ข้อความว่าน้ำทะเลหนุนสูง ทำให้กรุงเทพฯ กำลังจะจมน้ำ เป็นข้อมูลชวนให้เข้าใจผิด

ท่ามกลางข่าวน้ำท่วมหนักในหลายๆ พื้นที่ในประเทศไทย ล่าสุดเราพบข้อความที่แพร่กระจายเกี่ยวกับน้ำท่วมในพื้นที่กรุงเทพฯ ซึ่งอาจทำให้เมืองจมทะเลในไม่ช้า โดยข้อความดังกล่าวแพร่กระจายอย่างกว้างขวางบนโซเชียลมีเดีย โพสต์บนโซเชียลมีเดีย เมื่อช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา มีข้อความแพร่กระจายบนแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดีย ระบุว่า “น้ำทะเลหนุน ถนนพระราม 2 เมืองกำลังจะจมทะเล ถ้าเรายังไม่เริ่มวางแผนรับมือ” ที่มา | ลิงก์ถาวร โดยรูปภาพและข้อความดังกล่าวมีการแชร์อย่างแพร่หลายบนแพลตฟอร์ม Facebook ที่มา | ลิงก์ถาวร ที่มา | ลิงก์ถาวร อย่างไรก็ตาม เราพบว่าข้อมูลดังกล่าวเป็นข้อมูลที่ชวนให้เข้าใจผิด ตรวจสอบข้อเท็จจริง จากการตรวจสอบของเราพบว่า ในช่วงวันที่ 5 ตุลาคมที่ผ่านมา เกิดเหตุน้ำท่วมที่บริเวณถนนพระราม 2 จริง แต่เป็นน้ำท่วมขังที่รอการระบาย เนื่องมาจากฝนตกหนักและน้ำทะเลหนุนสูง อย่างไรก็ตาม ทางรัฐฯได้ดำเนินการแก้ไขแล้ว นายกฤชนนท์ อัยยปัญญา โฆษกกระทรวงคมนาคม รายงานเหตุน้ำท่วมบนถนนพระราม 2 เมื่อวันที่ 5 ต.ค. 67 ระดับน้ำท่วมขัง 15-25 ซม. ส่งผลให้การจราจรติดขัด สาเหตุเกิดจากฝนตกหนักและน้ำทะเลหนุนสูงเมื่อวันที่ 3 ต.ค. […]

Continue Reading

วิดีโอไวรัลที่อ้างว่าเป็นเหตุการณ์น้ำท่วมที่เชียงราย ชวนให้เข้าใจผิด

ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา เหตุการณ์น้ำท่วมในพื้นที่ต่างๆ ของภาคเหนือและภาคอีสานได้กลายเป็นประเด็นเร่งด่วนที่ดึงดูดความสนใจของประชาชนอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในจังหวัดเชียงราย ซึ่งได้รับผลกระทบอย่างหนักจากอุทกภัยครั้งนี้ และล่าสุด เราพบวิดีโอพร้อมข้อกล่าวอ้างว่ามาจากเหตุการณ์น้ำท่วมในจังหวัดเชียงราย แพร่กระจายบนโซเชียลมีเดีย โพสต์บนโซเชียลมีเดีย เมื่อวันที่ 14 กันยายนที่ผ่านมา ผู้ใช้แพลตฟอร์ม X ได้แชร์วิดีโอรถบรรทุกที่ถูกพัดไปกับกระแสน้ำ พร้อมข้อความระบุว่าเป็นเหตุการณ์น้ำท่วมในจังหวัดเชียงราย โดยระบุว่า “รถขนเสบียงไปเชียงราย สู้กระแสน้ำไม่ไหว จมหายไปทั้งคัน จนท. ช่วยคนขับรถไว้ได้ บาดเจ็บ นำส่ง รพ.เรียบร้อย ปลอดภัยดีแล้วค่ะ” พร้อมติดแฮชแท็ก #น้ำท่วมเชียงราย โดยโพสต์ดังกล่าวมีการรับชมไปกว่า 1.4 ล้านครั้ง ที่มา | ลิงก์ถาวร นอกจากนี้ เราพบวิดีโอและข้อกล่าวอ้างเดียวกันแพร่กระจายบน Facebook ด้วยเช่นเดียวกัน ที่มา | ลิงก์ถาวร อย่างไรก็ตาม จากการตรวจสอบ เราพบว่าวิดีโอดังกล่าวไม่ใช่เหตุการณ์จากจังหวัดเชียงราย และข้อความดังกล่าวเป็นข้อมูลที่ชวนให้เข้าใจผิด ตรวจสอบข้อเท็จจริง เราได้ดำเนินการตรวจสอบหาที่มาของวิดีโอดังกล่าว โดยใช้ฟีเจอร์การค้นหารูปภาพและวิดีโอแบบย้อนกลับ และพบว่า วิดีโอดังกล่าวเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในประเทศอินเดีย เมื่อเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา ซึ่งเป็นภัยพิบัติจากฝนมรสุมที่ส่งผลกระทบต่อ 7 รัฐทั่วประเทศอินเดีย ซึ่งก่อให้เกิดน้ำท่วมและดินถล่ม […]

Continue Reading

ภาพพร้อมข้อความว่าในหลวงมาช่วยผู้ประสบภัยน้ำท่วมที่เชียงราย เป็นข้อมูลที่ชวนให้เข้าใจผิด

เมื่อเร็วๆ นี้ มีภาพพร้อมข้อความแพร่กระจายว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงขับเครื่องบินมาที่ค่ายทหารที่เชียงราย เพื่อมาสั่งเตรียมถุงยังชีพช่วยเหลือประชาชนที่ประสบเหตุอุทกภัยที่จังหวัดเชียงราย โพสต์บนโซเชียลมีเดีย มีผู้ใช้ Facebook หลายราย ได้แชร์พระบรมฉายาลักษณ์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พร้อมข้อความกำกับว่า “ร.10 ทรงเครื่องบินมาที่ค่ายทหารเชียงราย โดยประสานงานระหว่างองครักษ์และทหาร ไม่ให้ข้าราชการและประชาชนแตกตื่น ผู้ว่า นาย อำเภอ และนักการเมือง ไม่ต้องมารับ ให้เอาเวลาไปช่วยชาวบ้านที่เดือดร้อน สั่งเตรียมถุงยังชีพ พร้อมโดรนส่งสิ่งของพระราชทานเข้าไป มีกลุ่มทหารรอรับเป็นจุด ๆ เช้าวันนี้ (12 ก.ย. 67) เริ่มส่งถึงมือผู้ประสบภัย พระองค์ลงจากฮ. ไม่ทรงถามหาใครเลย เพราะฝ่ายทหารเตรียมพร้อม ไม่ต้องมีพิธีอะไร ข่าวดีๆแบบนี้ สื่อไม่มีออกข่าวเลย สื่อไม่ออก เราก็ช่วยกันแชร์นะครับ ทรงปิดทองหลังพระ #ขอพระองค์ทรงพระเจริญยิ่งยืนนาน” ที่มา | ลิงก์ถาวร ที่มา | ลิงก์ถาวร ที่มา | ลิงก์ถาวร อย่างไรก็ตาม จากการตรวจสอบข้อเท็จจริง เราพบว่าข้อมูลดังกล่าวเป็นข้อมูลที่ชวนให้เข้าใจผิด ตรวจสอบข้อเท็จจริง เราได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงโดยใช้เครื่องมือการค้นหารูปภาพแบบย้อนกลับ (Reverse […]

Continue Reading

น้ำท่วมครั้งใหญ่ในดูไบ ไม่ได้มีสาเหตุมาจากฝนเทียม

เมื่อช่วงไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมา ดูไบประสบเหตุการณ์ฝนตกครั้งใหญ่ที่สุดในรอบ 75 ปีของสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ทำให้เกิดน้ำท่วมเมืองและเหตุขัดข้องในหลายๆ ภาคส่วน รวมถึงและการระงับเที่ยวบินจำนวนมาก และท่ามกลางภัยพิบัติครั้งนี้ มีข้อความบนโซเชียลมีเดียจำนวนมากระบุว่าสาเหตุที่ทำให้เกิดน้ำท่วมใหญ่ครั้งนี้คือการเพาะเมฆ (Cloud Seeding) หรือการทำฝนเทียม อ่านบทความที่เกี่ยวข้อง: คลิปวิดีโอในอดีต ถูกนำมาแชร์ใหม่ว่าเป็นเหตุการณ์น้ำท่วมในซาอุฯ ครั้งล่าสุด ข้อกล่าวอ้างบนโซเชียลมีเดีย เมื่อเร็วๆ นี้ มีผู้ใช้หลายรายบน Facebook ที่โพสต์ข้อความระบุว่าสาเหตุที่เกิดน้ำท่วมใหญ่ในเมืองดูไบนั้นมีสาเหตุมาจากการทำฝนเทียมในเมือง ที่มา | ลิงก์ถาวร ที่มา | ลิงก์ถาวร ที่มา | ลิงก์ถาวร ตรวจสอบข้อเท็จจริง ศูนย์อุตุนิยมวิทยาแห่งชาติ (National Center of Meteorology: NCM) ซึ่งรับผิดชอบโครงการ Cloud Seeding ในสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ระบุกับสำนักข่าว CNBC ว่า ทางศูนย์ฯ ไม่ได้ดำเนินการเพาะเมฆในช่วงก่อนหน้าหรือระหว่างช่วงที่มีเหตุการณ์สภาพอากาศแปรปรวนครั้งนี้แต่อย่างใด Maarten Ambaum ศาสตราจารย์ด้านฟิสิกส์และพลศาสตร์ของชั้นบรรยากาศ University of Reading กล่าวว่าเขาได้พูดคุยกับนักอุตุนิยมวิทยาที่ NCM ที่ได้ปฏิเสธว่าไม่ได้ทำการเพาะเมฆในช่วงระยะเวลาดังกล่าว โดยอธิบายเพิ่มเติมว่าการเพาะเมฆในเอมิเรตส์นั้นใช้กับเมฆที่ไม่ก่อให้เกิดฝน […]

Continue Reading