เหตุการณ์ความขัดแย้งระหว่างอิสราเอลและปาเลสไตน์กลับมาอยู่ในความสนใจของทั้งโลกอีกครั้ง โดยเหตุการณ์ความรุนแรงที่เกิดขึ้น ทำให้มีมีโพสต์ไวรัลต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับความขัดแย้งครั้งนี้บนโซเชียลมีเดีย แต่เราพบว่าเนื้อหาบางอย่างนั้นเป็นเท็จหรือชวนให้เข้าใจผิด

ข้อกล่าวอ้างที่ 1: วิดีโอพลร่ม

มีผู้ใช้ TikTok ได้โพสต์วิดีโอด้านล่างพร้อมข้อกล่าวอ้างว่าเป็นวิดีโอของกลุ่มฮามาสขณะเข้าไปยังอิสราเอล โดยวิดีโอดังกล่าวมีการรับชมไปกว่า 4 ล้านครั้ง

ที่มา | ลิงก์ถาวร

ตรวจสอบข้อเท็จจริง

เราได้ดำเนินการตรวจสอบโดยการค้นหารายงานข่าวเกี่ยวกับพลร่มในอิสราเอล แต่ก็ไม่พบรายงานจากแหล่งข่าวที่น่าเชื่อถือ นอกจากนี้ เราได้ใช้ฟีเจอร์การค้นหารูปภาพโดยใช้คีย์เฟรมจากวิดีโอดังกล่าว และพบทวีตของ Shayan Sardarizadeh นักข่าวจาก BBC ที่ได้ชี้แจงว่าคลิปวิดีโอดังกล่าวถ่ายขึ้นในกรุงไคโร ประเทศอียิปต์

ที่มา: Google Map

ข้อกล่าวอ้างที่ 2: อิสราเอลปล่อยระเบิดในฉนวนกาซา ปาเลสไตน์

ที่มา | ลิงก์ถาวร

ตรวจสอบข้อเท็จจริง

เราพบว่าวิดีโอดังกล่าวแม้จะมาจากฉนวนกาซาตามข้อกล่าวอ้างจริง แต่เป็นวิดีโอเหตุการณ์เมื่อเดือนพฤษภาคม ไม่ใช่เหตุการณ์เมื่อเร็วๆ นี้แต่อย่างใด

โดยเป็นเหตุการณ์ขณะที่กลุ่มติดอาวุธอิสราเอลและปาเลสไตน์ระดมยิงต่อเนื่อง โดยกลุ่มติดอาวุธญิฮาดอิสลามยิงจรวดมากกว่า 1,000 ลูก และทหารอิสราเอลโจมตีเป้าหมายในฉนวนกาซา โดยช่อง Voice of America ได้โพสต์วิดีโอนี้ในวันที่ 13 พฤษภาคม 1

ข้อกล่าวอ้างที่ 3: เหตุการณ์เดินประท้วงเพื่อแสดงการสนับสนุนปาเลสไตน์ในชิคาโก

ที่มา | ลิงก์ถาวร

ตรวจสอบข้อเท็จจริง

วิดีโอดังกล่าวไม่ได้มาจากเหตุการณ์ในปัจจุบันของชิคาโก แต่เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในปี 2020 ซึ่งเป็นการประท้วงที่สนับสนุนชาวปาเลสไตน์ในชิคาโก

ข้อกล่าวอ้างที่ 4: วิดีโอผู้คนวิ่งหลบหนีในงานเทศกาลดนตรี

ที่มา | ลิงก์ถาวร

ตรวจสอบข้อเท็จจริง

จากรายงานของ Reuters วิดีโอดังกล่าวมาจากงานคอนเสิร์ตของ Bruno Mars ในเทลอาวีฟ อิสราเอล เมื่อวันที่ 5 ตุลาคม สองวันก่อนเกิดเหตุการณ์โจมตี โดยสามารถดูคลิปต้นฉบับได้ที่นี่

ติดตามช่องทางอื่นๆ ของเรา เพื่อไม่ให้พลาดทุกข้อเท็จจริง

Facebook | Twitter | Instagram | LINE | TikTok

Avatar

Title:วิดีโอเก่าถูกนำมาแชร์ว่าเป็นเหตุการณ์ล่าสุดในอิสราเอลและปาเลสไตน์

Written By: Cielito Wang

Result: Misleading