ภาพโลมาสีชมพู กำลังได้รับความสนใจในช่วงไม่กี่วันที่ผ่านมานี้ โดยมีการแชร์อย่างกว้างขวางบนแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดีย รวมทั้งมีผู้ตั้งข้อสงสัยเกี่ยวกับภาพโลมาดังกล่าวว่าเป็นภาพจริงหรือเป็นแค่ AI

โพสต์บนโซเชียลมีเดีย

ผู้ใช้ Facebook ได้โพสต์รูปโลมาสีชมพู พร้อมข้อความว่า “เป็นภาพที่หาดูได้ยากกับน้อง “โลมาสีชมพู”” โดยโพสต์ดังกล่าวได้รับความสนใจอย่างกว้างขวาง โดยมีการแชร์ต่อกว่าหนึ่งหมื่นครั้ง มีการกดถูกใจกว่าสองหมื่นครั้ง และการแสดงความคิดเห็นกว่าหนึ่งพันครั้ง และเรายังพบภาพชุดดังกล่าวแพร่กระจายบนแพลตฟอร์ม Facebook เป็นจำนวนมาก เช่น ที่นี่ และที่นี่

A screenshot of a dolphin jumping out of water  Description automatically generated

ที่มา | ลิงก์ถาวร

นอกจากนี้ภาพเดียวกันนังแพร่กระจายบนแพลตฟอร์ม X และมีผู้รับชมไปกว่าสามล้านครั้งอีกด้วย

A pink dolphin jumping out of water  Description automatically generated

ที่มา | ลิงก์ถาวร

อย่างไรก็ตาม เราพบว่ารูปภาพดังกล่าวไม่ใช่ภาพของโลมาสีชมพูของจริงแต่อย่างใด

ตรวจสอบข้อเท็จจริง

เราได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงโดยการใช้ฟีเจอร์ Reverse Image Search เพื่อค้นหาที่มาของรูปภาพดังกล่าว อย่างไรก็ตาม เราไม่พบแหล่งที่มาที่น่าเชื่อถือใดๆ ของรูปภาพนี้ และพบว่าไม่กี่วันก่อน ภาพชุดดังกล่าวมีการแชร์จากผู้ใช้ X (Twitter) ต่างชาติ พร้อมระบุว่าพบโลมาสีชมพูดังกล่าวในทะเลแถบนอร์ทแคโรไลนา เราจึงค้นหาข่าวการค้นพบโลมาสีชมพูที่แถบนอร์ทแคโรไลนา แต่ก็ไม่พบรายงานดังกล่าวจากแหล่งที่มาที่น่าเชื่อถือใดๆ

นอกจากนี้ ตัวแทนของสำนักงานประมง รัฐนอร์ทแคโรไลนา ได้ยืนยันกับทางเว็บไซต์ Verify ว่าไม่มีการพบเห็นโลมาสีชมพูในนอร์ทแคโรไลนาเมื่อเร็วๆ นี้แต่อย่างใด (ที่มา)

ดร.เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์ อาจารย์ประจำภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ออกมาอธิบายเกี่ยวกับภาพไวรัลดังกล่าวว่า ภาพดังกล่าวเป็นภาพปลอมที่ตัดต่อขึ้นมา เนื่องจากลักษณะที่ดูไม่เป็นธรรมชาติ และแม้โลมาสีชมพูจะมีจริงตามธรรมชาติ เช่น โลมาแม่น้ำอะแมซอน (Amazon River Dolphin) แต่โลมาสายพันธุ์ดังกล่าวก็อาศัยอยู่ในน้ำจืด และมักพบในแถบป่าอะแมซอน และดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำโอริโนโก (Orinoco River Basin) ของประเทศโบลิเวีย บราซิล โคลอมเบีย เอกัวดอร์ กายยานา เปรู และเวเนซูเอลา

อย่างไรก็ตาม โลมาสายพันธุ์ปากขวดตามในภาพไวรัล ก็อาจมีสีชมพูได้เช่นกันจากพันธุกรรมผิวเผือก (Albino) ทำให้เห็นสีเส้นเลือดชัดเจน แต่ก็ถือเป็นกรณีที่หาพบได้ยาก โดยเคยมีการค้นพบโลมาปากขวดสีชมพูที่ทะเลสาบในลุยเซียนาเมื่อปี 2009 (ที่มา)

ส่วนโลมาสีชมพูที่มีการพบเห็นในทะเลไทยนั้น เป็นโลมาพันธุ์หลังโหนก โดยมักมีการพบเห็นที่บริเวณอุทยานแห่งชาติขนอม หมู่เกาะทะเลใต้ จังหวัดนครศรีธรรมราช อ่านข่าวเกี่ยวกับการพบเห็นโลมาสีชมพูในไทยได้ที่นี่

นอกจากนี้ เราได้ลองนำภาพโลมาสีชมพูที่เป็นไวรัลดังกล่าวไปตรวจสอบโดยใช้เครื่องมือตรวจสอบรูปภาพ AI (AI Image Detector) โดยผลลัพธ์พบว่า มีแนวโน้มสูงที่ภาพดังกล่าวจะเป็นภาพที่สร้างขึ้นโดนใช้ AI

A screenshot of a computer  Description automatically generated

สรุป

ภาพไวรัลบนโซเชียลพร้อมข้อกล่าวอ้างว่าเป็นภาพของ “โลมาสีชมพู” ไม่ใช่ภาพจริงแต่อย่างใด ไม่มีการรายงานการค้นพบโลมาสีชมพูจากหน่วยงานหรือแหล่งข่าวที่น่าเชื่อถือได้เมื่อเร็วๆ นี้ และมีแนวโน้มว่าภาพดังกล่าวเป็นภาพที่ตัดต่อขึ้นมา

ติดตามช่องทางอื่นๆ ของเรา เพื่อไม่ให้พลาดทุกข้อเท็จจริง

Facebook | Twitter | Instagram | LINE | TikTok | WhatsApp

Avatar

Title:ภาพไวรัล “โลมาสีชมพู” ไม่ใช่ภาพจริง

Fact Check By: Cielito Wang

Result: False