Fact Crescendo Thailand 2024 Recap: รวบรวมบทความตรวจสอบข้อเท็จจริงที่น่าสนใจตลอดปี 2024

ในโลกยุคดิจิทัลที่ข้อมูลข่าวสารแพร่กระจายอย่างรวดเร็ว การแยกแยะระหว่างข้อเท็จจริงกับข้อมูลที่บิดเบือนยังคงเป็นสิ่งที่เรามุ่งมั่นทำมาตลอดปี 2024 โดยบทความนี้ เราได้รวบรวมประเด็นสำคัญต่างๆ ที่ทีม Fact Crescendo Thailand ได้ตรวจสอบในปี 2024 ครอบคลุมทั้งด้านสุขภาพ กลโกงออนไลน์ และข่าวต่างประเทศที่เป็นไวรัลบนโซเชียลมีเดีย หมวดสุขภาพ ในปี 2024 ทีม Fact Crescendo Thailand ได้ตรวจสอบข่าวสารและข้อมูลที่เกี่ยวกับสุขภาพหลายประเด็น ซึ่งมักจะเป็นข้อมูลที่สร้างความเข้าใจผิดและอาจส่งผลต่อการตัดสินใจด้านสุขภาพของประชาชน หนึ่งในหัวข้อสำคัญในช่วงต้นปีที่ผ่านมาคือเรื่องโควิด-19 โดยเฉพาะสายพันธุ์ใหม่อย่าง JN.1 โดยเราได้เผยแพร่บทความที่ให้ข้อมูลเกี่ยวกับความรุนแรง อาการ และวิธีป้องกัน เพื่อช่วยให้ประชาชนเข้าใจและเตรียมตัวรับมือโรคระบาดได้ดียิ่งขึ้น นอกจากนี้ ยังมีการตรวจสอบข้อกล่าวอ้างที่เชื่อมโยงวัคซีน mRNA กับ การเกิดลิ่มเลือดสีขาว ซึ่งข้อเท็จจริงชี้ว่าไม่มีหลักฐานยืนยันความเชื่อมโยงดังกล่าว อีกประเด็นหนึ่งที่ได้รับความสนใจคือความเชื่อด้านสุขภาพที่มีการแชร์ต่ออย่างแพร่หลายบนโซเชียล เช่น การอ้างว่า การถือของหนักหรือสะพายกระเป๋าหนัก อาจนำไปสู่การเป็นโรคกระดูกสันหลังคด และข้อกล่าวอ้างที่ว่า การสระผมก่อนอาบน้ำอาจทำให้เส้นเลือดในสมองแตก หรือข้อความที่อ้างว่า การรับประทานเมล็ดมะละกอสามารถรักษามะเร็งได้ ล้วนเป็นข้อมูลที่ขาดหลักฐานทางวิทยาศาสตร์สนับสนุน ในด้านเทคโนโลยีสุขภาพ ยังมีการตรวจสอบผลิตภัณฑ์ที่อ้างว่าสามารถป้องกันรังสี EMF ได้ ซึ่งพบว่าผลิตภัณฑ์ดังกล่าวไม่มีประสิทธิภาพจริง เช่นเดียวกับข่าวลือเรื่องความเชื่อมโยงระหว่างวัคซีนโควิด-19 กับ การระบาดของโรคฝีดาษลิง ซึ่งเป็นข้อมูลที่ไม่ถูกต้อง […]

Continue Reading

กรมอุตุฯ ยืนยัน: ข้อความว่า “8 เม.ย. เป็นวันที่ร้อนที่สุดของปี” ชวนให้เข้าใจผิด

ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา มีข้อความที่แชร์กันอย่างเป็นวงกว้างบนโซเชียลมีเดียที่ระบุว่า วันจันทร์ที่ 8 เมษายนนี้ จะเป็นวันที่ร้อนที่สุดของปี ส่งข้อมูลให้เราช่วยตรวจสอบข้อเท็จจริงได้ที่นี่ ข้อกล่าวอ้างบนโซเชียลมีเดีย เราได้รับเบาะแสจากผู้ใช้ ผ่านช่องทางไลน์ตรวจสอบข้อเท็จจริงของเรา โดยมีข้อความแพร่กระจายบนแพลตฟอร์มอย่างแพร่หลาย ระบุว่า วันที่ 8 เมษายนจะเป็นวันที่ร้อนที่สุด โดยเราพบว่าข้อความดังกล่าวมีการแพร่กระจายบน Facebook เช่นเดียวกัน ที่มา (1) (2) (3) (4) | ลิงก์ถาวร (1) (2) (3) (4) ตรวจสอบข้อเท็จจริง จากการตรวจสอบข้อมูลเพิ่มเติมจากแหล่งที่มาต่างๆ และข้อมูลของกรมอุตุนิยมวิทยา และพบว่าข้อมูลดังกล่าวมาจากเพจ Facebook ของ รศ.ดร.เสรี ศุภราทิตย์ ที่คาดการณ์อากาศของประเทศไทยในอีก 60 ปีข้างหน้า ที่มา | ลิงก์ถาวร นอกจากนี้ กรมอุตุนิยมวิทยา ได้ชี้แจงว่า ข้อมูลดังกล่าวเป็นข้อมูลที่มิได้มีที่มาจากกรมอุตุนิยมวิทยาแต่อย่างใด โดยพยากรณ์อากาศในช่วงวันที่ 8-11 เม.ย. 67 บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นจากประเทศจีนจะแผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบนและทะเลจีนใต้ ในขณะที่ประเทศไทยตอนบนมีอากาศร้อนถึงร้อนจัด ประกอบกับมีลมตะวันออกและลมตะวันออกเฉียงใต้พัดนำความชื้นจากทะเลจีนใต้และอ่าวไทยเข้ามาปกคลุมประเทศไทยตอนบน ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยตอนบนจะมีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้นในระยะแรก […]

Continue Reading

ข้อความไวรัลว่าจะไม่มีสุริยุปราคาเต็มดวงอีก 375 ปี ชวนให้เข้าใจผิด

ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา โซเชียลมีเดียต่างให้ความสนใจกับปรากฏการณ์สุริยุปราคาแบบเต็มดวงที่จะเกิดขึ้นในวันที่ 8 เมษายนนี้ (ตามเวลาสหรัฐฯ) และเราพบข้อความไวรัลที่ระบุว่า ปรากฏการณ์สุริยุปราคาแบบเต็มดวงลักษณะนี้จะไม่เกิดขึ้นอีกเป็นเวลา 375 ปี ข้อกล่าวอ้างบนโซเชียลมีเดีย ผู้ใช้ Facebook จำนวนหลายรายได้โพสต์ข้อความว่า “บันทึกวันที่, มันจะเป็นประวัติศาสตร์! ในวันที่ 8 เมษายน 2567 จะเกิดสุริยุปราคาเต็มดวง และจะเปลี่ยนกลางวันเป็นกลางคืน อุณหภูมิจะลดลง สัตว์จะเต็มไปด้วยโคลน และความมืดจะทำให้แสงแดดกลายเป็นกลางคืน เราจะไม่เห็นสุริยุปราคาเต็มดวงเช่นนี้อีกเป็นเวลา 375 ปี” โดยล่าสุดโพสต์ดังกล่าวมีการแชร์ต่อกว่า 12,000 ครั้ง ที่มา | ลิงก์ถาวร ที่มา | ลิงก์ถาวร อย่างไรก็ตาม เราพบว่าข้อกล่าวอ้างดังกล่าวอาจชวนให้ผู้อ่านเกิดความเข้าใจผิดได้ ตรวจสอบข้อเท็จจริง สุริยุปราคาเต็มดวงเป็นปรากฏการณ์ที่ดวงจันทร์โคจรผ่านระหว่างโลกกับดวงอาทิตย์ และบดบังแสงอาทิตย์ ถือเป็นเหตุการณ์ที่หาชมได้ยาก อย่างไรก็ตาม ความถี่ของเหตุการณ์เหล่านี้ไม่ได้ใช้เวลานานหลายร้อยปีตามข้อกล่าวอ้าง ความถี่ของการเกิดปรากฏการณ์สุริยุปราคามาจากปัจจัยหลายประการ ซึ่งรวมถึงวงโคจรของดวงจันทร์ที่โคจรแบบเอียง และเส้นทางการโคจรซึ่งเป็นวงรี ปัจจัยเหล่านี้มีอิทธิพลต่อความถี่และตำแหน่งสุริยุปราคาบนโลก อย่างไรก็ตาม จากข้อมูลจาก NASA ระยะเวลาระหว่างสุริยุปราคาทั้งหมดที่สังเกตได้จากสหรัฐอเมริกาที่อยู่ติดกันนั้นน้อยกว่า 375 ปีมาก หลังจากสุริยุปราคาเต็มดวงที่กำหนดไว้ในวันที่ […]

Continue Reading

ข้อความไวรัลอ้างว่า ‘หมาล่ามีโซดาไฟ’ ไม่เป็นความจริง

เมื่อไม่กี่วันที่ผ่านมา มีข้อความแพร่กระจายบนโซเชียลมีเดียที่อ้างว่า หมาล่าหรือพริกแห้งที่นำเข้าจากประเทศจีนนั้นมีการใช้โซดาไฟเป็นส่วนผสม และนำไปผสมกับสีย้อมผ้าเป็นให้ได้สีสันที่ดูน่ารับประทาน นอกจากนี้ยังระบุว่าการบริโภคหมาล่าทำให้เกิดอาการชาในปาก ซึ่งก่อให้เกิดอันตรายต่อตับและส่วนอื่นๆ ของร่างกาย และยังอ้างว่าญี่ปุ่นและไต้หวันได้สั่งห้ามนำเข้าหมาล่าแล้ว ในขณะที่คนไทยยังคงบริโภคต่อไป ข้อกล่าวอ้างบนโซเชียลมีเดีย เมื่อวันที่ 22 มีนาคมที่ผ่านมา มีผู้ใช้ Facebook โพสต์ข้อความระบุว่า “หมาล่า หรือพริกแห้งที่ส่งมาจากเมืองจีน เป็นพริกที่เก็บเกี่ยวโดยใช้สารโซดาไฟ พ่นให้ใบเหี่ยวแห้ง แล้วร่อนเอาพริกออกมา บดแล้วผสมกับสีย้อมผ้า เวลากินจะรู้สึกชาๆที่ปาก เป็นอันตรายต่อตับและร่างกายทุกส่วน ประเทศญี่ปุ่นประเทศไต้หวัน เขาห้ามนำเข้ามาขายแล้ว แต่คนไทย ยังเอามากินกันอยู่” พร้อมโพสต์รูปภาพเครื่องปรุงรสยี่ห้อหนึ่งประกอบ ที่มา | ลิงก์ถาวร โดยข้อความดังกล่าวมีการแชร์ต่ออย่างกว้างขวาง ตรวจสอบข้อเท็จจริง เราได้ทำการค้นหาข้อมูลและรายงานเกี่ยวกับการตรวจพบโซดาไฟและสีย้อมผ้าในเครื่องปรุงหมาล่าที่นำเข้ามาในไทย แต่ก็ไม่พบรายงานใดๆ เกี่ยวกับเรื่องนี้ และล่าสุด ในวันที่ 25 มีนาคมที่ผ่านมา บริษัทฟ้าไทย เจ้าของผลิตภัณฑ์เครื่องปรุงหมาล่าที่ถูกนำรูปไปใช้ประกอบข้อความข้างต้น ได้ออกแถลงการณ์ชี้แจงว่าข้อมูลดังกล่าวไม่เป็นความจริง โดยยืนยันว่า วัตถุดิบที่ใช้ในการผลิต “น้ำซุปหมาล่าเข้มข้น ตราฟ้าไทย” ไม่มีสารเคมีอันตรายใดๆ สามารถบริโภคได้อย่างปลอดภัย ผ่านการรับรองมาตรฐาน อย. และ มาตรฐาน GHPs […]

Continue Reading

ภาพไวรัล ‘ช้างปีนต้นไม้’ ไม่ใช่ภาพถ่ายจริงจากกล้องวงจรปิด

เมื่อไม่นานมานี้ มีภาพลักษณะคล้ายภาพจากกล้องวงจรปิดภาพหนึ่งแพร่กระจายอย่างกว้างขวางบนโซเชียลมีเดีย โดยมีการรับชมบนแพลตฟอร์ม X ไปกว่าสองล้านครั้ง โพสต์บนโซเชียลมีเดีย เมื่อวันที่ 23 มีนาคมที่ผ่านมา ผู้ใช้แพลตฟอร์ม X (Twitter) ได้โพสต์ภาพช้างปีนต้นไม้ ซึ่งถ่ายได้จากกล้องวงจรปิด โดยโพสต์ดังกล่าวมีการรับชมไปกว่า 2.9 ล้านครั้ง และรีโพสต์ไปกว่า 57,000 ครั้ง Source | Archive นอกจากนี้ภาพดังกล่าวยังแพร่กระจายบน Facebook และ Instagram อีกด้วย Source | Archive Source | Archive อย่างไรก็ตาม หลังจากดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริง เราพบว่าภาพดังกล่าวไม่ใช่ภาพจริงแต่อย่างใด ตรวจสอบข้อเท็จจริง เราได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงโดยการใช้ฟีเจอร์การค้นหารูปภาพแบบย้อนกลับ (Reverse Image Search) เพื่อทำการหาที่มาของภาพ และพบว่าแท้จริงแล้วภาพดังกล่าวเป็นภาพที่สร้างโดยใช้ Dall-E 3 ซึ่งเป็นโปรแกรมสร้างรูปภาพจาก AI โดยผู้สร้างรูปภาพได้โพสต์ภาพดังกล่าวในกลุ่ม AI CREATIVES THAILAND บน Facebook Source […]

Continue Reading

โพสต์ไวรัลและภาพจาก AI เกี่ยวกับทีมนักแกะสลักหิมะของไทย ชวนให้เข้าใจผิด

เมื่อช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา ผู้ใช้โซเชียลมีเดียจำนวนมากได้แชร์ข้อความที่ระบุว่าทีมนักแกะสลักหิมะจากประเทศไทยได้ชนะการแข่งขันแกะสลักหิมะซัปโปโร (International Snow Sculpture) ที่เมืองซัปโปโร จังหวัดฮอกไกโด ประเทศญี่ปุ่น พร้อมรูปภาพการแกะสลักหิมะเป็นรูปพญานาค ข้อกล่าวอ้างบนโซเชียลมีเดีย ในวันที่ 15 กุมภาพันธ์ มีผู้ใช้โซเชียลรายหนึ่งได้โพสต์ภาพงานแกะสลักหิมะรูปพญานาค พร้อมข้อความว่า “ยินดีกับทีมแกะสลักหิมะไทยแลนด์ในการประกวดแข่งขันแกะสลักหิมะคว้าอันดับ1 ที่ Supporo snow Festival 2024, Japan. Snow Sculpture_Thai Naka Fireball” ที่มา | ลิงก์ถาวร โดยโพสต์ดังกล่าวมีการแชร์สองพันครั้ง และมีผู้กดถูกใจว่าสามหมื่นครั้ง นอกจากนี้เรายังพบข้อกล่าวอ้างเดียวกันแพร่กระจายในวงกว้างทั้งบน Facebook และ Tiktok (ดูโพสต์ได้ที่นี่ ที่นี่ และที่นี่) ตรวจสอบข้อเท็จจริง จากการตรวจสอบข้อมูล เราพบว่าในการแข่งขันแกะสลักหิมะซัปโปโรในปีนี้ ทีมชาติไทยได้รางวัลอันดับที่ 2 (รองชนะเลิศ) ไม่ใช่รางวัลอันดับ 1 ตามโพสต์ที่กล้าวอ้างแต่อย่างใด โดยทีมแกะสลักหิมะไทยได้นำเสนอผลงานที่ชื่อว่า “The Naga Fireballs” หรือ “บั้งไฟพญานาค” ที่สื่อถึงตำนานความเชื่อและวัฒนธรรมของไทย โดยตัวแทนทีมชาติไทยครั้งนี้ ประกอบด้วย นายกุศล บุญกอบส่งเสริม นายอำนวยศักดิ์ […]

Continue Reading

โครงการเวิร์กช็อปในหัวข้อ “การรู้เท่าทันสื่อ” โดย Fact Crescendo Thailand

โครงการการรู้เท่าทันสื่อ หรือ Media Literacy เป็นหนึ่งในโครงการของบริษัท Fact Crescendo ที่มุ่งเน้นในการช่วยสร้างความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับสื่อในยุคปัจจุบัน เสริมสร้างทักษะการรู้เท่าทันสื่อที่จำเป็น ช่วยให้สามารถวิเคราะห์ วิจารณ์ ประเมิน และเข้าใจเนื้อหาในสื่อดิจิทัลต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยมุ่งหวังให้ผู้เข้าร่วมจะสามารถแยกแยะข้อมูลที่เชื่อถือได้ ระบุข้อมูลที่ผิด และบริโภคสื่อออนไลน์ต่างๆ อย่างรู้เท่าทัน โครงการนี้มีเป้าหมายที่จะช่วยให้ความรู้ความเข้าใจให้แก่กลุ่มบุคลากรและองค์กรต่างๆ ที่สนใจในทุกช่วงวัย และเนื้อหาจะมีการปรับเปลี่ยนให้เหมาะสมกับช่วงวัยและบริบทของผู้เข้าฟังบรรยาย โดยที่ผ่านมา Fact Crescendo ได้ไปบรรยายให้แก่นักเรียน นักศึกษา และบุคลากรจากองค์กรต่างๆ ได้แก่ บรรยายให้กับนักศึกษาจากวิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น บรรยายให้กับกลุ่มบุคลากรทางการแพทย์จากกลุ่มงานการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก โรงพยาบาลสุวรรณภูมิ บรรยายให้กับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาที่ 1-6 โรงเรียนสูงยางวิทยาประชาสรรค์ บรรยายให้กับบุคลากรจากองค์การบริหารส่วนตำบลโนนภิบาล และประชาชนจากตำบลโนนภิบาล บรรยายให้กับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จากโรงเรียน The Essence เนื้อหาในการบรรยาย ในช่วงเริ่มต้นของการบรรยาย เราจะพูดถึงพฤติกรรมการใช้งานโซเชียลมีเดียของคนไทย ซึ่งเป็นตัวแปรสำคัญที่ทำให้สื่อต่างๆ โดยเฉพาะสื่อรูปแบบดิจิทัลมีอิทธิพลต่อความคิดและพฤติกรรมของคนไทย จากนั้นเราจะพาไปสำรวจสื่อรูปแบบต่างๆ ก่อนที่จะพาสำรวจทั้งข้อดีและข้อเสียของการใช้สื่อโซเชียลมีเดีย เมื่อผู้ฟังมีความเข้าใจคร่าวๆ เกี่ยวกับอิทธิพลของสื่อแล้ว เราจะยกตัวอย่างสื่อต่างๆ ที่ชี้นำให้เกิดความเข้าใจผิด ทั้งในรูปแบบรูปภาพและวิดีโอ และแนะนำเทคโนโลยี […]

Continue Reading

รวบรวม 10 บทความเตือนภัยมิจฉาชีพยอดนิยมในปี 2023

ปี 2023 เป็นอีกปีที่ที่ผู้บริโภคต้องยืนหยัดต่อสู้กับภัยคุกคามจากมิจฉาชีพที่พัฒนาอยู่ตลอดเวลา กลโกงที่มุ่งแสวงหาผลประโยชน์จากเหยื่อได้พัฒนาไป เช่นเดียวกับเทคโนโลยีที่วิวัฒนาการไปข้างหน้า ตั้งแต่การโจมตีทางไซเบอร์ไปจนถึงการใช้เล่ห์เหลี่ยมล่อลวงข้อมูลของผู้บริโภค และหากพบข่าวที่น่าสงสัย สามารถส่งให้เราช่วยตรวจสอบผ่านทาง LINE ได้ที่นี่ หรือที่ LINE ID: @factcresdendoth เราได้รวบรวม 10 อันดับกลโกงมิจฉาชีพที่ผู้อ่านให้ความสนใจมากที่สุดในปี 2023 มาไว้ในบทความนี้ อันดับที่ 1: มิจฉาชีพส่งข้อเสนอตำแหน่งงาน ผ่าน WhatsApp  มิจฉาชีพรูปแบบใหม่ ส่งข้อเสนองานผ่านทาง WhatsApp โดยอ้างว่าเป็นฝ่ายจัดหาพนักงานของบริษัท JobsDB โดย Fact Crescendo Thailand ได้ติดต่อไปยัง JobsDB เพื่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมในกรณีดังกล่าว และโดยทาง JobsDB ได้ยืนยันกับเราว่า ทางบริษัทไม่ได้มีการติดต่อเสนอตำแหน่งงานผ่าน WhatsApp ในลักษณะดังกล่าว และบุคคลดังกล่าวนั้นเป็นมิจฉาชีพ  อ่านบทความ: เตือนภัย! มิจฉาชีพรูปแบบใหม่บน WhatsApp แอบอ้างเป็น HR บริษัทดัง อันดับที่ 2: ห้ามรับสาย เบอร์โทรต้องห้ามจากต่างประเทศ? จากที่มีข้อความส่งต่อในโซเชียลเกี่ยวกับเบอร์มิจฉาชีพที่ขึ้นต้นด้วย […]

Continue Reading

10 อันดับเนื้อหา AI ที่ได้รับความสนใจมากที่สุดในปี 2023

ในปีที่ผ่านมา เราพบเห็นภาพไวรัลจาก AI เพิ่มขึ้นเป็นอย่างมาก กล่าวได้ว่าปี 2023 เป็นปีที่ AI เข้ามามีบทบาทในโลกออนไลน์อย่างเต็มตัว และเส้นแบ่งระหว่างข้อเท็จจริงและข้อมูลเท็จก็เลือนรางมากยิ่งขึ้น ตัวอย่างที่ชัดเจนที่สุดก็คงจะหนีไม่พ้นเหล่ารูปภาพที่สร้างโดย AI ซึ่งมักถูกนำไปเติมแต่งเรื่องราวจนเกิดการเข้าใจผิด ในปีนี้เราพบรูปภาพที่สวยงาม รวมถึงภาพถ่ายที่สร้างกระแสไวรัลในสังคมออนไลน์ที่มาจากฝีมือ AI มากมาย และในบทความนี้ เราได้รวบรวมบทความตรวจสอบข้อเท็จจริงเนื้อหา AI ที่ได้รับความสนใจมากที่สุดในปีนี้มาไว้ที่นี่แล้ว และหากพบข่าวหรือภาพที่น่าสงสัย สามารถส่งให้เราช่วยตรวจสอบผ่านทาง LINE ได้ที่นี่ หรือที่ LINE ID: @factcresdendoth อันดับที่ 1: ต้น “April Snow” ที่สวยงามจนเป็นไวรัล มีผู้ใช้บนโซเชียลได้แชร์รูปภาพต้นไม้ที่สวยงามและแปลกตาต้นหนึ่ง โดยอ้างว่าเป็นต้น Losu หรือต้น April Snow ซึ่งเป็นต้นไม้หายากจากประเทศจีน โดยเมื่อเราดำเนินการตรวจสอบก็พบว่า มีความเป็นไปได้สูงว่าต้นไม้ในภาพนั้นเป็นภาพที่สร้างโดยใช้ AI และต้น April Snow ที่แท้จริงนั้นคือต้น Tassel และมีลักษณะแตกต่างจากภาพไวรัลดังกล่าว อ่านบทความ: ต้น “April Snow” […]

Continue Reading

รวบรวม 10 บทความตรวจสอบข้อเท็จจริงที่ได้รับความสนใจมากที่สุดในปี 2023

เนื่องในสัปดาห์ส่งท้ายปี 2023 เราได้รวบรวม 10 บทความตรวจสอบข้อเท็จจริงที่ได้รับความสนใจมากที่สุดของ Fact Crescendo Thailand และหากพบข่าวที่น่าสงสัย สามารถส่งให้เราช่วยตรวจสอบผ่านทาง LINE ได้ที่นี่  หรือแอด LINE ID: @factcresdendoth อันดับที่ 1: พิธาไม่ได้จบจากฮาร์วาร์ด? Picture Credit: ATHIT PERAWONGMETHA | REUTERS ในช่วงเลือกตั้งเมื่อกลางปีที่ผ่านมา มีข้อกล่าวอ้างแพร่กระจายบนโซเชียลมีเดียระบุว่า พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ อดีตหัวหน้าพรรคก้าวไกล ไม่ได้จบจากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ซึ่งเป็นข้อมูลที่ชวนให้เข้าใจผิด โดย Harvard Kennedy School ที่พิธาจบการศึกษามานั้น เป็นส่วนหนึ่งของ Harvard University และพิธาก็มีชื่อในทำเนียบศิษย์เก่า Harvard จริง อ่านบทความเต็ม: ข้อกล่าวอ้างว่าพิธาไม่ได้จบจากฮาร์วาร์ด “ชวนให้เข้าใจผิด” อันดับที่ 2: วุ้นมะพร้าวในเครื่องดื่มน้ำผลไม้ ทำมาจากกระดาษ? มีผู้ใช้ TikTok ตั้งข้อสงสัยเกี่ยวกับส่วนผสมที่อยู่เครื่องดื่มน้ำผลไม้ยี่ห้อหนึ่ง ว่ามีการใช้กระดาษมาทำเป็นวุ้นมะพร้าว พร้อมทั้งแนะนำไม่ให้ซื้อรับประทาน […]

Continue Reading