กระทรวงดิจิทัลฯ แจง ข้อความ “ยกเลิกเงินดิจิทัล 10,000 บาท” เป็นข่าวปลอม

ในช่วงที่ผ่านมา มีข่าวลือเกี่ยวกับการยกเลิกโครงการเงินดิจิทัล 10,000 บาท แพร่กระจายอย่างรวดเร็วบนโซเชียลมีเดีย สร้างความสับสนให้กับประชาชนจำนวนมาก ท่ามกลางความคาดหวังต่อนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลชุดใหม่ ข้อกล่าวอ้างบนโซเชียลมีเดีย เมื่อเร็วๆ นี้ มีผู้ใช้ Facebook หลายรายโพสต์ข้อความว่า “ด่วน!! ประกาศยกเลิก แจกเงินดิจิตอล 10,000” โดยมีการแชร์ต่อและแพร่กระจายเป็นวงกว้าง ที่มา | ลิงก์ถาวร ที่มา | ลิงก์ถาวร ตรวจสอบข้อเท็จจริง ในวันที่ 21 กันยายน 2567 นายเวทางค์ พ่วงทรัพย์ รองปลัดและโฆษกกระทรวงกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ได้ชี้แจงกรณีข้อความที่ระบุว่า “ประกาศยกเลิกการแจกเงินดิจิทัลวอลเล็ต 10,000 บาท” ที่มีการแพร่กระจายอยู่บนโซเชียลมีเดียในขณะนี้ โดยชี้แจงว่าเป็นข้อมูลเท็จ กลุ่มสารนิเทศการคลัง กระทรวงการคลัง ได้ตรวจสอบข้อมูลและชี้แจงว่า การดำเนินโครงการเติมเงิน 10,000 บาท ผ่าน Digital Wallet ล่าสุดจะเป็นการดำเนินโดยผ่าน 2 โครงการ ได้แก่: โครงการกระตุ้นเศรษฐกิจ ปี 2567 ผ่านผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐมีวัตถุประสงค์เพื่อบรรเทาภาระค่าครองชีพและเพิ่มศักยภาพของผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ตามโครงการลงทะเบียนเพื่อสวัสดิการแห่งรัฐ (โครงการลงทะเบียนฯ) […]

Continue Reading

ภาพไวรัลพร้อมข้อความว่าประชาชนแห่ถอนเงินจาก ธกส. ‘ชวนให้เข้าใจผิด’

เมื่อวันที่ 10 เมษายน นายลวรณ แสงสนิท ปลัดกระทรวงการคลัง แถลงถึงแหล่งที่มาเงินในโครงการดิจิทัลวอลเล็ต 1 หมื่นบาท โดยชี้แจงว่า วงเงิน 5 แสนล้านบาท จะมาจากการจัดการงบประมาณในปี 2567 และปี 2568 ควบคู่กันไป โดยจะแบ่งเป็น 3 ส่วน ได้แก่ (ที่มา) โดยจากการชี้แจงของกระทรวงการคลังครั้งนี้ ทำให้มีประชาชนบางส่วนแสดงความกังวล และระบุว่าจะไปถอนเงินออกจากธนาคาร ธกส. เนื่องจากกลัวว่าธนาคารอาจขาดสภาพคล่องจากการดำเนินการครั้งนี้ นอกจากนี้ ยังมีผู้ใช้โซเชียลหลายรายที่โพสต์ภาพพร้อมข้อกล่าวอ้างว่าปัจจุบันมีประชาชนเดินทางไปถอนเงินจาก ธกส. อย่างล้นหลาม ข้อกล่าวอ้างบนโซเชียลมีเดีย หลังจากการแถลงที่มาของวงเงินดิจิทัลวอลเล็ต มีผู้ใช้ Facebook ได้โพสต์รูปภาพประชาชนจำนวนมากรวมตัวกันหน้าธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธกส.) พร้อมข้อความว่าประชาชนไปถอนเงินออก ที่มา | ลิงก์ถาวร ที่มา | ลิงก์ถาวร อย่างไรก็ตาม จากการตรวจสอบ เราพบว่า ภาพดังกล่าวไม่ใช่ภาพเหตุการณ์ในปัจจุบันแต่อย่างใด ตรวจสอบข้อเท็จจริง เราได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริง โดยการค้นหาที่มาของรูปภาพด้วยฟีเจอร์การค้นหารูปภาพแบบย้อนกลับ (Reverse Image Search) […]

Continue Reading

จาก #สวมีไว้ทำไม สู่ #สวต้องฟังเสียงประชาชน : สำรวจรายชื่อ ส.ว. ที่พร้อมโหวตตามเสียงข้างมาก

แม้ผลเลือกตั้งจะเป็นที่ชัดเจนแล้วว่าพรรคก้าวไกลชนะการเลือกตั้ง ด้วยคะแนนกว่า 14 ล้านเสียง คิดเป็น 36.2% ของจำนวนผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้งทั้งหมด และจะจัดตั้งรัฐบาลเสียงข้างมาก โดยล่าสุดมีการหารือระหว่าง 8 พรรค เพื่อจัดตั้งรัฐบาลร่วมกัน ได้แก่ พรรคก้าวไกล พรรคเพื่อไทย พรรคไทยสร้างไทย พรรคประชาชาติ พรรคเสรีรวมไทย พรรคเป็นธรรม พรรคพลังสังคมใหม่ และพรรคเพื่อไทรวมพลัง โดยมีจำนวนที่นั่งในสภารวมกันแล้ว 313 ที่นั่ง แต่ประชาชนบางส่วนก็ยังไม่ไว้วางใจ เนื่องจากกังวลว่า ส.ว. ที่มีอำนาจเลือกนายกรัฐมนตรี อาจโหวตค้านเสียงข้างมากของประชาชนได้ (อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับระบบ ส.ว. ที่นี่) เหล่าโซเชียลต่างตั้งคำถามต่อระบบ ส.ว. จนเกิดแฮชแท็ก #สวมีไว้ทำไม และขึ้นอันดับหนึ่งบนทวิตเตอร์ประเทศไทยในวันที่ 17 พฤษภาคม โดยมีการติดแฮชแท็กไปแล้วกว่า 1 ล้านทวีต มีหลายๆ ภาคส่วนออกแถลงการณ์เรียกร้องให้ ส.ว. เคารพเสียงประชาชน อาทิเช่น สภาผู้แทนนิสิตฯ 29 สถาบัน แถลงเรียกร้อง ส.ว.-ส.ส. เคารพเจตนารมณ์ประชาชน โหวตเลือกนายกรัฐมนตรี กลุ่มพัฒนาแรงงานสัมพันธ์ตะวันออก […]

Continue Reading

พรรคก้าวไกลมีนโยบายลดบำนาญข้าราชการจริงหรือไม่?

การเลือกตั้งใหญ่ของประเทศไทยกำลังจะเกิดในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า ท่ามกลางการแข่งขันด้านนโยบายกันอย่างเข้มข้น การแพร่กระจายของข่าวปลอมและข้อมูลเท็จต่างๆ ก็ถือเป็นปัญหาที่พบเจอได้บ่อยครั้ง แน่นอนว่าข้อมูลข่าวสารเท็จสามารถส่งผลกระทบต่อการตัดสินใจของประชาชนได้ ล่าสุด มีข้อกล่าวอ้างเกี่ยวกับพรรคก้าวไกลที่กลับมาเผยแพร่บนโซเชียลอีกครั้ง เราจึงดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงของเรื่องราวดังกล่าวนี้ ข้อกล่าวอ้างบนโซเชียลมีเดีย เมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ มีผู้ใช้ทวิตเตอร์รายหนึ่งได้ทวีตรูปภาพที่มีข้อความว่า “พิธา ยืนยัน ถ้าไม่ตัด ก็จะขอลดเงินบำนาญข้าราชการ เพราะมันคือ “งบช้างป่วย” ไม่เป็นประโยชน์ต่อประชาชน” Claim | Archive โดยทวีตดังกล่าวมีการรับชมไปแล้วกว่าสองหมื่นครั้ง และรีทวีตต่อกว่า 120 ครั้ง อย่างไรก็ตาม เราพบว่าข้อความดังกล่าวไม่เป็นความจริงแต่อย่างใด ตรวจสอบข้อเท็จจริง เมื่อทำการตรวจสอบ พบว่าประเด็น “ช้างป่วย” ในข้อกล่าวอ้างนั้นมาจากการอภิปรายในสภาของนายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรคก้าวไกล เมื่อเดือนพฤษภาคม 2565 (ที่มา) โดยนายพิธาได้อภิปรายถึงงบประมาณของประเทศ โดยกล่าวว่าตัวเลขที่สูงที่สุดในงบประมาณชุดดังกล่าว คือเบี้ยหวัดของข้าราชการ ซึ่งเทียบเท่างบของกระทรวงศึกษาธิการทั้งกระทรวง และได้เปรียบเทียบว่า (ระบบเบี้ยข้าราชการ) มีลักษณะเหมือนช้างป่วยที่ปรับตัวไม่ได้ รัฐบาลได้ใช้เงินจำนวนกว่า 40% ของรายได้ประเทศไปกับรายจ่ายของบุคลากรในระบบราชการที่อุ้ยอ้าย นอกจากนี้ยังได้วิเคราะห์ถึงจำนวนเงินบำนาญของข้าราชการที่เพิ่มขึ้นถึง 2 เท่า ในช่วง 8 ปีที่ผ่านมา […]

Continue Reading