ข้อมูลเท็จ: ส.ส. ได้รับบำนาญหลังรับตำแหน่งเพียง 2 ปี

เมื่อไม่นานมานี้ มีการแชร์ข้อมูลในโซเชียลมีเดียเกี่ยวกับเงินบำนาญของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) โดยระบุว่ามีการออกกฎหมายให้สิทธิ์ ส.ส. ให้ได้รับเงินบำนาญ ตามระยะเวลาการเป็น ส.ส. โพสต์บนโซเชียลมีเดีย ผู้ใช้โซเชียลมีเดีย ได้แชร์ข้อความที่ระบุว่า “ส.ส. สามารถรับเงินบำนาญได้หลังจากดำรงตำแหน่งเพียง 2 ปี ในขณะที่ข้าราชการต้องมีอายุราชการนาน 25 ปี ถึงมีสิทธิ์ได้รับบำนาญ“ โดยข้อความดังกล่าวมีการแชร์อย่างแพร่หลายทั้งบน Facebook, X และ TikTok ที่มา | ลิงก์ถาวร ที่มา | ลิงก์ถาวร ที่มา | ลิงก์ถาวร ตรวจสอบข้อเท็จจริง จากการตรวจสอบข้อเท็จจริง เราพบว่าข้อความดังกล่าวมีการแพร่กระจายมาตั้งแต่ปี 2566 (ที่มา | ลิงก์ถาวร) โดยทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ได้ชี้แจงแล้วว่าเป็นข้อมูลเท็จ โดยทางกรมบัญชีกลาง กระทรวงการคลัง ได้ตรวจสอบข้อมูลและชี้แจงว่า สิทธิในการได้รับบำเหน็จบำนาญของ ส.ส. และ ส.ว. สรุปได้ดังนี้ ส.ส. และ ส.ว. ไม่มีสิทธิได้รับบำเหน็จหรือบำนาญ […]

Continue Reading

พรรคก้าวไกลมีนโยบายลดบำนาญข้าราชการจริงหรือไม่?

การเลือกตั้งใหญ่ของประเทศไทยกำลังจะเกิดในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า ท่ามกลางการแข่งขันด้านนโยบายกันอย่างเข้มข้น การแพร่กระจายของข่าวปลอมและข้อมูลเท็จต่างๆ ก็ถือเป็นปัญหาที่พบเจอได้บ่อยครั้ง แน่นอนว่าข้อมูลข่าวสารเท็จสามารถส่งผลกระทบต่อการตัดสินใจของประชาชนได้ ล่าสุด มีข้อกล่าวอ้างเกี่ยวกับพรรคก้าวไกลที่กลับมาเผยแพร่บนโซเชียลอีกครั้ง เราจึงดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงของเรื่องราวดังกล่าวนี้ ข้อกล่าวอ้างบนโซเชียลมีเดีย เมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ มีผู้ใช้ทวิตเตอร์รายหนึ่งได้ทวีตรูปภาพที่มีข้อความว่า “พิธา ยืนยัน ถ้าไม่ตัด ก็จะขอลดเงินบำนาญข้าราชการ เพราะมันคือ “งบช้างป่วย” ไม่เป็นประโยชน์ต่อประชาชน” Claim | Archive โดยทวีตดังกล่าวมีการรับชมไปแล้วกว่าสองหมื่นครั้ง และรีทวีตต่อกว่า 120 ครั้ง อย่างไรก็ตาม เราพบว่าข้อความดังกล่าวไม่เป็นความจริงแต่อย่างใด ตรวจสอบข้อเท็จจริง เมื่อทำการตรวจสอบ พบว่าประเด็น “ช้างป่วย” ในข้อกล่าวอ้างนั้นมาจากการอภิปรายในสภาของนายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรคก้าวไกล เมื่อเดือนพฤษภาคม 2565 (ที่มา) โดยนายพิธาได้อภิปรายถึงงบประมาณของประเทศ โดยกล่าวว่าตัวเลขที่สูงที่สุดในงบประมาณชุดดังกล่าว คือเบี้ยหวัดของข้าราชการ ซึ่งเทียบเท่างบของกระทรวงศึกษาธิการทั้งกระทรวง และได้เปรียบเทียบว่า (ระบบเบี้ยข้าราชการ) มีลักษณะเหมือนช้างป่วยที่ปรับตัวไม่ได้ รัฐบาลได้ใช้เงินจำนวนกว่า 40% ของรายได้ประเทศไปกับรายจ่ายของบุคลากรในระบบราชการที่อุ้ยอ้าย นอกจากนี้ยังได้วิเคราะห์ถึงจำนวนเงินบำนาญของข้าราชการที่เพิ่มขึ้นถึง 2 เท่า ในช่วง 8 ปีที่ผ่านมา […]

Continue Reading