ข้อมูลว่า “สี จิ้นผิง” มีอาการหลอดเลือดสมองตีบ เป็นข่าวปลอม

เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา มีข้อความแพร่กระจายบนแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดีย รวมถึงจากเว็บไซต์ข่าวออนไลน์ต่างๆ ที่ระบุว่า สี จิ้นผิง ประธานาธิบดีสาธารณรัฐประชาชนจีน ป่วยเป็นโรคหลอดเลือดสมองตีบ โดยมีอาการกำเริบระหว่างเข้าประชุมคณะกรรมการกลางพรรคคอมมิวนิสต์จีนครั้งที่ผ่านมา โพสต์บนโซเชียลมีเดีย เมื่อวันที่ 17 กรกฎาคมที่ผ่านมา มีเว็บไซต์ข่าวหลายแห่ง รวมถึงผู้ใช้โซเชียลมีเดียจำนวนหนึ่งได้โพสต์ข้อความที่ระบุว่า สี จิ้นผิง มีอาการหลอดเลือดในสมองตีบ โดยแม้ว่าจะยังไม่มีการยืนยันใดๆ แต่ข้อความดังกล่าว พร้อมภาพของสี จิ้นผิงที่แสดงสีหน้าขณะจิบชาระหว่างการประชุมก็มีการแชร์อย่างแพร่หลายทั้งบน Facebook และ X ที่มา | ลิงก์ถาวร ที่มา | ลิงก์ถาวร ที่มา | ลิงก์ถาวร อย่างไรก็ตาม เราพบว่าข้อมูลดังกล่าวไม่ใช่ความจริงแต่อย่างใด ตรวจสอบข้อเท็จจริง เราได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงโดยการใช้ฟีเจอร์การค้นหารูปภาพแบบย้อนกลับ (Reverse Image Search) รวมถึงการค้นหาโดยใช้คำสำคัญที่เกี่ยวข้องต่างๆ และเราพบบทความของ Dailymail ที่พาดหัวว่า “มีอะไรในถ้วยน้ำชา? ประธานาธิบดีจีน สี จิ้นผิง ดูเหมือนจะสะดุ้งขณะจิบชาในระหว่างการประชุมประจำปี” (อ่านบทความ ที่นี่ | ลิงก์ถาวร) ขณะที่ช่างภาพจับภาพขณะที่สี […]

Continue Reading

ภาพและข้อกล่าวอ้างว่าทรัมป์ถูกยิงที่หน้าอก ชวนให้เข้าใจผิด

หลังเหตุการณ์ที่โดนัลด์ ทรัมป์ อดีตประธานาธิบดีและผู้ลงสมัครประธานาธิบดีสหรัฐฯ ประจำปีนี้ถูกลอบยิงขณะออกหาเสียงเมื่อวันที่ 13 กรกฎาคมที่ผ่านมา มีข้อกล่าวอ้างที่ชวนให้เข้าใจผิดเกี่ยวกับเหตุการณ์นี้แพร่กระจายบนโซเชียลมีเดียมากมาย และหนึ่งในนั้นคือข้อกล่าวอ้างที่ระบุว่า นอกจากทรัมป์จะถูกยิงที่บริเวณใบหูแล้ว ทรัมป์ยังถูกยิงบริเวณหน้าอกอีกด้วย ข้อกล่าวอ้างบนโซเชียลมีเดีย มีผู้ใช้ Facebook โพสต์ภาพของโดนัลด์ ทรัมป์ ขณะเกิดเหตุลอบยิง พร้อมข้อความระบุว่า นอกจากทรัมป์จะถูกยิงที่บริเวณใบหูแล้ว ยังถูกยิงบริเวณหน้าอกด้วย ที่มา | ลิงก์ถาวร ที่มา | ลิงก์ถาวร นอกจากนี้ เรายังพบภาพและข้อกล่าวอ้างเดียวกันแพร่กระจายบนแพลตฟอร์ม X อีกด้วยเช่นกัน ที่มา | ลิงก์ถาวร ที่มา | ลิงก์ถาวร อย่างไรก็ตาม จากการตรวจสอบ เราพบว่าภาพและข้อกล่าวอ้างดังกล่าวชวนให้เข้าใจผิด ตรวจสอบข้อเท็จจริง เราตรวจสอบข้อเท็จจริงโดยใช้ฟีเจอร์การค้นหารูปภาพแบบย้อนกลับ (Reverse Image Search) เพื่อค้นหาที่มาของรูปภาพดังกล่าว และพบว่าภาพดังกล่าวมาจากรายงานข่าวของสำนักข่าว AP เมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม (ดูภาพต้นฉบับได้ที่นี่) โดยเมื่อดูภาพต้นฉบับแบบความละเอียดสูงจะพบว่า รอยที่มีลักษณะเหมือนรูในภาพที่กล่าวอ้าง แท้จริงแล้วเป็นรอยพับจากแขนเสื้อของเจ้าหน้าที่ที่เข้ามาประชิดตัวเพื่ออารักขาและนำทรัมป์ออกจากที่เกิดเหตุ ไม่ใช่รอยจากเสื้อของทรัมป์ ภาพโดย: […]

Continue Reading

ชายในวิดีโอที่แอบอ้างเป็น “โทมัส ครุกส์” ไม่ใช่ผู้ก่อเหตุตัวจริง

เมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2567 ระหว่างการหาเสียงของโดนัลด์ ทรัมป์ ในเมืองบัตเลอร์ รัฐเพนซิลเวเนีย มีเสียงปืนดังขึ้น ส่งผลให้หน่วยสืบราชการลับต้องรีบยึดเวทีไว้ ผู้สื่อข่าวสังเกตเห็นเหตุกราดยิงหลายนัด และอดีตประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ก็ถูกพาตัวออกไปด้วยขบวนคาราวานหลังจากได้รับบาดเจ็บบริเวณใบหู หลังจากนั้น FBI ระบุว่ามือปืนคือ โทมัส แมทธิว ครุกส์ วัย 20 ปี โดยใช้ปืนไรเฟิลสไตล์ AR ซึ่งอยู่ห่างจากเวทีประมาณ 400 ฟุต (ที่มา: CBS) และหลังจากเหตุการณ์อันตื่นตระหนกที่สร้างความสนใจให้แก่ผู้คนทั่วทั้งโลกครั้งนี้ ก็มีวิดีโอหนึ่งแพร่กระจายบนโซเชียลมีเดีย โดยบุคคลในวิดีโอได้ระบุว่าเขาคือ “โทมัส แมทธิว ครุกส์” และเจ้าหน้าที่จับคนร้ายผิดตัว โพสต์บนโซเชียลมีเดีย วิดีโอของชายผมบลอนด์ยาว สวมเสื้อสีน้ำเงิน พร้อมกล่าวว่า “ผมชื่อ โทมัส แมทธิว ครุกส์ ผมเกลียดริพับบลิกัน ผมเกลียดทรัมป์ แล้วรู้อะไรไหม พวกเขาจับคนผิด” ได้แพร่กระจายบนโซเชียลมีเดียต่างๆ ทั้ง Facebook, TikTok และ X […]

Continue Reading

ข้อความว่านายกฯ เตรียมผลักดันผ้าไหมเป็นเครื่องแบบนักเรียน ไม่เป็นความจริง

เมื่อเร็วๆ นี้ มีข้อกล่าวอ้างแพร่กระจายบนแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดีย ระบุว่า นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี ต้องการผลักดันผ้าไหมให้นักเรียนใส่เป็นเครื่องแบบทั่วประเทศ โพสต์บนโซเชียลมีเดีย มีภาพและข้อความแพร่กระจายบนแพลตฟอร์ม Facebook ระบุว่า “ผ้าไหมชุดนร.! นายกเดินหน้าดันซอฟพาวเวอร์ผ้าไหม เตรียมให้นักเรียนทั่วประเทศใส่เป็นเครื่องแบบแทนชุดนักเรียน เผยเพื่อส่งเสริมความเป็นไทยให้กับเยาวชน” ที่มา | ลิงก์ถาวร ที่มา | ลิงก์ถาวร เราพบว่าภาพและข้อความดังกล่าวแพร่กระจายบนแพลตฟอร์ม X (Twitter) เช่นเดียวกัน ที่มา | ลิงก์ถาวร อย่างไรก็ตาม เราพบว่าข้อกล่าวอ้างดังกล่าวเป็นไม่เป็นความจริง ตรวจสอบข้อเท็จจริง จากการตรวจสอบ เราไม่พบรายงานข่าวที่ระบุว่านายกรัฐมนตรีต้องการผลักดันให้ใช้ผ้าไหมเป็นเครื่องแบบนักเรียนทั่วประเทศจากแหล่งข่าวใดๆ ที่เชื่อถือได้ และเราได้ดำเนินการตรวจสอบรูปภาพที่แพร่กระจายพร้อมข้อกล่าวอ้างดังกล่าว และพบว่า รูปภาพนักเรียนในชุดผ้าไทยนั้นเป็นภาพจากเมื่อปี 2562 โดยทางโรงเรียนกระเทียมวิทยา จังหวัดสุรินทร์ ได้จัดกิจกรรมให้นักเรียนนุ่งผ้าไหมสุรินทร์ในทุกวันศุกร์ เพื่อเป็นการอนุรักษ์ผ้าไหมท้องถิ่น (ที่มา) ไม่มีความเกี่ยวข้องกับข้อกล่าวอ้างดังกล่าวแต่อย่างใด ที่มา | ลิงก์ถาวร แม้ว่า นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี มีความสนใจในผ้าไทย โดยต้องการผลักดันผ้าไหมไทยออกสู่ตลาดโลกจริง (อ่านข่าวได้ที่นี่) […]

Continue Reading

วิดีโอที่อ้างว่า Temple Mount ถูกเผา “ชวนให้เข้าใจผิด”

เมื่อไม่นานมานี้ มีวิดีโอแพร่กระจายบนโซเชียลมีเดีย พร้อมข้อกล่าวอ้างว่าเป็นวิดีโอเหตุการณ์เมื่อเร็วๆ นี้ ที่ชาวอิสราเอลโห่ร้องและเฉลิมฉลองขณะที่มีการเผาวิหาร โดยวิดีโอพร้อมข้อความดังกล่าวได้แพร่กระจายบนแพลตฟอร์มออนไลน์ต่างๆ โพสต์โซเชียลมีเดีย เมื่อวันที่ 2 มิถุนายนที่ผ่านมา มีผู้ใช้ Facebook ได้แชร์วิดีโอพร้อมข้อความว่า “กลุ่มไซออนิสต์ร้องและเต้นรำกันขณะที่ Temple Mount ถูกเผา!” Source | Archive โดยเราพบว่าวิดีโอดังกล่าวได้แพร่กระจายอย่างกว้างขวางบนแพลตฟอร์ม X (Twitter) ด้วยเช่นกัน Source | Archive อย่างไรก็ตาม เราพบว่าวิดีโอดังกล่าวไม่ใช่วิดีโอจากเหตุการณ์เมื่อเร็วๆ นี้แต่อย่างใด ตรวจสอบข้อเท็จจริง จากการตรวจสอบข้อเท็จจริงโดยการใช้ฟีเจอร์ Reverse Image Search จากคีย์เฟรมของวิดีโอดังกล่าวเพื่อค้นหาที่มาของวิดีโอ เราพบว่าวิดีโอนี้เป็นเหตุการณ์ตั้งแต่เมื่อปี 2021 โดยเป็นเหตุการณ์ที่ชาวยิวในอิสราเอลรวมตัวกันที่ Temple Mount และร่วมร้องเพลงต่อต้านปาเลสไตน์ อย่างไรก็ตาม ไม่ได้มีการเผา Temple Mount ดังในข้อกล่าวอ้าง โดยจุดที่เกิดไฟไหม้คือบริเวณต้นไม้หลังวิหาร ซึ่งมีการรายงานว่าถูกเผาโดยผู้ประท้วงชาวปาเลสไตน์ที่โยนพลุเข้าไปในบริเวณนั้น อย่างไรก็ตาม วิหารไม่ได้รับความเสียหายจากเหตุการณ์นี้แต่อย่างใด (ที่มา: BBC, Reuters) สรุป […]

Continue Reading

ป้าย “Bangkok” ของ กทม. ไม่ได้ใช้งบประมาณ 3 ล้านบาท

เมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม 2567 กรุงเทพมหานคร ได้เปลี่ยนป้ายชื่อจังหวัดที่บริเวณ Sky Walk แยกปทุมวัน ซึ่งก่อนหน้านี้ป้าย “Bangkok” ได้กลายเป็นจุดยอดนิยมที่นักท่องเที่ยวต่างชาติมักมาถ่ายรูปเช็กอิน และสร้างขึ้นมาเป็นเวลากว่า 18 ปีแล้ว (ที่มา) โดยหลังจากมีการเปิดตัวป้ายโฉมใหม่ ก็มีข้อความแพร่กระจายว่า ป้ายโฉมใหม่ของ กทม. ใช้งบประมาณถึง 3 ล้านบาท ข้อกล่าวอ้างบนโซเชียลมีเดีย เราพบข้อความที่กล่าวอ้างว่าป้ายใหม่ของ กทม. ใช้งบประมาณ 3 ล้านบาท แพร่กระจายบนแพลตฟอร์มออนไลน์ต่างๆ ทั้ง Facebook และ X ที่มา | ลิงก์ถาวร ที่มา | ลิงก์ถาวร ที่มา | ลิงก์ถาวร ที่มา | ลิงก์ถาวร อย่างไรก็ตาม เราพบว่าข้อมูลดังกล่าวเป็นข้อมูลที่ชวนให้เข้าใจผิด และป้ายดังกล่าวไม่ได้ใช้งบประมาณ 3 ล้านบาท ตามที่กล่าวอ้างแต่อย่างใด กทม. ชี้แจง งบ […]

Continue Reading

อมรัตน์ ชี้แจง พาดหัวว่าตนไม่รู้จัก “ทะลุวัง” เป็นข้อความบิดเบือน

เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคมที่ผ่านมา น.ส. เนติพร เสน่ห์สังคม หรือ บุ้ง หนึ่งในนักเคลื่อนไหวทางการเมืองกลุ่มทะลุวัง เสียชีวิตลงเนื่องจากภาวะหัวใจหยุดเต้น ระหว่างถูกคุมขังหลังจากศาลอาญามีคำสั่งถอนประกันในคดีมาตรา 112 (ที่มา: บีบีซี) และในวันเดียวกัน มีนักการเมืองและนักเคลื่อนไหวหลายรายออกมาแสดงความเสียใจต่อการจากไปของ น.ส. เนติพร และเรียกร้องสิทธิในการประกันตัวผู้เห็นต่างทางการเมือง โดยหนึ่งในนั้นคือ นางอมรัตน์ โชคปมิตต์กุล อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พรรคก้าวไกล และมีข้อกล่าวอ้างบนแพลตฟอร์มต่างๆ ว่า นางอมรัตน์เคยกล่าวว่าไม่รู้จักกลุ่ม “ทะลุวัง” ข้อกล่าวอ้างบนโซเชียลมีเดีย ในวันเดียวกัน (14 พฤษภาคม 2566) มีผู้ใช้ Facebook โพสต์ภาพของนางอมรัตน์ พร้อมข้อความภายในภาพที่ระบุว่า “ไม่รู้จัก ‘ทะลุวัง’ — ‘เจี๊ยบ’ อ้างก้าวไกลไม่มีส่วนเกี่ยวข้อง” ที่มา | ลิงก์ถาวร นอกจากนี้ มีผู้ใช้ X (Twitter) ได้ตอบโพสต์บนแพลตฟอร์ม X ของนางอมรัตน์พร้อมข้อกล่าวอ้างเดียวกัน ที่มา | ลิงก์ถาวร […]

Continue Reading

คนใกล้ชิดยืนยัน ‘ชูวิทย์’ ยังไม่เสียชีวิต 

ในช่วงไม่กี่วันที่ผ่านมา มีข้อความแพร่กระจายบนโซเชียลมีเดีย ว่า นายชูวิทย์ กมลวิศิษฏ์ อดีตนักการเมืองและนักธุรกิจชื่อดัง ได้เสียชีวิตลงแล้ว ข้อกล่าวอ้างบนโซเชียลมีเดีย เมื่อวันที่ 21 เมษายน มีผู้ใช้บัญชี X ได้โพสต์ข้อความว่า “ขอแสดงความเสียใจด้วยค่ะ แต่ก่อนที่ท่านจะเสียชีวิต ท่านก็ได้ทําคุณประโยชน์ต่อสังคมและต่อปท.ชาติอย่างมากมายมหาศาลแล้วด้วยเพราะกล้าออกมาแฉ ความชั่วร้ายในบ้านเมืองนี้ ขอให้ท่านชูวิทย์ จงไปสู่ภพภูมิที่ดีๆ” พร้อมโพสต์ภาพนายชูวิทย์กับบุตรสาว ที่มีข้อความในภาพว่า “เฮียชูวิทย์เสียชีวิตแล้ว” โดยโพสต์ดังกล่าวมีการรับชมไปกว่าหนึ่งแสนครั้ง ที่มา | ลิงก์ถาวร และเรายังพบข้อกล่าวอ้างเดียวกันแพร่กระจายบน Facebook ด้วยเช่นเดียวกัน ตรวจสอบข้อเท็จจริง นายสรยุทธ สุทัศนะจินดา ได้โพสต์ข้อความผ่านเพจ Facebook ชี้แจงถึงกรณีข่าวลือดังกล่าว ว่า ไม่เป็นความจริง โดยคนใกล้ชิดของนายชูวิทย์ได้ยืนยันว่า ปัจจุบันนายชูวิทย์กำลังอยู่ในกระบวนการรักษา ลิงก์ถาวร โดยข่าวลือเกี่ยวกับการเสียชีวิตของนายชูวิทย์นั้นมีการแพร่กระจายอยู่บ่อยครั้ง นับตั้งแต่นายชูวิทย์ได้เดินทางไปรักษาตัวที่ประเทศอังกฤษตั้งแต่เมื่อเดือนพฤศจิกายน ปี 2566 โดยเมื่อวันที่ 29 มีนาคมที่ผ่านมา นางสาวตระการตา กมลวิศิษฏ์ ลูกสาวของนายชูวิทย์ ก็ได้โพสต์ภาพคู่กับบิดาของตน พร้อมระบุว่า “มีข่าวลือว่าพ่อเสียชีวิตแล้ว ขอย้ำนะคะ พ่อต๊ะยังไม่ตายนะคะ” […]

Continue Reading

ภาพไวรัลพร้อมข้อความว่าประชาชนแห่ถอนเงินจาก ธกส. ‘ชวนให้เข้าใจผิด’

เมื่อวันที่ 10 เมษายน นายลวรณ แสงสนิท ปลัดกระทรวงการคลัง แถลงถึงแหล่งที่มาเงินในโครงการดิจิทัลวอลเล็ต 1 หมื่นบาท โดยชี้แจงว่า วงเงิน 5 แสนล้านบาท จะมาจากการจัดการงบประมาณในปี 2567 และปี 2568 ควบคู่กันไป โดยจะแบ่งเป็น 3 ส่วน ได้แก่ (ที่มา) โดยจากการชี้แจงของกระทรวงการคลังครั้งนี้ ทำให้มีประชาชนบางส่วนแสดงความกังวล และระบุว่าจะไปถอนเงินออกจากธนาคาร ธกส. เนื่องจากกลัวว่าธนาคารอาจขาดสภาพคล่องจากการดำเนินการครั้งนี้ นอกจากนี้ ยังมีผู้ใช้โซเชียลหลายรายที่โพสต์ภาพพร้อมข้อกล่าวอ้างว่าปัจจุบันมีประชาชนเดินทางไปถอนเงินจาก ธกส. อย่างล้นหลาม ข้อกล่าวอ้างบนโซเชียลมีเดีย หลังจากการแถลงที่มาของวงเงินดิจิทัลวอลเล็ต มีผู้ใช้ Facebook ได้โพสต์รูปภาพประชาชนจำนวนมากรวมตัวกันหน้าธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธกส.) พร้อมข้อความว่าประชาชนไปถอนเงินออก ที่มา | ลิงก์ถาวร ที่มา | ลิงก์ถาวร อย่างไรก็ตาม จากการตรวจสอบ เราพบว่า ภาพดังกล่าวไม่ใช่ภาพเหตุการณ์ในปัจจุบันแต่อย่างใด ตรวจสอบข้อเท็จจริง เราได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริง โดยการค้นหาที่มาของรูปภาพด้วยฟีเจอร์การค้นหารูปภาพแบบย้อนกลับ (Reverse Image Search) […]

Continue Reading

ภาพ AI ถูกนำมาใช้โยงกับภาพล่าสุดของทักษิณ

ในช่วงเช้าวันที่ 18 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ได้เดินทางกลับบ้านพัก พร้อมกับนางสาวแพทองธาร ชินวัตร และนางสาวพินทองทา คุณากรวงศ์ บุตรสาวทั้งสอง 2 คน (อ่านข่าวที่นี่) และในช่วงบ่ายของวันที่ 18 ก.พ. นางสาวแพทองธาร ได้โพสต์รูปของนายทักษิณ ในบัญชี Instagram ส่วนตัวของตน และมีผู้ใช้โซเชียลมีเดียได้นำภาพดังกล่าวไปเปรียบเทียบกับภาพที่อ้างว่าเป็นโปสเตอร์ภาพยนตร์ของ Netflix โดยโพสต์ดังกล่าวได้รับความสนใจเป็นอย่างมาก โพสต์บนโซเชียลมีเดีย ผู้ใช้บัญชี X รายหนึ่งได้โพสต์ภาพล่าสุดนายทักษิณ เปรียบเทียบกับภาพภาพหนึ่ง พร้อมคำบรรยายภาพว่า “คนคิดคอนเทนต์ ต้องดู Netflix แน่ๆ” ที่มา | ลิงก์ถาวร โดยโพสต์กล่าวมีการรับชมไปกว่า 360,000 ครั้งภายในไม่กี่ชั่วโมง และมีผู้ใช้รายหลายแสดงความเห็นภายในโพสต์ว่าภาพดังกล่าวไม่ใช่ภาพจริง แต่เป็นภาพจาก AI เราจึงตัดสินใจตรวจสอบข้อเท็จจริงภาพดังกล่าว บทความที่เกี่ยวข้อง: ภาพเก่าของทักษิณ ถูกนำมาใช้แอบอ้างเป็นภาพล่าสุดขณะรักษาตัวที่รพ. ตรวจสอบข้อเท็จจริง จากการดำเนินตรวจสอบที่มาของรูปภาพ เราไม่พบโปสเตอร์ภาพยนตร์หรือซีรีส์จาก Netflix ที่ตรงกับภาพดังกล่าว อย่างไรก็ตาม […]

Continue Reading