อย่าแชร์! ทวีตไฟเซอร์เอกสารหลุด ชวนให้เข้าใจผิด

วัคซีน Pfizer-BioNTech COVID-19 เป็นหนึ่งในวัคซีนหลักของโลกในการต่อสู้กับการระบาดของโควิด-19 แต่นอกจากจะเป็นที่พูดถึงและยอมรับอย่างกว้างขวางแล้ว วัคซีนชนิดนี้ก็มักกลายเป็นประเด็นในข่าวเท็จและข้อมูลที่ผิดต่างๆ เช่นกัน ข้อกล่าวอ้างที่เป็นเท็จมีตั้งแต่ข้อสงสัยเกี่ยวกับความปลอดภัยและประสิทธิภาพของวัคซีน ไปจนถึงทฤษฎีสมคบคิดเกี่ยวกับจุดประสงค์ของวัคซีนและผู้ผลิต และล่าสุด เราพบข้อกล่าวอ้างเกี่ยวกับวัคซีนชนิดนี้ที่อาจสร้างความเข้าใจผิดให้แก่ผู้คนได้ อ่านข่าวโควิด-19 ที่เราตรวจสอบข้อเท็จจริงแล้ว ที่นี่ ข้อกล่าวอ้างบนโซเชียล เมื่อวันที่ 30 มกราคมที่ผ่านมา มีผู้ใช้ทวิตเตอร์รายหนึ่งได้ทวีตถึงผลเสียของวัคซีนไฟเซอร์ พร้อมกล่าวว่าวัคซีนไฟเซอร์นั้น “ไม่เคยผ่านการทดสอบป้องกันการติดไวรัสโควิด-19” Source Post | Archive โดยผู้ใช้ทวิตเตอร์รายดังกล่าวได้ทวีตข้อความว่า “เอกสารหลุดและถูกแฉถึงการปกปิดข้อความจริงของวัคซีน Pfizer ล่าสุดบริษัทฯแถลงยอมรับแล้วว่า วัคซีน Pfizer ส่งผลก่อให้เกิดโรคแทรกซ้อนเช่น กล้ามเนื้ออักเสบ เยื่อบุกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ โรคหลอดเลือด ที่สำคัญไม่เคยผ่านการทดสอบป้องกันการติดไวรัสโควิด 19 #วัคซีนเทพ” พร้อมแนบลิงก์เอกสารที่อ้างว่าเป็นเอกสารหลุด โดยทวีตดังกล่าวมีการดูไปแล้วกว่าเจ็ดแสนครั้ง Fact Crescendo ได้ทำการตรวจสอบข้อเท็จจริงในประเด็นดังกล่าวและพบว่าเป็นข้อมูลที่ชวนให้เข้าใจผิด ตรวจสอบข้อเท็จจริง จากทวีตข้างต้นที่แนบลิงก์และอ้างว่าเป็นเอกสารหลุดของบริษัทไฟเซอร์ อันที่จริงแล้วลิงก์ดังกล่าวเป็นแถลงการณ์จากบริษัทไฟเซอร์เกี่ยวกับคำกล่าวอ้างเกี่ยวกับวัคซีนในงานวิจัย โดยทางไฟเซอร์กำลังตรวจสอบกรณีดังกล่าวอย่างจริงจัง และจะอัปเดตเมื่อมีข้อมูลเพิ่มเติม โรคแทรกซ้อนที่เกิดจากวัคซีน อาการที่กล่าวอ้างว่าเป็นโรคแทรกซ้อนที่เกิดจากการฉีดวัคซีนไฟเซอร์นั้น เป็นอาการที่พึงระวังและควรเฝ้าสังเกตหลังจากฉีดวัคซีน ไม่ใช่ข้อมูลลับแต่อย่างใด โดยกองระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข […]

Continue Reading

วิดีโอเครื่องบินตกพร้อมมีไฟลุกที่ตัวเครื่องไม่ได้มาจากเหตุการณ์เครื่องบินตกที่เนปาล

วันที่ 15 มกราคม 2566 เครื่องบินโดยสารของสายการบินเยติ แอร์ไลน์ เที่ยวบินกาฐมาณฑุ-โพคารา ประสบอุบัติเหตุตกใกล้สนามบินเมืองโพคารา เมืองท่องเที่ยวยอดนิยมในเนปาล โดยจากรายงานล่าสุดพบว่ามีผู้เสียชีวิตแล้วกว่า 60 ราย นับว่าเป็นข่าวอุบัติเหตุครั้งใหญ่ที่เป็นที่สนใจจากทั่วโลก อย่างไรก็ตาม เราได้พบข้อมูลที่อาจสร้างความใจเข้าใจผิดเกี่ยวกับเหตุการณ์ดังกล่าว Source Post | Archive มีผู้ใช้เฟซบุ๊กรายหนึ่งได้โพสต์วิดีโอเครื่องบินที่มีไฟลุกไหม้ตัวเครื่อง ก่อนที่จะตกลงสู่พื้น และอ้างว่าเป็นเครื่องบินของเนปาลจากเหตุการณ์เครื่องบินตกครั้งล่าสุด เมื่อทีมงาน Fact Crescendo ทำการตรวจสอบข้อเท็จจริง ก็พบว่าวิดีโอดังกล่าวไม่ใช่วิดีโอจากเหตุการณ์เครื่องบินตกที่เนปาลแต่อย่างใด ตรวจสอบข้อเท็จจริง เราได้ทำการตรวจสอบหาที่มาของวิดีโอดังกล่าว และได้พบบทความของ India Today ที่ชี้แจงเกี่ยวกับวิดีโอดังกล่าว โดยพบว่าแท้จริงแล้ววิดีโอนี้ถ่ายขึ้นในประเทศรัสเซียตั้งแต่ปี 2021 (อ่านข่าวได้ที่นี่) Archive เปรียบเทียบวิดีโอที่อ้างว่าเป็นวิดีโอเครื่องบินตกที่เนปาล (ด้านซ้าย) กับวิดีโอข่าวเครื่องบินตกที่รัสเซียเมื่อปี 2021 (ด้านขวา) สรุป วิดีโอที่กล่าวอ้างว่าเป็นวิดีโอขณะเครื่องบินตกที่เนปาลเมื่อวันที่ 15 มกราคมที่ผ่านมา นั้นเป็นข้อมูลที่ชวนให้เข้าใจผิด แท้จริงแล้วเป็นวิดีโอเครื่องบินตกที่รัสเซียเมื่อปี 2021 Title:วิดีโอเครื่องบินตกพร้อมมีไฟลุกที่ตัวเครื่องไม่ได้มาจากเหตุการณ์เครื่องบินตกที่เนปาล Fact Check By: Cielito Wang  Result: […]

Continue Reading

ภาพไวรัลบนโซเชียลเกี่ยวกับอันตรายของหูฟังบลูทูธยังไม่มีหลักฐานรองรับเพียงพอ

จากที่มีรูปภาพระบุถึงอันตรายของการใช้หูฟังแบบบลูทูธแชร์กันอย่างแพร่หลายบนโซเชียล โดยในรูปภาพดังกล่าวได้ใช้รูปภาพหูฟังบลูทูธและรูปภาพสมองของมนุษย์ ซึ่งอาจทำให้ผู้อ่านมองว่าการใช้หูฟังบลูทูธนั้นส่งผลต่อสมองได้ Facebook Post | Archive ข้อความในภาพระบุว่า “หูฟังบลูทูธใช้คลื่นวิทยุเพื่อเชื่อมต่อกับผู้ใช้ โดยในกรณีของ Airpods หูฟังทั้งสองข้างเชื่อมต่อกันแบบไร้สายโดยมีสมองของผู้ใช้คั่นตรงกลาง ทำให้สมองสัมผัสกับคลื่น EMF ที่ก่อให้เกิดอันตรายได้ การศึกษาในอังกฤษยืนยันว่าเทคโนโลยีสมัยใหม่มีส่วนทำให้อัตราโรคมะเร็งเพิ่มขึ้น 40% ตั้งแต่ปี 1998 เป็นต้นมา เมื่อใช้หูฟัง ควรเลือกใช้หูฟังแบบสายแทนการใช้หูฟังไร้สาย” ซึ่งโพสต์ดังกล่าวมีการแชร์ออกไปกว่า 200 ครั้ง Facebook | Archive อีกหนึ่งโพสต์บนเฟซบุ๊กที่พูดถึงอันตรายของหูฟังแบบบลูทูธที่ได้รับความสนใจเป็นอย่างมาก มีหลายฝ่ายที่แสดงความกังวลว่าคลื่น EMF อาจส่งผลต่อสมองได้ โดยคลื่น EMF หรือ Electromagnetic fields เป็นสนามแม่เหล็กไฟฟ้าที่ปล่อยออกมาจากเครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ ซึ่งไม่ใช่เฉพาะอุปกรณ์บลูทูธ แต่ยังรวมถึงไมโครเวฟ โทรศัพท์มือถือ หรือแม้กระทั่งคอมพิวเตอร์อีกด้วย สรุปง่ายๆ ได้ว่า มนุษย์เราใช้ชีวิตอยู่กับคลื่น EMF มาตั้งแต่จะมีหูฟังแบบบลูทูธแล้ว แต่คลื่นที่ว่านี้ปลอดภัยต่อมนุษย์จริงๆ หรือไม่? ข้อกล่าวอ้าง: หูฟังบลูทูธปล่อยคลื่น EMF ที่เพิ่มความเสี่ยงในการเป็นมะเร็ง ข้อเท็จจริง: ผลการศึกษาทางวิทยาศาสตร์หลายชิ้นได้ยืนยันว่าระดับคลื่น […]

Continue Reading

ข่าวอย. สหรัฐฯ และไฟเซอร์แพ้คดีไม่เป็นความจริง

จากที่มีการแชร์ข้อความเกี่ยวกับผลข้างเคียงของวัคซีนไฟเซอร์ โดยข้อความดังกล่าวอ้างว่า อย. สหรัฐฯ และบริษัทไฟเซอร์แพ้คดี และไฟเซอร์ถูกบังคับให้เปิดเผยผลข้างเคียงของวัคซีน โดยข้อความดังกล่าวถูกแชร์ออกไปอย่างแพร่หลาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเฟซบุ๊กและไลน์  Facebook Post | Archive  มีการแชร์ต่อข้อความดังกล่าวออกไปอย่างแพร่หลายบนเฟซบุ๊ก ทาง Fact Crescendo ได้ทำการตรวจสอบข้อมูลดังกล่าว และพบว่าข้อมูลดังกล่าวชวนให้เข้าใจผิด โดยทางกรมควบคุมโรค กรมสาธารณสุขก็ได้ออกประกาศเตือนไม่ให้หลงเชื่อข้อมูลดังกล่าวบนเว็บไซต์ของทางองค์กรด้วยเช่นกัน (ที่มา: กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข) คำกล่าวอ้าง ข้อความดังกล่าวได้ระบุว่าคณะกรรมการอาหารและยาสหรัฐฯ รวมถึงบริษัทไฟเซอร์แพ้คดี ศาลจึงสั่งให้ออกมาเปิดเผยเอกสารที่แสดงข้อมูลผลข้างเคียงจากวัคซีน ตรวจสอบข้อเท็จจริง เมื่อทาง Fact Crescendo พบเห็นข้อความดังกล่าวที่มีการแชร์อย่างแพร่หลายในช่วงไม่กี่วันที่ผ่านมานี้ จึงทำการตรวจสอบข้อมูลโดยการค้นหาข้อมูลยืนยันจากคีย์เวิร์ดภายในข้อความ และได้พบว่าข้อความดังกล่าวมีการแชร์อย่างแพร่หลายมาตั้งแต่เดือนเมษายน 2565 และได้รับการยืนยันแล้วว่าไม่เป็นความจริงโดยกรมควบคุมโรคตั้งแต่วันที่ 25 เมษายน ที่ผ่านมา แต่เนื่องจากข้อมูลดังกล่าวยังมีการแชร์อยู่บ่อยครั้งในช่วงที่ผ่านมา ทาง Fact Crescendo จึงต้องดำเนินการตรวจสอบอีกครั้ง เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับประชาชนที่อาจพบเห็นและกังวลเกี่ยวกับข้อเท็จจริงดังกล่าว โดยกรมควบคุมโรคได้ระบุว่า “รายงานเฝ้าระวังดังกล่าวนั้นไม่ได้มีการปิดบังหรือถูกศาลสั่งให้เปิดเผยแต่อย่างใด เพราะมีการเผยแพร่ให้สาธารณะทราบเป็นระยะอยู่แล้ว โดยทาง US FDA จะมีการตรวจสอบว่าอาการต่างๆ ซึ่งส่วนใหญ่จะไม่เกี่ยวข้องกับวัคซีน” นอกจากนี้ ยังมีการยืนยันจาก […]

Continue Reading