ตรวจสอบข้อเท็จจริงเบื้องหลังวิดีโอ “เนื้อปลาปลอม”

เมื่อไม่นานมานี้ มีวิดีโอแพร่กระจายบนแพลตฟอร์มออนไลน์ ที่กล่าวอ้างว่าให้ระวังเนื้อปลาปลอมในท้องตลาดที่ทำมาจากพลาสติก โดยวิดีโอดังกล่าวมีการแพร่กระจายเป็นวงกว้าง ข้อกล่าวอ้างบนโซเชียลมีเดีย เราได้รับเบาะแสจากผ่านช่องทาง LINE ตรวจสอบข้อเท็จจริงของเรา โดยมีวิดีโอที่อ้างว่าเป็นเนื้อปลาทำมาจากพลาสติก แพร่กระจายบนแพลตฟอร์ม LINE โดยเราพบว่าวิดีโอดังกล่าวได้มีการแชร์อย่างกว้างขวางบน Facebook เมื่อช่วงเดือนที่ผ่านมาด้วยเช่นกัน ที่มา | ลิงก์ถาวร ส่งเบาะแสข้อมูลให้เราช่วยตรวจสอบข้อเท็จจริงได้ที่นี่ คำอธิบายจากผู้เชี่ยวชาญ เราได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงโดยการตรวจสอบที่มาของวิดีโอดังกล่าว และพบว่าวิดีโอนี้ได้แพร่กระจายบนโซเชียลมีเดียมาตั้งแต่ปี 2017 และเราได้พบลิงก์ถาวรของเว็บไซต์ Hoaxorfact.com ที่ได้ตรวจสอบวิดีโอดังกล่าว และอธิบายไว้ว่า ลักษณะเนื้อปลาแบบในวิดีโอดังกล่าว เกิดขึ้นจากอาการ Freezer Burn ซึ่งเกิดขึ้นเมื่อเนื้อสัตว์ถูกแช่แข็งและถูกทำให้ละลายเป็นจำนวนหลายครั้ง จึงทำให้เยื่อหุ้มเซลล์สลายและแห้งลง เนื้อสัมผัสตามธรรมชาติของเนื้อสัตว์จึงหายไป นอกจากนี้ เมื่อปลาอยู่ในห้องแช่เย็นนานเกินไป เนื้อปลาจะมีลักษณะคล้ายฟองน้ำดังในวิดีโอ และเมื่อเนื้อปลาแช่อยู่ในน้ำเป็นเวลานานเกินไป จึงดูดซับน้ำไว้เหมือนกับฟองน้ำนั่นเอง ศูนย์เครือข่ายข้อมูลอาหาร ได้อธิบายอาการ Freeze Burn ไว้ว่า เป็นความเสียหายของผลิตภัณฑ์อาหารแช่เยือกแข็งเนื่องจากการสูญเสียความชื้นระหว่างการแช่เยือกแข็ง หรือระหว่างการเก็บรักษา เกิดเป็นรอยแห้งสีขาวหรือสีเหลืองอย่างชัดเจน เป็นตำหนิของผลิตภัณฑ์ (ที่มา) ศาสตราจารย์ ดร. วิสิฐ จะวะสิต อาจารย์สถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล ระบุกับศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ […]

Continue Reading

วิดีโอไวรัลหมึกยักษ์โผล่น้ำตื้น มีสาเหตุจากโลกร้อนจริงหรือไม่?

เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา วิดีโอการจับหมึกยักษ์ได้กลายเป็นไวรัลบนแพลตฟอร์ม X โดยมีการรับชมไปกว่าสี่ล้านครั้ง พร้อมข้อกล่าวอ้างว่าเป็นสัญญาณเตือนถึงสภาพแวดล้อมที่กำลังเปลี่ยนแปลง ข้อกล่าวอ้างบนโซเชียลมีเดีย ผู้ใช้ X ได้โพสต์วิดีโอของเรือประมงกำลังพยายามจับหมึกยักษ์ พร้อมคำบรรยายประกอบว่า “เจอปลาหมึกตัวขนาดนี้ คนมันก็ดีใจ แต่หารู้ไม่ นี่คือสัญญาณเตือน พวกนี้อยู่ในน้ำที่ลึกมาก ถ้ามันออกมาให้จับง่ายๆ แสดงว่าอาหารมันน้อยลง สภาพแวดล้อมเปลี่ยนแปลง” ที่มา | ลิงก์ถาวร โดยล่าสุดโพสต์ดังกล่าวมีการแชร์ต่อกว่าสามหมื่นครั้ง และมีการรับชมไปกว่าห้าล้านครั้ง ตรวจสอบข้อเท็จจริง หมึกยักษ์ในวิดีโอคือหมึกสายพันธุ์อะไร: หมึกยักษ์ในวิดีโอดังกล่าวมีชื่อว่า “หมึกฮัมโบลต์” มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Dosidicus gigas หรือที่รู้จักกันในชื่อหมึกจัมโบ้ เป็นหนึ่งในหมึกสายพันธุ์นักล่าที่ใหญ่ที่สุดชนิดหนึ่ง มีถิ่นกำเนิดในน่านน้ำอุ่นของมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันออก หมึกฮัมโบลต์มีจำนวนประชากรเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา โดยขยายพันธุ์ไปจนถึงตอนเหนือของอลาสกา แหล่งอาศัยและพฤติกรรมของหมึกฮัมโบลต์: หมึกฮัมโบลต์อาศัยอยู่ในมหาสมุทร ตั้งแต่ระดับความลึก 200 – 700 เมตร เป็นที่รู้กันว่าหมึกฮัมโบลต์จะขึ้นไปยังน้ำตื้นในตอนกลางคืนเพื่อล่าหาอาหาร โดยพวกมันสามารถล่าได้เพียงลำพังหรือเป็นกลุ่มหลายพันตัว เมื่ออยู่รวมกันเป็นฝูง พวกมันจะวิ่งตามเหยื่อที่มีขนาดใหญ่กว่าและกลืนกินเร็วกว่าเหยื่อตัวเล็ก อาหารของพวกมันประกอบด้วยปลาตัวเล็ก สัตว์น้ำที่มีเปลือกแข็ง หมึก และโคพีพอดเป็นส่วนใหญ่ หมึกฮัมโบลต์กับสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลง: แม้การขึ้นมาหาอาหารบนน้ำตื้นจะเป็นพฤติกรรมโดยปกติของหมึกชนิดนี้ แต่หมึกฮัมโบลต์กำลังเผชิญกับสภาพแวดล้อมที่กำลังเปลี่ยนแปลง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอันมาจากภาวะโลกร้อน การขยายตัวของโซนออกซิเจนต่ำในมหาสมุทรซึ่งเป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ […]

Continue Reading

กฟภ. ไขข้อสงสัยกรณี “บิลค่าไฟปลอม”

เมื่อไม่นานมานี้ Fact Crescendo Thailand ได้รับเบาะแสผ่านไลน์ตรวจสอบข้อเท็จจริงของเราเกี่ยวกับมิจฉาชีพรูปแบบใหม่ ที่หลอกให้เหยื่อโอนเงินผ่านใบแจ้งชำระค่าไฟปลอม โพสต์บนโซเชียลมีเดีย จากที่มีภาพและข้อความแพร่กระจายบนโซเชียลมีเดีย ระบุว่า ให้ระวังใบแจ้งค่าไฟปลอมที่กำลังระบาด  ที่มา | ลิงก์ถาวร นอกจากนี้ยังมีผู้ใช้โซเชียลมีเดียหลายราย ตั้งข้อสงสัยถึงใบแจ้งค่าไฟฟ้าที่มีลักษณะเปลี่ยนไป ที่มา | ลิงก์ถาวร ที่มา | ลิงก์ถาวร อย่างไรก็ตาม ทางการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคได้ออกมาชี้แจงว่าบิลค่าไฟในลักษณะดังกล่าว ไม่ใช่บิลค่าไฟปลอมแต่อย่างใด กฟภ. ชี้แจง ไม่ใช่บิลค่าไฟปลอม ล่าสุด เมื่อวันที่ 19 มีนาคม ที่ผ่านมา นายธัญญา คุ้มมี ผู้จัดการการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค จังหวัดสุรินทร์ ได้ชี้แจงกรณีที่ผู้ใช้ตั้งข้อสงสัยว่าบิลค่าไฟที่ได้รับมีลักษณะต่างออกไป โดยยืนยันว่า บิลดังกล่าวเป็นของ กฟภ.จริง ซึ่งบิลสีฟ้าที่มีการตั้งข้อสงสัยนั้นไม่ใช่บิลแจ้งค่าไฟฟ้า แต่เป็นบิลแจ้งค้างชำระค่าไฟฟ้า โดยจุดสังเกตจะอยู่ที่มุมขวาบนของกระดาษ จะระบุชัดเจน ในส่วนที่มีตั้งข้อสงสัยว่า ใบแจ้งเตือนถึงไม่เป็นกระดาษ A4 อย่างที่เคยได้รับ ทางกฟภ. ระบุว่า จริงๆ แล้ว รูปแบบกระดาษ A4 ก็ยังมีใช้อยู่เช่นเดิม แต่อาจจะใช้กรณีที่ระบบของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคเองเกิดการขัดข้อง […]

Continue Reading

จริงหรือไม่: แบกของหนัก สะพายกระเป๋าหนัก ทำให้กระดูกสันหลังคด?

โรคกระดูกสันหลังคด เป็นภาวะที่เกิดจากกระดูกสันหลังมีลักษณะความโค้งที่ผิดปกติ มีผู้คนหลายล้นคนทั่วโลกที่เผชิญกับโรคนี้ หลายๆ คนเชื่อว่าการสะพายกระเป๋าเป้ หรือกระเป๋าสะพายที่มีน้ำหนักมากจะทำให้เกิดโรคกระดูกสันหลังคดได้ คำกล่าวอ้างนี้เผยแพร่มาหลายปี ทำให้เกิดความกังวลในหมู่นักเรียน นักศึกษา วัยทำงาน และกลุ่มคนที่ต้องสะพายกระเป๋าหรือแบกของหนักเป็นประจำ ข้อกล่าวอ้างบนโซเชียลมีเดีย เมื่อไม่นานมานี้ ผู้ใช้บนแพลตฟอร์ม X ได้แชร์ข้อความที่ระบุว่า “เตือนสาวๆที่ชอบแบกบ้าน ว่าการใช้กระเป๋าสะพายข้างเดียว เสี่ยงต่อการเป็นกระดูกสันหลังคด ล่าสุดนี่โดนหมอทักตอนตรวจสุขภาพ ว่ากระดูกเริ่มคดแล้ว ผู้หญิงเป็นกันเยอะ ยิ่งคนที่แบกคอมแบกไอแพดและของเยอะๆ ให้เปลี่ยนไปใช้เป้จะดีกว่า” ที่มา | ลิงก์ถาวร โดยล่าสุดโพสต์ดังกล่าวมีการรีโพสต์กว่าสามหมื่นครั้ง และมีการรับชมไปกว่าเจ็ดล้านครั้ง รู้จักโรคกระดูกสันหลังคด โรคกระดูกสันหลังคด (Scoliosis) คือภาวะที่กระดูกสันหลังมีการโค้งออกไปบริเวณด้านข้าง โดยปกติแล้วกระดูกสันหลังของคนเราจะมีความโค้งตามปกติ และเมื่อมองจากด้านหลัง กระดูกสันหลังจะดูตรง อย่างไรก็ตาม ผู้ที่มีภาวะกระดูกสันหลังคดจะมีส่วนโค้งของกระดูกสันหลังรูปตัว S หรือรูปตัว C โดยการโค้งนี้สามารถเกิดขึ้นได้ที่ด้านใดด้านหนึ่งของกระดูกสันหลังและในตำแหน่งต่างๆ ในกระดูกสันหลัง และสาเหตุที่มาของภาวะกระดูกสันหลังคดก็ยังไม่เป็นที่แน่ชัด (ที่มา: National Institute of Arthritis and Musculoskeletal and Skin Diseases) แม้ภาวะกระดูกสันหลังคดส่วนใหญ่ที่พบจะมีแนวโน้มมาจากปัจจัยด้านพันธุกรรม […]

Continue Reading

ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับแกดเจ็ต “ป้องกันคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า”

ในไม่กี่ปีที่ผ่านมา ผู้คนเริ่มแสดงความกังวลต่อคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่ออกมาจากอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ โดยเฉพาะโทรศัพท์มือถือ ทำให้มีการพัฒนาผลิตภัณฑ์มากมายที่อ้างว่าสามารถช่วยป้องกันคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าได้ แล้วอุปกรณ์นี้ทำงานอย่างไร และสามารถป้องกันคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าได้จริงหรือไม่? มาหาคำตอบไปกับเราเลย ข้อความบนโซเชียลมีเดีย  วิดีโอหนึ่งบน Instagram แสดงผลิตภัณฑ์ที่เรียกว่า “EMF Shield” พร้อมข้อกล่าวอ้างว่าสามารถป้องกันคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่อาจเป็นอันตรายได้ โพสต์นี้ได้รับความสนใจจากผู้คนมากมาย และมีการกดถูกใจกว่า 2,000 ครั้ง Source | Archive นอกจากนี้ เรายังพบผลิตภัณฑ์ที่คล้ายคลึงวางจำหน่ายอย่างแพร่หลายในไทย เราจึงตัดสินใจดำเนินการตรวจสอบเพิ่มเติม อ่านบทความที่คล้ายกัน: ภาพไวรัลบนโซเชียลเกี่ยวกับอันตรายของหูฟังบลูทูธ ยังไม่มีหลักฐานรองรับเพียงพอ คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าคืออะไร?  คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (Electromagnetic Wave) เป็นคลื่นประเภทหนึ่งที่ปล่อยออกมาจากเครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ ซึ่งรวมถึงเครื่องใช้ในครัวเรือน เช่น เตา ไมโครเวฟ โทรศัพท์มือถือ รวมถึงเครื่องใช้ขนาดใหญ่ เช่น คอมพิวเตอร์ โดยพลังงานเหล่านี้จะถูกสร้างขึ้นเมื่อกระแสไฟฟ้ามีอยู่ ซึ่งหมายความว่าเป็นส่วนประกอบที่อยู่ทั่วไปของชีวิตในยุคปัจจุบันที่ต่างต้องพึ่งพาเทคโนโลยี พูดอย่างง่ายๆ คือ คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าเป็นสิ่งที่แทบจะหลีกเลี่ยงไม่ได้ในชีวิตยุคปัจจุบัน แต่ทว่า คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าเหล่านี้ปลอดภัยต่อมนุษย์หรือไม่? คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้ามีช่วงความถี่และความยาวคลื่นหลายประเภท ก่อให้เกิดสเปกตรัมแม่เหล็กไฟฟ้า โดยสเปกตรัมประกอบด้วยคลื่นประเภทต่างๆ เช่น:  คลื่นวิทยุ: ใช้เพื่อการสื่อสาร เช่น วิทยุกระจายเสียง […]

Continue Reading

เข้าใจการบิดเบือนข้อมูลเนื่องจากอคติทางเพศเนื่องในวันสตรีสากล

เนื่องในวันสตรีสากลเราต้องการเน้นย้ำความสำคัญของการให้ข้อมูลที่ไม่ถูกต้องและการบิดเบือนข้อมูลซึ่งส่งผลกระทบต่อผู้หญิงอย่างไม่เท่าเทียม การเผยแพร่ข้อมูลอันเป็นเท็จในรูปแบบนี้ทำให้เกิดทัศนคติแบบเหมารวมซึ่งส่งผลเสียต่อหลายฝ่ายและเป็นอุปสรรคต่อการสร้างความเท่าเทียมทางเพศที่ควรจะมี การบิดเบือนข้อมูลเนื่องจากอคติทางเพศคืออะไร? การบิดเบือนข้อมูลเนื่องจากอคติทางเพศ (Gendered disinformation) หมายถึง การจงใจเผยแพร่ข้อมูลที่เป็นเท็จ หรือสร้างความเข้าใจผิดโดยมุ่งเป้าไปที่บุคคลหรือกลุ่มตามอัตลักษณ์ทางเพศ โดยคำนี้ยังใช้อธิบายถึงการแพร่กระจายของข้อมูลที่เป็นเท็จ หรือทำให้เข้าใจผิดซึ่งมุ่งเป้าไปที่ผู้หญิง โดยเฉพาะผู้นำทางการเมือง นักข่าว และบุคคลสาธารณะ โดยพิจารณาจากอัตลักษณ์ทางเพศของพวกเธอ ตัวอย่างของการบิดเบือนข้อมูลทางเพศอาจรวมถึงข่าวปลอมเกี่ยวกับผู้หญิง ไม่ว่าจะเป็นตัวละครหญิง มีมที่ไม่เหมาะสม หรือรูปภาพหรือวิดีโอที่นำเสนอผู้หญิงในแง่ลบ ตัวอย่างข่าวปลอมที่เกิดจากอคติทางเพศ: ภาพนางแบบถูกนำมาใช้แอบอ้างว่าเป็นภาพของ ไอซ์ รักชนก มีการเผยแพร่ภาพของผู้หญิงในชุดชั้นในพร้อมข้อกล่าวอ้างว่าเป็นภาพของรักชนก ส.ส. จากพรรคก้าวไกลบนโซเชียลมีเดีย โดยรักชนกได้ออกมาปฏิเสธข้อกล่าวอ้างดังกล่าว พร้อมแจ้งความเพื่อดำเนินคดีแก่ผู้ปล่อยข่าวเท็จ และนางแบบในภาพได้ออกมายืนยันว่าตนไม่มีความเกี่ยวข้องกับรักชนกแต่อย่างใด ตัวอย่างมีมที่มาจากอคติทางเพศ: Taylor Swift ออกมาต่อว่า Netflix และซีรีส์ Ginny & Georgia ที่มีการเล่นมุกเกี่ยวกับเธอที่เหยียดเพศหญิง ที่มา: The Standard POP การจัดการกับการบิดเบือนข้อมูลเนื่องจากอคติทางเพศทางออนไลน์ UNESCO ได้จัดการเสวนาระดับโลก เกี่ยวกับการบิดเบือนข้อมูลเนื่องจากอคติทางเพศทางออนไลน์ โดยมีเป้าหมายคือการพัฒนากลยุทธ์ที่มีประสิทธิภาพ เพื่อต่อต้านข้อมูลผิดๆ ซึ่งมุ่งเป้าไปที่ผู้หญิง เนื่องจากความนิยมที่เพิ่มขึ้นโซเชียลมีเดียทำให้การเข้าถึงการบิดเบือนข้อมูลเนื่องจากอคติทางเพศเพิ่มมากยิ่งขึ้น และส่งเสริมสถานการณ์และทัศนคติการเหมารวมที่เป็นอันตราย ผลกระทบของการบิดเบือนข้อมูลเนื่องจากอคติทางเพศ ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา วาทกรรมทางการเมืองมักจะมีความเกี่ยวข้องกับการล่วงละเมิดและการบิดเบือนข้อมูลเนื่องจากอคติทางเพศบนโลกออนไลน์ […]

Continue Reading

อย่าแชร์ต่อ! SCB ยืนยัน ข้อความ “ที่ชาร์จ SCB ดูดเงิน” ไม่เป็นความจริง

เมื่อไม่นานมานี้ มีข้อความแพร่กระจายบนแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียต่างๆ ระบุว่า ได้รับซองพัสดุจากธนาคารที่บรรจุที่ชาร์จโทรศัพท์แบบพกพา หรือพาวเวอร์แบงก์ และได้รับคำเตือนว่าห้ามนำมาชาร์จโทรศัพท์เด็ดขาด เพราะอาจถูกดูดเงินได้ ข้อกล่าวอ้างบนโซเชียลมีเดีย ผู้ใช้โซเชียลมีเดียหลายราย ได้เผยแพร่ข้อความที่ระบุว่า “ได้รับซองเป็นเครื่องชาร์จแบตอย่างดีจากธนาคาร SCB แต่ยังไม่ได้ชาร์จ พอดีสงสัยก็เลยไปถามญาติที่ทำงานแบงค์ เขาบอกห้ามเสียบ ห้ามทำอะไรเด็ดขาดเลยนะ มันเป็น call center ซึ่งส่งมาให้ถ้าเราเสียบ ชาร์จปั๊บหรือ power bank ที่มันส่งมาให้มันจะดูดเงินทันที โชคดีที่มีญาติอยู่แบงค์และเขาบอกโทรไปเช็คกับแบงค์ SCB เขาบอกไม่มีการส่งอะไรไปให้ลูกค้าของแบงค์เลย ฝากไว้ด้วยนะจ๊ะใกล้ตัวเข้ามาทุกที” โดยข้อความดังกล่าวแพร่กระจายทั้งบนแพลตฟอร์ม Facebook, X และ LINE ที่มา | ลิงก์ถาวร ที่มา | ลิงก์ถาวร ที่มา | ลิงก์ถาวร ลิงก์ถาวร SCB ชี้แจง ข้อความพาวเวอร์แบงก์จาก SCB ดูดเงิน ไม่เป็นความจริง ในวันที่ 3 มีนาคม ธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB) ได้โพสต์ข้อความชี้แจงถึงกรณีดังกล่าวบนเพจ […]

Continue Reading

Scam Alert! มิจฉาชีพส่ง SMS แอบอ้างเป็นธนาคารว่ามีผู้เข้าสู่ระบบจากอุปกรณ์อื่น

เมื่อเร็วๆ นี้ มีผู้ใช้โซเชียลหลายรายแชร์ว่าได้รับข้อความที่ระบุว่ามาจากธนาคารกสิกรไทย โดยแจ้งว่ามีผู้เข้าสู่ระบบธนาคารจากอุปกรณ์อื่น พร้อมแนบลิงก์ให้ผู้รับ SMS เข้าไปติดต่อธนาคาร Source | Archive โดยเมื่อเราได้ตรวจสอบเพิ่มเติม ก็พบว่ามีผู้ใช้หลายรายได้รับข้อความในลักษณะเดียวกัน Source | Archive Source | Archive นอกจากนี้ ยังมีการรายงานข่าวในกรณีนี้ด้วยเช่นเดียวกัน มิจฉาชีพล่อลวงเหยื่อจากวิธีนี้อย่างไร? ส่ง SMS เข้ากล่องข้อความเดียวกับธนาคาร โดยการปลอมแปลงชื่อผู้ส่ง: การส่งข้อความในลักษณะดังกล่าวเป็นการส่งโดยไม่ผ่านเครือข่ายของผู้ให้บริการ หรือที่เรียกว่า False Base Station (FBS) Attack ซึ่งมิจฉาชีพสามารถปลอมแปลงชื่อผู้ส่งเป็นชื่อหน่วยงานใดก็ได้ เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือประกอบกับเหยื่อหลอกลวงในรูปแบบดังกล่าว สร้างบัญชี LINE ปลอม จากลิงก์ที่ส่ง: เมื่อผู้ใช้คลิกลิงก์ที่แนบมากับ SMS ก็จะปรากฏเป็นบัญชี LINE ที่ใช้ชื่อว่า “K Bank Connect” และส่งข้อความแอบอ้างเป็นหนักงานของทางธนาคาร หลอกล่อให้ผู้ใช้คลิกเข้าลิงก์ปลอมเพื่อดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน หลอกล่อให้กดดาวน์โหลดแอปในลิงก์ปลอม: ลิงก์ที่มิจฉาชีพอ้างว่าเป็นลิงก์ดาวน์โหลดแอปพลิเคชันของทางธนาคาร อาจจะเป็นซอฟต์แวร์ที่เป็นอันตรายที่สามารถควบคุมอุปกรณ์ของเหยื่อได้ หรือมีการหลอกให้ตั้งรหัสผ่าน 6 หลัก จำนวนหลายๆ […]

Continue Reading

Scam Alert! ระวัง SMS แอบอ้างจัดส่งพัสดุไม่สำเร็จ

ในยุคที่วิถีชีวิตของผู้คนเข้าสู่ความเป็นดิจิทัลมากขึ้น การจับจ่ายซื้อของผ่านช่องทางออนไลน์กลายเป็นเรื่องปกติและได้รับความนิยมแพร่หลาย และเนื่องจากมีการจัดส่งพัสดุมากยิ่งขึ้น เหล่ามิจฉาชีพจึงฉกฉวยโอกาสนี้ปรับกลโกงของตนเพื่อเอาเปรียบผู้บริโภคที่ตกเป็นเหยื่อ โดยล่าสุดเราพบว่าการหลอกลวงประเภทหนึ่งที่แพร่หลายคือแอบอ้างเป็นผู้ให้บริการจัดส่งพัสดุ โดยส่งข้อความ SMS โดยอ้างว่าการจัดส่งพัสดุไม่สำเร็จ โพสต์บนโซเชียลมีเดีย ล่าสุด เราพบผู้ใช้ X (Twitter) โพสต์ SMS ที่ระบุว่าเป็นข้อความจากบริษัทจัดส่งพัสดุ Flash Express โดยข้อความระบุว่าจัดส่งพัสดุไม่สำเร็จ พร้อมแนบลิงก์เพื่อให้กดยืนยันจัดส่งพัสดุ โดยโพสต์ดังกล่าวบนแพลตฟอร์ม X มีการรับชมไปกว่า 2.4 ล้านครั้ง ที่มา | ลิงก์ถาวร นอกจากนี้ เราพบว่ามีผู้ใช้โซเชียลหลายรายที่ได้รับข้อความลักษณะเดียวกัน รวมถึงมีผู้ตกเป็นเหยื่อและสูญเสียเงินจากการกดลิงก์ดังกล่าว ที่มา | ลิงก์ถาวร Flash Express ประกาศเตือนมิจฉาชีพแอบอ้างชื่อบริษัท สืบเนื่องจากเหตุการณ์ SMS ปลอมระบาดในลักษณะดังกล่าว บริษัท Flash Express จึงออกมาเตือนภัยผ่านเพจ Facebook ของทางบริษัท โดยชี้แจงว่า ขณะนี้มีมิจฉาชีพอ้างชื่อ “แฟลช เอ็กซ์เพรส” ในการหลอกลวงให้ผู้รับ SMS กดลิงก์เพื่อเคลมพัสดุเสียหายหรือยืนยันพัสดุจัดส่ง และรวมไปถึงกลโกงต่างๆ ทั้งการปลอมแปลงเป็นเจ้าหน้าที่บริษัทพูดคุยหลอกลวงให้โหลดแอปพลิเคชัน […]

Continue Reading

ตรวจสอบข้อเท็จจริงเบื้องหลังวิดีโอพื้นกระเบื้องระเบิดที่เป็นไวรัล

เมื่อไม่นานมานี้ ภาพวิดีโอจากกล้องวงจรปิดของพื้นกระเบื้องที่ระเบิดและแตกกระจายเอง ได้รับความสนใจเป็นอย่างมากบนโซเชียลมีเดีย โดยวิดีโอดังกล่าวมีการรับชมไปกว่าหลายล้านครั้ง โพสต์บนโซเชียลมีเดีย ผู้ใช้แพลตฟอร์ม X (Twitter) ได้โพสต์วิดีโอดังกล่าวพร้อมข้อความในโพสต์ว่า ”เกิดอะไรขึ้น ใครอธิบายได้บ้าง” ที่มา | ลิงก์ถาวร โดยล่าสุดวิดีโอดังกล่าวมีการรับชมไปแล้วกว่า 6 ล้านครั้ง นอกจากนี้เรายังพบว่าวิดีโอเดียวกันนี้แพร่กระจายในผู้ใช้ X ในต่างประเทศ (ลิงก์ถาวร) รวมถึงบนแพลตฟอร์ม TikTok ด้วยเช่นเดียวกัน (ลิงก์ถาวร) ตรวจสอบที่มาของวิดีโอ เราได้ดำเนินการตรวจสอบโดยใช้ฟีเจอร์การค้นหารูปภาพแบบย้อนกลับ (Reverse Image Search) และพบว่าวิดีโอดังกล่าวมีที่มาจากกลุ่ม Facebook “Singapore Home DIY” โดยโพสต์ในวันที่ 8 ตุลาคม 2023 ซึ่งเป็นวันเดียวกับเวลาที่ระบุภายในฟุตเทจกล้องวงจรปิดดังกล่าว เจ้าของวิดีโอได้โพสต์คลิปพร้อมสอบถามสมาชิกในกลุ่มว่า “เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นที่ห้องนั่งเล่นบ้านผมเมื่อบ่ายวันนี้ คงจะซ่อมเองไม่ไหวใช่ไหมครับ? ที่มา | ลิงก์ถาวร โดยสมาชิกในกลุ่มได้เข้ามาให้ความรู้และคำแนะนำมากมาย เช่น “แฟลตเมื่อ 30 ปีก่อนไม่มีปัญหาเรื่องพื้นระเบิดแบบนี้นัก แฟลตสมัยใหม่ใช้วัสดุคุณภาพลดลงมาก”, “คุณควรแจ้งไปทางหน่วยการเคหะแห่งชาติ (HDB) นะ”, […]

Continue Reading