“ซูซูกิ” ปฏิเสธข่าวลือเตรียมปิดกิจการทั้งหมดในไทย

เมื่อช่วยปลายสัปดาห์ที่แล้ว มีข้อความแพร่กระจายบนโซเชียลมีเดียที่กล่าวอ้างว่า บริษัท ซูซูกิ มอเตอร์ บริษัทด้านยานยนต์ชื่อดังจากญี่ปุ่น กำลังเตรียมปิดตัวในประเทศไทย โดยข้อกล่าวอ้างนี้มีการแชร์ต่อเป็นจำนวนมากบนแพลตฟอร์ม Facebook ข้อกล่าวอ้างบนโซเชียลมีเดีย ผู้ใช้ Facebook หลายรายได้โพสต์ข้อความที่ระบุว่า บริษัท ซูซูกิ มอเตอร์ วางแผนที่จะปิดกิจการในประเทศไทยทั้งหมด Source | Archive Source | Archive Source | Archive อย่างไรก็ตาม บริษัท ซูซูกิ มอเตอร์ ได้ออกมายืนยันแล้วว่าข้อความดังกล่าวไม่เป็นความจริง ตรวจสอบข้อเท็จจริง ในวันที่ 18 พฤษภาคม บริษัท ซูซูกิ มอเตอร์ (ประเทศไทย) ได้ออกบทความแถลงการณ์ถึงกรณีข้อความไวรัลดังกล่าวบนเพจ Suzuki Motor Thailand ซึ่งเป็นเพจอย่างเป็นทางการของทางบริษัท โดยได้ยืนยันว่า “ข่าวดังกล่าวไม่เป็นความจริงและขอยืนยันว่า บริษัท ซูซูกิ มอเตอร์ (ประเทศไทย) จำกัด ยังคงมีความมุ่งมั่นที่จะดำเนินธุรกิจในประเทศไทย และมีแผนในระยะยาวที่จะแนะนำรถยนต์รุ่นใหม่ในปี 2568 และในปีถัดๆไป […]

Continue Reading

เข้าใจการบิดเบือนข้อมูลเนื่องจากอคติทางเพศเนื่องในวันสตรีสากล

เนื่องในวันสตรีสากลเราต้องการเน้นย้ำความสำคัญของการให้ข้อมูลที่ไม่ถูกต้องและการบิดเบือนข้อมูลซึ่งส่งผลกระทบต่อผู้หญิงอย่างไม่เท่าเทียม การเผยแพร่ข้อมูลอันเป็นเท็จในรูปแบบนี้ทำให้เกิดทัศนคติแบบเหมารวมซึ่งส่งผลเสียต่อหลายฝ่ายและเป็นอุปสรรคต่อการสร้างความเท่าเทียมทางเพศที่ควรจะมี การบิดเบือนข้อมูลเนื่องจากอคติทางเพศคืออะไร? การบิดเบือนข้อมูลเนื่องจากอคติทางเพศ (Gendered disinformation) หมายถึง การจงใจเผยแพร่ข้อมูลที่เป็นเท็จ หรือสร้างความเข้าใจผิดโดยมุ่งเป้าไปที่บุคคลหรือกลุ่มตามอัตลักษณ์ทางเพศ โดยคำนี้ยังใช้อธิบายถึงการแพร่กระจายของข้อมูลที่เป็นเท็จ หรือทำให้เข้าใจผิดซึ่งมุ่งเป้าไปที่ผู้หญิง โดยเฉพาะผู้นำทางการเมือง นักข่าว และบุคคลสาธารณะ โดยพิจารณาจากอัตลักษณ์ทางเพศของพวกเธอ ตัวอย่างของการบิดเบือนข้อมูลทางเพศอาจรวมถึงข่าวปลอมเกี่ยวกับผู้หญิง ไม่ว่าจะเป็นตัวละครหญิง มีมที่ไม่เหมาะสม หรือรูปภาพหรือวิดีโอที่นำเสนอผู้หญิงในแง่ลบ ตัวอย่างข่าวปลอมที่เกิดจากอคติทางเพศ: ภาพนางแบบถูกนำมาใช้แอบอ้างว่าเป็นภาพของ ไอซ์ รักชนก มีการเผยแพร่ภาพของผู้หญิงในชุดชั้นในพร้อมข้อกล่าวอ้างว่าเป็นภาพของรักชนก ส.ส. จากพรรคก้าวไกลบนโซเชียลมีเดีย โดยรักชนกได้ออกมาปฏิเสธข้อกล่าวอ้างดังกล่าว พร้อมแจ้งความเพื่อดำเนินคดีแก่ผู้ปล่อยข่าวเท็จ และนางแบบในภาพได้ออกมายืนยันว่าตนไม่มีความเกี่ยวข้องกับรักชนกแต่อย่างใด ตัวอย่างมีมที่มาจากอคติทางเพศ: Taylor Swift ออกมาต่อว่า Netflix และซีรีส์ Ginny & Georgia ที่มีการเล่นมุกเกี่ยวกับเธอที่เหยียดเพศหญิง ที่มา: The Standard POP การจัดการกับการบิดเบือนข้อมูลเนื่องจากอคติทางเพศทางออนไลน์ UNESCO ได้จัดการเสวนาระดับโลก เกี่ยวกับการบิดเบือนข้อมูลเนื่องจากอคติทางเพศทางออนไลน์ โดยมีเป้าหมายคือการพัฒนากลยุทธ์ที่มีประสิทธิภาพ เพื่อต่อต้านข้อมูลผิดๆ ซึ่งมุ่งเป้าไปที่ผู้หญิง เนื่องจากความนิยมที่เพิ่มขึ้นโซเชียลมีเดียทำให้การเข้าถึงการบิดเบือนข้อมูลเนื่องจากอคติทางเพศเพิ่มมากยิ่งขึ้น และส่งเสริมสถานการณ์และทัศนคติการเหมารวมที่เป็นอันตราย ผลกระทบของการบิดเบือนข้อมูลเนื่องจากอคติทางเพศ ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา วาทกรรมทางการเมืองมักจะมีความเกี่ยวข้องกับการล่วงละเมิดและการบิดเบือนข้อมูลเนื่องจากอคติทางเพศบนโลกออนไลน์ […]

Continue Reading

ข้อเท็จจริงของภาพไวรัลของก้อนหินขนาดยักษ์ที่อ้างว่ามาจาก “พีระมิดในอียิปต์”

พีระมิดในอียิปต์ถือเป็นหนึ่งในสิ่งก่อสร้างที่โดดเด่นที่สุดในประวัติศาสตร์ การสร้างพีระมิดนั้นเป็นเรื่องที่ทั้งลึกลับและน่าทึ่ง มนุษย์ต่างตั้งข้อสันนิษฐานมากมายว่าพีระมิดสร้างขึ้นด้วยวิธีใดกันแน่ และยิ่งในยุคปัจจุบันที่โซเชียลมีเดียถือเป็นสื่อหลัก ก็ยิ่งมีข้อมูลผิดๆ เกี่ยวกับพีระมิดแพร่กระจายมากมาย ตั้งแต่ทฤษฎีสมคบคิดไปจนถึงข่าวปลอมต่างๆ และล่าสุดก็มีรูปภาพเผยแพร่ในโซเชียลมีเดียที่กล่าวอ้างว่ามีความเกี่ยวข้องกับพีระมิดในอียิปต์ ข้อกล่าวอ้างบนโซเชียลมีเดีย วันที่ 22 มีนาคม มีผู้ใช้เฟซบุ๊กรายหนึ่งได้โพสต์รูปหินสี่เหลี่ยมขนาดมหึมาลงในกลุ่มเฟซบุ๊กชื่อ “ภาพเก่าในอดีต” พร้อมคำบรรยายภาพว่า: “หนึ่งในก้อนหินราว 2.3 ล้านก้อน ที่มีน้ำหนักราว 2.5-15 ตัน หรือบางก้อนมากกว่า ที่ถูกตัด ฝนด้วยหินขัดหน้าให้เรียบ แล้วจะทำการชักลากไปก่อสร้างมหาปิรามิดกีซา The Great Pyramid ราว 5,000 ปีก่อน” Source | Archive โดยโพสต์ดังกล่าวมีการแชร์กว่าเกือบหนึ่งร้อยครั้ง และมีการกดถูกใจไปถึง 1,800 ครั้งในเวลาเพียงหนึ่งวัน นอกเหนือจากโพสต์ดังกล่าวแล้ว เรายังพบรูปภาพพร้อมคำกล่าวอ้างเดียวกันในภาษาอังกฤษที่นี่ (Archive) รวมถึงพบข้อกล่าวอ้างที่คล้ายคลึงกันเผยแพร่ในทวิตเตอร์ตั้งแต่เมื่อปี 2022 Source | Archive อย่างไรก็ตาม หลังจากที่เราทำการตรวจสอบเพิ่มเติมก็พบว่า รูปภาพหินขนาดยักษ์ดังกล่าวไม่ใช่หินที่ใช้สร้างพีระมิดในอียิปต์ตามที่กล่าวอ้าง ตรวจสอบข้อเท็จจริง เราได้ทำการตรวจสอบข้อเท็จจริงโดยใช้ฟีเจอร์ค้นหารูปภาพ เพื่อหาที่มาของภาพดังกล่าว และเราพบว่ารูปภาพดังกล่าวนั้นถ่ายขึ้นที่เมืองบาลเบ็ค (Baalbek) ซึ่งเป็นเมืองโบราณที่มีประวัติศาสตร์มาอย่างยาวนานในประเทศเลบานอน โดยอ้างอิงจากบทความในเว็บไซต์ของ Smithsonian […]

Continue Reading

คลิปสึนามิจากเมือง Durban ถูกแชร์ว่าเป็นสึนามิหลังแผ่นดินไหวตุรกี-ซีเรีย

เมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ได้เกิดเหตุแผ่นดินไหวอย่างรุนแรงขึ้นที่พื้นที่ตอนใต้ของประเทศตุรกี โดยแรงแผ่นดินไหวครั้งนี้นับว่าเป็นภัยพิบัติทางธรรมชาติที่มีความรุนแรงที่สุดในรอบ 100 ปี โดยปัจจุบันมีผู้เสียชีวิตในประเทศตุรกีและซีเรียไปแล้วมากกว่า 7,000 คน โดยทีมช่วยเหลือยังคงระดมหาผู้เสียหายเพิ่มเติมอยู่ และท่ามกลางข่าวสารและข้อมูลเกี่ยวกับโศกนาฏกรรมครั้งใหญ่นี้ ก็มีข้อมูลผิดๆ ที่เผยแพร่บนโลกโซเชียลมีเดีย ซึ่งอาจสร้างความเข้าใจผิดให้แก่ผู้คนได้ ผู้ใช้เฟซบุ๊กรายหนึ่งได้โพสต์วิดีโอหนึ่ง พร้อมคำบรรยายวิดีโอว่า “แผ่นดินไหวตุรกี-ซีเรีย แถมสึนามิด้วย คลิปนี้เหมือนภูเก็ตเมื่อ 20 ปีเลย” Source | Archive โดยผู้ใช้ได้โพสต์วิดีโอเมื่อคืนวันที่ 6 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ซึ่งเป็นวันเดียวกับที่เกิดเหตุการณ์แผ่นดินไหวที่ตุรกี-ซีเรีย แต่เมื่อทีมงานตรวจสอบก็พบว่าวิดีโอดังกล่าวไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์แผ่นดินไหวครั้งนี้แต่อย่างใด ตรวจสอบข้อเท็จจริง Fact Crescendo ได้ทำการตรวจสอบที่มาของวิดีโอดังกล่าว และพบว่าตรงกับวิดีโอเหตุการณ์สึนามิที่เมือง Durban ประเทศแอฟริกาใต้เมื่อปี 2017 และเมื่อทำการตรวจสอบข้อมูลเพิ่มเติม ก็พบว่าสถานที่ในวิดีโอตรงกับภาพของหาดในเมือง Durban จาก Google Maps Source | Archive นอกจากนี้ จากรายงานล่าสุดเกี่ยวกับเหตุการณ์แผ่นดินไหวในตุรกี-ซีเรียครั้งนี้ แม้จะสร้างความเสียหายเป็นอย่างมาก แต่ปัจจุบันยังไม่มีรายงานถึงสึนามิในพื้นที่แถบใกล้เคียง นอกเหนือจากการเตือนภัยว่าอาจเกิดสึนามิในประเทศอื่นๆ เช่น อียิปต์และอิตาลี สรุป […]

Continue Reading

ธนาคารอิสลามยืนยัน ไม่มีการใช้มัสยิด 1,000 แห่งในไทยเป็นสาขาของธนาคาร

ในปัจจุบันยังคงมีการโจมตีศาสนาอิสลามจากกลุ่มผู้ต่อต้านบนโซเชียล โดยมีการสร้างข่าวปลอมและบิดเบือนข่าวต่างๆ เพื่อสร้างความเข้าใจผิดอยู่เป็นระยะ จากที่มีข้อกล่าวอ้างเกี่ยวกับธนาคารอิสลามบนเฟซบุ๊ก โดยโพสต์ดังกล่าวได้อ้างว่ามัสยิดไทยกว่า 1,000 แห่งจะกลายเป็นธนาคารอิสลาม Source Post | Archive โดยโพสต์ดังกล่าวได้ระบุว่า “ช็อกกันทั้งโลก มัสยิดไทยกลายเป็นธนาคาร เป็นสาขาของธนาคาร1,000แห่ง ทำธุระกรรมทางด้านการเงินกู้ยืมอนุมัติโดยโต๊ะอิหม่ามและจนท.ในมัสยิด เงินชาวพุทธสยามล้วน เงินกาเฟร์ทั้งนั้น” โดยโพสต์ดังกล่าวมีการแชร์ไปกว่า 600 ครั้ง นอกจากนี้ยังมีโพสต์ลักษณะคล้ายคลึงกันที่อ้างว่ามัสยิดจะกลายเป็นธนาคารของอิสลามเผยแพร่บนเฟซบุ๊กด้วยเช่นกัน Source Post | Archive และล่าสุดเมื่อเดือนธันวาคมที่ผ่านมา ได้มีผู้ใช้เฟซบุ๊กที่โพสต์ข้อกล่าวอ้างดังกล่าวขึ้นมาอีกครั้ง Source Post | Archive ซึ่งทางทีมงานได้ทำการตรวจสอบข้อมูลดังกล่าว และพบว่าข้อกล่าวอ้างนี้ไม่เป็นความจริงแต่อย่างใด ตรวจสอบข้อเท็จจริง Fact Crescendo ได้ติดต่อไปยังธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทยเพื่อขอข้อมูลเพิ่มเติมในประเด็นดังกล่าว โดยทางธนาคารอิสลามได้ยืนยันกับทีมงานว่า “กรณีที่มีการโพสต์ภาพและให้ข้อมูลว่ามัสยิดกลายเป็นสาขาของธนาคารอิสลาม 1,000 แห่งทั่วประเทศ ทางธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย ได้ตรวจสอบข้อมูลดังกล่าวและชี้แจงข้อมูลว่าปัจจุบันธนาคารอิสลามให้บริการธุรกรรมทางการเงินผ่าน 97 สาขาทั่วประเทศเท่านั้น ดังนั้นขอให้ประชาชนอย่าหลงเชื่อข้อมูลดังกล่าว และขอความร่วมมือไม่ส่ง หรือแชร์ข้อมูลดังกล่าวต่อในช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ต่าง ๆ และเพื่อให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารจากธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย สามารถติดตามได้ที่ www.ibank.co.th/th หรือสอบถามเพิ่มเติมติดต่อที่ศูนย์ลูกค้าสัมพันธ์ 1302 […]

Continue Reading

เรื่องราวที่แท้จริงของรูปภาพที่เชื่อกันว่าเป็นภาพถ่ายของพระพุทธเจ้า

จากที่มีบัญชีผู้ใช้เฟซบุ๊กแชร์รูปภาพหนึ่ง และอ้างว่ารูปภาพดังกล่าวเป็นภาพถ่ายของพระพุทธเจ้า โดยรูปภาพดังกล่าวได้ถูกแชร์อย่างแพร่หลายในโซเชียลและเว็บไซต์ต่างๆ Source | Archive นอกจากเพจเฟซบุ๊กดังกล่าวแล้ว ยังมีเว็บไซต์ที่เผยแพร่เรื่องนี้ โดยอ้างว่าภาพดังกล่าวเป็นรูปถ่ายของพระพุทธเจ้าที่ถ่ายติดในประเทศอินเดียซึ่งถ่ายโดยนายแพทย์เบอร์นาร์ด ชาวอังกฤษ ถ่ายรูปติดที่ดินแดนตรัสรู้ ณ มหาเจดีย์พุทธคยา บริเวณใต้ต้นพระศรีมหาโพธิ์ วัดมหาโพธิ์ ประเทศอินเดีย และเมื่อค้นหาคำว่า “ภาพถ่ายพระพุทธเจ้า” บนเว็บไซต์ ก็พบว่ามีร้านค้าออนไลน์หลายร้านที่ขายภาพดังกล่าวโดยอ้างว่าเป็นภาพถ่ายของพระพุทธเจ้าอีกด้วย เมื่อ Fact Crescendo ได้ตรวจสอบข้อเท็จจริงก็พบว่ารูปภาพดังกล่าวไม่ใช่รูปถ่าย แต่เป็นภาพวาดสีน้ำมัน ซึ่งวาดโดยจิตรกรชาวสเปนเมื่อปี ค.ศ. 1921 ตรวจสอบข้อเท็จจริง Fact Crescendo ได้ตรวจสอบรูปภาพดังกล่าวโดยการใช้ Google Image Search และพบว่ารูปภาพดังกล่าวเป็นภาพว่าของจิตรกรชาวสเปน โดยเว็บไซต์ tsemrinpoche ได้อธิบายถึงที่มาของรูปภาพนี้ไว้ โดยทางเว็บไซต์ได้เล่าความเป็นมาของข่าวลือของรูปดังกล่าวซึ่งคล้ายคลึงกับคำกล่าวอ้างจากเว็บไซต์ข้างต้น โดยมีข่าวลือว่ามีสาวกที่ได้ไปที่อำเภอพุทธคยา ประเทศอินเดีย และถ่ายภาพต้นศรีมหาโพธิ์ที่พระพุทธเจ้าประทับและตรัสรู้เมื่อครั้งพุทธกาล แต่เมื่อทำการล้างฟิล์มที่ถ่ายก็พบว่ามีบุคคลที่มีลักษณะคล้ายคลึงกับพระพุทธเจ้าปรากฏขึ้นภาพ โดยทางเว็บไซต์ดังกล่าวได้อธิบายเพิ่มเติมว่า แท้จริงแล้วรูปภาพอันโด่งดังนี้เป็นภาพวาดสีน้ำมันชื่อ “The Buddha’s Temptation” ที่วาดขึ้นเมื่อปี 1921 โดยจิตรกรชื่อ Eduardo Chicharro Aguera […]

Continue Reading