เราได้รับเบาะแสจากผู้ใช้ผ่าน LINE ตรวจสอบข้อเท็จจริงของเรา โดยได้พบวิดีโอแพร่กระจายอยู่บนแพลตฟอร์ม LINE พร้อมข้อกล่าวอ้างว่าวิดีโอดังกล่าวเป็นวิดีโอของในหลวงรัชกาลที่ 9 ทรงรำวง

ส่งเบาะแสข่าวที่คุณสงสัยให้เราตรวจสอบได้ที่นี่

โพสต์บนโซเชียลมีเดีย

นอกจากวิดีโอดังกล่าวจะมีการแพร่กระจายผ่านช่องทาง LINE แล้ว เรายังพบว่าวิดีโอดังกล่าวยังมีการโพสต์ลงบนแพลตฟอร์ม TikTok หลายครั้งพร้อมข้อกล่าวอ้างเดียวกัน

Source | Archive

อย่างไรก็ตาม เราพบว่าบุคคลในวิดีโอดังกล่าว ไม่ใช่ในหลวงรัชกาลที่ 9 แต่อย่างใด

ตรวจสอบข้อเท็จจริง

จากผลลัพธ์การค้นหาโดยใช้คำสำคัญต่างๆ เช่น ร.9, รำวง เราพบคลิปวิดีโอเดียวกันจำนวนหนึ่งบน TikTok และมีคลิปวิดีโอหนึ่งที่ระบุไว้ว่า เป็นภาพครั้งที่ในหลวงและสมเด็จพระนางเจ้า พระบรมราชินีนาถ เสด็จไปประเทศเมียนมาร์ (หรือชื่อเดิมในขณะนั้นคือสหภาพพม่า) ในปี พ.ศ. 2503

เราได้ทำการค้นหาเพิ่มเติมจากข้อมูลดังกล่าว และพบวิดีโอภาพยนตร์ส่วนพระองค์ ที่เสด็จเยือนสหภาพพม่า ในปี พ.ศ. 2503 ตามคลิปวิดีโอด้านล่างนี้

โดยในวิดีโอมีการบรรยายว่า สมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถทรงมีพระราชเสาวนีย์ให้ ท่านผู้หญิงมณีรัตน บุญนาค นางสนองพระโอษฐ์ และพลตำรวจเอกชุมพล โลหะชาละ นายตำรวจราชสำนัก ออกไปแสดงการรำวงไทยให้พม่าชม

โดยพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชพร้อมด้วยสมเด็จพระบรมราชินีนาถ ทรงเสด็จพระราชดำเนินเยือนสหภาพพม่าอย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 2-5 มีนาคม ปี พ.ศ. 2503 เพื่อสร้างสัมพันธไมตรี ถือว่าเป็นกษัตริย์ไทยพระองค์แรกที่ทรงเยือนประเทศพม่า ซึ่งถูกบันทึกในประวัติศาสตร์ของชาติ และในการเยือนครั้งนั้น ประธานาธิบดี อู วิน หม่อง นำเสด็จพระราชดำเนินไปนมัสการพระเจดีย์ชะเวดากองซึ่งเป็นสถานที่สำคัญของประเทศ นอกจากนี้ในการเสด็จเยือนครั้งนั้นยังมีวัตถุประสงค์สำคัญ เพราะเกิดขึ้นหลังจากสงครามโลกครั้งที่ 2 จบลง พระองค์ จึงเล็งเห็นว่าประเทศไทยจำเป็นต้องติดต่อกับประเทศเพื่อนบ้านอื่น ๆ โดยเฉพาะกับประเทศที่มีพรมแดนติดกัน เนื่องจากการค้าขายกันระหว่างชายแดนของทั้งสองประเทศจะมีผลต่อทางด้านเศรษฐกิจในระยะยาว และประเทศไทยได้รับความเสียหายจากสงครามอย่างมาก จำเป็นต้องรีบหาทางฟื้นฟูประเทศโดยเร็ว (ที่มา)

อ่านบทความที่คล้ายกัน: สี จิ้นผิง สั่งให้นำคำสอนในหลวง ร.9 บรรจุลงหลักสูตรที่จีน จริงหรือไม่?

ดังนั้น บุคคลที่รำวงในวิดีโอดังกล่าว ไม่ใช่ในหลวงรัชกาลที่ 9 แต่เป็นนายตำรวจราชสำนัก โดยออกไปแสดงรำวงไทยให้ชาวพม่าชมตามพระราชเสาวนีย์ของพระราชินี หลังจากทางสหภาพพม่าได้รำพม่าถวายแด่ในหลวงและพระราชินี ในขณะเสด็จเยือนสหภาพพม่า เมื่อปี พ.ศ. 2503

ติดตามช่องทางอื่นๆ ของเรา เพื่อไม่ให้พลาดทุกข้อเท็จจริง

Facebook | Twitter | Instagram | LINE | TikTok

Avatar

Title:วิดีโอพร้อมข้อกล่าวอ้างว่า ในหลวง ร.9 ทรงรำวง ‘ชวนให้เข้าใจผิด’

Written By: Cielito Wang

Result: Misleading