จีนและอินเดียยังไม่ได้ประกาศภาวะฉุกเฉินจากโรค HMPV

เมื่อช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา มีการแชร์ข้อมูลอย่างกว้างขวางในสื่อสังคมออนไลน์เกี่ยวกับการระบาดของโรค HMPV ในประเทศจีน พร้อมกับการอ้างว่ามีการประกาศภาวะฉุกเฉินในประเทศจีนและอินเดียแล้ว โดยข้อมูลดังกล่าวได้แพร่กระจายอย่างรวดเร็วบนโซเชียลมีเดียและสร้างความกังวลและสับสนแก่ผู้ใช้โซเชียลมีเดีย ข้อกล่าวอ้างบนโซเชียลมีเดีย  มีผู้ใช้โซเชียลมีเดียหลายรายได้แชร์ข้อมูลว่า จีนและอินเดียได้ประกาศภาวะฉุกเฉิน เนื่องจากโรค HMPV (Human Metapneumovirus) ระบาด พร้อมระบุว่าล่าสุดโรงพยาบาลได้เมืองหลักต่างๆ เช่น ปักกิ่ง เซี่ยงไฮ้ และกวางโจว มีภาวะผู้ป่วยล้นจนเตียงเต็ม เนื่องมาจากการติดเชื้อ HMPV ที่มา | ลิงก์ถาวร ที่มา | ลิงก์ถาวร ที่มา | ลิงก์ถาวร อย่างไรก็ตาม จากการตรวจสอบข้อเท็จจริง เราพบว่าข้อความดังกล่าวเป็นข้อมูลที่ชวนให้เข้าใจผิด ตรวจสอบข้อเท็จจริง HMPV คืออะไร? Human Metapneumovirus (HMPV) เป็นไวรัสในตระกูล Paramyxoviridae ที่เกี่ยวข้องกับการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ ไวรัสนี้ถูกค้นพบครั้งแรกในปี 2001 โดยการศึกษาพบว่า HMPV สามารถแพร่กระจายได้ทั่วโลกและพบได้ในคนทุกกลุ่มอายุ แม้ว่า HMPV จะมีลักษณะคล้ายกับ RSV (Respiratory Syncytial Virus) […]

Continue Reading

วิดีโอไวรัลที่อ้างว่าเป็นเหตุการณ์น้ำท่วมที่เชียงราย ชวนให้เข้าใจผิด

ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา เหตุการณ์น้ำท่วมในพื้นที่ต่างๆ ของภาคเหนือและภาคอีสานได้กลายเป็นประเด็นเร่งด่วนที่ดึงดูดความสนใจของประชาชนอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในจังหวัดเชียงราย ซึ่งได้รับผลกระทบอย่างหนักจากอุทกภัยครั้งนี้ และล่าสุด เราพบวิดีโอพร้อมข้อกล่าวอ้างว่ามาจากเหตุการณ์น้ำท่วมในจังหวัดเชียงราย แพร่กระจายบนโซเชียลมีเดีย โพสต์บนโซเชียลมีเดีย เมื่อวันที่ 14 กันยายนที่ผ่านมา ผู้ใช้แพลตฟอร์ม X ได้แชร์วิดีโอรถบรรทุกที่ถูกพัดไปกับกระแสน้ำ พร้อมข้อความระบุว่าเป็นเหตุการณ์น้ำท่วมในจังหวัดเชียงราย โดยระบุว่า “รถขนเสบียงไปเชียงราย สู้กระแสน้ำไม่ไหว จมหายไปทั้งคัน จนท. ช่วยคนขับรถไว้ได้ บาดเจ็บ นำส่ง รพ.เรียบร้อย ปลอดภัยดีแล้วค่ะ” พร้อมติดแฮชแท็ก #น้ำท่วมเชียงราย โดยโพสต์ดังกล่าวมีการรับชมไปกว่า 1.4 ล้านครั้ง ที่มา | ลิงก์ถาวร นอกจากนี้ เราพบวิดีโอและข้อกล่าวอ้างเดียวกันแพร่กระจายบน Facebook ด้วยเช่นเดียวกัน ที่มา | ลิงก์ถาวร อย่างไรก็ตาม จากการตรวจสอบ เราพบว่าวิดีโอดังกล่าวไม่ใช่เหตุการณ์จากจังหวัดเชียงราย และข้อความดังกล่าวเป็นข้อมูลที่ชวนให้เข้าใจผิด ตรวจสอบข้อเท็จจริง เราได้ดำเนินการตรวจสอบหาที่มาของวิดีโอดังกล่าว โดยใช้ฟีเจอร์การค้นหารูปภาพและวิดีโอแบบย้อนกลับ และพบว่า วิดีโอดังกล่าวเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในประเทศอินเดีย เมื่อเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา ซึ่งเป็นภัยพิบัติจากฝนมรสุมที่ส่งผลกระทบต่อ 7 รัฐทั่วประเทศอินเดีย ซึ่งก่อให้เกิดน้ำท่วมและดินถล่ม […]

Continue Reading