อย่าแชร์ต่อ! ข้อความ Omicron XBB รุนแรงกว่าเดลต้า 5 เท่า เป็นข้อมูลที่ไม่ถูกต้อง

ในช่วงวันหยุดยาวที่ผ่านมา จำนวนผู้ติดเชื้อโควิด-19 ได้กลับมาพุ่งสูงขึ้นอีกครั้ง โดยทางกระทรวงสาธารณสุขก็ได้ออกมาเตือนให้ประชาชนเฝ้าระวัง และเข้ารับวัคซีนประจำปีเพื่อป้องกันโควิดก่อนเข้าสู่ฤดูฝน (อ่านข่าวที่นี่) ท่ามกลางสถานการณ์โควิดที่กำลังกลับมาระบาดอีกครั้ง เราพบว่ามีข้อมูลที่อาจสร้างความเข้าใจผิดแก่ประชาชนแพร่กระจายตามแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียต่างๆ ข้อกล่าวอ้างบนโซเชียลมีเดีย ผู้ใช้โซเชียลมีเดียหลายรายได้แชร์ข้อความเกี่ยวกับโควิดสายพันธุ์ใหม่ โดยมีเนื้อหาดังนี้: Source | Archive ข้อความดังกล่าวได้มีการแชร์อย่างแพร่หลายบนเฟซบุ๊ก อย่างไรก็ตาม หลังจากทำการตรวจสอบ เราพบว่าบางส่วนในข้อความดังกล่าวนั้นเป็นเท็จ ตรวจสอบข้อเท็จจริง ทีมงาน Fact Crescendo พบว่าข้อความดังกล่าวเป็นข้อความที่มีการแปลมาจาก Forwarding Message ในภาษาอังกฤษที่มีการแพร่กระจายในประเทศต่างๆ ตั้งแต่ช่วงปลายปี 2565 ที่ผ่านมา ข้อความในเวอร์ชันภาษาอังกฤษได้แพร่กระจายทั้งบน Facebook และ Whatsapp เราได้ดำเนินการตรวจสอบข้อมูลดังกล่าวในเวอร์ชันภาษาอังกฤษตั้งแต่เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2565 โดยสามารถอ่านบทความของเราได้ที่นี่ โดยกระทรวงสาธารณสุขของสิงคโปร์ได้ออกมาปฏิเสธว่าข้อความดังกล่าวไม่เป็นความจริงตั้งแต่เมื่อเดือนตุลาคม 2565 ที่ผ่านมา โดยระบุว่า “ไม่มีหลักฐานสนับสนุนคำกล่าวอ้างดังกล่าว” ในส่วนของผู้เชี่ยวชาญในไทยอย่าง รศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์ อาจารย์คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ก็ได้ให้สัมภาษณ์กับทาง AFP Thailand ว่าข้อมูลในข้อความดังกล่าวที่อ้างว่า “ไม่พบไวรัสสายพันธุ์นี้ในบริเวณโพรงหลังจมูก“ ว่าไม่เป็นความจริงแต่อย่างใด นอกจากนี้ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุขก็ได้ออกประกาศว่าข้อความดังกล่าวนั้นเป็นเท็จบางส่วน และขอความร่วมมือไม่แชร์ต่อ […]

Continue Reading

เฝ้าระวังโควิดสายพันธุ์ย่อยใหม่ แพทย์ชี้มีแนวโน้มเข้าไทยเร็วๆ นี้

แม้จะดูเหมือนว่าทั่วโลกต่างเริ่มคลายความกังวลเกี่ยวกับการระบาดของโควิด-19 แล้ว แต่ก็มีรายงานถึงการระบาดที่เพิ่มสูงขึ้นในประเทศจีนและประเทศอื่นๆ ทั่วโลก จำนวนตัวเลขผู้ติดเชื้อที่สูงขึ้นเป็นอย่างมากถือเป็นภัยครั้งใหญ่ในช่วงคริสต์มาสที่ผ่านมาและในช่วงเทศกาลปีใหม่ที่กำลังจะมาถึง องค์การอนามัยโลก (WHO) แสดงความกังวลเนื่องมาจากโรงพยาบาลในกรุงปักกิ่งและเมืองอื่นๆ เต็ม จากการระบาดของโควิด-19 ระลอกล่าสุดในจีน วิดีโอที่น่าสลดใจของสถานการณ์ที่เลวร้ายในประเทศจีนกำลังเผยแพร่บนโซเชียลมีเดีย เมื่อไวรัสมีวิวัฒนาการไปตามเวลาและมีความแตกต่างจากไวรัสตัวดั้งเดิมอย่างมาก จะเรียกไวรัสที่วิวัฒนาการใหม่ว่าเป็น ‘สายพันธุ์’ ใหม่ สำหรับไวรัส SARS-CoV-2 ซึ่งเป็นไวรัสตัวดั้งเดิมของ COVID-19 ก็มีการเปลี่ยนแปลงและได้มีการสันนิษฐานว่าเป็นรูปแบบของสายพันธุ์ใหม่และสายพันธุ์ย่อย ปัจจุบัน สายพันธุ์ย่อยของ Omicron มากกว่า 300 สายพันธุ์กระจายอยู่ทั่วโลก และเกือบ 75% เป็นสายพันธุ์ย่อย BA.5 ของโควิดสายพันธุ์โอมิครอน มาทำความเข้าใจและดูข้อควรรู้เกี่ยวกับสายพันธุ์ย่อยใหม่ที่กระตุ้นให้เกิดการติดเชื้อโควิด-19 เพิ่มขึ้น สายพันธุ์ย่อย BF.7 สายพันธุ์ล่าสุดที่ทำให้จำนวนผู้ติดเชื้อโควิด-19 ในประเทศจีนและประเทศอื่นๆ เพิ่มขึ้นนั้นเรียกว่า BF.7 เป็นสายพันธุ์ย่อยของโอมิครอนสายพันธุ์ BA.5 ซึ่งเป็นสายพันธุ์ที่สามารถแพร่เชื้อได้สูง โดยมีความสามารถในการเลี่ยงภูมิคุ้มกันของร่างกายได้สูงกว่า แม้จะได้รับการฉีดวัคซีนแล้วก็ตาม อาการของตัวแปรย่อย BF.7 ใหม่นั้นคล้ายกับไข้หวัดทั่วไปและรวมถึงไข้ ไอ เจ็บคอ น้ำมูกไหล ปวดตามตัว ปวดท้อง เป็นต้น โดยผู้เชี่ยวชาญแนะนำให้รักษาสุขอนามัยที่เหมาะสม […]

Continue Reading