ทอม ครูซกับสตันท์แมน: ภาพจริงหรือตัดต่อ?

แม้ว่าการพัฒนาของระบบปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI จะมีประโยชน์และช่วยทุ่นแรงในการทำงานของมนุษย์ได้เป็นอย่างมาก แต่หลายครั้ง AI ก็อาจสร้างความเข้าใจผิดให้กับผู้คนได้ เช่นในกรณีนี้ที่มีผู้ใช้ระบบสร้างรูปภาพจาก AI สร้างรูปภาพนักแสดงฮอลลีวูดคนดังอย่าง ทอม ครูซ จนภาพดังกล่าวกลายเป็นไวรัล ข้อกล่าวอ้างบนโซเชียลมีเดีย ผู้ใช้เฟซบุ๊กหลายราย รวมถึงเพจต่างๆ โพสต์ภาพพร้อมข้อความว่าเป็นภาพของ “ทอม ครูซ” และทีมสตันท์ของเขา Source | Archive Source | Archive เป็นภาพที่สร้างขึ้นโดยใช้ Midjourney AI เราได้ดำเนินการตรวจสอบโพสต์และรูปภาพดังกล่าวโดยใช้ฟีเจอร์ Reverse Image Search เพื่อหาที่มาของรูปภาพ และพบว่าภาพชุดดังกล่าวสร้างขึ้นโดยผู้ใช้เฟซบุ๊กชื่อ Ong Hui Woo โดยได้โพสต์ลงบนกลุ่ม Midjourney Official เมื่อวันที่ 4 มิถุนายนที่ผ่านมา Source | Archive โดย Ong Hui Woo ได้บรรยายรูปภาพในโพสต์ว่า “สตันท์ของทอมครูซ กำลังฉลองที่งานเลี้ยงรอบปฐมทัศน์ของภาพยนตร์ MI […]

Continue Reading

พรรคก้าวไกลยืนยัน “ไม่มีนโยบายส่งแรงงานข้ามชาติกลับประเทศ”

ในช่วงเปลี่ยนผ่านรัฐบาล หลายฝ่ายทั้งในและต่างประเทศให้ความสนใจว่าที่รัฐบาลใหม่มากยิ่งขึ้น และล่าสุด เราพบข้อกล่าวอ้างว่าพรรคก้าวไกลมีนโยบายที่จะส่งแรงงานข้ามชาติกลับประเทศ ข้อกล่าวอ้าง เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา “Khmer Times” สื่อท้องถิ่นของกัมพูชา ได้รายงานข่าวว่าสมเด็จอัครมหาเสนาบดี เดโช ฮุน เซน กล่าวว่ากัมพูชาจะไม่ยอมรับนโยบายแรงงานใหม่ของพรรคก้าวไกล และกล่าวว่านายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรคก้าวไกล เคยข่มขู่ว่าจะส่งแรงงานกัมพูชากลับประเทศ นายกฯ ฮุน เซ็นได้กล่าวขณะไปพบปะกับผู้ใช้แรงงานกว่า 17,000 คน จากโรงงานกว่า 19 แห่ง โดยกล่าวว่าพิธาได้ออกนโยบายที่อาจส่งผลเสียต่อแรงงานข้ามชาติ ไม่ใช่แค่เฉพาะชาวกัมพูชา แต่รวมถึงแรงงานชาวลาวและชาวเมียนมาร์ด้วย โดยแรงงานเหล่านี้เป็นแรงงานที่เข้ามาอย่างถูกกฎหมายภายใต้รัฐบาลพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา (ที่มา: Khmer Times | Archive) โดยสื่อไทยก็ได้รายงานข่าวนี้ด้วยเช่นเดียวกัน (ที่มา: Thai PBS) (Archive) พรรคก้าวไกลแถลง “ไม่มีนโยบายผลักดันแรงงานข้ามชาติกลับประเทศ” ในวันที่ 7 มิถุนายน พรรคก้าวไกลได้ชี้แจงในเฟซบุ๊กของทางพรรค โดยระบุว่า “สืบเนื่องจากมีข้อมูลปรากฏในสื่อต่างประเทศ ว่าพรรคก้าวไกลมีนโยบายจะผลักดันแรงงานข้ามชาติกลับประเทศ ซึ่งจะส่งผลกระทบอย่างมากต่อพี่น้องประชาชนในประเทศเพื่อนบ้าน . พรรคก้าวไกลขอยืนยันว่า นโยบายของพรรคก้าวไกล ไม่เคยมีการระบุถึงการผลักดันแรงงานข้ามชาติกลับประเทศ […]

Continue Reading

สวีเดนไม่ได้ประกาศให้ ”เซ็กซ์เป็นกีฬา”

การแสดงออกเรื่องเพศยังคงถือเป็นเรื่องต้องห้ามในบางพื้นที่ของโลก โดยเฉพาะประเทศในเอเชีย ในกรณีนี้ สำนักข่าวและเพจข่าวหลายแห่งได้รายงานว่าสวีเดนมีวางแผนที่จะผลักดันเซ็กซ์ให้เป็นกีฬา และเตรียมจัดแข่งขันในรูปแบบเดียวกับการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก ข่าวดังกล่าวจึงมีแชร์อย่างแพร่หลายบนโซเชียลอย่างรวดเร็ว ข้อความบนโซเชียลมีเดีย เพจเฟซบุ๊ก “Thairath Sport – ไทยรัฐสปอร์ต” ได้โพสต์ข่าวดังกล่าวพร้อมข้อความว่า “ “สมาพันธ์เซ็กซ์สวีเดน” เตรียมจัดแข่งรูปแบบโอลิมปิก หวังผลักดันเป็นกีฬา มีเกณฑ์ตัดสิน เปิดให้สาธารณะโหวตจากถ่ายทอดสด” Source | Archive และสำนักข่าวผู้จัดการ ก็ได้เผยแพร่ข่าวดังกล่าว พร้อมพาดหัว “สวีเดน บรรจุ “เซ็กซ์” เป็นกีฬามีจัดเเข่งขัน รวมถึงชิงเเชมป์ยุโรป” Source | Archive ผู้ใช้โซเชียลมีเดียบางส่วนก็ได้แสดงความไม่พอใจต่อกรณีดังกล่าว และเห็นว่าเป็นเรื่องไม่เหมาะสม Source | Archive นอกจากนี้สื่อต่างประเทศ โดยเฉพาะในประเทศอินเดียหลายๆ แห่ง เช่น Times of India, Hindustan Times, News18, และ India Today, ก็ได้รายงานข่าวนี้เช่นเดียวกัน ตรวจสอบข้อเท็จจริง เราได้ดำเนินการตรวจสอบว่ามีการรายงานการแข่งขันดังกล่าวในสวีเดนจากสื่อต่างประเทศหรือไม่ แม้ว่าสื่อไทยและสื่ออินเดียจะรายงานข่าวนี้ […]

Continue Reading

สี จิ้นผิง สั่งให้นำคำสอนในหลวง ร.9 บรรจุลงหลักสูตรที่จีน จริงหรือไม่?

เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา เราพบว่ามีการนำภาพคำสอนของในหลวงรัชกาลที่ 9 พร้อมคำสอนในภาษาไทย และเวอร์ชันแปลเป็นภาษาจีน เผยแพร่ในโซเชียลมีเดีย พร้อมข้อกล่าวอ้างว่า ประธานาธิบดี สี จิ้นผิง ของประเทศจีน ได้สั่งให้นำคำสอนของในหลวงรัชกาลที่ 9 ลงในหนังสือเรียนสำหรับนักเรียนจีน ข้อกล่าวอ้างบนโซเชียลมีเดีย จากที่เราได้รับเบาะแสผ่านทางไลน์ตรวจสอบข้อเท็จจริงของเรา ระบุว่า “สี จิ้น ผิง กำหนดให้ ” คำสอนของพ่อ ” บรรจุในหนังสือเรียน สำหรับสอน เด็กนักเรียนจีน ทั้งประเทศ“ Archive และเมื่อดำเนินการตรวจสอบเพิ่มเติม เราพบว่าข้อกล่าวอ้างดังกล่าวได้แพร่กระจายบนเฟซบุ๊กเช่นเดียวกัน Source | Archive โดยโพสต์ดังกล่าวมีการแชร์ต่อกว่าหกพันครั้ง อย่างไรก็ตาม หลังจากดำเนินการตรวจสอบ เราพบว่าข้อกล่าวอ้างดังกล่าวนั้นเป็นข้อมูลที่ชวนให้เข้าใจผิด ตรวจสอบข้อเท็จจริง เราได้ทำการตรวจสอบใช้ฟีเจอร์ Reverse Image Search เพื่อหาที่มาของรูปภาพดังกล่าว และพบว่าเริ่มมีการแชร์รูปภาพดังกล่าวบนโซเชียลตั้งแต่ปี 2017 ในช่วงเดือนตุลาคม ซึ่งเป็นช่วงครบรอบหนึ่งปีการสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 โดย Fact Crescendo ได้ติดต่อไปยังศูนย์การศึกษานักศึกษานานาชาติ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม เพื่อสอบถามเพิ่มเติมเกี่ยวกับที่มาของภาพ […]

Continue Reading

บุคคลลึกลับในพิธีราชาภิเษก “พระเจ้าชาร์ลส์ที่ 3” คือใครกันแน่?

พระราชพิธีบรมราชาภิเษกกษัตริย์ชาร์ลส์ที่ 3 ถือเป็นเหตุการณ์สำคัญของประวัติศาสตร์อังกฤษ เป็นหมุดหมายที่แสดงถึงการเปลี่ยนผ่านบัลลังก์สู่กษัตริย์องค์ใหม่ พระราชพิธีบรมราชาภิเษกเป็นอีกหนึ่งพิธีอันเป็นสัญลักษณ์ของราชวงศ์อังกฤษที่ประกอบไปด้วยประเพณีและขบวนต่างๆ ที่เหล่าคนรักราชวงศ์รวมถึงประชาชนทั่วไปต่างเฝ้ารอชม เพราะถือเป็นสัญญาณถึงการเริ่มต้นยุคใหม่ของประวัติศาสตร์อังกฤษ นอกจากนี้ พิธีนี้ยังมีความสำคัญเนื่องจากถือเป็นจุดสิ้นสุดการเตรียมตัวและการฝึกฝนเป็นกษัตริย์อันยาวนานของพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 3 อย่างเป็นทางการ หลังจากที่ครองตำแหน่งรัชทายาทอันดับหนึ่งมาเป็นเวลาหลายสิบปี ท่ามกลางข่าวพระราชพิธีอันศักดิ์สิทธิ์ ภาพแขกเหรื่ออันมีชื่อเสียง เราพบว่ามีอีกเหตุการณ์จากพระราชพิธีที่ประชาชนต่างให้ความสนใจเป็นอย่างมาก นั้นคือบุคคลลึกลับที่ปรากฏในวิดีโอพระราชพิธีที่มหาวิหารเวสต์มินสเตอร์ โดยผู้ใช้โซเชียลมีเดียต่างกล่าวว่าเงาบุคคลลึกลับในเสื้อคลุมสีดำดังกล่าวนั้นดูเหมือนกับ “ยมทูต (Grim Reaper)” ข้อกล่าวอ้างบนโซเชียลมีเดีย จากเบาะแสที่เราได้รับผ่านช่องทางไลน์ตรวจสอบข้อเท็จจริงของเราเกี่ยวกับข้อกล่าวอ้างข้างต้น และพบข้อกล่าวอ้างดังกล่าวแพร่หลายบนโซเชียลมีเดีย ผู้ใช้ทวิตเตอร์รายหนึ่งได้โพสต์คลิปวิดีโอส่วนหนึ่งจากการถ่ายทอดสดพระราชพิธีบรมราชาภิเษกของพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 3 ขณะที่มีบุคคลลึกลับเดินผ่านโถงวิหาร พร้อมคำบรรยายทวีตว่า “ทุกคน ฮือฮาหนักมากเป็นไวรัล หลังมีคนเห็นร่างลึกลับในชุดดำ ใน #พระราชพิธีบรมราชาภิเษก ที่ไม่ควรมีอะไรผิดคิว! จู่ๆ ทุกสื่อที่ถ่ายทอดสดเผยให้เห็นจังหวะร่างในชุดคลุมดำตัดผ่านท้ายขบวนทหารรักษาพระองค์จะจะ กลางวันแสกๆ ในเวสต์มินสเตอร์ กระแสลือว่าเป็น grim reaper (มัจจุราช) บางกระแสลือว่าเป็นวิญญาณไดอาน่า เจ้าหญิงแห่งเวลส์ มาปรากฏให้เห็น ใดใดคือไวรัลไปแล้ว #Coronation” Archive นอกจากนี้สื่อต่างประเทศหลายๆ แห่ง เช่น Daily Mail, New York Post […]

Continue Reading

ฝูงแมลงสาบจำนวนมหาศาลบุกนครเมกกะเมื่อเร็วๆ นี้ จริงหรือไม่?

เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา วิดีโอที่อ้างว่ามีฝูงแมลงสาบออกมาจากพื้นดินในบริเวณแกรนด์มัสยิด นครเมกกะ ประเทศซาอุดีอาระเบียได้แพร่กระจายบนโซเชียลอย่างแพร่หลาย โดยในวิดีโอดังกล่าวมีแมลงจำนวนมหาศาลในมัสยิดขณะที่ชาวมุสลิมมารวมตัวกันเพื่อทำการละหมาด พร้อมคำบรรยายโพสต์: “ข่าวด่วน!* ทำไมสิ่งนี้ถึงเกิดขึ้นตอนนี้! ในนครเมกกะ น้ำท่วมหลุมฝังศพของมูฮัมหมัดและผู้คนนับล้านที่มาเฉลิมฉลองเดือนรอมฎอน นาทีหลังฝนหยุด แมลงสาบนับล้านออกมาจากใต้พื้นดิน จึงต้องหยุดสวดมนต์ ทุกคนเริ่มวิ่งหนี..” Source | Archive โดยวิดีโอดังกล่าวได้ถูกแชร์ต่อเป็นจำนวนมากบนเฟซบุ๊ก จากการตรวจสอบ เราพบว่าคำบรรยายในวิดีโอข้างต้นนั้นได้มีการแปลมาจากโพสต์ในภาษาอังกฤษที่มีการแชร์อย่างแพร่หลายบนเฟซบุ๊ก เช่นเดียวกับโพสต์ในภาษาไทย Source | Archive นอกจากนี้ วิดีโอดังกล่าวยังถูกแชร์บนแพลตฟอร์มอื่นๆ เช่น ทวิตเตอร์ ด้วยเช่นเดียวกัน ตรวจสอบข้อเท็จจริง เราเริ่มดำเนินการตรวจสอบโดยใช้ฟีเจอร์ Reverse Image Search ด้วยคีย์เฟรมจากวิดีโอดังกล่าว และพบว่าวิดีโอถูกโพสต์อย่างกว้างขวางในโซเชียลมีเดีย อย่างไรก็ตาม เราไม่พบข่าวหรือข้อมูลเกี่ยวกับฝูงแมลงสาบจำนวนมหาศาลจากสื่อในซาอุดีอาระเบีย รัฐบาลซาอุดีอาระเบีย หรือฝ่ายที่ดูแลของมัสยิดในนครเมกกะในช่วงเร็วๆ นี้แต่อย่างใด ต่อมา เราได้ค้นหาโดยใช้คำสำคัญต่างๆ เกี่ยวกับเหตุการณ์นี้ และเราพบรายงานข่าวในปี 2019 และ 2020 ที่รายงานว่ามีฝูงตั๊กแตนขนาดใหญ่บุกนครเมกกะ และเมื่อทำการค้นหาเพิ่มเติม เราก็พบรายงานข่าวจาก Newsweek ที่เผยแพร่เมื่อวันที่ 11 มกราคม […]

Continue Reading

ภาพปลอม: ปูตินไม่ได้คุกเข่าให้สี จิ้นผิง

ในวันที่ 20 มีนาคมที่ผ่านมา สี จิ้นผิง ประธานาธิบดีของจีน ได้ไปเยือนรัสเซีย และเข้าพบปะวลาดิเมียร์ ปูติน ประธานาธิบดีของรัสเซีย ซึ่งถือเป็นการพบปะกันครั้งแรกหลังจากเกิดเหตุสงครามระหว่างรัสเซียและยูเครน ซึ่งเป็นเหตุการณ์สำคัญที่อาจส่งผลต่อทิศทางการเมืองโลก ทำให้ทั่วโลกต่างจับตามองการพบกันของสองผู้นำในครั้งนี้ (อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับการพบปะครั้งนี้ที่นี่) และท่ามกลางข่าวเกี่ยวกับเหตุการณ์สำคัญครั้งนี้ ก็มีรูปภาพที่อ้างว่าเป็นภาพของปูตินกำลังคุกเข่าต่อสี จิ้นผิงแพร่กระจายตามโซเชียลมีเดียต่างๆ ข้อกล่าวอ้างบนโซเชียลมีเดีย มีผู้ใช้เฟซบุ๊กรายหนึ่งได้โพสต์รูปภาพที่อ้างว่าเป็นภาพปูตินและสี จิ้นผิง พร้อมคำบรรยายภาพว่า: “24/3/66 ภาพเด็ดแห่งปี สะท้านสะเทือนไปทั้งโลก อเมริกากับยุโรปโดยเฉพาะสมาชิกกลุ่มนาโต้ เห็นภาพนี้แล้ว เกิดอาการท้องไส้ปั่นป่วน ขนหัวลุกตั้งชัน สั่นสะท้านหนาวเหน็บเจ็บไปถึงแกนสมอง ☆ปธน.ปูติน คุกเข่าลง จูบหลังมือ ปธน.สีจิ้นผิง !!!! ยอมยกให้สีเป็นพี่ใหญ่ ตั่วเฮีย ต้าเกอ ☆เจอดอกนี้เข้าไป สยองกันทั้งโลกสิครับ” Source | Archive โดยมีผู้ใช้เข้ามาแสดงความคิดเห็นในโพสต์มากมาย Source | Archive นอกจากนี้ เราพบภาพเดียวกันเผยแพร่บนทวิตเตอร์ตั้งแต่วันที่ 20 มีนาคม โดยทวีตดังกล่าวมีการรับชมไปแล้วกว่าเจ็ดแสนครั้ง Source | Archive อย่างไรก็ตาม เราพบว่ารูปภาพดังกล่าวของผู้นำทั้งสองนั้นเป็นภาพปลอม ตรวจสอบข้อเท็จจริง […]

Continue Reading

ภาพปูตินแต่งกายเป็นพระสงฆ์ แท้จริงแล้วสร้างจาก AI

ข้อพิพาทระหว่างรัสเซียและยูเครนถือเป็นประเด็นที่ทั่วโลกต่างแสดงความกังวล ด้วยสถานการณ์ที่ตึงเครียดมากยิ่งขึ้นระหว่างทั้งสองประเทศ โดยนอกจากการปะทะกันทางกองกำลังทางทหารแล้ว การโจมตีด้วยข้อมูลและข่าวปลอมก็ถือเป็นอีกวิธีที่เราพบเห็นได้มากยิ่งขึ้น และล่าสุด มีรูปภาพของวลาดิเมียร์ ปูติน ประธานาธิบดีของรัสเซียแต่งกายแบบพระภิกษุแพร่กระจายและเป็นที่พูดถึงอยู่ในขณะนี้ ข้อกล่าวอ้างบนโซเชียลมีเดีย มีผู้ใช้โซเชียลมีเดีย ได้แชร์ภาพของปูตินในเครื่องแต่งกายแบบภิกษุสงฆ์ พร้อมคำบรรยายในภาพว่า “ # #เรื่องที่คุณอาจจะยังไม่รู้ ปูติน เคยบวชให้ในหลวง ร.9 เพื่อถวายเป็นพระราชกุศล ณ วัดแห่งหนึ่งใน ธิเบต โดยท่านบวชเป็นจำนวน 3 พรรษา ซึ่งตรงกับ 9 เดือน พอดี เรื่องนี้มีน้อยคนมากที่รู้ จนมีพระในธิเบตรูปนึงออกมาเปิดเผยเรื่องราวผ่านสำนักข่าว รอยเตอร์โอเว่น ว่าครั้งนึง ประธานาธิบดี ปูติน เคยมาบวชถวายตัวเป็นพุทธมามก เพื่อถวายเป็นพระราชกุศลแด่ในหลวง ร.9ด้วยอิริยาบทที่สงบ ประหนึ่งจะตรัสรู้ในวันข้างหน้า ทั้งนี้เดอะไทม์หนังสือพิมพ์ชื่อดัง ยังได้ออกมาคอนเฟิร์มเรื่องนี้ว่ามีมูลความจริง หลังจากปูติน ได้สำนึกในพระกรุณาธิคุณ เรื่อง ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง สาธุๆ ธ สถิตในดวงใจ” Source | Archive โดยโพสต์ดังกล่าวได้มีการแชร์ออกไปอย่างแพร่หลาย โดยนอกจากโพสต์ดังกล่าวแล้ว เราพบรูปภาพเดียวกันพร้อมข้อกล่าวอ้างที่คล้ายคลึงกันเผยแพร่บนเฟซบุ๊กในหลายๆ โพสต์ […]

Continue Reading

ข้อเท็จจริงของภาพไวรัลของก้อนหินขนาดยักษ์ที่อ้างว่ามาจาก “พีระมิดในอียิปต์”

พีระมิดในอียิปต์ถือเป็นหนึ่งในสิ่งก่อสร้างที่โดดเด่นที่สุดในประวัติศาสตร์ การสร้างพีระมิดนั้นเป็นเรื่องที่ทั้งลึกลับและน่าทึ่ง มนุษย์ต่างตั้งข้อสันนิษฐานมากมายว่าพีระมิดสร้างขึ้นด้วยวิธีใดกันแน่ และยิ่งในยุคปัจจุบันที่โซเชียลมีเดียถือเป็นสื่อหลัก ก็ยิ่งมีข้อมูลผิดๆ เกี่ยวกับพีระมิดแพร่กระจายมากมาย ตั้งแต่ทฤษฎีสมคบคิดไปจนถึงข่าวปลอมต่างๆ และล่าสุดก็มีรูปภาพเผยแพร่ในโซเชียลมีเดียที่กล่าวอ้างว่ามีความเกี่ยวข้องกับพีระมิดในอียิปต์ ข้อกล่าวอ้างบนโซเชียลมีเดีย วันที่ 22 มีนาคม มีผู้ใช้เฟซบุ๊กรายหนึ่งได้โพสต์รูปหินสี่เหลี่ยมขนาดมหึมาลงในกลุ่มเฟซบุ๊กชื่อ “ภาพเก่าในอดีต” พร้อมคำบรรยายภาพว่า: “หนึ่งในก้อนหินราว 2.3 ล้านก้อน ที่มีน้ำหนักราว 2.5-15 ตัน หรือบางก้อนมากกว่า ที่ถูกตัด ฝนด้วยหินขัดหน้าให้เรียบ แล้วจะทำการชักลากไปก่อสร้างมหาปิรามิดกีซา The Great Pyramid ราว 5,000 ปีก่อน” Source | Archive โดยโพสต์ดังกล่าวมีการแชร์กว่าเกือบหนึ่งร้อยครั้ง และมีการกดถูกใจไปถึง 1,800 ครั้งในเวลาเพียงหนึ่งวัน นอกเหนือจากโพสต์ดังกล่าวแล้ว เรายังพบรูปภาพพร้อมคำกล่าวอ้างเดียวกันในภาษาอังกฤษที่นี่ (Archive) รวมถึงพบข้อกล่าวอ้างที่คล้ายคลึงกันเผยแพร่ในทวิตเตอร์ตั้งแต่เมื่อปี 2022 Source | Archive อย่างไรก็ตาม หลังจากที่เราทำการตรวจสอบเพิ่มเติมก็พบว่า รูปภาพหินขนาดยักษ์ดังกล่าวไม่ใช่หินที่ใช้สร้างพีระมิดในอียิปต์ตามที่กล่าวอ้าง ตรวจสอบข้อเท็จจริง เราได้ทำการตรวจสอบข้อเท็จจริงโดยใช้ฟีเจอร์ค้นหารูปภาพ เพื่อหาที่มาของภาพดังกล่าว และเราพบว่ารูปภาพดังกล่าวนั้นถ่ายขึ้นที่เมืองบาลเบ็ค (Baalbek) ซึ่งเป็นเมืองโบราณที่มีประวัติศาสตร์มาอย่างยาวนานในประเทศเลบานอน โดยอ้างอิงจากบทความในเว็บไซต์ของ Smithsonian […]

Continue Reading

บทบาทของรัสเซียในยูเอ็นในเดือนหน้า: สิ่งที่ควรรู้เกี่ยวกับตำแหน่งประธานคณะความมั่นคง

ท่ามกลางสถานการณ์สงครามระหว่างรัสเซียที่ยังไม่มีทีท่าจะจบลง หลายฝ่ายได้แสดงความกังวลเกี่ยวกับยุทธวิธีการทำสงครามของฝ่ายมหาอำนาจอย่างรัสเซีย โดยเมื่อเดอืนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา องค์การสหประชาชาติ หรือยูเอ็น ได้ร่างมติเพื่อเรียกร้องให้รัสเซียถอนทัพออกจากยูเครนโดยทันที โดยได้รับคะแนนเสียงเห็นชอบจากประเทศสมาชิกสหประชาชาติ 141 ประเทศ ซึ่งรวมถึงประเทศไทยด้วย อย่างไรก็ตาม เมื่อไม่นานมานี้ เราได้พบข้อกล่าวอ้างที่อาจทำให้ผู้คนเข้าใจผิดเกี่ยวกับรัสเซียและองค์การสหประชาชาติได้ เมื่อวันที่ 16 มีนาคมที่ผ่านมา มีผู้ใช้ทวิตเตอร์ได้ทวีตข้อความดังต่อไปนี้: “ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน ตำแหน่งประธานสหประชาชาติจะถูกย้ายไปยังรัสเซีย ในการประชุมสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ ( UN ) มีการประกาศว่าตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน ตำแหน่ง ประธานสหประชาชาติจะถูกย้ายไปยังรัสเซีย นี่เป็นครั้งที่ 3 ที่รัสเซียได้รับโอกาสอันเป็นเกียรติในการประชุมของสภาใหญ่” Source | Archive พร้อมทวีตเพิ่มเติมภายในเธรดว่า  “ประธานสหประชาชาติเป็นตำแหน่งที่มีความรับผิดชอบอย่างมาก ที่ต้องใช้ความพยายาม และเวลาจากประเทศที่เป็นประธานองค์กรตลอดทั้งปี รัสเซียจะทำงานอย่างแข็งขันในการแก้ไขปัญหามากมาย ที่เผชิญหน้ากับประชาคมโลก ประธานสหประชาชาติคือการเสริมสร้างความมั่นคง และความมั่นคงระหว่างประเทศ” และ “ตำแหน่งประธานสหประชาชาติ ของรัสเซียจะอยู่ถึงปลายเดือนมีนาคมปีหน้า” Source | Archive โดยเมื่อทำการตรวจสอบ เราพบว่าตำแหน่งที่ทวีตดังกล่าวอ้างถึงน่าจะหมายถึงตำแหน่ง “ประธานคณะความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ” หรือ Presidency […]

Continue Reading