ภาพเหตุการณ์ที่อ้างว่าแรงงานเมียนมาในไทยออกมาประท้วงขอขึ้นค่าแรง ‘ชวนให้เข้าใจผิด’

เมื่อเร็วๆ นี้ มีรูปภาพแพร่กระจายพร้อมข้อกล่าวอ้างว่าเป็นเหตุการณ์ที่กลุ่มชาวเมียนมาในประเทศไทยได้ออกมาชุมนุมที่หน้าองค์การสหประชาชาติ (UN) ในกรุงเทพฯ เพื่อเรียกร้องให้ปรับขึ้นค่าแรงรายวัน โดยภาพและข้อความดังกล่าวได้มีการแชร์ต่ออย่างเป็นวงกว้าง โพสต์บนโซเชียลมีเดีย เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา มีผู้ใช้ Facebook ได้โพสต์รูปการชุมนุมของกลุ่มชาวเมียนมา พร้อมข้อความระบุว่า เป็นเหตุการณ์ที่ “แรงงานพม่าในไทยออกมาเดินขบวนเรียกร้องให้รัฐบาลไทยขึ้นเงินค่าแรงต่อวันเป็นวันละ 700 บาท” โดยภาพและข้อความดังกล่าวมีการแชร์ต่ออย่างแพร่หลาย ที่มา | ลิงก์ถาวร ที่มา | ลิงก์ถาวร ที่มา | ลิงก์ถาวร นอกจากนี้ เรายังพบข้อกล่าวอ้างเดียวกันบนแพลตฟอร์ม X อีกด้วย ที่มา | ลิงก์ถาวร อย่างไรก็ตาม จากการตรวจสอบข้อเท็จจริง เราพบว่าข้อมูลดังกล่าวเป็นข้อมูลที่ชวนให้เข้าใจผิด การตรวจสอบข้อเท็จจริง จากการค้นหาโดยใช้ฟีเจอร์ค้นหารูปภาพแบบย้อนกลับ เราพบรูปภาพชุดดังกล่าวในเพจ Facebook ของ BBC Burmese โดยภายในโพสต์ได้ระบุที่มาของรูปภาพว่านำมาจากกลุ่มพันธมิตรชานม หรือ Milk Tea Alliance ซึ่งเป็นกลุ่มนักเคลื่อนไหวทางการเมืองของคนรุ่นใหม่จากหลากหลายประเทศในเอเชีย อย่างไรก็ตาม ในโพสต์ของ BBC […]

Continue Reading

วิดีโอไวรัลถูกเข้าใจผิดว่าเป็นห้องสมุดที่ถูกเผาจากเหตุจลาจลที่ฝรั่งเศส

เหตุประท้วงในฝรั่งเศสยังคงรุนแรงและลุกลามไปในหลายเมือง โดยนับว่าเป็นหนึ่งในการประท้วงที่รุนแรงที่สุดครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์ฝรั่งเศส นอกจากนี้ภาพและวิดีโอต่างๆ เกี่ยวกับเหตุจลาจลครั้งนี้ก็ได้รับความสนใจและแพร่กระจายบนโลกโซเชียลอย่างรวดเร็ว ซึ่งบางโพสต์ก็มีข้อมูลที่อาจชวนให้เข้าใจผิดได้ เราจึงทำการตรวจสอบในกรณีดังกล่าว โพสต์บนโซเชียลมีเดีย วันพุธที่ 5 กรกฎาคมที่ผ่านมา ผู้ใช้ติ๊กต็อกได้โพสต์วิดีโอหนึ่ง พร้อมคำบรรยายว่า “วิกฤตฝรั่งเศส ผู้ก่อจลาจลเผาห้องสมุดและเผาทุกอย่าง” Source | Archive นอกจากนี้วิดีโอดังกล่าวยังแพร่กระจายในแพลตฟอร์มอื่นๆ บนโซเชียลมีเดียอีกด้วย ผู้ใช้ทวิตเตอร์รายหนึ่งได้โพสต์วิดีโอเดียวกัน พร้อมข้อความที่ระบุว่าเป็นห้องสมุดที่เมืองมาร์เซย ฝรั่งเศส Archive นอกจากนี้วิดีโอดังกล่าวยังแพร่กระจายบนเฟซบุ๊กเช่นเดียวกัน Source | Archive ตรวจสอบข้อเท็จจริง เราเริ่มดำเนินการตรวจสอบกรณีดังกล่าวโดยการค้นหาข่าวเกี่ยวกับผู้ก่อจลาจลเผาห้องสมุดในเมืองมาร์กเซย ตามที่โพสต์ข้างต้นระบุ และพบว่ามีรายงานการเผาห้องสมุดในมาร์กเซยจริง (อ่านข่าวได้ ที่นี่ และที่นี่) อย่างไรก็ตาม เราไม่พบวิดีโอที่เป็นไวรัลในรายงานข่าวจากสื่อและแหล่งข่าวที่เชื่อถือได้แต่อย่างใด เราจึงค้นหาที่มาของวิดีโอโดยการใช้ฟีเจอร์ Reverse Video Search และพบวิดีโอที่ตรงกันจากสำนักข่าว Al Jazeera โดย Al Jazeera ได้รายงานว่าเป็นเหตุการณ์ “ไฟไหม้อาคารสำนักงานที่ทำการไปรษณีย์กรุงมะนิลา ประเทศฟิลิปปินส์” และเมื่อทำการค้นหาเกี่ยวกับข่าวดังกล่าวเพิ่มเติม ก็พบว่ามีแหล่งข่าวต่างๆ รายงานเหตุการณ์ครั้งดังกล่าวมากมาย โดยสามารถรับชมข่าวเหตุการณ์ไฟไฟม้ครั้งนี้ได้ ที่นี่ ที่นี่ […]

Continue Reading