Wednesday, May 28, 2025

FACT CHECKS

ข้อความไวรัลว่าโควิด-19 เกิดจากแบคทีเรีย “เป็นข้อมูลเท็จ”

เมื่อเร็วๆ มีข้อความที่กำลังแพร่กระจายในโซเชียลมีเดียโดยที่อ้างว่าสิงคโปร์ค้นพบว่าโควิด-19 เกิดจากแบคทีเรียไม่ใช่ไวรัส ซึ่งยังอ้างว่าสาเหตุหลักของการเสียชีวิตจากโควิด-19 นั้นมาจากลิ่มเลือดอุดตัน เมื่อตัวเลขผู้ติดเชื้อโควิดเพิ่มสูงขึ้นในช่วงเดือนที่ผ่าน ข้อความนี้ก็กลับมาแพร่กระจายอย่างกว้างขวางอีกครั้ง โพสต์บนโซเชียลมีเดีย มีข้อความหนึ่งแพร่กระจายบนโซเชียลมีเดียเกี่ยวกับ COVID-19 ที่อ้างว่า แพทย์ในสิงคโปร์ค้นพบว่าองค์การอนามัยโลก (WHO) ได้วางแผนสมคบคิดเพื่อหลอกลวงผู้คนเกี่ยวกับโรคนี้และแนวทางการรักษา ข้อความยังอ้างเพิ่มเติมว่า กระทรวงสาธารณสุขของสิงคโปร์ได้ค้นพบวิธีรักษาไวรัสแล้ว และยังอ้างอีกว่า ไวรัสโคโรนาไม่ใช่ไวรัส แต่เป็นแบคทีเรีย และสามารถรักษาโควิดได้ด้วยยาปฏิชีวนะ นอกจากนี้ยังกล่าวว่า สาเหตุหลักของการเสียชีวิตจากโควิดคือการเกิดลิ่มเลือด (thrombosis) หรือภาวะเลือดแข็งตัวในหลอดเลือด ข้อความยังระบุอีกว่า ไม่จำเป็นต้องใช้ห้อง ICU หรือเครื่องช่วยหายใจในการรักษาผู้ป่วยโควิด และกล่าวว่ากระทรวงสาธารณสุขของสิงคโปร์ได้เปลี่ยนแนวทางการรักษา โดยให้ผู้ป่วยโควิดรับประทานแอสไพริน ที่มา | ลิงก์ถาวร ตรวจสอบข้อเท็จจริง จากการตรวจสอบพบว่า ข้อความดังกล่าวเป็นข้อความเท็จที่มีการแพร่กระจายมาตั้งแต่ปี 2021 และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมถึงรัฐบาลสิงคโปร์ก็ได้ออกมาชี้แจงในกรณีดังกล่าวแล้ว และ Fact Crescendo ได้ตรวจสอบข้อกล่าวอ้างนี้ในเวอร์ชั้นภาษาอังกฤษที่แพร่กระจายเมื่อปี 2021 ไว้ที่นี่ ข้อกล่าวอ้างที่ 1: สิงคโปร์ทำการชันสูตรศพผู้เสียชีวิตจากโควิด กระทรวงสาธารณสุขสิงคโปร์ได้ชี้แจงผ่านเพจ Facebook อย่างเป็นทางการว่า ประเทศไม่ได้ทำการชันสูตรศพผู้เสียชีวิตจากโควิดเลย และข้อมูลที่อยู่ในข้อความดังกล่าวไม่มีมูลความจริงทางวิทยาศาสตร์ โพสต์บน Facebook […]

Political

จดหมายไวรัลที่อ้างว่าเป็นข้อความจาก ปธน. เม็กซิโก ถึงทรัมป์และมัสก์ เป็นของปลอม

เมื่อไม่นานมานี้ มีโพสต์บนโซเชียลมีเดียแพร่กระจายอย่างกว้างขวาง โดยอ้างว่าเป็นจดหมายจากประธานาธิบดีเม็กซิโก คลอเดีย เซนบาม (Claudia Sheinbaum) ที่ส่งถึงโดนัลด์ ทรัมป์ และอีลอน มัสก์ เกี่ยวกับนโยบายสร้างกำแพงชายแดน จดหมายฉบับนี้มีเนื้อหาเสียดสีเกี่ยวกับภูมิประเทศของสหรัฐฯ และยังขู่ถึงการคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจในระดับโลก จนกลายเป็นกระแสไวรัลบนแพลตฟอร์มต่างๆ โพสต์บนโซเชียลมีเดีย จดหมายไวรัลฉบับนี้เริ่มปรากฏบนโลกออนไลน์ช่วงต้นปี 2025 โดยอ้างว่าเป็นแถลงการณ์อย่างเป็นทางการจากประธานาธิบดีเซนบาม เพื่อตอบโต้นโยบายใหม่เรื่องชายแดนของทรัมป์ ซึ่งประกาศเมื่อวันที่ 20 มกราคม 2025 จดหมายดังกล่าวกล่าวถึงโครงการสร้างกำแพงกั้นพรมแดน พร้อมอ้างว่าอีลอน มัสก์ มีส่วนร่วมในโครงการนี้ร่วมกับรัฐบาลของทรัมป์ พร้อมทั้งอธิบายถึงผลกระทบทางเศรษฐกิจที่อาจตามมา และลงท้ายด้วยชื่อของประธานาธิบดีเม็กซิโกที่เข้ารับตำแหน่งตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2024 ที่มา | ลิงก์ถาวร ที่มา | ลิงก์ถาวร การตรวจสอบข้อเท็จจริง จากการตรวจสอบของเรา พบว่าไม่มีบันทึกอย่างเป็นทางการใด ๆ ที่แสดงว่า คลอเดีย เซนบาม เขียนหรือส่งจดหมายฉบับนี้ถึงทรัมป์และมัสก์ในปี 2025 แต่อย่างใด เมื่อตรวจสอบบัญชีโซเชียลมีเดียอย่างเป็นทางการของเซนบาม เว็บไซต์รัฐบาลเม็กซิโก รวมถึงบันทึกคำแถลงข่าวรายวันระหว่างเดือนมกราคมถึงเมษายน 2025 ก็ไม่ปรากฏข้อความหรือเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับจดหมายฉบับดังกล่าวเลย ที่มาของข้อความ […]

ไทยขายไฟให้เมียนมาหน่วยละ 1.80 บาทจริงหรือ?

เมื่อเร็วๆ นี้ มีข้อความแพร่กระจายอย่างแพร่หลาย โดยระบุว่า ไทยขายไฟฟ้าให้เมียนมาในราคาถูกกว่าที่ขายให้ประชาชนไทย โดยอ้างว่า PEA จำหน่ายไฟฟ้าให้เมียนมาในราคาต่ำเพียง 1.80 บาทต่อหน่วย ขณะที่คนไทยต้องจ่ายสูงถึง 4.18 บาทต่อหน่วย ข้อกล่าวอ้างบนโซเชียลมีเดีย ผู้ใช้โซเชียลมีเดียหลายรายได้แชร์ข้อความว่า “ไทยขายไฟฟ้าให้ชายแดนเมียนมาในราคาหน่วยละ 1.80 บาท ในขณะที่ประชาชนไทยจ่ายค่าไฟ 4.18 บาทต่อหน่วย” โดยมีการแชร์ต่ออย่างกว้างขวาง ที่มา | ลิงก์ถาวร ที่มา | ลิงก์ถาวร นอกจากนี้ เรายังพบข้อกล่าวอ้างเดียวกันบนแพลตฟอร์ม X โดยล่าสุดมีการรับชมไปมากกว่าหนึ่งล้านครั้ง ที่มา | ลิงก์ถาวร อย่างไรก็ตาม เราพบว่าข้อความดังกล่าวไม่เป็นความจริงแต่อย่างใด ตรวจสอบข้อเท็จจริง ไทยขายไฟให้เมียนมาอย่างไร? การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (PEA) เป็นหน่วยงานหลักที่จำหน่ายไฟฟ้าให้กับ ผู้ได้รับสัมปทานจากรัฐบาลเมียนมา ซึ่งเป็นบริษัทเอกชนที่ได้รับสิทธิ์ในการขายไฟต่อให้กับประชาชนในพื้นที่ชายแดนเมียนมา จุดขายไฟฟ้าหลัก และบริษัทที่ได้รับสัมปทาน บ้านเจดีย์สามองค์ – เมืองพญาตองซู (รัฐมอญ) บ้านเหมืองแดง – เมืองท่าขี้เหล็ก (รัฐฉาน) สะพานมิตรภาพไทย […]

International

วิดีโอไวรัล ไม่ใช่ “เหลนของสมาชิกวง Bee Gees” ตามข้อกล่าวอ้าง

เมื่อไม่นานมานี้ มีวิดีโอหนึ่งที่อ้างว่าเป็น “เหลนของวง Bee Gees” ร้องเพลง How Deep Is Your Love? ของวง Bee Gees ซึ่งได้รับความสนใจอย่างมาก โดยมีความคิดเห็นหลากหลายตั้งแต่การชื่นชมไปจนถึงการตั้งข้อสงสัย โพสต์บนโซเชียลมีเดีย ผู้ใช้โซเชียลมีเดียหลายรายได้แชร์วิดีโอพร้อมข้อความว่า “แฝดสี่รุ่นเหลน ร้องเพลง Bee Gees” โดยมีการรับชมบนแพลตฟอร์ม TikTok ไปกว่าหนึ่งล้านครั้ง ที่มา | ลิงก์ถาวร การตรวจสอบข้อเท็จจริง เราเริ่มต้นการตรวจสอบข้อเท็จจริงด้วยการตรวจสอบหาที่มาของวิดีโอดังกล่าว และพบว่าผู้ที่แสดงในวิดีโอนี้คือ Ky Baldwin นักร้องและนักแสดงชาวออสเตรเลีย ซึ่งเขาเป็นผู้สร้างวิดีโอนี้ขึ้นมาเอง โดยใช้เทคนิคพิเศษ (Special Effects) ทำให้ดูเหมือนมีตัวเขาหลายคนร่วมแสดงพร้อมกัน Ky Baldwin เป็นที่รู้จักในเรื่องการสร้างวิดีโอในลักษณะนี้มาก่อน ตัวอย่างเช่น ในเดือนกรกฎาคม ปี 2023 เขาเคยทำวิดีโอคัฟเวอร์เพลง I Want It That Way ของวง Backstreet Boys […]

จดหมายไวรัลที่อ้างว่าเป็นข้อความจาก ปธน. เม็กซิโก ถึงทรัมป์และมัสก์ เป็นของปลอม

เมื่อไม่นานมานี้ มีโพสต์บนโซเชียลมีเดียแพร่กระจายอย่างกว้างขวาง โดยอ้างว่าเป็นจดหมายจากประธานาธิบดีเม็กซิโก คลอเดีย เซนบาม (Claudia Sheinbaum) ที่ส่งถึงโดนัลด์ ทรัมป์ และอีลอน มัสก์ เกี่ยวกับนโยบายสร้างกำแพงชายแดน จดหมายฉบับนี้มีเนื้อหาเสียดสีเกี่ยวกับภูมิประเทศของสหรัฐฯ และยังขู่ถึงการคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจในระดับโลก จนกลายเป็นกระแสไวรัลบนแพลตฟอร์มต่างๆ โพสต์บนโซเชียลมีเดีย จดหมายไวรัลฉบับนี้เริ่มปรากฏบนโลกออนไลน์ช่วงต้นปี 2025 โดยอ้างว่าเป็นแถลงการณ์อย่างเป็นทางการจากประธานาธิบดีเซนบาม เพื่อตอบโต้นโยบายใหม่เรื่องชายแดนของทรัมป์ ซึ่งประกาศเมื่อวันที่ 20 มกราคม 2025 จดหมายดังกล่าวกล่าวถึงโครงการสร้างกำแพงกั้นพรมแดน พร้อมอ้างว่าอีลอน มัสก์ มีส่วนร่วมในโครงการนี้ร่วมกับรัฐบาลของทรัมป์ พร้อมทั้งอธิบายถึงผลกระทบทางเศรษฐกิจที่อาจตามมา และลงท้ายด้วยชื่อของประธานาธิบดีเม็กซิโกที่เข้ารับตำแหน่งตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2024 ที่มา | ลิงก์ถาวร ที่มา | ลิงก์ถาวร การตรวจสอบข้อเท็จจริง จากการตรวจสอบของเรา พบว่าไม่มีบันทึกอย่างเป็นทางการใด ๆ ที่แสดงว่า คลอเดีย เซนบาม เขียนหรือส่งจดหมายฉบับนี้ถึงทรัมป์และมัสก์ในปี 2025 แต่อย่างใด เมื่อตรวจสอบบัญชีโซเชียลมีเดียอย่างเป็นทางการของเซนบาม เว็บไซต์รัฐบาลเม็กซิโก รวมถึงบันทึกคำแถลงข่าวรายวันระหว่างเดือนมกราคมถึงเมษายน 2025 ก็ไม่ปรากฏข้อความหรือเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับจดหมายฉบับดังกล่าวเลย ที่มาของข้อความ […]

วิดีโอไวรัลเหตุการณ์หลังแผ่นดินไหวที่เมียนมา แท้จริงแล้วที่สร้างด้วย AI

เมื่อช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา วิดีโอที่อ้างว่าแสดงถึงภาพเหตุการณ์หลังแผ่นดินไหวรุนแรงในประเทศเมียนมาร์ได้แพร่กระจายอย่างกว้างขวางบนแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดีย โดยวิดีโอดังกล่าวแสดงภาพที่ถ่ายจากมุมสูง เผยให้เห็นเจดีย์สององค์ที่อยู่ท่ามกลางซากปรักหักพัง รายล้อมด้วยอาคารที่ตั้งอยู่ระหว่างถนนสองสาย โดยวิดีโอดังกล่าวได้รับความสนใจและถูกแชร์ออกไปพร้อมข้อความแสดงความเสียใจและความกังวลต่อเหตุการณ์ดังกล่าวอย่างเป็นวงกว้าง โพสต์บนโซเชียลมีเดีย ผู้ใช้โซเชียลมีเดียได้แชร์วิดีโอที่อ้างว่าแสดงให้เห็นความเสียหายจากเหตุการณ์แผ่นดินไหวครั้งล่าสุดเมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2568 ซึ่งเป็นแผ่นดินไหวที่รุนแรงที่สุดในประวัติศาสตร์ของเมียนมาร์ คลิปวิดีโอพร้อมภาพจากวิดีโอนี้ได้แพร่กระจายอย่างรวดเร็วผ่านโซเชียลมีเดีย ที่มา | ลิงก์ถาวร ที่มา | ลิงก์ถาวร ตรวจสอบข้อเท็จจริง จากการตรวจสอบ เราพบหลายประเด็นที่บ่งชี้ว่าวิดีโอดังกล่าวไม่ได้มาจากเหตุการณ์จริง ดังนี้ ความไม่สอดคล้องทางภูมิศาสตร์ วิดีโอมีภาพเจดีย์สององค์ที่มีลักษณะคล้ายสถาปัตยกรรมยุคพุกาม แต่เมืองที่ได้รับผลกระทบหลักจากแผ่นดินไหวอย่างสะกายและมัณฑะเลย์ ไม่มีเจดีย์ลักษณะนี้ตั้งอยู่ในพื้นที่เมืองแบบที่ปรากฏในวิดีโอ ส่วนเมืองพุกามซึ่งมีชื่อเสียงด้านเจดีย์โบราณจำนวนมากนั้น ไม่ได้อยู่ในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบหนัก นอกจากนี้ ฉากหลังในวิดีโอก็ไม่ตรงกับภูมิทัศน์ของพุกาม วิดีโอเหตุการณ์เปรียบเทียบจาก INQUIRER.net ของเจดีย์ในมัณฑะเลย์หลังแผ่นดินไหว ไม่มีการรายงานจากสื่อท้องถิ่น จากการตรวจสอบ เราไม่พบวสำนักข่าวที่เชื่อถือได้ในภาษาพม่าที่รายงานเหตุการณ์แผ่นดินไหวครั้งนี้ ใช้วิดีโอนี้ในการรายงานแต่อย่างใด ซึ่งถือเป็นอีกเบาะแสว่าต้องมีการตรวจสอบที่มาของวิดีโอนี้เพิ่มเติม สัญญาณของการใช้ AI การวิเคราะห์ภาพ: เราใช้เครื่องมือวิเคราะห์และตรวจจับภาพที่สร้างโดยใช้ AI ตรวจสอบคีย์เฟรมจากวิดีโอดังกล่าว และได้ผลลัพธ์ว่าวิดีโอนี้มีความเป็นไปได้สูงที่จะถูกสร้างขึ้นด้วย AI ที่มา: Was it AI? ความยาวของวิดีโอ: วิดีโอยาวเพียง 6 วินาที […]

Follow us