วิดีโอสัตว์ตามท้องถนนถูกนำมาโยงกับเหตุการณ์จลาจลในกรุงปารีส

เหตุการณ์จลาจลในฝรั่งเศสยังคงดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง และภาพเหตุการณ์ต่างๆ ในฝรั่งเศสที่แพร่กระจายในโซเชียลมีเดียก็ได้รับความสนใจเป็นอย่างมาก อย่างไรก็ตาม เราพบว่ามีภาพเหตุการณ์ที่ไม่เกี่ยวข้องถูกนำมาอ้างว่าเป็นภาพจากเหตุการณ์จลาจลในฝรั่งเศส (อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง: วิดีโอไวรัลถูกเข้าใจผิดว่าเป็นห้องสมุดที่ถูกเผาจากเหตุจลาจลที่ฝรั่งเศส) ล่าสุด มีคลิปวิดีโอสัตว์ป่าอยู่ตามถนนและอาคารบ้านเรือน พร้อมข้อกล่าวอ้างว่าสัตว์ป่าเหล่านี้ถูกปล่อยออกมาจากสวนสัตว์ในปารีส โพสต์โซเชียลมีเดีย ผู้ใช้ Facebook รายหนึ่งได้โพสต์คลิปวิดีโอหลายคลิป ที่มีสัตว์ป่าต่างๆ ทั้งสิงโต ม้าลาย นกกระจอกเทศ ช้าง และกอริลลา อยู่ตามถนน พร้อมระบุว่า “ผู้ชุมนุมประท้วงฝรั่งเศสปล่อยสัตว์ออกจากสวนสัตว์ !!” Source | Archive นอกจากนี้คลิปสัตว์เหล่านี้ยังเป็นไวรัลในแพลตฟอร์ม TikTok อีกด้วย โดยวิดีโอที่กล่าวอ้างว่าเหล่าสัตว์ป่าเหล่านี้หลุดออกมาจากสวนสัตว์ที่กรุงปารีส ฝรั่งเศส โดยมีการรับชมกว่า 4 ล้านครั้ง Source | Archive อย่างไรก็ตาม เราพบว่าคลิปสัตว์เหล่านี้ไม่ได้มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์จลาจลในปารีสและเมืองต่างๆ ของฝรั่งเศสแต่อย่างใด ตรวจสอบข้อเท็จจริง เราได้ใช้ฟีเจอร์ Reverse Video Search และ Reverse Image Search โดยใช้คีย์เฟรมต่างๆ จากวิดีโอในโพสต์ที่กล่าวอ้าง เพื่อค้นหาที่มาของแต่ละวิดีโอ สิงโต: เราพบว่าวิดีโอเดียวกันถูกอัปโหลดบนแพลตฟอร์ม […]

Continue Reading

วิดีโอไวรัลถูกเข้าใจผิดว่าเป็นห้องสมุดที่ถูกเผาจากเหตุจลาจลที่ฝรั่งเศส

เหตุประท้วงในฝรั่งเศสยังคงรุนแรงและลุกลามไปในหลายเมือง โดยนับว่าเป็นหนึ่งในการประท้วงที่รุนแรงที่สุดครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์ฝรั่งเศส นอกจากนี้ภาพและวิดีโอต่างๆ เกี่ยวกับเหตุจลาจลครั้งนี้ก็ได้รับความสนใจและแพร่กระจายบนโลกโซเชียลอย่างรวดเร็ว ซึ่งบางโพสต์ก็มีข้อมูลที่อาจชวนให้เข้าใจผิดได้ เราจึงทำการตรวจสอบในกรณีดังกล่าว โพสต์บนโซเชียลมีเดีย วันพุธที่ 5 กรกฎาคมที่ผ่านมา ผู้ใช้ติ๊กต็อกได้โพสต์วิดีโอหนึ่ง พร้อมคำบรรยายว่า “วิกฤตฝรั่งเศส ผู้ก่อจลาจลเผาห้องสมุดและเผาทุกอย่าง” Source | Archive นอกจากนี้วิดีโอดังกล่าวยังแพร่กระจายในแพลตฟอร์มอื่นๆ บนโซเชียลมีเดียอีกด้วย ผู้ใช้ทวิตเตอร์รายหนึ่งได้โพสต์วิดีโอเดียวกัน พร้อมข้อความที่ระบุว่าเป็นห้องสมุดที่เมืองมาร์เซย ฝรั่งเศส Archive นอกจากนี้วิดีโอดังกล่าวยังแพร่กระจายบนเฟซบุ๊กเช่นเดียวกัน Source | Archive ตรวจสอบข้อเท็จจริง เราเริ่มดำเนินการตรวจสอบกรณีดังกล่าวโดยการค้นหาข่าวเกี่ยวกับผู้ก่อจลาจลเผาห้องสมุดในเมืองมาร์กเซย ตามที่โพสต์ข้างต้นระบุ และพบว่ามีรายงานการเผาห้องสมุดในมาร์กเซยจริง (อ่านข่าวได้ ที่นี่ และที่นี่) อย่างไรก็ตาม เราไม่พบวิดีโอที่เป็นไวรัลในรายงานข่าวจากสื่อและแหล่งข่าวที่เชื่อถือได้แต่อย่างใด เราจึงค้นหาที่มาของวิดีโอโดยการใช้ฟีเจอร์ Reverse Video Search และพบวิดีโอที่ตรงกันจากสำนักข่าว Al Jazeera โดย Al Jazeera ได้รายงานว่าเป็นเหตุการณ์ “ไฟไหม้อาคารสำนักงานที่ทำการไปรษณีย์กรุงมะนิลา ประเทศฟิลิปปินส์” และเมื่อทำการค้นหาเกี่ยวกับข่าวดังกล่าวเพิ่มเติม ก็พบว่ามีแหล่งข่าวต่างๆ รายงานเหตุการณ์ครั้งดังกล่าวมากมาย โดยสามารถรับชมข่าวเหตุการณ์ไฟไฟม้ครั้งนี้ได้ ที่นี่ ที่นี่ […]

Continue Reading