เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา มีการประกาศตามหาวัตถุกัมมันตรังสี “ซีเซียม 137 (Cs-137)” ที่ได้หายไปจากโรงงานแห่งหนึ่งในจังหวัดปราจีนบุรี ซึ่งสารดังกล่าวนี้ถือเป็นสารกัมมันตรังสีที่มีความอันตรายสูง

โดยเมื่อวันที่ 15 มีนาคมที่ผ่านมา กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ได้ออกมาโพสต์เตือนถึงวัตถุกัมมันตรังสีที่หายไปดังกล่าว และให้ประชาชนที่พบเห็นและประชาชนที่มีความเสี่ยงเฝ้าระวังอาการ

ที่มา: กรมการแพทย์ | Archive

ต่อมาคืนวันที่ 19 มีนาคม สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดปราจีนบุรี ได้โพสต์แจ้งทางเฟซบุ๊กเพจของหน่วยงานว่าพบวัสดุกัมมันตรังสี ซีเซียม-137 ที่สูญหายจากบริษัท NOS 5a แล้ว

Source | Archive

เมื่อเวลา 22.00 น. วันที่ 19 มี.ค.2566 นายจุลพงษ์ ทวีศรี อธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม (กรอ.) เปิดเผยทางโทรศัพท์กับทีมข่าวเรื่องเล่าเช้านี้ว่า ได้มีการหลอมถลุงซีเซียม 137 เป็นฝุ่นแดงแล้ว คาดว่าเตรียมส่งโรงงานรีไซเคิลต่อไป (อ่านข่าวเต็มที่นี่)

โดยเมื่อข่าวดังกล่าวออกมา ก็สร้างความตื่นตระหนกให้แก่ประชาชนเป็นอย่างมาก จนแฮชแท็ก #ซีเซียม137 กลายเป็นแท็กที่ถูกพูดถึงมากที่สุดในตอนนี้ นอกจากนี้ยังมีคำว่า “Cs-137” อยู่ในลำดับที่ 9 อีกด้วย

Archive

โดยในแฮชแท็ก #ซีเซียม137 ก็มีผู้ใช้ทวิตเตอร์ออกมาทวีตแสดงความกังวลเป็นจำนวนมาก โดยมีทวีตหนึ่งระบุว่า “ถ้ารัศมีแพร่กระจายคือ 1,000kms ก็ประมาณนี้อ่ะทุกคน สบายใจได้”

Source | Archive

โดยทวีตดังกล่าวมีการรับชมไปแล้วกว่าสองล้านครั้ง และรีทวีตต่อแล้วเกือบสี่หมื่นครั้ง

โดยมีการแสดงความคิดเห็นภายในเธรดในทวีตดังกล่าวออกไปในหลายทิศทาง ซึ่งมีทั้งฝ่ายที่แสดงความกังวล และฝ่ายที่ระบุว่าทวีตนี้อาจเผยแพร่ข้อมูลที่ไม่ถูกต้อง

ล่าสุด วันนี้ (20 มีนาคม) ทางหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ออกมาแถลงชี้แจงกรณีการรั่วไหลของซีเซียม 137 โดยได้ข้อสรุปว่า 'ซีเซียม-137' ที่ปนเปื้อนนั้นถูกควบคุมและจำกัดอยู่ในพื้นที่เฉพาะแล้ว และไม่มีการเล็ดรอดออกไป นอกจากนี้ เมื่อเช้าวันนี้ก็ได้ทำการตรวจวัดระดับรังสีรอบโรงงาน ตรวจภายนอกร่างกายของคนงาน ตรวจเสื้อผ้า ซึ่งไม่พบการปนเปื้อนใดๆ และเน้นย้ำว่าเป็นข้อมูลวิชาการที่สามารถยืนยันได้ โดยเจ้าหน้าที่สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติได้ควบคุมสถานการณ์และควบคุมอยู่ในเฉพาะพื้นที่ที่มีฝุ่นแดงที่ปนเปื้อนซีเซียมเท่านั้น โดยยืนยันว่าไม่มีการฟุ้งกระจายออกสู่สิ่งแวดล้อม และประชาชนไม่ได้รับผลกระทบ

(ที่มา: เพจกรรมกรข่าว | Archive)

ข่าวรายงานการแถลงเรื่องการตรวจหาสารปนเปื้อนจากซีเซียม 137

ถึงแม้ทางหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะออกมาแถลงยืนยันว่ามีการควบคุมสถานการณ์ได้ และไม่มีการฟุ้งกระจายไปเป็นวงกว้าง แต่ประชาชนก็ยังไม่ไว้วางใจและเรียกร้องให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งดำเนินการเพื่อการันตีความปลอดภัยของประชาชน และนอกจากนี้ ยังมีนักวิชาการและผู้เชี่ยวชาญหลายรายที่ออกมาแสดงความกังวลอีกด้วย

ดร.สนธิ คชวัฒน์ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ ชมรมนักวิชาการสิ่งแวดล้อมไทย ได้ออกมาแสดงความคิดเห็นผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัวว่า “หายนะแท่งซีเซี่ยมถูกหลอมในโรงงานหลอมเหล็ก มีทั้งฝุ่นที่ปล่อยออกจากปล่องควัน ฝุ่นแดงในถุงกรองอากาศ ขี้เถ้าหนัก รวมทั้งฝุ่นในโรงงาน คืออนุภาคซีเซี่ยมที่ปล่อยรังสีแกมมาและเบต้าออกมา คือสารสารก่อมะเร็ง ในอากาศ ในพืช ผัก ผลไม้ แหล่งน้ำผิวดิน น้ำใต้ดิน รัศมีอย่างน้อย 5 กม. ระยะยาวอาจมีคนป่วยมากขึ้นเรื่อยๆ” (Archive)

โดยล่าสุด กระทรวงสาธารณสุขได้จัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการเพื่อตรวจสุขภาพคนงานทั้ง 70 คนในพื้นที่ พร้อมสังเกตอาการประชาชนในพื้นที่ โดยนายแพทย์โอภาส การย์กวินพงษ์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข ได้ออกมาย้ำเตือนประชาชน โดยเฉพาะในกลุ่มเสี่ยง ซึ่งก็คือพนักงานโรงงานหลอมเหล็กและประชาชนที่อาศัยอยู่บริเวณใกล้เคียงโรงงาน โดยถือว่าทุกคนมีความเสี่ยงที่อาจจะได้รับผลกระทบ โดยขอให้สังเกตอาการตนเอง แม้จะเป็นผู้ที่มีสุขภาพร่างกายแข็งแรง แต่ก็สามารถได้รับผลกระทบจากสารกัมมันตรังสีได้ไม่ต่างจากผู้ที่มีโรคประจำตัวหรือกลุ่มเด็กเล็ก (ที่มา: เพจกรรมกรข่าว)

อันตรายจากซีเซียม-137

ซีเซียม-137 เป็นอันตรายทางอาหาร (Food hazard) ประเภทอันตรายทางเคมี (Chemical hazard) สารซีเซียม-137 เมื่อเข้าสู่ร่างกายบางส่วนจะถูกขับออกจากร่างกายทางเหงื่อและปัสสาวะ และบางส่วนจะตกค้างและสะสมในกล้ามเนื้อ ตับ ไขกระดูก หากได้รับในปริมาณมากหรือเป็นเวลานานทำให้เกิดความผิดปกติในระดับโครโมโซมหรือพันธุกรรม หรือ เป็นสารก่อมะเร็ง อย่างไรก็ตามความผิดปกติจะมากหรือน้อยขึ้นกับปริมาณรังสีและระยะเวลาที่ร่างกายได้รับ

ซึ่งตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข เมื่อวันที่ 11 เมษายน พ.ศ. 2554 เรื่องมาตรฐานอาหารที่ปนเปื้อนสารกัมมันตรังสี กำหนดให้ “อาหารมีการปนเปื้อนซีเซียม-134 และซีเซียม-137 รวมกันไม่เกิน 500 เบคเคอเรลต่อกิโลกรัม (Bq/kg) หรือ เบคเคอเรลต่อลิตร (Bq/l)”

ที่มา:

Avatar

Title:สรุปกรณี “ซีเซียม-137” หายไปจากโรงงานในปราจีนบุรี

By: Cielito Wang

Result: Explainer