ข่าวลือว่า OpenAI จะเปิดตัวโมเดล AI “Orion” AI ในเดือนธันวาคมนี้ ไม่เป็นความจริง

เมื่อเร็วๆ นี้ มีข่าวลือว่า OpenAI จะเปิดตัวโมเดล AI ใหม่ที่ชื่อว่า “Orion” ในเดือนธันวาคมปี 2024 โดยแพร่กระจายอย่างรวดเร็วในโซเชียลมีเดียและสำนักข่าวออนไลน์ต่างๆ โดยมีการคาดการณ์เกี่ยวกับฟังก์ชันการทำงานใหม่ๆ ไปจนถึงการแข่งขันกับเทคโนโลยี AI จากคู่แข่งรายอื่นๆ ข้อกล่าวอ้างในโซเชียลมีเดีย มีเว็บไซต์สื่อด้านเทคโนโลยีหลายแห่ง เช่น The Verge, WCCFtech และ Tom’s Hardware ได้รายงานเกี่ยวกับโมเดล “Orion” ที่อ้างว่า OpenAI เตรียมเปิดตัวโมเดลรุ่นใหม่ที่ชื่อว่า “Orion” ภายในเดือนธันวาคม ซึ่งข่าวนี้ทำให้เกิดการคาดเดาเกี่ยวกับศักยภาพของโมเดลนี้ โดยมีการคาดการณ์ว่า “Orion” อาจเป็นโมเดลรุ่นถัดไปที่มีคุณสมบัติเทียบเคียงกับ GPT-5 ซึ่งเป็นสิ่งที่สร้างความตื่นเต้นและข้อถกเถียงในหมู่ชุมชนผู้ใช้ AI Source | Archive Source | Archive Source | Archive ข้อกล่าวอ้างนี้ยังแพร่กระจายอย่างเป็นวงกว้างใน Facebook อีกด้วย Source | Archive Source | […]

Continue Reading

โพรไบโอติกรักษามะเร็งได้จริงหรือไม่?

โพรไบโอติก (Probiotic) เป็นจุลินทรีย์มีชีวิตที่พบได้ในอาหารเสริมหรืออาหารหมักดอง กำลังเป็นที่นิยมในหมู่ผู้ใส่ใจสุขภาพ เนื่องจากมีประโยชน์ต่อระบบทางเดินอาหาร อย่างไรก็ตาม เมื่อเร็วๆ นี้ มีข้อความที่อ้างว่าโพรไบโอติกสามารถช่วยรักษาโรคมะเร็งได้ โพสต์บนโซเชียลมีเดีย มีข้อความแพร่กระจายบนโซเชียลมีเดีย โดยเฉพาะบนแพลตฟอร์ม Facebook ระบุว่ามีผู้เชี่ยวชาญที่ทำวิจัยและได้คิดค้นวิธีรักษามะเร็งโดยใช้โพรไบโอติก ที่มา | ลิงก์ถาวร ตรวจสอบข้อเท็จจริง เราได้ตรวจสอบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับข้อกล่าวอ้างที่ระบุว่า ดร.บรรยง ค้นพบวิธีรักษามะเร็งนั้น เราพบข่าวเกี่ยวกับบุคคลดังกล่าว โดยมีรายงานข่าวว่า นายบรรยง นัยเดช เคยมีประวัติถูกจับกุมในข้อหาลักลอบผลิตยาและอาหารเสริมโดยไม่ได้รับอนุญาต พร้อมเปิดคลินิกรักษาโรคผิดกฎหมาย โดยนายบรรยงเคยเป็นเจ้าของธุรกิจร้านอาหารและบริษัททัวร์ชื่อดังในจังหวัด ก่อนหันมาทำธุรกิจยาและอาหารเสริม (ที่มา) ดังนั้น ข้อกล่าวอ้างข้างต้นจึงเป็นข้อมูลเท็จและหลอกลวง นอกจากนี้ องค์การอาหารและยา ยังเผยแพร่บทความชี้แจงเกี่ยวกับข้อกล่าวอ้างดังกล่าว โดย เภสัชกรวีระชัย นลวชัย รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา เตือนว่ามีการเผยแพร่ข่าวปลอมเกี่ยวกับการรักษามะเร็งด้วยโพรไบโอติกทางออนไลน์ ข้อกล่าวอ้างเหล่านี้ไม่มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์รองรับ โพรไบโอติกเป็นเพียงจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ต่อระบบย่อยอาหาร ไม่สามารถรักษาโรคมะเร็งได้ การเชื่อข้อมูลที่ไม่ถูกต้องอาจทำให้ผู้ป่วยละเลยการรักษาที่เหมาะสมและเสี่ยงอันตราย นอกจากนี้ ยังมีข่าวปลอมเกี่ยวกับการรักษามะเร็งด้วยน้ำต้มสมุนไพรจีน ซึ่งก็ไม่เป็นความจริง ผู้ป่วยโรคมะเร็งควรปรึกษาแพทย์ก่อนใช้วิธีการรักษาเสริมใดๆ (ที่มา) อย่างไรก็ตาม โพรไบโอติกถือเป็นสารอาหารที่เป็นที่ยอมรับว่ามีประโยชน์ต่อร่างกายจริง แต่แม้ว่าโพรไบโอติกจะมีประโยชน์ต่อสุขภาพหลายประการ โดยเฉพาะกับการรักษาสมดุลในลำไส้ แต่ยังไม่มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ที่ยืนยันว่าโพรไบโอติกสามารถรักษามะเร็งได้จริง มะเร็งเป็นกลุ่มโรคที่ซับซ้อนซึ่งเกิดจากการเจริญเติบโตของเซลล์ที่ไม่สามารถควบคุมได้ […]

Continue Reading

วิดีโอ “ปลางวงช้าง” ที่เป็นไวรัล สร้างขึ้นโดยใช้จาก AI

เมื่อเร็วๆ นี้ มีวิดีโอไวรัลของปลาชนิดหนึ่งที่กำลังเป็นกระแสบนโลกออนไลน์ ซึ่งมีลักษณะประหลาด โดยมีส่วนหัวที่ดูเหมือนเขาหรือส่วนงวง สร้างความสงสัยแก่ผู้คนว่าเป็นภาพของปลาจริงหรือภาพที่ถูกสร้างขึ้นโดยปัญญาประดิษฐ์ (AI) โพสต์บนโซเชียลมีเดีย เราได้รับเบาะแสผ่านทาง LINE ตรวจสอบข้อเท็จจริงของเรา โดยวิดีโอดังกล่าวได้มีการส่งต่อกันอย่างแพร่หลายบนแพลตฟอร์ม LINE พร้อมข้อความว่า “หาดูไม่ง่าย “กุญชรวารี” (ช้างน้ำ ตัวท่อนบนเป็นช้าง ท่อนล่างเป็นปลา..สัตว์หิมพานต์) ปรากฏให้เห็นจริงๆแล้ว…” นอกจากนี้ เรายังพบวิดีโอดังกล่าวพร่กระจายบนแพลตฟอร์ม Facebook เช่นเดียวกัน โดยผู้ใช้บางส่วนได้ระบุว่าปลาชนิดดังกล่าวคือ “ปลางวงช้าง” ที่มา | ลิงก์ถาวร ที่มา | ลิงก์ถาวร ตรวจสอบข้อเท็จจริง จากการตรวจสอบด้วยเครื่องมือค้นหาภาพกลับ (Reverse Image Search) ไม่มีผลการค้นหาที่เชื่อมโยงภาพนี้กับแหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ หรือแสดงให้เห็นว่าปลาเหล่านี้เป็นชนิดปลาที่มีอยู่จริง การตรวจสอบฐานข้อมูลปลาที่น่าเชื่อถือ เช่น FishBase ก็ไม่พบข้อมูลที่สอดคล้องกับภาพปลาเหล่านี้ ทำให้เราเชื่อว่าภาพเหล่านี้อาจไม่ใช่ของจริง นอกจากนี้ ยังไม่พบรายงานข่าวการค้นพบปลาลักษณะดังกล่าวจากแหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ หรือรูปภาพปลาชนิดดังกล่าวในแหล่งที่มาอื่นๆ แต่อย่างใด และเราได้ลองใช้เครื่องมือตรวจจับรูปภาพและวิดีโอที่สร้างโดย AI เช่น HiveModeration และ HuggingFace โดยได้ผลลัพธ์ตรงกันว่ามีความเป็นไปได้สูงว่าวิดีโอดังกล่าวจะสร้างขึ้นโดยใช้ […]

Continue Reading

ข้อกล่าวอ้างว่าสื่อจีนวิจารณ์นายกรัฐมนตรีไทยคนใหม่อย่างรุนแรง ไม่เป็นความจริง

เมื่อเร็วๆ นี้ มีการแชร์ภาพหนังสือพิมพ์ภาษาจีนพร้อมข้อความอ้างว่า สื่อจีนได้วิจารณ์การเลือกนายกรัฐมนตรีคนใหม่ของไทยอย่างรุนแรง โดยระบุว่านายกรัฐมนตรีคนใหม่ “ไร้ประสบการณ์ ไร้ความสามารถและไร้ซึ่งบารมี” เราได้ทำการตรวจสอบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับข้อกล่าวอ้างนี้ โพสต์บนโซเชียลมีเดีย เมื่อวันที่ 7 ตุลาคมที่ผ่านมา มีผู้ใช้บนแพลตฟอร์ม X ได้แชร์ภาพหนังสือพิมพ์ภาษาจีนที่รายงานข่าวเกี่ยวกับนางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี พร้อมข้อความกำกับด้านล่างภาพว่า: “วันนี้นสพ.จีนซินหัว (ปักกิ่ง) บทวิเคราะห์การเมือง ไทย…..เขาแปลกใจรัฐบาลไทยวันนี้ เดินมาถึง จุดนี้ได้อย่างไร เหมือนหาผู้เล่นละคร อย่างไร อย่างนั้น ! ยิ่งได้ผู้นำระดับนายกรัฐมนตรี ซึ่งไร้ ประสบการณ์ ไร้ความสามารถและไร้ซึ่งบารมี จะ นำพาประเทศรอดหรือ ? สถานะการณ์โลกวันนี้ แตกต่างจากอดีตมาก และไม่แปลกใจที่ ประเทศไทย มีการพัฒนาประเทศที่ล้าหลังมาก ในกลุ่มอาเซียน นักการเมือง เห็นดีเห็นงามได้อย่างไร” ที่มา | ลิงก์ถาวร และเราพบข้อกล่าวอ้างเดียวกันแพร่กระจายบน Facebook ด้วยเช่นเดียวกัน ที่มา | ลิงก์ถาวร อย่างไรก็ตาม จากการตรวจสอบข้อเท็จจริง พบว่าข้อความดังกล่าวไม่เป็นความจริงแต่อย่างใด […]

Continue Reading

โรงงานเภสัชกรรมทหารผลิตยาอันตรายที่ทั่วโลกเลิกผลิต จริงหรือไม่?

เมื่อวันที่ 3 กันยายน นางสาวกัลยพัชร รจิตโรจน์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ระบบบัญชีรายชื่อ จากพรรคประชาชน ได้อภิปรายในการประชุมสภาผู้แทนราษฎรว่า โรงงานเภสัชกรรมทหารผลิตยาอันตราย 2 ชนิด คือ อัลปราโซแลม (ยาเสียตัว) และซูโดอีเฟดรีน (สารตั้งต้นยาเสพติด) ซึ่งน่าสงสัยและไม่โปร่งใส นอกจากนี้ ยังได้อภิปรายถึงกรณีที่มีแผนสร้างโรงงานใหม่ที่ราชบุรี งบ 938 ล้านบาท เพิ่มกำลังผลิตเป็น 600 ล้านเม็ดต่อปี คาดกำไร 50 ล้านบาทต่อปี น.ส.กัลยพัชรเสนอตัดงบประมาณ เนื่องจากไม่จำเป็น และไม่ใช่ภารกิจหลักของกองทัพ (ที่มา) โดยการอภิปรายดังกล่าวได้รับความสนใจอย่างมาก โดยมีผู้ใช้แพลตฟอร์ม X ได้แชร์การอภิปรายดังกล่าวพร้อมข้อความว่า “ความรู้ใหม่เลย ว่าบริษัทยาของทหารผลิตยาตัวนี้ ซึ่งอาจใช้เป็นสารตั้งต้นยาเสพติดได้ ซึ่งทั่วโลกเขาเลิกผลิตไปแล้ว แต่..…” และโพสต์ดังกล่าวมีการรับชมบนแพลตฟอร์มไปกว่า 3.3 ล้านครั้ง ที่มา | ลิงก์ถาวร นอกจากนี้ จากการอภิปรายครั้งนี้ ทำให้ผู้ใช้โซเชียลมีเดียหลายรายเข้าใจผิดว่าโรงงานผลิตยาของทหารนี้ผลิตสารตั้งต้นยาเสพติด เพื่อเป็นแหล่งผลิตยาเสพติด รวมถึงเข้าใจว่ากองทัพต้องการยึดอำนาจในการผลิตยาไว้ ที่มา | […]

Continue Reading

ข้อความไวรัลว่าอาหาร GMO มีสารพิษอันตราย “เป็นข้อมูลเท็จ”

มีข้อความแพร่กระจายบนโซเชียลมีเดียเกี่ยวกับความปลอดภัยในการกินอาหารที่มีการดัดแปลงพันธุกรรม (GMO) โดยกล่าวว่าจะส่งผลต่อสุขภาพอย่างรุนแรง โดยข้อกล่าวอ้างดังกล่าวได้แพร่กระจายอย่างกว้างขวาง โพสต์บนโซเชียลมีเดีย เราได้รับเบาะแสผ่านช่องทาง LINE ตรวจสอบข้อเท็จจริงของเรา โดยมีข้อความที่แพร่กระจายบนแพลตฟอร์ม LINE ที่ระบุว่า อาหารดัดแปลงพันธุกรรมเป็นอันตรายต่อสุขภาพ และไม่ควรกินโดยเด็ดขาด โดนเราพบข้อความดังกล่าวแพร่กระจายบน Facebook ด้วยเช่นเดียวกัน ที่มา | ลิงก์ถาวร ที่มา | ลิงก์ถาวร พบข้อมูลน่าสงสัย? ส่งให้เราตรวจสอบได้ที่นี่ ตรวจสอบข้อเท็จจริง ดุจเดือน ศศะนาวิน เลขาธิการสำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ ได้อธิบายประเด็นดังกล่าวกับศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ สำนักข่าวไทย โดยระบุว่าตัวเลขในบาร์โค้ด หรือรหัส PLU (Proce Lookup Code) เป็นรหัสสำหรับเช็กสต๊อกและกำหนดราคาสินค้า ไม่ใช่รหัสที่บ่งบอกว่าเป็นสินค้า GMO แต่อย่างใด  นอกจากนี้ยังได้อธิบายเพิ่มเติมว่า ข้อกังวลเกี่ยวกับสินค้า GMO ไม่ใช่เรื่องความปลอดภัยในการบริโภค แต่เป็นประเด็นเรื่องสิ่งแวดล้อมมากกว่า เนื่องจากผักหรือผลไม้ที่มีการดัดแปลงพันธุกรรมอาจมีการเจริญเติบโตที่รวดเร็วกว่าแบบธรรมชาติ และอาจส่งผลต่อสิ่งแวดล้อมได้ นอกจากนี้ ดร. เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์ นักสื่อสารวิทยาศาสตร์และอาจารย์ประจำภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ออกมาอธิบายเกี่ยวกับประเด็นที่มีการระบุว่าอาหาร […]

Continue Reading

ข้าวเบญจรงค์ไม่ได้ใช้ข้าว 10 ปีที่รัฐบาลเปิดประมูล

มีข้อความแพร่กระจายบนโซเชียลมีเดียที่ระบุว่า ข้าวเบญจรงค์ที่มีการเพิ่มปริมาณขึ้นและวางจำหน่ายในท้องตลาดขณะนี้ เป็นการนำข้าว 10 ปี ที่รัฐบาลนำมาเปิดประมูลเมื่อเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา ข้อกล่าวอ้างบนโซเชียลมีเดีย เมื่อเร็วๆ นี้ เราพบข้อความแพร่กระจายบนแพลตฟอร์ม Facebook และ LINE ระบุว่า: “ผมไปซื้อข้าวถุงยี่ห้อเบญจรงค์จากแมคโครเมื่อกี้ (23 สค. 67 เวลาประมาณ 10.00น.) มีข้าวถุงยี่ห้อนี้ขนาด 5 กก. (เพิ่งวางขายที่มีปริมาณแถมเพิ่ม 250 กรัม) แต่พอเอามาพิจารณาดูเมล็ดข้าวจะมีเมล็ดที่มีสีเหลืองๆ ปนอยู่มาก เมื่อยกไปเทียบกับข้าวถุงรุ่นเดิมที่ไม่แถมปริมาณเพิ่ม จะเห็นความแตกต่างของสีเมล็ดข้าวชัดเจน สงสัยว่าจะมีการเอาข้าวสิบปีมาปนขายหรือเปล่า ทุกท่านโปรดสังเกตและระมัดระวังด้วยนะครับ บริษัทข้าวเบญจรงค์ได้โควตาข้าว 10 ปีจะซื้อมาบริโภคก็สังเกตกันให้ดีๆ ค่ะ” ที่มา | ลิงก์ถาวร ที่มา | ลิงก์ถาวร ที่มา | ลิงก์ถาวร โดยข้อกล่าวอ้างดังกล่าวได้แพร่กระจายเป็นวงกว้างบนโซเชียลมีเดีย เราจึงตัดสินใจตรวจสอบข้อเท็จจริงในประเด็นนี้ ตรวจสอบข้อเท็จจริง แถลงการณ์จากข้าวเบญจรงค์: เมื่อวันที่ 27 สิงหาคม บริษัท เอเชีย อินเตอร์ […]

Continue Reading

การระบาดของเอ็มพ็อกซ์ “ไม่มีความเกี่ยวข้อง” กับงูสวัดหรือวัคซีนโควิด-19

Mpox (เอ็มพ็อกซ์) หรือชื่อเดิมคือ ฝีดาษลิง (Monkeypox) ได้กลายมาเป็นปัญหาด้านสาธารณสุขที่ควรให้ความสำคัญ โดยเมื่อวันที่ 14 สิงหาคมที่ผ่านมา ผู้อำนวยการใหญ่องค์การอนามัยโลก (WHO) ได้ประกาศให้การระบาดของเชื้อไวรัสเอ็มพ็อกซ์เป็นภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุขระหว่างประเทศ เนื่องมาจากการระบาดที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว (ที่มา) และท่ามกลางสถานการณ์ที่น่ากังวลนี้ เราพบข้อกล่าวอ้างแพร่กระจายบนแพลตฟอร์มออนไลน์ที่ระบุว่าเชื้อไวรัสเอ็มพ็อกซ์ที่ระบาดในระลอกล่าสุดนี้ แท้จริงแล้วคืออาการงูสวัดที่เป็นผลข้างเคียงจากการฉีดวัตซีนป้องกันโควิด-19 โพสต์บนโซเชียลมีเดีย เมื่อเร็วๆ นี้ มีผู้ใช้โซเชียลมีเดียหลายรายได้โพสต์ข้อความที่อ้างว่าไวรัสเอ็มพ็อกซ์ หรือชื่อเดิมคือฝีดาษลิง นั้นคือโรคงูสวัดที่เป็นผลข้างเคียงมาจากการฉีดวัคซีนโควิด-19 โดยข้อความดังกล่าวมีการแพร่กระจายอย่างกว้างขวางทั้งบนแพลตฟอร์ม Facebook และ X Source | Archive Source | Archive Source | Archive Source | Archive ตรวจสอบข้อเท็จจริง ทีมงาน Fact Crescendo ได้ติดต่อไปยังสำนักงานขององค์การอนามัยโลก (WHO) ในประเทศไทยเกี่ยวกับเรื่องนี้ โดยสำนักงานของ WHO ได้ชี้แจงว่า: “การระบาดของไวรัสเอ็มพ็อกซ์ในระลอกล่าสุดไม่ได้เกิดจากโรคงูสวัดหรือผลข้างเคียงของวัคซีนโควิด-19 เอ็มพ็อกซ์เป็นโรคที่เกิดจากไวรัส Monkeypox virus ซึ่งเป็นสปีชีส์หนึ่งในสกุล Orthopoxvirus […]

Continue Reading

WHO ไม่ได้แนะนำให้มีการล็อกดาวน์เพื่อป้องกัน Mpox

เมื่อวันที่ 20 สิงหาคมที่ผ่านมา องค์การอนามัยโลก (WHO) ได้ประกาศภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุขเนื่องจากการระบาดของไวรัส Mpox โดยการแพร่ระบาดครั้งล่าสุดมาจากสายพันธุ์ใหม่ที่เรียกว่าสายพันธุ์ Clade I โดยการประกาศภาวะฉุกเฉินของ WHO ในครั้งนี้มีจุดประสงค์ในการสร้างการตระหนักรู้และกระตุ้นให้นานาชาติดำเนินการป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของไวรัสนี้ (ที่มา) และในขณะเดียวกัน เราพบข้อกล่าวอ้างแพร่กระจายบนโซเชียลมีเดียที่ระบุว่า WHO ได้ขอให้รัฐบาลในประเทศต่างๆ เตรียมตัวสำหรับ “การล็อกดาวน์ครั้งใหญ่” เนื่องจากการระบาดของไวรัส Mpox โพสต์บนโซเชียลมีเดีย เมื่อไม่นานนี้ ผู้ใช้โซเชียลมีเดียหลายรายได้แชร์ข้อความที่อ้างว่า WHO ประกาศว่ารัฐบาลควรเตรียมพร้อมรับมือกับ “การล็อกดาวน์ครั้งใหญ่” เนื่องจากการแพร่ระบาดของไวรัส Mpox โดยข้อความดังกล่าวถูกแชร์ในแพลตฟอร์มต่างๆ เช่น Facebook และ X Source | Archive Source | Archive Source | Archive ตรวจสอบข้อเท็จจริง จากการตรวจสอบ เราพบว่า WHO ยังไม่ได้ออกประกาศใดๆ เกี่ยวกับการเตรียมการล็อกดาวน์ในปัจจุบัน แม้ว่า WHO จะประกาศให้ Mpox เป็นภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุขที่มีความน่ากังวลในระดับนานาชาติ […]

Continue Reading

แพทองธาร ยืนยัน ไม่ได้มีการสั่งยกเลิกดิจิทัลวอลเล็ต

เมื่อวันที่ 14 สิงหาคมที่ผ่านมา ศาลรัฐธรรมนูญตัดสินให้นายเศรษฐา ทวีสิน พ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี และถัดมาในวันที่ 16 มีการเสนอชื่อและโหวตเห็นชอบให้นางสาวแพทองธาร ชินวัตร ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 31 ของประเทศไทย โดยท่ามกลางกระแสข่าวนายกฯ คนใหม่ และการจับตามองถึงการจัดตั้งคณะรัฐมนตรีชุดใหม่ ก็มีข่าวแพร่กระจายบนโซเชียลมีเดียเกี่ยวกับการยกเลิกนโยบายดิจิทัลวอลเล็ต ซึ่งเป็นนโยบายในรัฐบาลของนายเศรษฐา โพสต์บนโซเชียลมีเดีย เมื่อช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา มีข้อกล่าวอ้างแพร่กระจายบนแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดีย ที่ระบุว่า นายทักษิณ ชินวัตร สั่งยกเลิกโครงการดิจิทัลวอลเล็ต ที่มา | ลิงก์ถาวร ที่มา | ลิงก์ถาวร นอกจากนี้ยังมีข้อกล่าวอ้างที่ระบุว่า นางสาวแพทองธาร ชินวัตร จะยกเลิกโครงการดิจิทัลวอลเล็ต และจะเปลี่ยนมาแจกเงินสดแทน ที่มา | ลิงก์ถาวร ที่มา | ลิงก์ถาวร ตรวจสอบข้อเท็จจริง เมื่อวันที่ 18 สิงหาคม นางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ได้ตอบคำถามสื่อมวลชนหลังจากเข้ารับพระราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรี โดยได้ตอบคำถามกรณีว่า นายทักษิณ สั่งให้ยุติโครงการดิจิทัล วอลเล็ต […]

Continue Reading