งนี้ นายกรัฐมนตรีได้สั่งการให้เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบ แก้ปัญหาที่จำเป็นและเร่งด่วนเป็นอันดับแรก โดยเฉพาะเรื่องของการทำฟลัดเวย์หรือทางระบายน้ำ พร้อมเตรียมหารือกับนายจตุพร บุรุษพัฒน์ […]

Continue Reading

ภาพและข้อความว่ามัสยิดเขายายเที่ยงบุกรุกป่าสงวนและห้ามชาวพุทธเข้า “ชวนให้เข้าใจผิด”

เมื่อเร็วๆ นี้ มีภาพพร้อมข้อความแพร่กระจายบนแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดีย โดยระบุว่า มัสยิดที่เขายายเที่ยง จังหวัดนครราชสีมา มีการสร้างโดยบุกรุกพื้นที่ป่าสงวน และห้ามไม่ให้ชาวบ้านและชาวพุทธเข้าไปในเขตเขายายเที่ยง โพสต์บนโซเชียลมีเดีย เมื่อวันที่ 22 มิถุนายนที่ผ่านมา มีผู้ใช้แพลตฟอร์ม X โพสต์ภาพมัสยิดกลางภูเขา พร้อมข้อความในภาพว่า “ไม่ถูกจับเพราะอะไร มัสยิดสร้างที่เขายายเที่ยง บุกรุกป่าสงวน และทราบมาว่าห้ามชาวบ้านและชาวพุทธเข้าไปเขตเขายายเที่ยง” ที่มา | ลิงก์ถาวร โดยล่าสุดโพสต์ดังกล่าวมีการรับชมไปแล้วกว่าสี่แสนครั้ง นอกจากนี้ เรายังพบรูปภาพและข้อกล่าวอ้างเดียวกัน แพร่กระจายบนแพลตฟอร์ม Facebook อีกด้วย ที่มา | ลิงก์ถาวร ที่มา | ลิงก์ถาวร ตรวจสอบข้อเท็จจริง กรมป่าไม้ ชี้แจง ภาพดังกล่าวเป็นภาพตัดต่อ: กรมป่าไม้ สำนักจัดการทรัพยากรป่าไม้ที่ 8 (นครราชสีมา) กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย ชี้แจงว่า ภาพดังกล่าวเป็นภาพตัดต่อ โดยทำให้ดูเหมือนมัสยิดตั้งอยู่กลางป่า โดยเป็นภาพที่แพร่กระจายตั้งแต่ในอดีตมาเป็นเวลาหลายปีแล้ว ภาพถ่ายจริงของมัสยิดเขายายเที่ยง ที่มา นอกจากนี้ ภาพถ่ายดาวเทียมจากบริเวณเขายายเที่ยงยังแสดงให้เห็นว่า บริเวณรอบๆ […]

Continue Reading

วิดีโออ้างว่าจีน Airdrop อาหารให้ชาวปาเลสไตน์ ชวนให้เข้าใจผิด

เมื่อไม่นานมานี้ มีวิดีโอหนุ่งแพร่กระจายบนโซเชียลมีเดีย พร้อมข้อกล่าวอ้างว่าจีนได้แจกจ่ายอาหารโดยการโปรยผ่านเครื่องบิน (Food Airdrop) ให้กับผู้คนในแถบฉนวนกาซ่าและปาเลสไตน์ โพสต์โซเชียลมีเดีย เราได้รับเบาะแสจากช่องทางไลน์ตรวจสอบข้อเท็จจริงของเรา โดยวิดีโอดังกล่าวแพร่กระจายพร้อมข้อกล่าวอ้างว่า “จีนโปรยอาหารยาจากฟากฟ้าช่วย ปาเลสไตน์” Archive นอกจากนี้เรายังพบวิดีโอที่คล้ายคลึงกันแพร่กระจายบนแพลตฟอร์มอื่นๆ เช่น Facebook และ TikTok เช่นเดียวกัน Source | Archive Source | Archive ตรวจสอบข้อเท็จจริง เราได้ดำเนินการตรวจสอบหาที่มาของฟุตเทจต่างๆ ภายในคลิปวิดีโอไวรัลดังกล่าว และพบว่าฟุตเทจบางส่วนนั้นไม่ตรงกับข้อกล่าวอ้างที่ระบุข้างต้น โดยมีการใช้ภาพจากเหตุการณ์ที่สหรัฐฯ โปรยอาหารจากเครื่องบินที่แถบฉนวนกาซ่าเมื่อ 2 มี.ค. (ที่มา) นอกจากนี้ แม้ส่วนอื่นๆ ของวิดีโอจะยังไม่สามารถระบุที่มาที่แน่ชัดได้ แต่ไม่มีรายงานจากโปรยอาหารจากรัฐบาลจีนให้ผู้คนในแถบฉนวนกาซ่าจากแหล่งข่าวที่น่าเชื่อถือใดๆ โดยประเทศที่มีรายงานว่าส่งอาหารและอุปกรณ์ยังชีพอื่นๆ ไปยังกาซ่าในปัจจุบันได้แก่ จอร์แดน สหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ เยอรมนี ฝรั่งเศส อินโดนีเซีย เนเธอร์แลนด์ เบลเยียม และอียิปต์ นอกจากนี้ จากเว็บไซต์ของรัฐบาลจีน ได้มีการรายงานไว้ว่า จีนได้ให้ความช่วยเหลือแก่ปาเลสไตน์เพื่อบรรเทาวิกฤติในฉนวนกาซา ไม่ได้มีการระบุว่าจีนได้ส่งอาหารไปทางการโปรยจากเครื่องบินแต่อย่างใด จากรายงาน […]

Continue Reading

ภาพไวรัลอ้างว่าเป็นซากเฮลิคอปเตอร์ที่คร่าชีวิตปธน. อิหร่าน “ชวนให้เข้าใจผิด”

เมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2024 เหตุเฮลิคอปเตอร์ตกคร่าชีวิตประธานาธิบดี Ebrahim Raisi ของประเทศอิหร่าน และรัฐมนตรีกระทรวงต่างประเทศ Hossein Amir-Abdollahian และหลังจากเหตุเฮลิคอปเตอร์ตกอันน่าสลดใจครั้งนี้ ก็มีภาพที่แพร่กระจายบนโซเชียลมีเดีย โดยอ้างว่าเป็นภาพซากเครื่องบินตกจากเหตุการณ์ครั้งดังกล่าว ข้อกล่าวอ้างบนโซเชียลมีเดีย ภาพซากเฮลิคอปเตอร์พร้อมธงชาติอิหร่าน โดยมีเจ้าหน้าที่ค้นหาผ่านพื้นที่ป่าใกล้กับซากดังกล่าวถูกแชร์อย่างกว้างขวางบนโซเชียลมีเดีย พร้อมข้อความที่ระบุว่าภาพเหล่านี้เป็นภาพหลังจากอุบัติเหตุเฮลิคอปเตอร์ตกที่ทำให้ประธานาธิบดี Raisi เสียชีวิต Source | Archive Source | Archive Source | Archive Source | Archive ตรวจสอบข้อเท็จจริง เราเริ่มตรวจสอบข้อเท็จจริงโดยใช้ฟีเจอร์ Reverse Image Search ซึ่งทำให้เราพบโพสต์ต้นฉบับบนแพลตฟอร์ม X ซึ่งโพสต์ไว้ตั้งแต่วันที่ 23 เมษายน 2020 หรือ 4 ปีก่อนเกิดอุบัติเหตุของประธานาธิบดี Raisi อ่านข่าวเกี่ยวกับเหตุการณ์นี้ได้ที่นี่ Archive ภาพถ่ายชุดดังกล่าวแสดงให้เห็นเฮลิคอปเตอร์ลำหนึ่งที่มีหมายเลข 1136 บนตัวเครื่อง ซึ่งระบุว่าเป็นเครื่องบิน Cessna T206H […]

Continue Reading

ก้าวไกลไม่ได้ส่งผู้สมัครลงเลือกตั้ง อบจ. เลย ตามที่อ้างในโซเชียลมีเดีย

เมื่อไม่นานมานี้ มีข้อความแพร่กระจายที่อ้างว่า พรรคก้าวไกลได้ส่งสมาชิกพรรคลงเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดเลย ที่มีขึ้นเมื่อวันที่ 31 และแพ้เลือกตั้งให้กับอดีตผู้ว่าราชการจังหวัดเลย ข้อกล่าวอ้างบนโซเชียลมีเดีย เมื่อวันที่ 2 เมษายน นายอดิศร เพียงเกษ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พรรคเพื่อไทย ได้ออกมาโพสต์วิดีโอผ่านบัญชี X ของตน โดยในวิดีโอได้ระบุว่า ในการเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดเลย พรรคก้าวไกลได้แพ้ในการเลือกตั้ง อบจ. ครั้งนี้ให้กับนายชัยธวัช เนียมศิริ อดีตผู้ว่าราชการจังหวัดเลย และกล่าวว่า นายจีระศักดิ์ น้อยก่ำ ซึ่งเป็นตัวแทนจากพรรคก้าวไกล มีคะแนนอยู่ในอันดับที่ 2 และแพ้เลือกตั้งครั้งนี้ไป ที่มา | ลิงก์ถาวร นอกจากนี้เรายังพบโพสต์บน Facebook พร้อมข้อกล่าวอ้างที่คล้ายกันอีกด้วย ที่มา | ลิงก์ถาวร อย่างไรก็ตาม เราพบว่าข้อกล่าวอ้างข้างต้นไม่เป็นความจริงแต่อย่างใด พรรคก้าวไกลยืนยัน ไม่ได้ส่งผู้สมัครลงเลือกตั้ง อบจ. เลย ในช่วงบ่ายของวันที่ 2 เมษายน นายกรุณพล เทียนสุวรรณ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พรรคก้าวไกล ได้ชี้แจงตอบเกี่ยวกับโพสต์ X […]

Continue Reading

ข้อเท็จจริงเบื้องหลังวิดีโอที่อ้างว่าเป็นเหตุการณ์ชาวเคิร์ดก่อจลาจลในญี่ปุ่น

เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา มีวิดีโอพร้อมข้อกล่าวอ้างว่าเป็นเหตุการณ์ขณะที่ชาวเคิร์ดก่อความวุ่นวายในเมืองไซตามะของญี่ปุ่น โดยในบทความนี้ เราจะทำการตรวจสอบข้อเท็จจริงเบื้องหลังวิดีโอไวรัลดังกล่าว โพสต์บนโซเชียลมีเดีย ในวันที่ 21 กุมภาพันธ์ มีผู้ใช้ X ได้โพสต์วิดีโอพร้อมข้อความว่า “ผู้อพยพชาวเคิร์ตก่อความวุ่นวายในเมืองไซตามะของญี่ปุ่น เพื่อเรียกร้องให้รัฐบาลเปลี่ยนนโยบายการย้ายถิ่นฐานเพื่อให้พวกเขาเหล่านี้เข้ามาได้มากขึ้น” Source | Archive โดยล่าสุดโพสต์ดังกล่าวมีการรับชมไปกว่า 466,000 ครั้ง นอกจากนี้ เรายังพบวิดีโอเดียวกันแพร่กระจายพร้อมข้อกล่าวอ้างที่คล้ายคลึงกันในภาษาอังกฤษอีกด้วย Source | Archive Source | Archive ตรวจสอบข้อเท็จจริง เราได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงโดยใช้ฟีเจอร์การค้นหารูปภาพแบบย้อนกลับ (Reverse Image Search) และเราได้พบโพสต์บนเว็บบอร์ดจากเว็บไซต์ญี่ปุ่น girlschannel.net ที่โพสต์ภาพจากวิดีโอเดียวกันไว้ตั้งแต่ในปี 2015 (ดูโพสต์ได้ที่นี่ | ลิงก์ถาวร) นอกจากนี้ในโพสต์ยังมีการแนบรายงานข่าวเกี่ยวกับเหตุการณ์ดังกล่าว แม้ว่าลิงก์ข่าวดังกล่าวจะไม่สามารถใช้งานได้แล้ว แต่เราก็พบลิงก์ถาวรของรายงานข่าวดังกล่าว ซึ่งสามารถดูได้ที่นี่ จากรายงานข่าว เหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นตั้งแต่เมื่อเดือนตุลาคม ปี 2015 โดยเป็นเหตุการณ์ที่ชาวเคิร์ดและชาวตุรกีจำนวนมากปะทะกันที่หน้าสถานทูตประเทศตุรกี ณ กรุงโตเกียว ในช่วงเลือกตั้งของประเทศตุรกี โดยสำนักข่าวต่างประเทศหลายๆ แห่ง เช่น Al […]

Continue Reading