กรมอุตุฯ ยืนยัน: ข้อความว่า “8 เม.ย. เป็นวันที่ร้อนที่สุดของปี” ชวนให้เข้าใจผิด

ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา มีข้อความที่แชร์กันอย่างเป็นวงกว้างบนโซเชียลมีเดียที่ระบุว่า วันจันทร์ที่ 8 เมษายนนี้ จะเป็นวันที่ร้อนที่สุดของปี ส่งข้อมูลให้เราช่วยตรวจสอบข้อเท็จจริงได้ที่นี่ ข้อกล่าวอ้างบนโซเชียลมีเดีย เราได้รับเบาะแสจากผู้ใช้ ผ่านช่องทางไลน์ตรวจสอบข้อเท็จจริงของเรา โดยมีข้อความแพร่กระจายบนแพลตฟอร์มอย่างแพร่หลาย ระบุว่า วันที่ 8 เมษายนจะเป็นวันที่ร้อนที่สุด โดยเราพบว่าข้อความดังกล่าวมีการแพร่กระจายบน Facebook เช่นเดียวกัน ที่มา (1) (2) (3) (4) | ลิงก์ถาวร (1) (2) (3) (4) ตรวจสอบข้อเท็จจริง จากการตรวจสอบข้อมูลเพิ่มเติมจากแหล่งที่มาต่างๆ และข้อมูลของกรมอุตุนิยมวิทยา และพบว่าข้อมูลดังกล่าวมาจากเพจ Facebook ของ รศ.ดร.เสรี ศุภราทิตย์ ที่คาดการณ์อากาศของประเทศไทยในอีก 60 ปีข้างหน้า ที่มา | ลิงก์ถาวร นอกจากนี้ กรมอุตุนิยมวิทยา ได้ชี้แจงว่า ข้อมูลดังกล่าวเป็นข้อมูลที่มิได้มีที่มาจากกรมอุตุนิยมวิทยาแต่อย่างใด โดยพยากรณ์อากาศในช่วงวันที่ 8-11 เม.ย. 67 บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นจากประเทศจีนจะแผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบนและทะเลจีนใต้ ในขณะที่ประเทศไทยตอนบนมีอากาศร้อนถึงร้อนจัด ประกอบกับมีลมตะวันออกและลมตะวันออกเฉียงใต้พัดนำความชื้นจากทะเลจีนใต้และอ่าวไทยเข้ามาปกคลุมประเทศไทยตอนบน ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยตอนบนจะมีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้นในระยะแรก […]

Continue Reading

จริงหรือไม่: ทานผลไม้ตอนท้องว่างช่วยรักษามะเร็ง – ดื่มน้ำเย็นเสี่ยงมะเร็ง?

ทีมงาน Fact Crescendo Thailand ได้รับเบาะแสผ่านทางไลน์ตรวจสอบข้อเท็จจริงของเรา เกี่ยวกับข้อความที่กำลังแพร่กระจายบนแพลตฟอร์ม LINE อย่างแพร่หลาย โดยระบุว่า ควรกินผลไม้เฉพาะตอนท้องว่างเท่านั้น และไม่ควรดื่มน้ำเย็น เพราะจะเพิ่มความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งได้ ข้อกล่าวอ้างบนโซเชียลมีเดีย ข้อความแพร่กระจายบนโซเชียลมีเดีย อ้างว่าควรรับประทานผลไม้ก่อนอาหาร หรือตอนท้องว่าง ซึ่งจะช่วยรักษามะเร็งได้ และในส่วนหลังของข้อความยังระบุว่า ไม่ควรดื่มน้ำเย็น เพราะอาจก่อให้เกิดมะเร็งได้ โดยเราพบว่าข้อความดังกล่าวมีการแพร่กระจายบน Facebook มาเป็นเวลาหลายปีแล้วอีกด้วย Source | Archive คำอธิบายจากผู้เชี่ยวชาญ ควรทานผลไม้ขณะท้องว่าง จริงหรือไม่? แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านมะเร็ง: Dr. Aravinda Dissanayake ศัลยแพทย์ด้านเนื้องอกวิทยา ศัลยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านมะเร็ง ยืนยันกับ Fact Crescendo ว่า ยังไม่มีการศึกษาวิจัยที่พิสูจน์ได้ว่าการกินผลไม้ในขณะท้องว่างสามารถรักษามะเร็งได้ ผู้อำนวยการโครงการควบคุมมะเร็งแห่งชาติ ศรีลังกา: Dr. Janaki Vidanapathirana ผู้อำนวยการโครงการควบคุมมะเร็งแห่งชาติ ประเทศศรีลังกา อธิบายว่า การกินผักและผลไม้ในขณะท้องว่างนั้นสามารถทำได้ และไม่เป็นอันตรายต่อร่างกาย ผลการศึกษาพบว่าการกินผักและผลไม้สามารถช่วยป้องกันโรคต่างๆ เช่น มะเร็ง เบาหวาน ความดันโลหิตสูง […]

Continue Reading

ข้อความไวรัลว่าจะไม่มีสุริยุปราคาเต็มดวงอีก 375 ปี ชวนให้เข้าใจผิด

ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา โซเชียลมีเดียต่างให้ความสนใจกับปรากฏการณ์สุริยุปราคาแบบเต็มดวงที่จะเกิดขึ้นในวันที่ 8 เมษายนนี้ (ตามเวลาสหรัฐฯ) และเราพบข้อความไวรัลที่ระบุว่า ปรากฏการณ์สุริยุปราคาแบบเต็มดวงลักษณะนี้จะไม่เกิดขึ้นอีกเป็นเวลา 375 ปี ข้อกล่าวอ้างบนโซเชียลมีเดีย ผู้ใช้ Facebook จำนวนหลายรายได้โพสต์ข้อความว่า “บันทึกวันที่, มันจะเป็นประวัติศาสตร์! ในวันที่ 8 เมษายน 2567 จะเกิดสุริยุปราคาเต็มดวง และจะเปลี่ยนกลางวันเป็นกลางคืน อุณหภูมิจะลดลง สัตว์จะเต็มไปด้วยโคลน และความมืดจะทำให้แสงแดดกลายเป็นกลางคืน เราจะไม่เห็นสุริยุปราคาเต็มดวงเช่นนี้อีกเป็นเวลา 375 ปี” โดยล่าสุดโพสต์ดังกล่าวมีการแชร์ต่อกว่า 12,000 ครั้ง ที่มา | ลิงก์ถาวร ที่มา | ลิงก์ถาวร อย่างไรก็ตาม เราพบว่าข้อกล่าวอ้างดังกล่าวอาจชวนให้ผู้อ่านเกิดความเข้าใจผิดได้ ตรวจสอบข้อเท็จจริง สุริยุปราคาเต็มดวงเป็นปรากฏการณ์ที่ดวงจันทร์โคจรผ่านระหว่างโลกกับดวงอาทิตย์ และบดบังแสงอาทิตย์ ถือเป็นเหตุการณ์ที่หาชมได้ยาก อย่างไรก็ตาม ความถี่ของเหตุการณ์เหล่านี้ไม่ได้ใช้เวลานานหลายร้อยปีตามข้อกล่าวอ้าง ความถี่ของการเกิดปรากฏการณ์สุริยุปราคามาจากปัจจัยหลายประการ ซึ่งรวมถึงวงโคจรของดวงจันทร์ที่โคจรแบบเอียง และเส้นทางการโคจรซึ่งเป็นวงรี ปัจจัยเหล่านี้มีอิทธิพลต่อความถี่และตำแหน่งสุริยุปราคาบนโลก อย่างไรก็ตาม จากข้อมูลจาก NASA ระยะเวลาระหว่างสุริยุปราคาทั้งหมดที่สังเกตได้จากสหรัฐอเมริกาที่อยู่ติดกันนั้นน้อยกว่า 375 ปีมาก หลังจากสุริยุปราคาเต็มดวงที่กำหนดไว้ในวันที่ […]

Continue Reading

ก้าวไกลไม่ได้ส่งผู้สมัครลงเลือกตั้ง อบจ. เลย ตามที่อ้างในโซเชียลมีเดีย

เมื่อไม่นานมานี้ มีข้อความแพร่กระจายที่อ้างว่า พรรคก้าวไกลได้ส่งสมาชิกพรรคลงเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดเลย ที่มีขึ้นเมื่อวันที่ 31 และแพ้เลือกตั้งให้กับอดีตผู้ว่าราชการจังหวัดเลย ข้อกล่าวอ้างบนโซเชียลมีเดีย เมื่อวันที่ 2 เมษายน นายอดิศร เพียงเกษ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พรรคเพื่อไทย ได้ออกมาโพสต์วิดีโอผ่านบัญชี X ของตน โดยในวิดีโอได้ระบุว่า ในการเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดเลย พรรคก้าวไกลได้แพ้ในการเลือกตั้ง อบจ. ครั้งนี้ให้กับนายชัยธวัช เนียมศิริ อดีตผู้ว่าราชการจังหวัดเลย และกล่าวว่า นายจีระศักดิ์ น้อยก่ำ ซึ่งเป็นตัวแทนจากพรรคก้าวไกล มีคะแนนอยู่ในอันดับที่ 2 และแพ้เลือกตั้งครั้งนี้ไป ที่มา | ลิงก์ถาวร นอกจากนี้เรายังพบโพสต์บน Facebook พร้อมข้อกล่าวอ้างที่คล้ายกันอีกด้วย ที่มา | ลิงก์ถาวร อย่างไรก็ตาม เราพบว่าข้อกล่าวอ้างข้างต้นไม่เป็นความจริงแต่อย่างใด พรรคก้าวไกลยืนยัน ไม่ได้ส่งผู้สมัครลงเลือกตั้ง อบจ. เลย ในช่วงบ่ายของวันที่ 2 เมษายน นายกรุณพล เทียนสุวรรณ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พรรคก้าวไกล ได้ชี้แจงตอบเกี่ยวกับโพสต์ X […]

Continue Reading

ข้อความไวรัลอ้างว่า ‘หมาล่ามีโซดาไฟ’ ไม่เป็นความจริง

เมื่อไม่กี่วันที่ผ่านมา มีข้อความแพร่กระจายบนโซเชียลมีเดียที่อ้างว่า หมาล่าหรือพริกแห้งที่นำเข้าจากประเทศจีนนั้นมีการใช้โซดาไฟเป็นส่วนผสม และนำไปผสมกับสีย้อมผ้าเป็นให้ได้สีสันที่ดูน่ารับประทาน นอกจากนี้ยังระบุว่าการบริโภคหมาล่าทำให้เกิดอาการชาในปาก ซึ่งก่อให้เกิดอันตรายต่อตับและส่วนอื่นๆ ของร่างกาย และยังอ้างว่าญี่ปุ่นและไต้หวันได้สั่งห้ามนำเข้าหมาล่าแล้ว ในขณะที่คนไทยยังคงบริโภคต่อไป ข้อกล่าวอ้างบนโซเชียลมีเดีย เมื่อวันที่ 22 มีนาคมที่ผ่านมา มีผู้ใช้ Facebook โพสต์ข้อความระบุว่า “หมาล่า หรือพริกแห้งที่ส่งมาจากเมืองจีน เป็นพริกที่เก็บเกี่ยวโดยใช้สารโซดาไฟ พ่นให้ใบเหี่ยวแห้ง แล้วร่อนเอาพริกออกมา บดแล้วผสมกับสีย้อมผ้า เวลากินจะรู้สึกชาๆที่ปาก เป็นอันตรายต่อตับและร่างกายทุกส่วน ประเทศญี่ปุ่นประเทศไต้หวัน เขาห้ามนำเข้ามาขายแล้ว แต่คนไทย ยังเอามากินกันอยู่” พร้อมโพสต์รูปภาพเครื่องปรุงรสยี่ห้อหนึ่งประกอบ ที่มา | ลิงก์ถาวร โดยข้อความดังกล่าวมีการแชร์ต่ออย่างกว้างขวาง ตรวจสอบข้อเท็จจริง เราได้ทำการค้นหาข้อมูลและรายงานเกี่ยวกับการตรวจพบโซดาไฟและสีย้อมผ้าในเครื่องปรุงหมาล่าที่นำเข้ามาในไทย แต่ก็ไม่พบรายงานใดๆ เกี่ยวกับเรื่องนี้ และล่าสุด ในวันที่ 25 มีนาคมที่ผ่านมา บริษัทฟ้าไทย เจ้าของผลิตภัณฑ์เครื่องปรุงหมาล่าที่ถูกนำรูปไปใช้ประกอบข้อความข้างต้น ได้ออกแถลงการณ์ชี้แจงว่าข้อมูลดังกล่าวไม่เป็นความจริง โดยยืนยันว่า วัตถุดิบที่ใช้ในการผลิต “น้ำซุปหมาล่าเข้มข้น ตราฟ้าไทย” ไม่มีสารเคมีอันตรายใดๆ สามารถบริโภคได้อย่างปลอดภัย ผ่านการรับรองมาตรฐาน อย. และ มาตรฐาน GHPs […]

Continue Reading

Apple แพ้คดีให้กับนักวิจัยชาวไทย จริงหรือไม่?

เมื่อไม่นานมานี้ มีข้อความแพร่กระจายบนแพลตฟอร์มออนไลน์ต่างๆ อ้างว่า ชาวไทยชนะคดีละเมิดสิทธิบัตรฟีเจอร์สั่งงานด้วยเสียง “Siri” และบริษัท Apple ต้องจ่ายค่าปรับ 25 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ข้อกล่าวอ้างบนโซเชียลมีเดีย เมื่อไม่นานมานี้ มีข้อความแพร่กระจายบนแพลตฟอร์มออนไลน์ต่างๆ ระบุว่า Apple แพ้คดีสิทธิบัตร Siri และต้องจ่ายค่าปรับให้กับนักวิจัยชาวไทย 25 ล้านเหรียญสหรัฐฯ  ที่มา | ลิงก์ถาวร ตรวจสอบข้อเท็จจริง จากการตรวจสอบ เราพบว่า ข้อความดังกล่าวเป็นข้อความที่มีการแพร่กระจายมาตั้งแต่ปี 2559 และมีหลายๆ เว็บไซต์ที่นำเสนอข่าวเรื่องนี้ (เช่น ที่นี่และที่นี่) อย่างไรก็ตาม ข้อกล่าวอ้างที่ระบุว่า Apple จ่ายค่าปรับให้นักวิจัยคนไทย 25 ล้านเหรียญสหรัฐฯ นั้น นั้นไม่ใช่ข้อมูลที่ถูกต้องนัก แม้ Apple จะแพ้คดี และต้องจ่ายค่าสิทธิบัตรสำหรับฟีเจอร์ Siri จริงก็ตาม นักวิจัยชาวไทยเป็นผู้คิดค้น Siri จริงหรือไม่? นักวิจัยไทยรายดังกล่าว คือ ดร.วีระ บุญจริง ซึ่งเคยเป็นนักศึกษาปริญญาเอกจาก Rensselaer […]

Continue Reading

วิดีโอชายถูกไฟดูดในสถานีรถไฟ ไม่ได้มีสาเหตุจากหูฟังบลูทูธ

ในยุคของโซเชียลมีเดีย ข้อมูลที่ไม่ถูกต้องสามารถแพร่กระจายอย่างรวดเร็วและทำให้เกิดความตื่นตระหนกโดยไม่จำเป็น ตัวอย่างหนึ่งคือวิดีโอไวรัลที่เผยแพร่ทางออนไลน์ โดยอ้างว่าชายคนหนึ่งถูกไฟฟ้าดูดขณะใช้หูฟังบลูทูธบนชานชาลารถไฟ ข้อกล่าวอ้างบนโซเชียลมีเดีย ผู้ใช้โซเชียลมีเดียหลายรายได้แชร์วิดีโอของชายคนหนึ่งที่ล้มหมดสติลงที่ชานชาลารถไฟแห่งหนึ่ง พร้อมข้อความว่า *“หลีกเลี่ยงการใช้หูฟัง BLOOT ใกล้รางปลั๊กไฟ ข้อมูลนี้มีความสำคัญมาก หากคุณได้ยินสิ่งนี้ โปรดสละเวลาสักครู่เพื่อส่งข้อความนี้ถึงลูกชาย ลูกสาว หรือพี่น้องของคุณที่เล่นหูฟังบ่อยๆ โอเคไหม? โดยเฉพาะคนที่นั่งรถไฟฟ้า.. เมื่อเปิดชุดหูฟัง Bluetooth บนโทรศัพท์มือถือของคุณ จะมีกระแส ส่ง/เหนี่ยวนำ จากสายไฟฟ้าแรงสูงบนรางรถไฟเข้าถึงโดยตรงผ่าน หูและเข้าสู่สมอง.. …จะเกิดอะไรขึ้นต่อไป? ? ? หลีกเลี่ยงการใช้บลูทูธบนชานชาลาฝั่งรถไฟเมื่อขับรถและยืนใกล้ช่องทางรถไฟฟ้า” Source | Archive โดยวิดีโอและข้อความดังกล่าวมีการแชร์ต่อเป็นจำนวนมากบนแพลตฟอร์มออนไลน์ต่างๆ ตรวจสอบข้อเท็จจริง เราได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริง โดยการหาที่มาของวิดีโอดังกล่าว และพบว่าฟุตเทจดังกล่าวเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นที่สถานีรถไฟ Kharagpur ในรัฐ West Bengal ประเทศอินเดีย เนื่องจากสายไฟหล่นใส่ศีรษะ ไม่ใช่จากการใช้หูฟังบลูทูธแต่อย่างใด (ที่มา: Reuters, News 18) บุคคลในวิดีโอดังกล่าว คือ Sujan Singh Sardar เจ้าหน้าที่ตรวจสอบตั๋วเดินทางบนรถไฟ เขาทรุดตัวลงและตกลงไปในทางรถไฟหลังจากสายไฟหลุดออกมาจากด้านหลังและตกใส่เขา โดยหลังจากนั้นไม่นาน […]

Continue Reading

ภาพหลักหมุด “กรุงสยาม” ที่เป็นไวรัล ไม่ได้อยู่ที่พระตะบองตามข้อกล่าวอ้าง

เมื่อไม่นานมานี้ มีรูปภาพหนึ่งแพร่กระจายบนโซเชียลมีเดีย พร้อมข้อกล่าวอ้างว่าเป็นภาพของ “หลักหมุดกรุงสยาม” ที่อยู่ในเมืองพระตะบอง กัมพูชา โดยภาพดังกล่าวมีการแชร์อย่างกว้างขวางบนแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียต่างๆ โพสต์บนโซเชียลมีเดีย เมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ ผู้ใช้ Facebook รายหนึ่งได้แชร์ภาพหลักหมุดที่มีข้อความว่า “กรุงสยาม – SIAM” พร้อมข้อความกำกับว่า “หลักหมุดSIAM กรุงสยาม “ที่เมืองพระตะบอง” อดีตพื้นแผ่นดินของไทย ที่เศษฝรั่งทำป่นปี้” โดยโพสต์ดังกล่าวมีการแชร์ต่อกว่า 800 ครั้ง ที่มา | ลิงก์ถาวร นอกจากนี้เรายังพบรูปภาพนี้พร้อมข้อกล่าวอ้างเดียวกันบนแพลตฟอร์มอื่นๆ อีกด้วย ที่มา | ลิงก์ถาวร ที่มา | ลิงก์ถาวร ตรวจสอบข้อเท็จจริง เราได้เนินการค้นหาที่มาของภาพโดยใช้ฟีเจอร์การค้นหาแบบย้อนกลับ (Reverse Image Search) และพบว่ารูปภาพดังกล่าวมาจากเว็บไซต์ข่าวคมชัดลึก ตั้งแต่เมื่อปี 2554 ในรายงานข่าวกรณีปะทะระหว่างทหารไทยและทหารกัมพูชา ที่บริเวณ อ.พนมดงรัก จ.สุรินทร์ (อ่านข่าวที่นี่ | ลิงก์ถาวร) นอกจากนี้เรายังพบภาพหลักหมุดเดียวกันจากรายงานข่าวของเว็บไซต์ผู้จัดการออนไลน์เมื่อปี 2551 โดยในรายงานข่าวระบุว่าหลักหมุดดังกล่าวคือหลักเขตที่ […]

Continue Reading

ภาพไวรัลอุโมงค์ทางลอดในภูเขา ‘ไม่ใช่’ ภาพจากประเทศไทย

เมื่อไม่นานมานี้ มีภาพอุโมงค์เชื่อมทางลอดภูเขา พร้อมข้อกล่าวอ้างว่าอุโมงค์ดังกล่าวเป็นภาพจากประเทศไทย โดยภาพดังกล่าวได้มีการแชร์ต่ออย่างแพร่หลาย  ในบทความนี้ Fact Crescendo Thailand จะมาตรวจสอบที่มาที่แท้จริงของภาพไวรัลนี้ ข้อกล่าวอ้างบนโซเชียลมีเดีย เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ ที่ผ่านมา มีผู้ใช้ X แชร์รูปภาพอุโมงค์ทางลอดในภูเขา พร้อมคำบรรยายว่า “คิดถึง #ผลงานรัฐบาลลุงตู่ #ประเทศกูมี #saveชัยวัฒน์ #อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่” ที่มา | ลิงก์ถาวร นอกจากนี้ เรายังพบภาพดังกล่าวพร้อมข้อกล่าวอ้างที่คล้ายกันบน Facebook ด้วยเช่นกัน ที่มา | ลิงก์ถาวร ตรวจสอบข้อเท็จจริง เราได้ดำเนินการตรวจสอบและค้นหาที่มาของภาพนี้โดยใช้ฟีเจอร์การค้นหารูปภาพแบบย้อนกลับ (Reverse Image Search) ซึ่งเราพบว่า ภาพดังกล่าวเป็นภาพอุโมงค์ Hsuehshan (Xueshan) ในประเทศไต้หวัน เราพบรูปภาพเดียวกันนี้บนเว็บไซต์ Photo Rator พร้อมคำบรรยายในภาพว่าเป็นภาพของ “อุโมงค์ในไต้หวัน” ที่มา | ลิงก์ถาวร นอกจากนี้ เรายังพบภาพเดียวกันบนเว็บไซต์ Tech & Facts ที่มีการอัปโหลดรูปภาพนี้ไว้ตั้งแต่เมื่อวันที่ 31 […]

Continue Reading

ข้อเท็จจริงเบื้องหลังวิดีโอที่อ้างว่าเป็นเหตุการณ์ชาวเคิร์ดก่อจลาจลในญี่ปุ่น

เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา มีวิดีโอพร้อมข้อกล่าวอ้างว่าเป็นเหตุการณ์ขณะที่ชาวเคิร์ดก่อความวุ่นวายในเมืองไซตามะของญี่ปุ่น โดยในบทความนี้ เราจะทำการตรวจสอบข้อเท็จจริงเบื้องหลังวิดีโอไวรัลดังกล่าว โพสต์บนโซเชียลมีเดีย ในวันที่ 21 กุมภาพันธ์ มีผู้ใช้ X ได้โพสต์วิดีโอพร้อมข้อความว่า “ผู้อพยพชาวเคิร์ตก่อความวุ่นวายในเมืองไซตามะของญี่ปุ่น เพื่อเรียกร้องให้รัฐบาลเปลี่ยนนโยบายการย้ายถิ่นฐานเพื่อให้พวกเขาเหล่านี้เข้ามาได้มากขึ้น” Source | Archive โดยล่าสุดโพสต์ดังกล่าวมีการรับชมไปกว่า 466,000 ครั้ง นอกจากนี้ เรายังพบวิดีโอเดียวกันแพร่กระจายพร้อมข้อกล่าวอ้างที่คล้ายคลึงกันในภาษาอังกฤษอีกด้วย Source | Archive Source | Archive ตรวจสอบข้อเท็จจริง เราได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงโดยใช้ฟีเจอร์การค้นหารูปภาพแบบย้อนกลับ (Reverse Image Search) และเราได้พบโพสต์บนเว็บบอร์ดจากเว็บไซต์ญี่ปุ่น girlschannel.net ที่โพสต์ภาพจากวิดีโอเดียวกันไว้ตั้งแต่ในปี 2015 (ดูโพสต์ได้ที่นี่ | ลิงก์ถาวร) นอกจากนี้ในโพสต์ยังมีการแนบรายงานข่าวเกี่ยวกับเหตุการณ์ดังกล่าว แม้ว่าลิงก์ข่าวดังกล่าวจะไม่สามารถใช้งานได้แล้ว แต่เราก็พบลิงก์ถาวรของรายงานข่าวดังกล่าว ซึ่งสามารถดูได้ที่นี่ จากรายงานข่าว เหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นตั้งแต่เมื่อเดือนตุลาคม ปี 2015 โดยเป็นเหตุการณ์ที่ชาวเคิร์ดและชาวตุรกีจำนวนมากปะทะกันที่หน้าสถานทูตประเทศตุรกี ณ กรุงโตเกียว ในช่วงเลือกตั้งของประเทศตุรกี โดยสำนักข่าวต่างประเทศหลายๆ แห่ง เช่น Al […]

Continue Reading