เมื่อไม่นานมานี้ ผู้ใช้โซเชียลรายหนึ่งได้โพสต์วิดีโอกิ่งไม้ขนาดเล็กที่ขยับได้เอง โดยผู้คนต่างมาแสดงความคิดเห็นและรับชมเป็นจำนวนมากจนเป็นกระแสไวรัล และมีการรายงานข่าวเกี่ยวกับกิ่งไม้ปริศนานี้ในหลายๆ แพลตฟอร์มอีกด้วย

ข้อกล่าวอ้างบนโซเชียลมีเดีย

ในเดือนธันวาคมที่ผ่านมา ผู้ใช้ TikTok @smars990 ได้โพสต์วิดีโอกิ่งไม้ขนาดเล็กที่ขยับได้เอง โดยวิดีโอดังกล่าวมีการรับชมไปแล้วกว่าสี่ล้านครั้ง และมีการกดถูกใจกว่าหนึ่งแสนห้าหมื่นครั้ง

ที่มา | ลิงก์ถาวร

โดยผู้ใช้ TikTok หลายรายได้แสดงความคิดเห็นไปในทางเดียวกันว่าวัตถุในวิดีโอดังกล่าวไม่ใช่กิ่งไม้ แต่เป็นพยาธิแส้ม้า

โดยวิดีโอดังกล่าวได้แพร่กระจายบนแพลตฟอร์มอื่นๆ เช่น Facebook อีกด้วย

ที่มา | ลิงก์ถาวร

ตรวจสอบข้อเท็จจริง

เราได้ดำเนินการตรวจสอบโดยการใช้คำสำคัญต่างๆ ในการค้นหา เช่น “กิ่งไม้ขยับได้”, “พยาธิแส้ม้า” และพบบทความจากเพจ Facebook ของอาจารย์เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์ ที่ได้อธิบายเกี่ยวกับรากไม้ในคลิปวิดีโอดังกล่าว ว่าไม่ใช่พยาธิแส้ม้า แต่เป็นพืชที่เรียกว่า “หญ้าเข็มนาฬิกา หรือ หญ้าหนวดฤๅษี (Spear Grass)”

ลิงก์ถาวร

หญ้าเข็มนาฬิกาคืออะไร?

“หญ้าเข็มนาฬิกา” เป็นหญ้าชนิดหนึ่ง อยู่ในตระกูลเดียวกับต้นแขมและต้นอ้อ เป็นพืชท้องถิ่นที่มีชื่อเรียกหลากหลายไปตามท้องที่ ในแถบภาคเหนือเรียกหญ้าพุ่งชู้ บ้างเรียกเข็มพ่อหม้าย ขนตาช้าง หนวดฤๅษี หรือหนวดเสือ ส่วนทางอีสานเรียกเส้นขนพันธุรัตน์ (ที่มา)

ที่มาภาพ: Feedipedia

หญ้าเข็มนาฬิกามีลักษณะพิเศษคือมีหนามยาวและแข็งติดอยู่กับเมล็ดด้านใน โดยหนามที่มีลักษณะเหมือนกับขนแปรงเหล่านี้ช่วยให้หญ้ากระจายเมล็ดได้อย่างมีประสิทธิภาพ

หญ้าเข็มนาฬิกามีกลไกการกระจายตัวตามธรรมชาติ โดยเมื่อถูกลมหรือฝน จะบิดตัวและหมุนเพื่อผลักเมล็ดออกจากต้น และหญ้าเข็มนาฬิกามักพบในทุ่งโล่ง ทุ่งหญ้า รวมถึงพื้นที่ที่ถูกถอนหญ้าปกคลุม หญ้าชนิดนี้มีประโยชน์ในการช่วยรักษาความหลากหลายทางชีวภาพและเป็นอาหารให้สัตว์ป่า (ที่มา)

ลักษณะของพยาธิแส้ม้า

พยาธิแส้ม้า มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Trichuris trichiura ได้ชื่อมาจากรูปร่างหน้าตา ซึ่งมีลักษณะคล้ายแส้ โดยมีปลายด้านหน้าแคบ (ประกอบด้วยปากและหลอดอาหาร) ที่ทอดยาวไปสู่จุดคล้ายด้ายและปลายด้านหลังหนากว่า (ประกอบด้วยทวารหนักและอวัยวะเพศ) ปลายด้านหลังของพยาธิแส้ม้าตัวเมียมีลักษณะกลมทู่ ในขณะที่ตัวผู้จะมีปลายด้านหลังขด โดยพยาธิชนิดนี้จะอาศัยอยู่ในลำไส้สัตว์และคน

ภาพของพยาธิแส้ม้า (ที่มา)

เปรียบเทียบลักษณะของหญ้าเข็มนาฬิกากับพยาธิแส้ม้า

หญ้าเข็มนาฬิกาไม่มีลักษณะคล้ายแส้ แต่มีหนามที่ยาวและแข็งติดอยู่กับเมล็ดเพื่อการแพร่กระจายเมล็ดอย่างมีประสิทธิภาพ ในทางตรงกันข้าม พยาธิแส้ม้าจะมีรูปร่างคล้ายแส้อย่างชัดเจน และในด้านความปลอดภัย หญ้าเข็มนาฬิกาไม่เป็นอันตราย และสามารถสัมผัสได้ ในขณะที่พยาธิแส้ม้าสามารถก่อให้เกิดโรคพยาธิแส้ม้า (Trichuriasis) ซึ่งเป็นการติดเชื้อปรสิตในลำไส้ใหญ่ได้ (ที่มา)

ในงานวิจัยหัวข้อ "การอธิบายกลไกของการบิดตัวของหนามหญ้าเข็มนาฬิกาสีดำ (Elucidating the Mechanism of Twisting Action in Black Speargrass Awns)" นักวิจัยได้ศึกษาพฤติกรรมการบิดของหนามในหญ้าเข็มนาฬิกา (Heteropogon contortus) หนามเหล่านี้ประกอบด้วยเกลียวเส้นบางๆ พันรอบจุดศูนย์กลางที่มีลักษณะกลวง เมื่อโดนน้ำหรือความชื้น มุมระหว่างเกลียวและหนามจะลดลง ซึ่งสนับสนุนสมมติฐานที่ว่าการบิดนั้นเป็นผลมาจากการ "คลายตัว" ของหนาม กลไกพิเศษนี้มีบทบาทสำคัญในการผลักให้เมล็ดหญ้าลงสู่ผิวดิน ช่วยในการกระจายและการขยายพันธุ์

วิดีโอของหญ้าเข็มนาฬิกาขณะโดนน้ำ

ที่มา: Otway Greening Australian Native Plant Nursery

สรุป

วิดีโอไวรัลของวัตถุคล้ายกิ่งไม้ขยับได้เอง เราพบว่าวัตถุดังกล่าวไม่ใช่พยาธิแส้ม้า แต่เป็นพืชชนิดหนึ่งที่เรียกว่า “หญ้าเข็มนาฬิกา หรือ หญ้าหนวดฤๅษี” ที่ส่วนหนามสามารถขยายตัวเพื่อขยายพันธุ์ได้ และไม่เป็นอันตรายแต่อย่างใด

Avatar

Title:ตรวจสอบข้อเท็จจริงวัตถุคล้ายกิ่งไม้แต่ขยับได้ คืออะไรกันแน่?

Written By: Cielito Wang

Result: Misleading