เนื่องในวันสตรีสากลเราต้องการเน้นย้ำความสำคัญของการให้ข้อมูลที่ไม่ถูกต้องและการบิดเบือนข้อมูลซึ่งส่งผลกระทบต่อผู้หญิงอย่างไม่เท่าเทียม การเผยแพร่ข้อมูลอันเป็นเท็จในรูปแบบนี้ทำให้เกิดทัศนคติแบบเหมารวมซึ่งส่งผลเสียต่อหลายฝ่ายและเป็นอุปสรรคต่อการสร้างความเท่าเทียมทางเพศที่ควรจะมี

การบิดเบือนข้อมูลเนื่องจากอคติทางเพศคืออะไร?

การบิดเบือนข้อมูลเนื่องจากอคติทางเพศ (Gendered disinformation) หมายถึง การจงใจเผยแพร่ข้อมูลที่เป็นเท็จ หรือสร้างความเข้าใจผิดโดยมุ่งเป้าไปที่บุคคลหรือกลุ่มตามอัตลักษณ์ทางเพศ

โดยคำนี้ยังใช้อธิบายถึงการแพร่กระจายของข้อมูลที่เป็นเท็จ หรือทำให้เข้าใจผิดซึ่งมุ่งเป้าไปที่ผู้หญิง โดยเฉพาะผู้นำทางการเมือง นักข่าว และบุคคลสาธารณะ โดยพิจารณาจากอัตลักษณ์ทางเพศของพวกเธอ

ตัวอย่างของการบิดเบือนข้อมูลทางเพศอาจรวมถึงข่าวปลอมเกี่ยวกับผู้หญิง ไม่ว่าจะเป็นตัวละครหญิง มีมที่ไม่เหมาะสม หรือรูปภาพหรือวิดีโอที่นำเสนอผู้หญิงในแง่ลบ

ตัวอย่างข่าวปลอมที่เกิดจากอคติทางเพศ:

ภาพนางแบบถูกนำมาใช้แอบอ้างว่าเป็นภาพของ ไอซ์ รักชนก

มีการเผยแพร่ภาพของผู้หญิงในชุดชั้นในพร้อมข้อกล่าวอ้างว่าเป็นภาพของรักชนก ส.ส. จากพรรคก้าวไกลบนโซเชียลมีเดีย โดยรักชนกได้ออกมาปฏิเสธข้อกล่าวอ้างดังกล่าว พร้อมแจ้งความเพื่อดำเนินคดีแก่ผู้ปล่อยข่าวเท็จ และนางแบบในภาพได้ออกมายืนยันว่าตนไม่มีความเกี่ยวข้องกับรักชนกแต่อย่างใด

ตัวอย่างมีมที่มาจากอคติทางเพศ:

Taylor Swift ออกมาต่อว่า Netflix และซีรีส์ Ginny & Georgia ที่มีการเล่นมุกเกี่ยวกับเธอที่เหยียดเพศหญิง

ที่มา: The Standard POP

การจัดการกับการบิดเบือนข้อมูลเนื่องจากอคติทางเพศทางออนไลน์

UNESCO ได้จัดการเสวนาระดับโลก เกี่ยวกับการบิดเบือนข้อมูลเนื่องจากอคติทางเพศทางออนไลน์ โดยมีเป้าหมายคือการพัฒนากลยุทธ์ที่มีประสิทธิภาพ เพื่อต่อต้านข้อมูลผิดๆ ซึ่งมุ่งเป้าไปที่ผู้หญิง เนื่องจากความนิยมที่เพิ่มขึ้นโซเชียลมีเดียทำให้การเข้าถึงการบิดเบือนข้อมูลเนื่องจากอคติทางเพศเพิ่มมากยิ่งขึ้น และส่งเสริมสถานการณ์และทัศนคติการเหมารวมที่เป็นอันตราย

ผลกระทบของการบิดเบือนข้อมูลเนื่องจากอคติทางเพศ

ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา วาทกรรมทางการเมืองมักจะมีความเกี่ยวข้องกับการล่วงละเมิดและการบิดเบือนข้อมูลเนื่องจากอคติทางเพศบนโลกออนไลน์ ปัญหาเหล่านี้ชี้ให้เห็นถึงอุปสรรคสำคัญในการบรรลุความเท่าเทียมทางเพศ เสริมสร้างบรรทัดฐานที่เป็นอันตราย และจำกัดโอกาสในการเสริมสร้างศักยภาพ ซึ่งอาจส่งผลเสียต่อสิทธิสตรีได้

การบิดเบือนข้อมูลเนื่องจากอคติทางเพศเป็นปัญหาที่แพร่หลายซึ่งมุ่งเป้าไปที่ผู้หญิงทั่วโลก โดยเกิดขึ้นเมื่อการกีดกันทางเพศและผู้หญิงมาพบกับการเผยแพร่ข้อมูลเท็จบนโลกออนไลน์ แนวคิดนี้ไม่เพียงแต่ทำให้ชื่อเสียงของผู้หญิงเสื่อมเสีย แต่ยังบ่อนทำลายความน่าเชื่อถือของผู้หญิงอีกด้วย โดยเฉพาะผู้หญิงในแวดวงการเมืองหรือผู้ที่เกี่ยวข้องกับนักการเมืองที่มีชื่อเสียงที่มักตกเป็นเป้าหมายมากเป็นพิเศษ นี่คือตัวอย่างเหล่าสตรีนักการเมืองระดับโลกที่ตกเป็นเป้าหมายของการบิดเบือนข้อมูลเนื่องจากอคติทางเพศ ที่รวบรวมและนำเสนอโดย สำนักข่าว Bangkok Post:

  1. Olena Zelenska สุภาพสตรีหมายเลขหนึ่งของยูเครน ถูกสื่อนำเสนออย่างผิดๆ ด้วยภาพอื้อฉาว ซึ่งต่อมาถูกเปิดเผยว่าเป็นผู้จัดรายการโทรทัศน์ชาวรัสเซีย
  2. Michelle Obama และ Brigitte Macron ถูกโพสต์ออนไลน์ที่เป็นเท็จมุ่งเป้าไปยังพวกเธอ โดยอ้างว่าพวกเธอเกิดมาเป็นเพศชาย ข้อมูลเท็จดังกล่าวซึ่งนำไปสู่การเยาะเย้ยและคำพูดแสดงความเกลียดชังกลุ่มคนข้ามเพศ
  3. Jacinda Ardern อดีตนายกรัฐมนตรีนิวซีแลนด์ ต้องเผชิญกับข้อมูลบิดเบือนเกี่ยวกับเพศของเธอเช่นกัน
  4. Annalena Baerbock รัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศของเยอรมนี ต้องเผชิญกับแคมเปญที่บิดเบือนข้อมูลซ้ำแล้วซ้ำเล่าระหว่างที่เธอลงสมัครชิงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี

ข้อมูลบิดเบือนรูปแบบนี้กีดกันผู้หญิงไม่ให้เข้ามาเดินในเส้นทางการเมือง และคงทัศนคติแบบเหมารวมเอาไว้ การรับรู้ถึงปัญหานี้และต่อสู้กับข้อมูลที่บิดเบือนเนื่องจากอคติทางเพศถือเป็นสิ่งสำคัญในการปกป้องเกียรติและศักดิ์ศรีของสตรี และส่งเสริมวาทกรรมสาธารณะที่ยุติธรรมและที่ถูกต้อง

แนวทางในอนาคตที่จะช่วยให้โลกดิจิทัลเท่าทียมมากยิ่งขึ้น

กฎเกณฑ์การกำกับดูแลที่ช่วยแก้ไขปัญหาจากอคติทางเพศสำหรับแพลตฟอร์มออนไลน์ถือเป็นสิ่งสำคัญ ทุกภาคส่วนควรให้ความสำคัญกับการต่อต้านข้อมูลที่บิดเบือนและส่งเสริมการให้ข้อมูลในเชิงบวก การศึกษาและการรู้เท่าทันสื่อเป็นกุญแจสำคัญในการเสริมศักยภาพบุคคล เพื่อการรับและประเมินสารอย่างมีวิจารณญาณ ความร่วมมือระหว่างองค์กรและฝ่ายต่างๆ รวมถึงรัฐบาล บริษัทเทคโนโลยี และองค์กรไม่แสวงผลกำไรต่างๆ มีความสำคัญอย่างยิ่งในการต่อสู้กับข้อมูลที่บิดเบือนเนื่องจากอคติทางเพศอย่างมีประสิทธิภาพ

นอกจากการตรวจสอบข้อเท็จจริงแล้ว Fact Crescendo มุ่งมั่นที่จะต่อสู้กับข้อมูลที่ไม่ถูกต้องผ่านโครงการการรู้เท่าทันสื่ออีกด้วย โดยโครงการนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อปลูกฝังความเข้าใจเกี่ยวกับภูมิทัศน์ดิจิทัลที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว และมุ่งเน้นไปที่ช่วงปลูกฝังทักษะที่จำเป็นในการวิเคราะห์ วิจารณ์ ประเมิน และทำความเข้าใจเนื้อหาสื่อดิจิทัลอย่างมีประสิทธิภาพ

อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับโครงการของเราได้ที่นี่

เนื่องในวันสตรีสากลนี้ เรามุ่งมั่นที่จะต่อสู้ข้อมูลที่ไม่ถูกต้อง ส่งเสริมสิทธิสตรี และมุ่งมั่นเพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างโลกดิจิทัลที่เท่าเทียมยิ่งขึ้น

ติดตามช่องทางอื่นๆ ของเรา เพื่อไม่ให้พลาดทุกข้อเท็จจริง

Facebook | Twitter | Instagram | LINE | TikTok | WhatsApp

Avatar

Title: เข้าใจการบิดเบือนข้อมูลเนื่องจากอคติทางเพศเนื่องในวันสตรีสากล

Fact Check By: Cielito Wang

Result: Insight