Astaxanthin ส่งผลอันตรายต่อตับ จริงหรือไม่?

มีโพสต์ไวรัลบนแพลตฟอร์ม X (Twitter) ที่ระบุว่าการรับประทานอาหารเสริม Astaxanthin ส่งผลให้ค่าตับสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ โดยโพสต์ดังกล่าวถูกแชร์ต่อเป็นจำนวนมากภายในเวลาอันรวดเร็ว โดยผู้ใช้หลายรายก็แสดงความกังวลต่อข้อมูลดังกล่าว Fact Crescendo จึงตัดสินใจดำเนินการตรวจสอบข้อมูลเพิ่มเติมในประเด็นดังกล่าว โพสต์บนโซเชียลมีเดีย ผู้ใช้ X รายหนึ่งได้โพสต์ข้อความว่า “อุทาหรณ์สอนใจสาวที่อยากสวย วันนี้ฉันไปตรวจสุขภาพมา พบว่า ค่าตับสูงผิดปกติมากก แบบผิดปกติจริงๆ หมอเฉพาะทางถามคำเดียว เธอกิน astaxanthin ใช่ไหม ฉันตอบ ใช่ค่ะ หมอบอกให้หยุดทันที เพราะเจอหลายเคสแล้วที่ทำตับอักเสบ (ไม่ใช่ทุกคน)” Source | Archive โดยโพสต์ดังกล่าวมีการแชร์ต่อจำนวนมาก และล่าสุดมีการรับชมไปแล้วกว่า 2.8 ล้านครั้ง Astaxanthin คืออะไร Astaxanthin (แอสตาแซนธิน) ซึ่งเป็นสารสีแดงที่จัดอยู่ในกลุ่มแคโรทีนอยด์ พบได้ในอาหารหลายชนิด เช่น สาหร่าย ปลาแซลมอน และกุ้ง เป็นสารที่ขึ้นชื่อในด้านการต้านอนุมูลอิสระ โดยมีประโยชน์ต่อสุขภาพสมอง สุขภาพดวงตา สุขภาพผิว และการสนับสนุนระบบภูมิคุ้มกัน งานศึกษาเกี่ยวกับ Astaxanthin และการส่งผลต่อดับ มีการศึกษาที่น่าเชื่อถือหลายชิ้น […]

Continue Reading

Scam Alert! เตือนภัยมิจฉาชีพ ส่งข้อความแอบอ้างแจ้งระงับเพจ Facebook

เมื่อไม่นานมานี้ เราพบโพสต์ที่แอบอ้างว่าเป็นตัวแทนจาก Meta และ Facebook แจ้งผู้ใช้และผู้ดูแลเพจว่ามีการละเมิดนโยบาย Facebook และให้ดำเนินการตามขั้นตอนในลิงก์ที่ระบุ ตัวอย่างโพสต์ มิจฉาชีพจะส่งข้อความหรือแท็กเพจของเหยื่อเพื่อให้ข้อความปรากฏที่ส่วนการแจ้งเตือนเหมือนกันข้อความระบบจากทาง Facebook โดยมักจะระบุในข้อความว่าเพจดังกล่าวได้ละเมิดนโยบายแพลตฟอร์ม และกำลังจะถูกระงับ และให้ดำเนินการโดยเร่งด่วน เพื่อหลีกเลี่ยงการถูกระงับบัญชี โดยภายในข้อความจะมีลิงก์ที่ล่อลวงให้เหยื่อกดเข้าไปดำเนินการ โดยเมื่อเราลองคลิกที่ลิงก์ ก็พบว่าลิงก์ดังกล่าวไม่ได้ใช้โดเมนของ Facebook หรือ Meta และมีการปลอมแปลงหน้าเว็บให้ดูเหมือนหน้าล็อกอินของ Facebook เพื่อหลอกลวงเอาข้อมูลบัญชีและรหัสผ่าน โดยการกระทำดังกล่าวเรียกว่าการฟิชชิ่ง (Phishing) การหลอกลวงทางอินเทอร์เน็ต (ฟิชชิ่ง) คือการที่มีผู้พยายามเข้าถึงบัญชี Facebook โดยการส่งข้อความ อีเมล หรือลิงก์ที่น่าสงสัย ซึ่งเป็นการขอข้อมูลส่วนบุคคล และมิจฉาชีพอาจใช้บัญชีที่เข้าถึงได้ในการส่งสแปม หรือแฮ็กข้อมูลเพื่อเข้าถึงข้อมูลสำคัญอื่นๆ เช่น บัญชีธนาคาร หรือหมายเลขประจำตัวประชาชน การป้องกันจากมิจฉาชีพแบบฟิชชิ่งบน Facebook ตรวจสอบรายละเอียดของผู้ส่งข้อความ: ตรวจสอบที่มาและความถูกต้องข้อความที่อ้างว่ามาจาก Meta หรือ Facebook เสมอ โดยดูว่าข้อความดังกล่าวมาจากช่องทางการสื่อสารอย่างเป็นทางการหรือไม่ หรือติดต่อฝ่ายสนับสนุนโดยตรงผ่านเว็บไซต์ของแพลตฟอร์มเพื่อความแน่ใจ ตรวจสอบ URL: วางเมาส์เหนือลิงก์ในข้อความเพื่อดูตัวอย่าง URL ปลายทาง โดยทั่วไปลิงก์ […]

Continue Reading

ความรุนแรงต่อเพศหญิง: ความเงียบที่สังคมควรรับฟัง

ในสัปดาห์แห่งการยุติความรุนแรงต่อสตรีสากล มีขึ้นเพื่อรณรงค์ให้สังคมตระหนักถึงปัญหาความรุนแรงต่อผู้หญิง ซึ่งถือเป็นปัญหาใหญ่ที่ส่งผลกระทบต่อผู้หญิงทั่วโลก รวมถึงประเทศไทย เราจึงอยากสร้างความรู้ความเข้าใจ รวมถึงการตระหนักถึงปัญหาด้านความรุนแรงด้วยเหตุแห่งเพศ (Gender-based Violence) ที่มีอยู่ในทั่วทุกมุมโลก โดยเฉพาะในประเทศไทย แม้ประเทศไทยจะมีความก้าวหน้าในด้านการพัฒนาเศรษฐกิจและความทันสมัย แต่ปัญหาด้านความรุนแรงต่อผู้หญิงก็เป็นปัญหาที่พบในสังคมไทยมาอย่างยาวนาน บรรทัดฐานทางเพศและทัศนคติแบบเหมารวมแบบเดิมๆ ยังคงผู้หญิงในสังคมไทยไม่มีความปลอดภัย และต้องเผชิญกับความรุนแรงประเภทต่างๆ ตัวอย่างรูปแบบของความรุนแรง ได้แก่ ความรุนแรงในครอบครัว ความรุนแรงในครอบครัวยังคงเป็นประเด็นปัญหาในประเทศไทยอย่างต่อเนื่อง ซึ่งส่งผลกระทบต่อผู้หญิงหลากหลายกลุ่ม ที่มีภูมิหลังทางสังคมและเศรษฐกิจที่แตกต่างกัน โดยบรรทัดฐานทางวัฒนธรรมไทยมักจะทำให้แนวความคิดเรื่องความเป็นส่วนตัวของครอบครัวเป็นปกติ จึงมักไม่ค่อยมีการรายงานหรือการดำเนินคดีเมื่อเผชิญหรือพบเห็นเหตุการณ์ดังกล่าว การทลายกำแพงความเชื่อเก่าๆ ยุติการเงียบเสียงเมื่อเผชิญปัญหา และส่งเสริมให้เหยื่อขอความช่วยเหลือถือเป็นกุญแจสำคัญในการแก้ไขปัญหานี้ ข้อมูลจากคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล พบว่า ความรุนแรงต่อผู้หญิงและคนในครอบครัวไทยในระดับประเทศ เพิ่มขึ้นจาก 34.6% ในปี 2560 เป็น 42.2% ในปี 2563 โดยประเภทความรุนแรงที่พบมากที่สุดคือ ความรุนแรงทางด้านจิตใจ คิดเป็นร้อยละ 32.3 รองลงมาคือ ความรุนแรงทางร่างกายร้อยละ 9.9 และความรุนแรงทางเพศร้อยละ 4.5 (ที่มา) การค้ามนุษย์ ปัญหาสถานการณ์การค้ามนุษย์ในประเทศไทยยังคงเป็นปัญหาใหญ่ที่ควรให้ความสำคัญมากขึ้นเป็นอย่างมาก โดยมีผู้หญิงจำนวนมากตกเป็นเหยื่อของอาชญากรรมที่เลวร้ายนี้ ไม่ว่าจะถูกบังคับค้าประเวณีหรือบังคับใช้แรงงาน ผู้หญิงก็เสี่ยงต่อการถูกแสวงหาประโยชน์ ความพยายามในการทำงานร่วมกันระหว่างหน่วยงานบังคับใช้กฎหมาย องค์กรพัฒนาเอกชน […]

Continue Reading

ไวรัส hMPV “ไม่ใช่” ไวรัสชนิดใหม่ ตามข้อกล่าวอ้างในโซเชียลมีเดีย

เมื่อไม่นานมานี้ เราพบข้อกล่าวอ้างแพร่กระจายบนโซเชียลมีเดียว่ามีไวรัสสายพันธุ์ใหม่ที่รุนแรงกว่าโควิด-19 เข้ามาระบาดในประเทศไทย โพสต์บนโซเชียลมีเดีย พบข้อความแพร่กระจายบนแพลตฟอร์ม LINE ระบุว่า “มาอีกแล้ว ไวรัส HMPV หนักกว่าโควิด ไทยนำเข้ามาแล้วอย่างเป็นทางการ มีอาการผสมระหว่างไข้หวัดใหญ่+โควิด ไม่มียาและไม่มีวัคซีนรักษา ก็ต้องป้องกันตนเองให้ดีที่สุด” นอกจากนี้ เรายังพบข้อกล่าวอ้างที่คล้ายคลึงกันบน Facebook ด้วยเช่นเดียวกัน Source | Archive อย่างไรก็ตาม เราพบว่าข้อกล่าวอ้างข้างต้นอาจทำให้ผู้อ่านเข้าใจผิดและเกิดความกังวลได้ เนื่องจากอันที่จริงแล้ว hMPV ไม่ใช่โรคใหม่แต่อย่างใด ทำความรู้จัก hMPV Human metapneumovirus หรือ hMPV คือ ไวรัสชนิดหนึ่งที่ทำให้เกิดอาการติดเชื้อในทางเดินหายใจ มีไข้ ไอ น้ำมูก คล้ายกับไข้หวัดใหญ่ ที่มีการค้นพบมานานหลายสิบปี ไม่ได้เป็นเชื้อไวรัสชนิดใหม่ แต่ที่เพิ่งมารู้จักกันในประเทศไทยไม่นาน เพราะเพิ่งจะเริ่มมีการพัฒนาการตรวจหาเชื้อ ที่ทำได้ง่ายและรวดเร็วขึ้น ไม่นานนี้ โดยวิธีการ Swab ป้ายตรวจทางห้องปฏิบัติการ เช่นเดียวกับการตรวจหาเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ และ RSV โดยอาการของผู้ที่ติดเชื้อไวรัสดังกล่าวจะมีอาการของระบบทางเดินหายใจ คล้ายกับไข้หวัดใหญ่ คือ มีอาการไข้ […]

Continue Reading

เตือนภัยมิจฉาชีพ: ส่งลิงก์เรียกเก็บค่าไฟค้างชำระ/คืนเงินค่าไฟผ่านทาง SMS

เราได้รับเบาะแสผ่าน LINE ตรวจสอบข้อเท็จจริงของ Fact Crescendo Thailand เกี่ยวกับ SMS ที่แอบอ้างว่ามาจากการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (PEA) พร้อมข้อความว่าจะมีการคืนเงินให้แก่ผู้ใช้ไฟฟ้า โพสต์บนโซเชียลมีเดีย เมื่อเราหาข้อมูลเพิ่มเติม ก็พบผู้ใช้โซเชียลที่ได้รับข้อความลักษณะเดียวกันหลายราย Source | Archive นอกจากนี้ยังมีผู้เสียหายที่ถูกมิจฉาชีพลักษณะดังกล่าวฉ้อโกงเงิน ออกมาเตือนกลโกงอีกด้วย Source: CH7HD News อย่างไรก็ตาม ทางการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค และการไฟฟ้านครหลวงก็ได้ยืนยันว่า ไม่มีการส่งข้อความแจ้งให้คืนเงินหรือชำระค่าไฟฟ้าผ่านลิงก์แต่อย่างใด โดยการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (PEA) ได้ชี้แจงผ่านเพจ Facebook ของทางองค์กร โดยระบุว่าลิงก์ที่ส่งผ่าน SMS นั้นไม่ใช่ช่องทางติดต่อกับ PEA และเตือนประชาชน อย่าหลงเชื่อมิจฉาชีพส่งข้อความให้กดลิงก์เพื่อติดต่อเจ้าหน้าที่การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค Archive นอกจากนี้ PEA ยังโพสต์เตือนเกี่ยวกับมิจฉาชีพในช่องทาง LINE อีกด้วย Archive โดยทาง PEA แนะนำให้สังเกตสัญลักษณ์ยืนยันตัวตนของบัญชี LINE Ofiicial ของทางหน่วยงาน ซึ่งจะมีเครื่องหมายรูปโล่สีเขียวที่โปรไฟล์ และ PEA ไม่มีนโยบายส่งลิงก์ดาวน์โหลดแอปพลิเคชันชำระค่าไฟฟ้าผ่านทาง LINE […]

Continue Reading

โรคระบาดด้านทางเดินหายใจในจีนกำลังสร้างความกังวลในระดับโลก

(อัปเดตล่าสุดวันที่ 27 พฤศจิกายน 2023) 24 พ.ย. 2023 จีนแถลงไม่พบเชื้อสายพันธุ์ใหม่ องค์การอนามัยโลก (WHO) ได้รับคำแถลงจากทางการจีนเกี่ยวกับการระบาดของโรคทางเดินหายใจในเด็ก ซึ่งทางจีนระบุว่าไม่เกี่ยวข้องกับเชื้อโรคใหม่หรือสายพันธุ์ประหลาดใดๆ ทางการจีนได้แถลงว่า เกิดจากภาวะปอดอักเสบที่คล้ายกับโรคไข้หวัดใหญ่ และสาเหตุน่าจะมาจากที่มีการยกเลิกมาตรการป้องกันควบคุมโรคโควิด-19 ที่เข้มงวดไป (ที่มา: BBC Thai) ในช่วงสัปดาห์นี้ ผู้ใช้โซเชียลมีเดียหลายรายออกมาแสดงความกังวลถึงโรคระบาดใหม่ในประเทศจีน ซึ่งยังไม่พบข้อสรุปที่แน่ชัดว่าเกิดจากสาเหตุใด โดยผู้ใช้ X (Twitter) ได้โพสต์ข่าวเกี่ยวกับวิกฤตในโรงพยาบาลต่างๆ ในปักกิ่งและเมืองอื่นๆ ในจีน ที่ขณะนี้มีผู้ป่วยเป็นจำนวนมากจนโรงพยาบาลไม่สามารถให้การรักษาอย่างทั่วถึงได้ Archive Archive Dr. Eric Feigl-Ding ประธานของ NECSI Department of Public Health ที่ New England Complex Systems Institute และหนึ่งในคณะกรรมการผู้เชี่ยวชาญจากองค์การอนามัยโลก (WHO) ได้ออกมาโพสต์ในประเด็นโรงระบาดใหม่ครั้งนี้ผ่านบัญชี X โดยอธิบายไว้ดังนี้: การระบาดของโรคปอดบวมครั้งใหม่ที่เกิดขึ้นในจีน ส่งผลให้มีผู้ป่วยล้นโรงพยาบาลเด็กในกรุงปักกิ่งและในมณฑลเหลียวหนิง และส่งผลให้โรงเรียนหลายแห่งต้องระงับการเรียนการสอน อาการต่างๆ […]

Continue Reading

กระทรวงต่างประเทศยืนยัน ไม่มีแรงงานไทยไปรับจ้างเป็นทหารของอิสราเอล ตามข้อกล่าวอ้างในโซเชียล

เมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน นายปานปรีย์ พหิทธานุกร รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศ กล่าวถึงการช่วยเหลือแรงงานไทย อิสราเอลว่า ล่าสุดมีผู้เสียชีวิต 34 คน บาดเจ็บ 18 คน ถูกควบคุมตัว 24 คน ขณะนี้กำลังรอฟังข่าวดี แต่ยอมรับว่าในประเทศอิสราเอลมีการปฏิบัติการค่อนข้างหนักในฉนวนกาซา สำหรับตัวเลขแรงงานไทยในอิสราเอล จากที่ได้รับรายงาน เดิมมีประมาณ 30,000 คน กลับมาแล้วประมาณ 8,000 คน ยังอยู่ที่อิสราเอลอีกเป็นหมื่นคน แต่อยู่ในพื้นที่ที่ปลอดภัย (อ่านข่าวที่นี่) อย่างไรก็ตาม ล่าสุด เราพบข้อกล่าวอ้างว่ามีแรงงานไทยไปรับจ้างเป็นทหารอิสราเอล แพร่กระจายอยู่บนโซเชียลมีเดีย โพสต์บนโซเชียลมีเดีย ในวันที่ 4 พฤศจิกายน มีผู้ใช้ Facebook รายหนึ่งได้โพสต์ภาพของตนขณะปฏิบัติหน้าที่เป็นทหารในอิสราเอล พร้อมเตือนให้ชาวไทยในอิสราเอลดูแลตนเองและปฏิบัติตามคำสั่งทางการอยู่เสมอ Source | Archive และหลังจากนั้นก็มีผู้ใช้หลายรายที่แชร์ภาพและโพสต์ของบุคคลดังกล่าว พร้อมระบุว่าเป็นแรงงานไทยที่ไปรับจ้างเป็นทหารให้กับอิสราเอล กระทรวงต่างประเทศชี้แจง ไม่มีแรงงานไทยรับจ้างเป็นทหารในอิสราเอล จากรายงานข่าวของไทยรัฐออนไลน์ ได้รายงานว่า ตามที่ได้มีกระแสข่าวในโลกโซเชียลว่า มีแรงงานไทยไปเป็นทหารให้แก่ฝ่ายอิสราเอลในช่วงสถานการณ์อิสราเอล-กาซานั้น กระทรวงการต่างประเทศได้รับรายงานจากสถานเอกอัครราชทูต ณ […]

Continue Reading

เตือนภัย! มิจฉาชีพรูปแบบใหม่อ้างเป็น Shopee และให้ค่าคอมมิชชันสูง

เมื่อเร็วๆ นี้ เราพบโพสต์เกี่ยวกับมิจฉาชีพที่แอบอ้างเป็นตัวแทนจากบริษัท Shopee ล่อลวงผู้สนใจโดยอ้างว่าเป็นโปรแกรมสร้างรายได้จากทางบริษัทฯ โพสต์บนโซเชียลมีเดีย เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ผู้ใช้ Facebook รายหนึ่งได้แชร์ประสบการณ์เกี่ยวกับมิจฉาชีพที่แอบอ้างว่าเป็นบริษัท Shopee โดยกล่าวอ้างว่าจะให้ผลตอบแทนสูง แต่ผู้เข้าร่วมต้องมีการสำรองจ่ายก่อน “มิจฉาชีพแบบใหม่ แจ้งเตือนระวังด้วยนะคะ เพิ่งจะได้รับโทรศัพท์ อ้างว่าจากแอพขายสินค้าสีส้ม จะชวนเป็น พาร์ทเนอร์ promote สินค้า ซึ่งเราทำอยู่แต่ได้คอมน้อย ว้าวุ่นเลยทีนี้ (ค่าคอมดี) แต่พอบอกให้สำรองโอนเงินเข้าก่อน รู้เลยมิจฉาชีพแน่ๆ” Source | Archive และเมื่อทีมงาน Fact Crescendo ทำการค้นหาข้อมูลเพิ่มเติม ก็พบว่ามีผู้ใช้โซเชียลหลายรายที่ตกเป็นเหยื่อของมิจฉาชีพในลักษณะนี้ และออกมาโพสต์เตือนภัยตามช่องทางต่างๆ Source | Archive Source | Archive Shopee เตือน ไม่มีการให้พาร์ทเนอร์สำรองจ่ายล่วงหน้า บริษัท Shopee ได้เผยแพร่บทความเตือนภัยมิจฉาชีพที่แอบอ้างว่าเป็นบริษัท โดย Shopee ได้ระบุไว้อย่างชัดเจนว่า Shopee Affiliate หรือการเป็นพาร์ทเนอร์กับทางบริษัทนั้น จะไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ เพิ่มเติมตลอดโครงการ […]

Continue Reading

ผู้เชี่ยวชาญยืนยัน “ชานมไข่มุก” ไม่ได้ก่อให้เกิดนิ่วในถุงน้ำดี

เมื่อไม่นานมานี้ มีข้อกล่าวอ้างแพร่กระจายบนโซเชียลมีเดียเกี่ยวกับผู้ป่วยที่เป็นโรคนิ่วในถุงน้ำดี และระบุว่ามีสาเหตุมาจากการดื่มชานมไข่มุก โดยได้รับความสนใจจากผู้ใช้โซเชียลมีเดียและสื่อออนไลน์เป็นจำนวนมาก โพสต์โซเชียลมีเดีย ผู้ใช้ TikTok ได้โพสต์วิดีโอเล่าประสบการณ์น้องสาวมีอาการปวดท้อง เมื่อเข้ารักษาที่โรงพยาบาลจึงพบว่าเป็นนิ่วในถุงน้ำดี โดยพบนิ่วกว่า 72 เม็ด โดยได้เผยว่าน้องสาวของตนมีพฤติกรรมดื่มชานมไข่มุกวันละ 2-3 แก้ว มาเป็นเวลาหลายปี Source | Archive โดยคลิปดังกล่าวได้รับความสนใจเป็นอย่างมาก และมีการแชร์ต่อบนแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียอื่นๆ และมีการนำเสนอในแหล่งข่าวต่างๆ อีกด้วย Source | Archive Source | Archive Source | Archive และเนื่องจากมีหลายโพสต์ที่อาจทำให้ผู้อ่านเข้าใจได้ว่า การดื่มชานมไข่มุกเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดนิ่ว ซึ่งเป็นการตีความที่ขาดบริบท เราจึงทำการหาข้อมูลเพิ่มเติมในประเด็นดังกล่าว นิ่วในถุงน้ำดี เกิดจากอะไร นพ.สุพรรณ ศรีธรรมมา อธิบดีกรมการแพทย์ อธิบายว่า นิ่วที่อยู่ในถุงน้ำดี เกิดจากการตกผลึกของหินปูน (แคลเซียม) คอเลสเตอรอล และบิลิรูบิน (สารเคมีชนิดหนึ่งที่ให้สีเหลืองออกน้ำตาล เกิดจากการแตกตัวหรือการตายของเซลล์เม็ดเลือดแดงในหลอดเลือด) ที่มีอยู่ในน้ำดี ส่วนสาเหตุที่ทำให้เกิดการตกผลึกของสารเหล่านี้ เชื่อว่าเกิดจากการติดเชื้อของทางเดินน้ำดี และความไม่สมดุลของส่วนประกอบคอเลสเตอรอลและบิลิรูบินในน้ำดี การตกผลึกของสารเหล่านี้อาจทำให้เกิดเป็นก้อนนิ่วเพียงก้อนเดียว หรือก้อนเล็กๆ […]

Continue Reading

ผู้ผลิตชี้แจง วุ้นมะพร้าวในเครื่องดื่มน้ำผลไม้ ไม่ได้ทำมาจากกระดาษ

เมื่อเร็วๆ นี้ มีผู้ใช้ TikTok ตั้งข้อสงสัยเกี่ยวกับส่วนผสมที่อยู่เครื่องดื่มน้ำผลไม้ยี่ห้อหนึ่ง ว่ามีการใช้กระดาษมาทำเป็นวุ้นมะพร้าว พร้อมทั้งแนะนำไม่ให้ซื้อรับประทาน โดยคลิปดังกล่าวได้รับความสนใจบนแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียเป็นอย่างมาก โพสต์บนโซเชียลมีเดีย มีผู้ใช้ TikTok รายหนึ่งได้โพสต์วิดีโอพร้อมตั้งข้อสงสัยว่าวุ้นมะพร้าวในเครื่องดื่มน้ำผลไม้ยี่ห้อหนึ่งทำมาจากกระดาษ โดยล่าสุดคลิปดังกล่าวถูกลบออกไปแล้ว Archive นอกจากนี้เรายังพบวิดีโอที่คล้ายกันบนแพลตฟอร์ม TikTok โดยผู้ใช้ได้โพสต์วิดีโอที่มีผลิตภัณฑ์ พร้อมคำบรรยายวิดีโอว่า “วุ้นมะพร้าวในกาโตะ มันคือวุ้นมะพร้าวจริงหรือ ?” Source | Archive โดยล่าสุด บริษัทผู้ผลิตเครื่องดื่มดังกล่าวก็ได้ออกแถลงการณ์เกี่ยวกับกรณีดังกล่าวแล้ว แถลงการณ์จากผู้ผลิต ในวันที่ 25 ตุลาคม บริษัททวีผลผลิตภัณฑ์ จำกัด ซึ่งเป็นผู้ผลิตเครื่องดื่มดังกล่าว ได้โพสต์แถลงการณ์ชี้แจงในเพจ Facebook ของ Kato Fruit n Fun โดยระบุว่าข้อมูลในคลิปดังกล่าวไม่เป็นความจริง พร้อมทั้งชี้แจงว่า วุ้นมะพร้าวคือเส้นใยอาหาร ซึ่งผลิตโดยการนำน้ำมะพร้าวและจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ Acetobacter Xylinum มาผ่านกระบวนการผลิต ได้ผลผลิตเป็นแผ่นวุ้นที่มีเส้นใยอาหารรวมตัวกัน มีเนื้อสัมผัสธรรมชาติ Archive วุ้นมะพร้าวทำมาจากอะไร? จากข้อมูลของสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) วุ้นมะพร้าว หรือ […]

Continue Reading