ชวนให้เข้าใจผิด: ฟุตเทจเก่าถูกนำมาเชื่อมโยงกับเหตุการณ์เครื่องบินของอาเซอร์ไบจานตก

เมื่อวันที่ 25 ธันวาคม 2024 มีวิดีโอที่แพร่กระจายบนสื่อสังคมออนไลน์ซึ่งถูกระบุว่าเป็นเหตุการณ์ภายในเครื่องบิน ก่อนเครื่องบินไฟลท์ J2-8243 ของอาเซอร์ไบจานที่ตกในคาซัคสถาน โดยวิดีโอดังกล่าวมีการแชร์และการรับชมอย่างกว้างขวาง โพสต์บนโซเชียลมีเดีย มีผู้ใช้ TikTok ได้โพสต์คลิปรายงานสถานการณ์เครื่องบินของประเทศอาเซอร์ไบจานที่ตกที่บริเวณตะวันตกของประเทศคาซัคสถาน พร้อมฟุตเทจภายในเครื่องบิน โดยระบุว่าเป็นเหตุการณ์ก่อนที่เครื่องบินของประเทศอาเซอร์ไบจานเมื่อวันที่ 25 ธันวาคม ที่ผ่านมา โดยวิดีโอดังกล่าวมีการแชร์กว่าพันครั้ง และมีการรับชมไปกว่า 1.6 ล้านครั้ง ที่มา | ลิงก์ถาวร อย่างไรก็ตาม จากการตรวจสอบเราพบว่า ฟุตเทจในส่วนเริ่มต้นของวิดีโอที่แสดงถึงเหตุการณ์ชุลมุนภายในเครื่องบิน ไม่ได้มาจากไฟลท์ J2-8243 ที่ประสบอุบัติเหตุในช่วงปลายปีที่แล้วแต่อย่างใด ตรวจสอบข้อเท็จจริง เราได้ดำเนินกการตรวจสอบโดยใช้ฟีเจอร์ค้นหารูปภาพแบบย้อนกลับ (Reverse Image Search) และพบว่าพบว่าวิดีโอนี้เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในเดือนกันยายน 2024 ไม่ได้มีความเกี่ยวข้องกับไฟลท์ J2-8243 ที่ตกเมื่อวันที่ 25 ธันวาคมที่ผ่านมานี้แต่อย่างใด โดยเป็นวิดีโอแสดงเหตุการณ์ขัดข้องทางเทคนิคบนเที่ยวบินหมายเลข AH3018 ของสายการบิน Algerian Air ที่เดินทางจากแอลจีเรียไปยังกรุงอิสตันบูล ประเทศตุรกี ลิงก์ถาวร จากคำบรรยายในวิดีโอได้ระบุว่า เครื่องบินประสบปัญหาทางเทคนิคหลังจากออกเดินทางจากสนามบิน Houari Boumediene […]

Continue Reading

จีนและอินเดียยังไม่ได้ประกาศภาวะฉุกเฉินจากโรค HMPV

เมื่อช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา มีการแชร์ข้อมูลอย่างกว้างขวางในสื่อสังคมออนไลน์เกี่ยวกับการระบาดของโรค HMPV ในประเทศจีน พร้อมกับการอ้างว่ามีการประกาศภาวะฉุกเฉินในประเทศจีนและอินเดียแล้ว โดยข้อมูลดังกล่าวได้แพร่กระจายอย่างรวดเร็วบนโซเชียลมีเดียและสร้างความกังวลและสับสนแก่ผู้ใช้โซเชียลมีเดีย ข้อกล่าวอ้างบนโซเชียลมีเดีย  มีผู้ใช้โซเชียลมีเดียหลายรายได้แชร์ข้อมูลว่า จีนและอินเดียได้ประกาศภาวะฉุกเฉิน เนื่องจากโรค HMPV (Human Metapneumovirus) ระบาด พร้อมระบุว่าล่าสุดโรงพยาบาลได้เมืองหลักต่างๆ เช่น ปักกิ่ง เซี่ยงไฮ้ และกวางโจว มีภาวะผู้ป่วยล้นจนเตียงเต็ม เนื่องมาจากการติดเชื้อ HMPV ที่มา | ลิงก์ถาวร ที่มา | ลิงก์ถาวร ที่มา | ลิงก์ถาวร อย่างไรก็ตาม จากการตรวจสอบข้อเท็จจริง เราพบว่าข้อความดังกล่าวเป็นข้อมูลที่ชวนให้เข้าใจผิด ตรวจสอบข้อเท็จจริง HMPV คืออะไร? Human Metapneumovirus (HMPV) เป็นไวรัสในตระกูล Paramyxoviridae ที่เกี่ยวข้องกับการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ ไวรัสนี้ถูกค้นพบครั้งแรกในปี 2001 โดยการศึกษาพบว่า HMPV สามารถแพร่กระจายได้ทั่วโลกและพบได้ในคนทุกกลุ่มอายุ แม้ว่า HMPV จะมีลักษณะคล้ายกับ RSV (Respiratory Syncytial Virus) […]

Continue Reading

ข้อมูลว่าผู้ก่อเหตุระเบิดที่ อ.อุ้มผางง เพิ่งได้สัญชาติไทย “ชวนให้เข้าใจผิด”

เมื่อวันที่ 13 ธันวาคมที่ผ่านมา เกิดเหตุการณ์ทะเลาะวิวาทและปาระเบิดใส่ผู้มาร่วมงานกาชาด ในอำเภออุ้มผาง จังหวัดตาก โดยเหตุการณ์นี้ได้รับความสนใจอย่างกว้างขวางในบนโลกโซเชียล เนื่องจากมีข้อความที่อ้างว่าคนร้ายในคดีนี้เพิ่งได้รับสัญชาติไทย และฉลองด้วยการก่อเหตุ จึงทำให้เกืดเสียงวิพากย์วิจารณ์บนโลกออนไลน์อย่างกว้างขวาง โพสต์บนโซเชียลมีเดีย มีผู้ใช้โซเชียลมีเดียหลายรายได้แชร์ภาพข่าวเหตุการณ์ความรุนแรงครั้งนี้ พร้อมข้อความที่ระบุว่า ผู้ก่อเหตุทั้งสองเข้ามาก่อเหตุหลังจากเพิ่งได้สัญชาติไทย ที่มา | ลิงก์ถาวร ที่มา | ลิงก์ถาวร ที่มา | ลิงก์ถาวร ตรวจสอบข้อเท็จจริง เหตุการณ์ที่เกิดขึ้น: เหตุระเบิดเกิดขึ้นภายในงานกาชาด อำเภออุ้มผาง จังหวัดตาก ประจำปี 2567 เมื่อวันที่ 13 ธันวาคม เวลา 23.35 น. โดยมีการทะเลาะวิวาทระหว่างกลุ่มวัยรุ่นก่อนที่คนร้ายจะปาระเบิดเข้าไปในบริเวณงาน มีประชาชนเข้าร่วมงานประมาณ 8,000-9,000 คน โดยเจ้าหน้าที่ตำรวจและทหารได้เข้าช่วยเหลือผู้บาดเจ็บและควบคุมตัวผู้ต้องสงสัยได้ 2 ราย ได้แก่ นายดิดิ อายุ 16 ปี สัญชาติเมียนมา เชื้อสายกะเหรี่ยง และนายจอลิทู อายุ 17 ปี สัญชาติไทย […]

Continue Reading

ผู้เชี่ยวชาญยืนยัน กินลูกพลับ พร้อมกับกล้วย และโยเกิร์ต “ไม่เป็นอันตรายต่อร่างกาย”

ความเข้าใจผิดเกี่ยวกับการกินอาหารหลากหลายชนิดพร้อมๆ กัน มักแพร่กระจายบนโซเชียลมีเดียอยู่บ่อยครั้ง สร้างความกังวลและความสับสนแก่ผู้อ่านโดยไม่จำเป็น และหนึ่งในข้อกล่าวอ้างที่เราพบเมื่อเร็วๆ นี้คือ การรับประทานลูกพลับร่วมกับกล้วยและนมเปรี้ยวอาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพได้ โพสต์บนโซเชียลมีเดีย เมื่อเร็วๆ นี้ มีข้อความแพร่กระจายบนโซเชียลมีเดียที่ระบุว่า “ช่วยบอกทุกคนที่บ้าน ฤดูลูกพลับออกตลาด กินลูกพลับห้ามต่อด้วยนมเปรี้ยวและกล้วยหอม เพราะจะทำให้เป็นพิษต่อร่างกาย มีข่าวออกมาแล้ว เด็กคนหนึ่งไปยังไม่ถึง รพ .ก็เสียชีวิต ใครมีกลุ่มไลน์เพื่อนฝูงเยอะ ๆ ช่วยกันส่งต่อด้วย เสียเวลาแค่ 2-3 นาที สามารถช่วยคนได้ เป็นบุญกุศลไม่รู้จบ จำให้แม่นห้ามลืม” ที่มา | ลิงก์ถาวร ที่มา | ลิงก์ถาวร โดยข้อความดังกล่าวมีการแชร์ต่ออย่างแพร่หลายในช่วงไม่กี่วันที่ผ่านมา อย่างไรก็ตาม จากการตรวจสอบพบว่า ข้อกล่าวอ้างดังกล่าวไม่เป็นความจริงแต่อย่างใด ตรวจสอบข้อเท็จจริง จากการตรวจสอบข้อเท็จจริง เราพบว่าข้อกล่าวอ้างดังกล่าวเป็นข้อความเท็จที่แพร่กระจายมาหลายปี โดยมาจากข้อความลูกโซ่ภาษาอังกฤษ ซึ่งเว็บไซต์ Wonderwell ของสิงคโปร์ก็เคยรายงานว่าข้อมูลนี้เป็นเท็จในปี 2019 โดย Heng Mei Shan นักโภชนาการจากโรงพยาบาล Alexandra ก็ได้อธิบายว่า ไม่มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ยืนยันว่าการรับประทานลูกพลับ ตามด้วยนมเปรี้ยวและกล้วย […]

Continue Reading

หิมะตกที่ทะเลทราย Al-Nafud ไม่ใช่เหตุการณ์ “หิมะตกครั้งแรกในซาอุฯ”

เมื่อไม่นานมานี้ มีการแชร์ภาพและวิดีโอหิมะตกในซาอุดีอาระเบีย พร้อมข้อความระบุว่า “เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ที่หิมะตกในซาอุดีอาระเบีย” โดยผู้ใช้โซเชียลต่างให้ความสนใจอย่างมาก เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศในภูมิภาคตะวันออกกลาง ซึ่งขึ้นชื่อเรื่องอากาศร้อนจัด และเชื่อว่าเหตุการณ์นี้เป็นเหตุการณ์ทางธรรมชาติที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน โพสต์บนโซเชียลมีเดีย ผู้ใช้โซเชียลมีเดียหลายรายได้แชร์ภาพและวิดีโอของหิมะที่ตกลงมาปกคลุมทะเลทรายและอูฐในซาอุดีอาระเบีย พร้อมคำบรรยายว่า เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ที่หิมะตกในซาอุฯ ที่มา | ลิงก์ถาวร ที่มา | ลิงก์ถาวร ตรวจสอบข้อเท็จจริง ในความเป็นจริงแล้ว ภูมิภาคตอนเหนือของประเทศเคยมีหิมะตกหลายครั้งมาก่อนแล้ว ดังนั้นข้อกล่าวอ้างว่าซาอุดีอาระเบียมีหิมะตกเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์จึงไม่ถูกต้องนัก หิมะตกที่ผ่านมาในซาอุดีอาระเบีย: พื้นที่ทางตอนเหนือของซาอุดีอาระเบีย โดยเฉพาะบริเวณภูเขาในแถบเมือง Tabuk เคยมีการบันทึกหิมะตกหลายครั้ง โดยครั้งล่าสุดคือในเดือนธันวาคม 2022 และมกราคม 2023 ซึ่งมีภาพหิมะปกคลุมพื้นที่แถบนี้จากสื่อท้องถิ่นเช่น Al Arabiya และ Arab News โดยเมือง Tabuk เป็นพื้นที่ที่มีภูเขาและมีอากาศหนาวในฤดูหนาว ทำให้เกิดหิมะตกในบางปี เหตุการณ์หิมะตกในทะเลทราย Al-Nafud: เหตุการณ์ที่น่าสนใจในครั้งนี้คือการตกของหิมะในทะเลทราย Al-Nafud ซึ่งถูกบันทึกว่าเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ของทะเลทรายแห่งนี้ที่มีหิมะตก แม้ว่าจะไม่ใช่ครั้งแรกของประเทศซาอุดีอาระเบีย แต่ก็เป็นครั้งแรกในพื้นที่นี้ที่ส่วนใหญ่มีอากาศร้อน แม้ในช่วงฤดูหนาว โดยสำนักข่าว Jerusalem Post ระบุว่าเหตุการณ์หิมะตกครั้งแรกนี้หมายถึงเป็นครั้งแรกในทะเลทราย Al-Nafud เท่านั้น […]

Continue Reading

ไลก้าไม่ใช่สุนัขตัวแรกที่ไปอวกาศ แต่เป็นตัวแรกที่โคจรรอบโลก

วันที่ 3 พฤศจิกายน มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ คือเป็นวันที่ไลก้า สุนัขพันธุ์ทางจากรัสเซีย ได้เดินทางบนยานสปุตนิก 2 เมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน 1957 เรื่องราวของไลก้าซึ่งเป็นที่รู้จักในฐานะสุนัขนักสำรวจอวกาศตัวแรกในยุคบุกเบิกการแข่งขันสู่ห้วงอวกาศของประเทศมหาอำนาจ ซึ่งนับเป็นครั้งแรกที่สิ่งมีชีวิตสามารถโคจรรอบโลกได้ ทำให้ไลก้ากลายเป็นสัญลักษณ์แห่งความท้าทายที่มนุษย์พยายามในการศึกษานอกโลก อย่างไรก็ตาม ไลก้าเป็นสุนัขตัวแรกที่เดินทางไปอวกาศจริงหรือ? โพสต์บนโซเชียลมีเดีย ในช่วงวันที่ 3 พฤศจิกายนที่ผ่านมา มีผู้ใช้โซเชียลหลายรายได้แชร์เรื่องราวของไลก้าเพื่อรำลึกถึงการเสียสละของสุนัขตัวนี้ พร้อมข้อความว่าไลก้าเป็น “สุนัขตัวแรกที่เดินทางไปอวกาศ” ที่มา | ลิงก์ถาวร ที่มา | ลิงก์ถาวร ที่มา | ลิงก์ถาวร แม้หลายคนจะเชื่อว่าไลก้าเป็นสุนัขตัวแรกที่ได้ไปในอวกาศ ซึ่งเป็นความเข้าใจที่มักเจอเมื่อพูดถึงประวัติศาสตร์การสำรวจอวกาศ อย่างไรก็ตาม ไลก้าเป็นสุนัขตัวแรกที่โคจรรอบโลก แต่ไม่ใช่ตัวแรกที่ได้เดินทางขึ้นสู่อวกาศ ตรวจสอบข้อเท็จจริง ก่อนที่ไลก้าจะถูกส่งขึ้นสู่อวกาศในปี 1957 นักวิทยาศาสตร์ของสหภาพโซเวียตได้ทดลองส่งสุนัขขึ้นไปบนยานเพื่อศึกษาอิทธิพลของสภาพแวดล้อมในชั้นบรรยากาศสูงใกล้อวกาศตั้งแต่ปี 1951 ด้วยจรวดซีรีส์ R-1 และ R-2 โดยจรวดเหล่านี้สามารถพาสุนัขไปยังระดับความสูงที่เข้าใกล้ขอบอวกาศ หรือเส้นคาร์แมน ซึ่งอยู่ที่ประมาณ 100 กิโลเมตรเหนือระดับน้ำทะเล ไลก้ากลายเป็นสุนัขตัวแรกที่โคจรรอบโลกในการเดินทางครั้งเดียวที่ไม่มีการนำกลับมายังโลก เนื่องจากยานสปุตนิก 2 […]

Continue Reading

ข้อกล่าวอ้างให้หลีกเลี่ยงยาแก้หวัดบางยี่ห้อ เนื่องจากมีตัวยา PPA ชวนให้เข้าใจผิด

เราพบข้อความที่แพร่กระจายบนโซเชียลมีเดียที่ระบุว่า มีการประกาศเพิกถอนยาที่มีส่วนผสมของ PPA และระบุชื่อยาแก้หวัดยี่ห้อต่างๆ ที่มีจำหน่ายแพร่หลายในท้องตลาด โดยข้อความนี้ได้สร้างความกังวลในหมู่ประชาชนเกี่ยวกับความปลอดภัยของยาที่ใช้รักษาอาการหวัดและไข้หวัดใหญ่ ข้อกล่าวอ้างบนโซเชียลมีเดีย เราได้รับเบาะแสจากช่องทาง LINE ตรวจสอบข้อเท็จจริง เกี่ยวกับข้อความที่มีการแชร์ต่อกันอย่างแพร่หลายบนแพลตฟอร์ม LINE ที่ระบุว่า: “อนุกรรมการควบคุมอันตรายจากการใช้ยา ได้มีมติในรอบแรกว่าให้เพิกถอนยาที่มีส่วนผสมของพี.พี.เอ. (PPA) เนื่องจากอาจทำให้เกิดภาวะเลือดออกในสมอง” โดยยาที่ถูกกล่าวอ้างว่ามี PPA ได้แก่ ทิฟฟี่ ดีคอลเจน นูต้า นูต้าโคล ฟาโคเจน และโคลัยซาล” ส่งเบาะแสข้อมูลให้เราช่วยตรวจสอบได้ที่นี่ โดยจากการตรวจสอบเพิ่มเติม เราพบว่าข้อกล่าวอ้างเดียวกันนี้ได้แพร่กระจายบน Facebook ด้วยเช่นเดียวกัน ที่มา | ลิงก์ถาวร การตรวจสอบข้อเท็จจริง จากการตรวจสอบข้อเท็จจริง เราพบว่า ข้อกล่าวอ้างดังกล่าวเป็นข้อมูลที่มีการแพร่กระจายมาตั้งแต่ปี 2558 โดยสไนักงานคณะกรรมการอาหารและยาได้ชี้แจงว่าปัจจุบัน ไม่มียาฟีนิลโปรปาโนลามีน (PPA) อีกแล้ว เพราะ อย.แจ้งประกาศเพิกถอนทะเบียนยาทุกตำรับที่มีส่วนผสมของ PPA ไปแล้วตั้งแต่ ปี 2544 และในปัจจุบันผู้ผลิตยาหรือผู้นำเข้ายาได้แก้ไขและปรับสูตรยาในท้องตลาดให้ไร้สาร PPA ทั้งหมดแล้ว (ที่มา) ดร.นพ.ปฐม สวรรค์ปัญญาเลิศ […]

Continue Reading

ข้อความว่าน้ำทะเลหนุนสูง ทำให้กรุงเทพฯ กำลังจะจมน้ำ เป็นข้อมูลชวนให้เข้าใจผิด

ท่ามกลางข่าวน้ำท่วมหนักในหลายๆ พื้นที่ในประเทศไทย ล่าสุดเราพบข้อความที่แพร่กระจายเกี่ยวกับน้ำท่วมในพื้นที่กรุงเทพฯ ซึ่งอาจทำให้เมืองจมทะเลในไม่ช้า โดยข้อความดังกล่าวแพร่กระจายอย่างกว้างขวางบนโซเชียลมีเดีย โพสต์บนโซเชียลมีเดีย เมื่อช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา มีข้อความแพร่กระจายบนแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดีย ระบุว่า “น้ำทะเลหนุน ถนนพระราม 2 เมืองกำลังจะจมทะเล ถ้าเรายังไม่เริ่มวางแผนรับมือ” ที่มา | ลิงก์ถาวร โดยรูปภาพและข้อความดังกล่าวมีการแชร์อย่างแพร่หลายบนแพลตฟอร์ม Facebook ที่มา | ลิงก์ถาวร ที่มา | ลิงก์ถาวร อย่างไรก็ตาม เราพบว่าข้อมูลดังกล่าวเป็นข้อมูลที่ชวนให้เข้าใจผิด ตรวจสอบข้อเท็จจริง จากการตรวจสอบของเราพบว่า ในช่วงวันที่ 5 ตุลาคมที่ผ่านมา เกิดเหตุน้ำท่วมที่บริเวณถนนพระราม 2 จริง แต่เป็นน้ำท่วมขังที่รอการระบาย เนื่องมาจากฝนตกหนักและน้ำทะเลหนุนสูง อย่างไรก็ตาม ทางรัฐฯได้ดำเนินการแก้ไขแล้ว นายกฤชนนท์ อัยยปัญญา โฆษกกระทรวงคมนาคม รายงานเหตุน้ำท่วมบนถนนพระราม 2 เมื่อวันที่ 5 ต.ค. 67 ระดับน้ำท่วมขัง 15-25 ซม. ส่งผลให้การจราจรติดขัด สาเหตุเกิดจากฝนตกหนักและน้ำทะเลหนุนสูงเมื่อวันที่ 3 ต.ค. […]

Continue Reading

ชวนให้เข้าใจผิด: ภาพนายกฯ แพทองธารไปชมคอนเสิร์ต ไม่ใช่ภาพเมื่อเร็วๆ นี้

เมื่อช่วงสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา ที่จังหวัดเชียงใหม่เกิดน้ำท่วมครั้งใหญ่เป็นประวัติการณ์ เนื่องจากปริมาณฝนที่ตกลงมาอย่างต่อเนื่อง และในช่วงเวลาเดียวกันนี้ มีภาพนายกรัฐมนตรีแพทองธาร ชินวัตร ขณะชมคอนเสิร์ตกับบิดา ทักษิณ ชินวัตร แพร่กระจายบนโซเชียลมีเดีย ทำให้เกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์อย่างกว้างขวาง โพสต์บนโซเชียลมีเดีย เมื่อวันที่ 5 ตุลาคม ผู้ใช้ Facebook รายหนึ่งได้โพสต์ภาพเซลฟี่ของนางสาวแพทองธาร ชินวัตร นากยรัฐมนตรี ที่ถ่ายคู่กับนายทักษิณ ชินวัตร และครอบครัว พร้อมข้อความบรรยายภาพว่า “พาพ่อมาซิ่ง! อุ๊งอิ๊งโพสรูปคู่นายใหญ่และครอบครัวร่วมคอนเสิร์ตศิลปินดังสุดชื่นมื่น เผยตอนเด็กๆพ่อพามา ตอนนี้โตแล้วขอพาพ่อมาบ้าง” ที่มา | ลิงก์ถาวร โดยโพสต์ดังกล่าวได้รับความสนใจเป็นอย่างมาก และมีผู้ใช้ Facebook อีกหลายรายมาแสดงความคิดเห็น แสดงความกังวลถึงสถานการณ์น้ำท่วมเชียงใหม่ในปัจจุบัน นอกจากนี้ เรายังพบรูปภาพพร้อมข้อกล่าวอ้างเดียวกันแพร่กระจายบนแพลตฟอร์ม X อีกด้วย ที่มา | ลิงก์ถาวร ตรวจสอบข้อเท็จจริง เราได้ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดยใช้เครื่องมือค้นหารูปภาพแบบย้อนกลับ พบว่าภาพดังกล่าวไม่ใช่เหตุการณ์ล่าสุด แต่เป็นภาพที่ถ่ายตั้งแต่เดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา และคอนเสิร์ตดังกล่าวจัดขึ้นตั้งแต่วันที่ 13-14 กรกฎาคม 2566 (ที่มา: The Better, Thaiticketmajor) […]

Continue Reading

วิดีโอไวรัลที่อ้างว่าเป็นเหตุการณ์น้ำท่วมที่เชียงราย ชวนให้เข้าใจผิด

ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา เหตุการณ์น้ำท่วมในพื้นที่ต่างๆ ของภาคเหนือและภาคอีสานได้กลายเป็นประเด็นเร่งด่วนที่ดึงดูดความสนใจของประชาชนอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในจังหวัดเชียงราย ซึ่งได้รับผลกระทบอย่างหนักจากอุทกภัยครั้งนี้ และล่าสุด เราพบวิดีโอพร้อมข้อกล่าวอ้างว่ามาจากเหตุการณ์น้ำท่วมในจังหวัดเชียงราย แพร่กระจายบนโซเชียลมีเดีย โพสต์บนโซเชียลมีเดีย เมื่อวันที่ 14 กันยายนที่ผ่านมา ผู้ใช้แพลตฟอร์ม X ได้แชร์วิดีโอรถบรรทุกที่ถูกพัดไปกับกระแสน้ำ พร้อมข้อความระบุว่าเป็นเหตุการณ์น้ำท่วมในจังหวัดเชียงราย โดยระบุว่า “รถขนเสบียงไปเชียงราย สู้กระแสน้ำไม่ไหว จมหายไปทั้งคัน จนท. ช่วยคนขับรถไว้ได้ บาดเจ็บ นำส่ง รพ.เรียบร้อย ปลอดภัยดีแล้วค่ะ” พร้อมติดแฮชแท็ก #น้ำท่วมเชียงราย โดยโพสต์ดังกล่าวมีการรับชมไปกว่า 1.4 ล้านครั้ง ที่มา | ลิงก์ถาวร นอกจากนี้ เราพบวิดีโอและข้อกล่าวอ้างเดียวกันแพร่กระจายบน Facebook ด้วยเช่นเดียวกัน ที่มา | ลิงก์ถาวร อย่างไรก็ตาม จากการตรวจสอบ เราพบว่าวิดีโอดังกล่าวไม่ใช่เหตุการณ์จากจังหวัดเชียงราย และข้อความดังกล่าวเป็นข้อมูลที่ชวนให้เข้าใจผิด ตรวจสอบข้อเท็จจริง เราได้ดำเนินการตรวจสอบหาที่มาของวิดีโอดังกล่าว โดยใช้ฟีเจอร์การค้นหารูปภาพและวิดีโอแบบย้อนกลับ และพบว่า วิดีโอดังกล่าวเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในประเทศอินเดีย เมื่อเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา ซึ่งเป็นภัยพิบัติจากฝนมรสุมที่ส่งผลกระทบต่อ 7 รัฐทั่วประเทศอินเดีย ซึ่งก่อให้เกิดน้ำท่วมและดินถล่ม […]

Continue Reading