ตรวจสอบข้อเท็จจริงวัตถุคล้ายกิ่งไม้แต่ขยับได้ คืออะไรกันแน่?

เมื่อไม่นานมานี้ ผู้ใช้โซเชียลรายหนึ่งได้โพสต์วิดีโอกิ่งไม้ขนาดเล็กที่ขยับได้เอง โดยผู้คนต่างมาแสดงความคิดเห็นและรับชมเป็นจำนวนมากจนเป็นกระแสไวรัล และมีการรายงานข่าวเกี่ยวกับกิ่งไม้ปริศนานี้ในหลายๆ แพลตฟอร์มอีกด้วย ข้อกล่าวอ้างบนโซเชียลมีเดีย ในเดือนธันวาคมที่ผ่านมา ผู้ใช้ TikTok @smars990 ได้โพสต์วิดีโอกิ่งไม้ขนาดเล็กที่ขยับได้เอง โดยวิดีโอดังกล่าวมีการรับชมไปแล้วกว่าสี่ล้านครั้ง และมีการกดถูกใจกว่าหนึ่งแสนห้าหมื่นครั้ง ที่มา | ลิงก์ถาวร โดยผู้ใช้ TikTok หลายรายได้แสดงความคิดเห็นไปในทางเดียวกันว่าวัตถุในวิดีโอดังกล่าวไม่ใช่กิ่งไม้ แต่เป็นพยาธิแส้ม้า โดยวิดีโอดังกล่าวได้แพร่กระจายบนแพลตฟอร์มอื่นๆ เช่น Facebook อีกด้วย ที่มา | ลิงก์ถาวร ตรวจสอบข้อเท็จจริง เราได้ดำเนินการตรวจสอบโดยการใช้คำสำคัญต่างๆ ในการค้นหา เช่น “กิ่งไม้ขยับได้”, “พยาธิแส้ม้า” และพบบทความจากเพจ Facebook ของอาจารย์เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์ ที่ได้อธิบายเกี่ยวกับรากไม้ในคลิปวิดีโอดังกล่าว ว่าไม่ใช่พยาธิแส้ม้า แต่เป็นพืชที่เรียกว่า “หญ้าเข็มนาฬิกา หรือ หญ้าหนวดฤๅษี (Spear Grass)” ลิงก์ถาวร หญ้าเข็มนาฬิกาคืออะไร? “หญ้าเข็มนาฬิกา” เป็นหญ้าชนิดหนึ่ง อยู่ในตระกูลเดียวกับต้นแขมและต้นอ้อ เป็นพืชท้องถิ่นที่มีชื่อเรียกหลากหลายไปตามท้องที่ ในแถบภาคเหนือเรียกหญ้าพุ่งชู้ บ้างเรียกเข็มพ่อหม้าย ขนตาช้าง หนวดฤๅษี […]

Continue Reading

เมล็ดฟักทองไม่ได้ช่วยขับพยาธิหรือปรสิต

จากคลิปวิดีโอบนแพลตฟอร์มติ๊กต็อกที่มีการแชร์ข้อมูลว่า การต้มเมล็ดฟักทองผสมกับเกลือและกระเทียม จะช่วยขับพยาธิที่ตกค้างออกจากร่างกายได้ โดยวิดีโอดังกล่าวมีผู้ชมไปแล้วถึง 10 ล้านครั้ง มีการแชร์กว่า 14,000 ครั้ง และได้รับการกดถูกใจกว่าสี่แสนครั้ง Source | Archive ทางทีมงาน Fact Crescendo จึงได้ทำการตรวจสอบข้อเท็จจริงดังกล่าว โดยทางทีมงานไม่พบความเกี่ยวข้องในการรักษาโรคหรือกำจัดพยาธิโดยการใช้เมล็ดฟักทอง เกลือ และกระเทียมร่วมกัน และพบว่ามีบทความจากสถาบันและแหล่งข้อมูลต่างๆ ที่ออกมายืนยันแล้วว่าเป็นข้อมูลเท็จ และเมล็ดฟักทองไม่สามารถใช้เพื่อกำจัดพยาธิได้ (อ่านข้อมูลยืนยันเพิ่มเติมจากอย. ได้ที่นี่) (ที่มา: สำนักคณะกรรมการอาหารและยา) ข้อกล่าวอ้าง คลิปวิดีโอหนึ่งบนติ๊กต็อกกล่าวว่าเมื่อต้มเมล็ดฟักทองผสมกับเกลือและกระเทียม จะมีฤทธิ์ช่วยขับพยาธิที่ตกค้างออกจากร่างกายได้ ตรวจสอบข้อเท็จจริง ทีมงานได้ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดยการหาแหล่งอ้างอิงของข้อมูลดังกล่าว พบว่ามีเว็บไซต์ต่างประเทศหลายแห่งที่โพสต์ข้อมูลที่คล้ายคลึงกันนี้ โดยอ้างว่าสารในเมล็ดฟักทองจะช่วยกำจัดพยาธิและเชื้อโรคต่างๆ ออกจากร่างกาย อย่างไรก็ตาม ทางทีมงานยังไม่พบงานวิจัยหรือการศึกษาใดๆ ที่ยืนยันได้ว่าการกินเมล็ดฟักทองจะช่วยขับพยาธิได้จริง ตัวอย่างโพสต์จากเฟซบุ๊กที่กล่าวอ้างถึงสรรพคุณของเมล็ดฟักทอง แต่ทางเฟซบุ๊กได้ขึ้นข้อความเตือนในโพสต์ดังกล่าวแล้วว่าเป็นข้อมูลเท็จ Source | Archive นอกจากนี้ USAToday ก็ได้เผยแพร่บทความชี้แจงเช่นกันว่าเมล็ดฟักทองไม่สามารถขจัดพยาธิหรือปรสิตออกจากร่างกายได้ โดย Dr. Amita Gupta แพทย์เฉพาะทางด้านโรคติดเชื้อได้อธิบายว่า “เมล็ดฟักทองมีสารประกอบที่ชื่อว่า ‘คิวเคอร์บิติน’ และ ‘คิวเคอร์บิตาซิน’ […]

Continue Reading