โพรไบโอติกรักษามะเร็งได้จริงหรือไม่?

False Health

โพรไบโอติก (Probiotic) เป็นจุลินทรีย์มีชีวิตที่พบได้ในอาหารเสริมหรืออาหารหมักดอง กำลังเป็นที่นิยมในหมู่ผู้ใส่ใจสุขภาพ เนื่องจากมีประโยชน์ต่อระบบทางเดินอาหาร อย่างไรก็ตาม เมื่อเร็วๆ นี้ มีข้อความที่อ้างว่าโพรไบโอติกสามารถช่วยรักษาโรคมะเร็งได้

โพสต์บนโซเชียลมีเดีย

มีข้อความแพร่กระจายบนโซเชียลมีเดีย โดยเฉพาะบนแพลตฟอร์ม Facebook ระบุว่ามีผู้เชี่ยวชาญที่ทำวิจัยและได้คิดค้นวิธีรักษามะเร็งโดยใช้โพรไบโอติก

A screenshot of a computer

Description automatically generated

ที่มา | ลิงก์ถาวร

A screenshot of a social media post

Description automatically generated

ตรวจสอบข้อเท็จจริง

เราได้ตรวจสอบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับข้อกล่าวอ้างที่ระบุว่า ดร.บรรยง ค้นพบวิธีรักษามะเร็งนั้น เราพบข่าวเกี่ยวกับบุคคลดังกล่าว โดยมีรายงานข่าวว่า นายบรรยง นัยเดช เคยมีประวัติถูกจับกุมในข้อหาลักลอบผลิตยาและอาหารเสริมโดยไม่ได้รับอนุญาต พร้อมเปิดคลินิกรักษาโรคผิดกฎหมาย โดยนายบรรยงเคยเป็นเจ้าของธุรกิจร้านอาหารและบริษัททัวร์ชื่อดังในจังหวัด ก่อนหันมาทำธุรกิจยาและอาหารเสริม (ที่มา) ดังนั้น ข้อกล่าวอ้างข้างต้นจึงเป็นข้อมูลเท็จและหลอกลวง

นอกจากนี้ องค์การอาหารและยา ยังเผยแพร่บทความชี้แจงเกี่ยวกับข้อกล่าวอ้างดังกล่าว โดย เภสัชกรวีระชัย นลวชัย รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา เตือนว่ามีการเผยแพร่ข่าวปลอมเกี่ยวกับการรักษามะเร็งด้วยโพรไบโอติกทางออนไลน์ ข้อกล่าวอ้างเหล่านี้ไม่มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์รองรับ โพรไบโอติกเป็นเพียงจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ต่อระบบย่อยอาหาร ไม่สามารถรักษาโรคมะเร็งได้ การเชื่อข้อมูลที่ไม่ถูกต้องอาจทำให้ผู้ป่วยละเลยการรักษาที่เหมาะสมและเสี่ยงอันตราย

นอกจากนี้ ยังมีข่าวปลอมเกี่ยวกับการรักษามะเร็งด้วยน้ำต้มสมุนไพรจีน ซึ่งก็ไม่เป็นความจริง ผู้ป่วยโรคมะเร็งควรปรึกษาแพทย์ก่อนใช้วิธีการรักษาเสริมใดๆ (ที่มา)

อย่างไรก็ตาม โพรไบโอติกถือเป็นสารอาหารที่เป็นที่ยอมรับว่ามีประโยชน์ต่อร่างกายจริง แต่แม้ว่าโพรไบโอติกจะมีประโยชน์ต่อสุขภาพหลายประการ โดยเฉพาะกับการรักษาสมดุลในลำไส้ แต่ยังไม่มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ที่ยืนยันว่าโพรไบโอติกสามารถรักษามะเร็งได้จริง

  1. ความซับซ้อนของมะเร็งและมาตรฐานการรักษา:

มะเร็งเป็นกลุ่มโรคที่ซับซ้อนซึ่งเกิดจากการเจริญเติบโตของเซลล์ที่ไม่สามารถควบคุมได้ การรักษามะเร็งจึงจำเป็นต้องใช้วิธีที่หลากหลาย เช่น การผ่าตัด การฉายรังสี การทำเคมีบำบัด การใช้ภูมิคุ้มกันบำบัด และการใช้ยาที่ออกฤทธิ์เฉพาะเจาะจง สมาคมโรคมะเร็งแห่งสหรัฐอเมริกา (American Cancer Society) ระบุว่าการรักษาสมดุลของลำไส้มีความสำคัญต่อสุขภาพโดยรวม แต่ยังไม่มีหลักฐานที่แสดงว่าโพรไบโอติกสามารถรักษาหรือบำบัดมะเร็งได้ (ที่มา)

  1. บทบาทของโพรไบโอติกในการช่วยรักษามะเร็ง:

แม้โพรไบโอติกจะไม่สามารถรักษามะเร็งได้โดยตรง แต่การวิจัยพบว่าโพรไบโอติกอาจมีส่วนช่วยบรรเทาผลข้างเคียงของการรักษา เช่น ลดอาการข้างเคียงในระบบทางเดินอาหารที่เกิดจากเคมีบำบัด การศึกษาในวารสาร Microbes and Infection ปี 2020 รายงานว่าโพรไบโอติกสามารถช่วยป้องกันการติดเชื้อในทางเดินอาหารและช่วยเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันของผู้ป่วยที่ได้รับการทำเคมีบำบัด (ที่มา)

นอกจากนี้ บทความใน Frontiers in Oncology ยังชี้ให้เห็นว่าโพรไบโอติกอาจช่วยปรับสมดุลของจุลินทรีย์ในลำไส้เพื่อเสริมประสิทธิภาพของภูมิคุ้มกันบำบัด ซึ่งเป็นอีกทางเลือกที่น่าสนใจ แต่ยังไม่ถือเป็นการรักษาแทนที่วิธีการทางการแพทย์ (ที่มา)

  1. โพรไบโอติกช่วยป้องกันมะเร็งได้ แต่ไม่ใช่ ”รักษา”:

มีงานวิจัยที่เสนอว่าโพรไบโอติกอาจช่วยลดความเสี่ยงของมะเร็งลำไส้ใหญ่โดยการช่วยรักษาสมดุลของจุลินทรีย์ในลำไส้และลดการอักเสบ บทความในวารสาร Nutrients ปี 2021 พบว่าโพรไบโอติกอาจมีบทบาทในการลดการอักเสบและสนับสนุนระบบภูมิคุ้มกันเพื่อช่วยป้องกันมะเร็ง แต่ไม่ได้หมายความว่าจะสามารถรักษามะเร็งที่มีอยู่แล้วได้ (ที่มา)

  1. ความเข้าใจผิดเกี่ยวกับการวิจัยไมโครไบโอม:

แม้จะมีการศึกษาเกี่ยวกับบทบาทของไมโครไบโอมมีต่อความเสี่ยงและการเจริญเติบโตของมะเร็ง แต่งานวิจัยเหล่านี้ยังอยู่ในช่วงเริ่มต้น งานวิจัยหลายชิ้น เช่น ที่ตีพิมพ์ใน Nature Medicine สำรวจถึงการที่ไมโครไบโอมมีปฏิสัมพันธ์กับระบบภูมิคุ้มกันและการบำบัดมะเร็ง ซึ่งมีความสำคัญต่อการตอบสนองต่อการรักษา แต่ไม่ใช่การรักษามะเร็งโดยตรง (ที่มา)

สรุป

ข้อกล่าวอ้างที่ระบุว่า นายบรรยง ได้ค้นพบวิธีรักษามะเร็งโดยการใช้่โพรไบโอติกนั้น เป็นข้่อมูลเท็จและเป็นการโฆษณาเกินจริง โดยในปี 2558 อย่างไรก็ตาม งานวิจัยในปัจจุบันชี้ให้เห็นว่าโพรไบโอติกมีประโยชน์ต่อสุขภาพโดยรวม และอาจช่วยในการป้องกันและส่งเสริมการรักษามะเร็ง แต่ไม่ใช่วิธีการรักษาหลัก การใช้โพรไบโอติกควรเป็นส่วนหนึ่งของแผนการดูแลสุขภาพแบบองค์รวม โดยต้องอยู่ภายใต้คำแนะนำของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ

Avatar

Title:โพรไบโอติกรักษามะเร็งได้จริงหรือไม่?

Fact Check By: Cielito Wang 

Result: False

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *