วิดีโอในอดีตที่ไม่เกี่ยวข้องถูกนำมาแอบอ้างว่าเป็นการจัดฉากศพปลอมของฮามาส

เหตุการณ์ความไม่สงบระหว่างอิสราเอลและกลุ่มฮามาสยังคงดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง โดยล่าสุดมีรายงานว่าเจ้าหน้าที่ของอิสราเอลบุกจู่โจมค่ายผู้ลี้ภัยเจนิน ในเขตเวสต์แบงก์แล้ว (อ่านข่าวที่นี่) และนอกจากนี้ เรายังพบวิดีโอแพร่กระจายบนโซเชียลมีเดีย โดยอ้างว่าเป็นวิดีโอปลอมเป็นศพของกลุ่มฮามาส โพสต์บนโซเชียลมีเดีย ผู้ใช้ Twitter (X) รายหนึ่งได้โพสต์วิดีโอพร้อมข้อความกำกับว่า “ศพของฮามาสลืมตาได้” Source | Archive และเรายังพบวิดีโอที่คล้ายคลึงกัน พร้อมข้อกล่าวอ้างว่าเป็นวิดีโอที่จัดฉากเป็นศพของกลุ่มฮามาส พร้อมคำบรรยายวิดีโอว่า “อัลเลาะห์อวยพร ศพฮามาสตายแล้วแต่ขยับได้ #Israel #ฮามาส #อิสราเอลฮามาส #ปาเลสไตน์” Source | Archive ตรวจสอบข้อเท็จจริง วิดีโอที่ 1: วิดีโอจากประเทศมาเลเซียที่เผยแพร่ตั้งแต่เดือนสิงหาคม เราได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงโดยใช้ฟีเจอร์ Reverse Image Search ค้นหาที่มาของวิดีโอดังกล่าวและพบทวีตของ Shayan Sardarizadeh นักข่าวของ BBC Verify ที่โพสต์ชี้แจงว่าวิดีโอดังกล่าว แท้จริงแล้วมีการเผยแพร่ตั้งแต่เดือนสิงหาคม โดยเป็นวิดีโอถ่ายในมัสยิดแห่งหนึ่งในประเทศมาเลเซีย Archive วิดีโอต้นฉบับใน TikTok Source | Archive วิดีโอที่ 2: วิดีโอการประท้วงในอียิปต์ตั้งแต่ 10 […]

Continue Reading

ต้น “April Snow” ที่เป็นไวรัล: มีอยู่จริงหรือแค่ผลงานอีกชิ้นของ AI?

ความมหัศจรรย์ของธรรมชาตินั้นดึงดูดความสนใจของผู้คนได้เสมอมา ไม่ว่าจะเป็นวิวทิวทัศน์ที่สวยงาม สิ่งมีชีวิตที่ดูแปลกประหลาด หรือปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่เหลือเชื่อ และผู้คนก็ชื่นชอบที่จะแชร์ความประทับใจที่มีต่อธรรมชาติลงโซเชียลมีเดียอยู่เสมอ แต่บางครั้งเรื่องที่แชร์ก็อาจไม่ใช่ข้อมูลที่ถูกต้อง ซึ่งทำให้เกิดความสับสนและเข้าใจผิดได้ เมื่อไม่นานมานี้ มีผู้ใช้บนโซเชียลได้แชร์รูปภาพต้นไม้ที่สวยงามและแปลกตาต้นหนึ่ง โดยอ้างว่าเป็นต้นไม้หายากจากประเทศจีน และรูปภาพนี้ก็สร้างความสนใจและความประหลาดใจให้ผู้ใช้โซเชียลรายอื่นๆ เป็นวงกว้าง ข้อกล่าวอ้างบนโซเชียลมีเดีย เพจเฟซบุ๊ก “Art and Craft Creation Academy – สถาบันสรรค์งานศิลป์” ได้แชร์รูปภาพต้นไม้ที่มีดอกกลมสีขาวขนาดใหญ่ คล้ายหิมะปกคลุมทั่วต้น พร้อมคำกล่าวอ้างว่ามีอยู่เพียงสามต้นเท่านั้นบนโลก และออกดอกแค่ปีละ 1 ครั้ง ในช่วงเมษายนของทุกปี Source | Archive โดยเราพบว่าเพจเฟซบุ๊กดังกล่าวได้แชร์มาจากโพสต์ต้นทางในภาษาอังกฤษ ที่กล่าวอ้างว่าต้นนี้คือต้น “Losu” หรือมีฉายาว่า “April Snow” เนื่องจากออกดอกในช่วงเดือนเมษายน และยังอ้างว่ารัฐบาลจีนให้ความคุ้มครองเพื่ออนุรักษ์ต้นไม้เหล่านี้อย่างเข้มงวดอีกด้วย Source | Archive นอกจากนี้ รูปนี้ยังแพร่กระจายไปตามโซเชียลต่างๆ รวมถึงทวิตเตอร์ หรือแม้แต่ Reddit อีกด้วย แต่หลังจากตรวจสอบ เราพบว่ารูปภาพนี้มีแนวโน้มว่าจะเป็นภาพที่สร้างโดย AI มากกว่าที่จะเป็นภาพจริง ตรวจสอบข้อเท็จจริง เราได้ใช้ฟีเจอร์ Reverse Image […]

Continue Reading

วิดีโอไวรัลที่ถูกเข้าใจผิด: ดอก ”พญาเสือโคร่ง” หรือ“มหาโมลี” บานครั้งเดียวในรอบ 400 ปี

การแชร์วิดีโอหรือภาพธรรมชาติอันสวยงามที่เป็นกำลังเป็นไวรัลนั้นดูเหมือนเป็นเรื่องปกติที่เราพบเห็นได้บ่อยๆ บนโซเชียลมีเดีย ทั้งภาพวิวทิวทัศน์ธรรมชาติ ปรากฏการณ์ต่างๆ ไปจนถึงภาพดอกไม้หรือพืชพรรณต่างๆ ซึ่งบางครั้งข้อมูลที่มากับวิดีโอหรือรูปภาพเหล่านั้นก็อาจสร้างความเข้าใจผิดได้ และล่าสุด มีวิดีโอดอกไม้บานที่กำลังแพร่กระจายอยู่บนโซเชียลมีเดียต่างๆ โดยอ้างว่าเป็นดอกไม้ที่จะบานทุก 400 ปี วิดีโอของดอกไม้สีเหลืองขนาดเล็กที่บานสะพรั่งพร้อมคำบรรยายว่า “นี่คือ “ดอกพญาเสือโคร่ง” หรือ “มหาโมลี” ดอกไม้มงคลเฉพาะของทิเบต ดอกพญาเสือโคร่งบนเทือกเขาหิมาลัยจะบานทุกๆ 400 ปี คนรุ่นเราโชคดีได้เห็นเจดีย์บาน โปรดแชร์ให้คนอื่นได้เห็น โชคดีตลอดชีวิต!” Source | Archive โดยเราพบว่านอกจากโพสต์ข้างต้นแล้ว วิดีโอดังกล่าวยังถูกแชร์บนโซเชียลมีเดียอย่างแพร่หลายอีกด้วย อย่างไรก็ตาม ทีมงาน Fact Crescendo พบว่าคำกล่าวอ้างที่มาพร้อมกับวิดีโอดังกล่าวนั้นเป็นเท็จ ตรวจสอบข้อเท็จจริง จากที่เราได้ทำการตรวจสอบและค้นหาข้อมูล เราไม่พบดอกไม้ชื่อ “มหาโมลี” หรือ “Mahameru” ตามข้อความที่กล่าวอ้างใดๆ ส่วนดอกพญาเสือโคร่ง เป็นไปได้ว่าจะมาจาก “ดอกนางพญาเสือโคร่ง” (ชื่อภาษาอังกฤษ Wild Himalayan cherry หรือ Sour cherry, ชื่อวิทยาศาสตร์ Prunus cerasoides) นั้นก็มีลักษณะแตกต่างจากดอกไม้ในวิดีโอโดยสิ้นเชิง โดยนางพญาเสือโคร่งจะมีลักษณะเป็นดอกสีชมพู กลีบเล็ก คล้ายกับดอกซากุระ […]

Continue Reading

ข้อเท็จจริงของภาพไวรัลของก้อนหินขนาดยักษ์ที่อ้างว่ามาจาก “พีระมิดในอียิปต์”

พีระมิดในอียิปต์ถือเป็นหนึ่งในสิ่งก่อสร้างที่โดดเด่นที่สุดในประวัติศาสตร์ การสร้างพีระมิดนั้นเป็นเรื่องที่ทั้งลึกลับและน่าทึ่ง มนุษย์ต่างตั้งข้อสันนิษฐานมากมายว่าพีระมิดสร้างขึ้นด้วยวิธีใดกันแน่ และยิ่งในยุคปัจจุบันที่โซเชียลมีเดียถือเป็นสื่อหลัก ก็ยิ่งมีข้อมูลผิดๆ เกี่ยวกับพีระมิดแพร่กระจายมากมาย ตั้งแต่ทฤษฎีสมคบคิดไปจนถึงข่าวปลอมต่างๆ และล่าสุดก็มีรูปภาพเผยแพร่ในโซเชียลมีเดียที่กล่าวอ้างว่ามีความเกี่ยวข้องกับพีระมิดในอียิปต์ ข้อกล่าวอ้างบนโซเชียลมีเดีย วันที่ 22 มีนาคม มีผู้ใช้เฟซบุ๊กรายหนึ่งได้โพสต์รูปหินสี่เหลี่ยมขนาดมหึมาลงในกลุ่มเฟซบุ๊กชื่อ “ภาพเก่าในอดีต” พร้อมคำบรรยายภาพว่า: “หนึ่งในก้อนหินราว 2.3 ล้านก้อน ที่มีน้ำหนักราว 2.5-15 ตัน หรือบางก้อนมากกว่า ที่ถูกตัด ฝนด้วยหินขัดหน้าให้เรียบ แล้วจะทำการชักลากไปก่อสร้างมหาปิรามิดกีซา The Great Pyramid ราว 5,000 ปีก่อน” Source | Archive โดยโพสต์ดังกล่าวมีการแชร์กว่าเกือบหนึ่งร้อยครั้ง และมีการกดถูกใจไปถึง 1,800 ครั้งในเวลาเพียงหนึ่งวัน นอกเหนือจากโพสต์ดังกล่าวแล้ว เรายังพบรูปภาพพร้อมคำกล่าวอ้างเดียวกันในภาษาอังกฤษที่นี่ (Archive) รวมถึงพบข้อกล่าวอ้างที่คล้ายคลึงกันเผยแพร่ในทวิตเตอร์ตั้งแต่เมื่อปี 2022 Source | Archive อย่างไรก็ตาม หลังจากที่เราทำการตรวจสอบเพิ่มเติมก็พบว่า รูปภาพหินขนาดยักษ์ดังกล่าวไม่ใช่หินที่ใช้สร้างพีระมิดในอียิปต์ตามที่กล่าวอ้าง ตรวจสอบข้อเท็จจริง เราได้ทำการตรวจสอบข้อเท็จจริงโดยใช้ฟีเจอร์ค้นหารูปภาพ เพื่อหาที่มาของภาพดังกล่าว และเราพบว่ารูปภาพดังกล่าวนั้นถ่ายขึ้นที่เมืองบาลเบ็ค (Baalbek) ซึ่งเป็นเมืองโบราณที่มีประวัติศาสตร์มาอย่างยาวนานในประเทศเลบานอน โดยอ้างอิงจากบทความในเว็บไซต์ของ Smithsonian […]

Continue Reading

 กรมการปกครองไม่ได้ประกาศใช้ทะเบียนบ้านดิจิทัล 

Source | Archive ตามที่มีการแชร์ข้อมูลเกี่ยวกับการประกาศใช้ทะเบียนบ้านดิจิทัล โดยมีภาพประกาศราชกิจจานุเบกษา กระทรวงมหาดไทย เกี่ยวกับการใช้ระบบดิจิทัลสำหรับทะเบียนบ้าน และการลงทะเบียนเพื่อใช้งานทะเบียนบ้านแบบออนไลน์ Source | Archive Fact Crescendo ได้ทำการตรวจสอบข้อมูลดังกล่าวก็พบว่าพาดหัวข่าวที่ระบุว่ามีการเปิดให้ใช้งานทะเบียนบ้านในรูปแบบออนไลน์นั้นเป็นข้อมูลที่ชวนให้เข้าใจผิด โดยประกาศใช้งานระบบดิจิทัลดังกล่าวเป็นระบบ Digital ID เพื่อใช้พิสูจน์และยืนยันตัวตนเท่านั้น ข้อกล่าวอ้าง กรมการปกครองประกาศเปิดใช้งานทะเบียนบ้านดิจิทัล โดยสามารถใช้งานได้แบบออนไลน์ผ่านแอปพลิเคชันของทางรัฐได้แล้ว ตรวจสอบข้อเท็จจริง เมื่อทาง Fact Crescendo ได้ทำการตรวจสอบข้อมูลเกี่ยวกับทะเบียนบ้านดิจิทัล พบว่ามีความเข้าใจผิดเกี่ยวกับประกาศราชกิจจานุเบกษาข้างต้น โดยทางกรมการปกครอง (สำนักทะเบียนกลาง) ได้ชี้แจงว่า กฎกระทรวงกำหนดการปฏิบัติงานการทะเบียนราษฎรด้วยระบบดิจิทัล พ.ศ. 2565 ได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2565 โดยมีเจตนารมณ์ในการนำเทคโนโลยีระบบการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัลมาใช้ประโยชน์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการให้บริการงานทะเบียนราษฎร และเป็นการอำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชน กฎกระทรวงดังกล่าว จะมีผลบังคับใช้ 14 มีนาคม 2565 เป็นต้นไป (ข้อมูลจาก TNN Thailand) ส่วนแอปพลิเคชัน D.DOPA ที่เปิดให้ประชาชนได้ลงทะเบียนนั้นเป็นระบบที่ให้บริการด้านทะเบียนราษฎร ที่ประชาชนสามารถดาวน์โหลดและติดต่อขอรับบริการที่สำนักทะเบียนเพื่อทำการกำหนดรหัสผ่านในการใช้งาน และลงทะเบียนในแอป โดยเมื่อลงทะเบียนแล้วจะสามารถตรวจสอบข้อมูลของตนเอง เช่น […]

Continue Reading